เปิด‘ร่างพ.ร.บ.กลาโหม’ ฉบับ‘ก้าวไกล’ยื่นสภา กองทัพ‘ทันสมัย-โปร่งใส’
https://www.matichon.co.th/politics/news_4158781
หลักการ
แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ.2551 เพื่อให้กองทัพมีความทันสมัย โปร่งใส และสอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตยที่กำหนดให้กองทัพอยู่ภายใต้รัฐบาลพลเรือน
เหตุผล
โดยที่ปัจจุบัน ทหารและกองทัพมีอำนาจทางการเมืองผ่านโครงสร้างรัฐที่จัดวางอำนาจของกองทัพให้อยู่เหนือรัฐบาลพลเรือนในหลายกระบวนการตัดสินใจ เช่น อำนาจของสภากลาโหมในการกำหนดนโยบายและพิจารณางบประมาณทางการทหาร อำนาจของคณะกรรมการแต่งตั้งนายพลที่ประกอบไปด้วย ข้าราชการทหารเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นโครงสร้างการบริหารจัดการและการใช้อำนาจที่ไม่สอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตย และมีความแตกต่างเมื่อเทียบกับหน่วยงานส่วนราชการอื่น ควรที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงการบริหารจัดการและการใช้อำนาจเพื่อให้สอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตย จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
ร่างพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม (ฉบับที่. …) พ.ศ. … โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม
มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม (ฉบับที่. …) พ.ศ. …”
มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา 3 ให้ยกเลิกความในบทนิยามคำว่า “
เจ้าหน้าที่ทางทหาร” ในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ.2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“
เจ้าหน้าที่ทางทหาร” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมแต่งตั้ง เพื่อปฏิบัติภารกิจตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา 4 ให้ยกเลิกความในวรรคห้าของมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ.2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2556 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“
อำนาจในการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ การปฏิบัติราชการ หรือการปฏิบัติหน้าที่ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมจะพึงปฏิบัติหรือดำเนินการตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับหรือคำสั่งใดๆ หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องใด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมจะมอบอำนาจโดยทำเป็นหนังสือให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ หรือผู้บัญชาการทหารอากาศ ทำการแทน
ในนามของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมก็ได้ และผู้รับมอบอำนาจดังกล่าวอาจมอบอำนาจให้ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นปฏิบัติราชการแทนต่อไปได้ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กระทรวงกลาโหมกำหนด”
มาตรา 5 ให้ยกเลิกความในวรรคหกของมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ.2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“
อำนาจในการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ หรือการปฏิบัติราชการประจำที่ผู้บังคับบัญชาทหารไม่ว่าจะเป็นชั้นใดซึ่งรองลงมาจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมจะพึงปฏิบัติหรือดำเนินการตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งใดๆ หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องใด ผู้บังคับบัญชาทหาร
ผู้นั้นจะมอบอำนาจ โดยทำเป็นหนังสือให้ผู้บังคับบัญชาทหารตำแหน่งอื่นทำการแทนในนามของผู้บังคับบัญชาทหารผู้มอบอำนาจก็ได้ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กระทรวงกลาโหมกำหนด”
มาตรา 6 ให้ยกเลิกความในมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ.2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“
มาตรา 25 การบริหารจัดการกำลังพลของกระทรวงกลาโหมให้เป็นไปตามกฎหมายและตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนดการพิจารณาแต่งตั้งนายทหารชั้นนายพลของสำนักงานปลัดกระทรวงและส่วนราชการในกองทัพไทย ให้ดำเนินการด้วยระบบคุณธรรม ด้วยการเลือกผู้มีคุณสมบัติตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง โดยคณะกรรมการที่ส่วนราชการนั้นแต่งตั้งขึ้นแล้วเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมพิจารณา ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงกลาโหมกำหนด”
มาตรา 7 ให้ยกเลิกความในมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ.2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“
มาตรา 30 ให้กระทรวงกลาโหมกำหนดระเบียบ หลักเกณฑ์ กระบวนการและขั้นตอนการปฏิบัติเกี่ยวกับระบบการส่งกำลังบำรุงร่วมและการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ให้กับกองทัพไทย ซึ่งต้องคำนึงถึงความจำเป็นยิ่งยวด ความประหยัด มาตรฐาน ขีดความสามารถในการรบ ทั้งนี้ ในการจัดซื้อจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์จะต้องดำเนินการโดยสุจริต โปร่งใส เปิดเผย ศึกษาเปรียบเทียบคุณสมบัติเฉพาะ พิจารณาถึงการส่งกำลังบำรุง การถ่ายทอดเทคโนโลยีและการให้มีการจ้างงานภายในประเทศ โดยเปิดให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการต่างๆ นั้นด้วยทุกขั้นตอน”
มาตรา 8 ให้ยกเลิกความในมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ.2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“
มาตรา 34 ในกรณีที่มีความจำเป็น เพื่อการรบหรือการสงคราม การปราบปราม การกบฏ หรือเมื่อได้ประกาศใช้กฎอัยการศึก ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม โดยการเสนอความเห็นของสภากลาโหม มีอำนาจกำหนดหน่วยงาน แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ทางทหารและกำหนดอำนาจหน้าที่ของหน่วยงาน และเจ้าหน้าที่ทางทหารได้ตามความเหมาะสมแก่การปฏิบัติภารกิจ
เมื่อการรบหรือการสงคราม หรือการปราบปรามการกบฏสิ้นสุดลง หรือมีการยกเลิกประกาศกฎอัยการศึก ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมโดยการเสนอความเห็นของสภากลาโหม พิจารณาสั่งยกเลิกหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ทางทหารที่ได้กำหนด หรือแต่งตั้งตามวรรคหนึ่ง
เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม โดยการเสนอความเห็นของสภากลาโหมมีอำนาจกำหนดพื้นที่ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติการทางทหารเป็นยุทธบริเวณ และกำหนดพื้นที่ส่วนที่เหลือเป็นเขตภายใน”
มาตรา 9 ให้ยกเลิกความในมาตรา 37 และมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ.2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“
มาตรา 37 เพื่อป้องกันและรักษาผลประโยชน์แห่งชาติ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม โดยการเสนอความเห็นของสภากลาโหมมีอำนาจอนุมัติให้กระทรวงกลาโหมจัดและวางกำลังในพื้นที่ที่เห็นว่าเหมาะสมเพื่อปฏิบัติภารกิจของกระทรวงกลาโหมได้ตั้งแต่ยามปกติ”
มาตรา 38 การใช้กำลังทหารในการปฏิบัติภารกิจเพื่อสันติภาพให้เป็นไปตามมติของคณะรัฐมนตรี
“
ในกรณีที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ใช้กำลังทหารในการปฏิบัติการตามวรรคหนึ่ง ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมโดยการเสนอความเห็นของสภากลาโหม มีอำนาจกำหนดหน่วยงานในกระทรวงกลาโหม และแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ทางทหาร รวมทั้งกำหนดอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ทางทหารนั้น เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี”
มาตรา 10 ให้ยกเลิกชื่อหมวด 5 คณะผู้บริหาร แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ.2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“หมวด 5 คณะที่ปรึกษา”
มาตรา 11 ให้ยกเลิกความในมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ.2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2556 และพระราชบัญญัติระบียบบริหารราชการในพระองค์ พ.ศ.2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“
มาตรา 42 ให้มี ‘สภากลาโหม’ ประกอบด้วยสมาชิก ดังต่อไปนี้
(1) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานสภากลาโหม
(2) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นรองประธานสภากลาโหม
(3) ปลัดกระทรวงกลาโหม
(4) ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
(5) ผู้บัญชาการทหารบก
(6) ผู้บัญชาการทหารเรือ
(7) ผู้บัญชาการทหารอากาศ
(8) สมาชิกสภากลาโหมผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็นผู้มีความรู้และความเชี่ยวชาญเป็นที่ประจักษ์ทั่วไปในด้านการทหาร ด้านความมั่นคง ด้านการบริหารราชการ ด้านกฎหมายหรือด้านอื่นที่เกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่ของกระทรวงกลาโหม จำนวนไม่เกินห้าคน ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมแต่งตั้งตามมติของคณะรัฐมนตรี ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมแต่งตั้งบุคคลที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเห็นว่ามีความเหมาะสม เป็นเลขาธิการและรองเลขาธิการ ในกรณีที่มีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมมากกว่าหนึ่งคน ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมแต่งตั้งให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นรองประธานเรียงตามลำดับ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมจะเชิญบุคคลอื่นเข้าชี้แจงหรือแสดงความคิดเห็นต่อสภากลาโหมเฉพาะเรื่องใดก็ได้”
นักวิชาการโคราช ยี้ ครม.เศรษฐา 1 ชี้ ตั้งตามโควต้า ไม่คำนึงถึงความรู้ความสามารถที่เหมาะสม
https://www.matichon.co.th/politics/news_4159630
นักวิชาการโคราช ยี้ ครม.เศรษฐา 1 ชี้ ตั้งตามโควต้า ไม่คำนึงถึงความรู้ความสามารถที่เหมาะสมกับงาน หวั่นแก้ปัญหาเศรษฐกิจไทยไม่ได้
นครราชสีมา – ภายหลังจากที่ ประกาศแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี(ครม.)แล้ว นาย
ทวิสันต์ โลณานุรักษ์ นักวิชาการอิสระ จ.นครราชสีมา ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นถึงหน้าตาของ ครม.เศรษฐา 1 ว่า หลายภาคส่วนได้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ ครม.ชุดนี้มาก เพราะเรื่องแรก เหมือนว่ามีการแต่งตั้งบุคคลที่ไม่เหมาะสมเข้ามาเป็นรัฐมนตรี โดยเฉพาะคนที่เคยมีคดีความเก่าๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งก่อนหน้านี้ก็มีความพยายามที่จะสกัดคนเหล่านี้ไม่ให้เข้ามา แต่สามารถสกัดออกไปได้เพียงแค่ 2 คนเท่านั้น
นาย
ทวิสันต์ กล่าวว่า เรื่องที่ 2 ก็จะเป็นเรื่องแต่งตั้งบุคคลเข้ามาเป็นรัฐมนตรีตามโควต้า โดยที่ไม่ได้คำนึงถึงความรู้ ความสามารถ ที่เหมาะสมกับกระทรวงนั้นๆ เช่น เอาคนที่เป็นครูไปคุมกระทรวงกลาโหม เอาคนที่เป็นตำรวจไปคุมกระทรวงศึกษาธิการ เขาจะมีความรู้ความเข้าใจเรื่องของเฉพาะทางเหล่านั้นได้อย่างไร ซึ่งเรื่องนี้นายเศรษฐาฯ นายกรัฐมนตรี ไม่สามารถเข้าไปจัดการอะไรได้เลย เพราะอาจจะเป็นข้อตกลงของแต่ละพรรคการเมืองที่เข้ามาร่วมรัฐบาล
“
สถานการณ์ของประเทศไทยในขณะนี้นั้น เราต้องการคนที่เป็นยอดฝีมือเฉพาะทางเท่านั้น เพื่อเข้ามาแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่สั่งสมมานาน ตามหลัก Put the right man on the right job วางคนให้เหมาะกับงานถึงจะถูกต้อง และเรื่องที่ 3 นโยบายของรัฐบาลชุดนี้ มีการใช้จ่ายเงินเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะเรื่องนโยบายแจกเงินดิจิตัล 10,000 บาท ซึ่งต้องใช้เงินมหาศาลกว่า 570,000 ล้านบาท ไม่รู้ว่าจะเอาเงินที่ไหนมาแจก หลายคนก็คิดว่ารัฐบาลคงจะต้องขึ้นภาษีจาก 7% เป็น 10% ทำให้เงิน 100 บาท ซื้อของได้ 90 บาท ซึ่งคนรวยไม่มีปัญหา แต่ปัญหาจะตกไปอยู่ที่คนจนลำบากแน่นอน นอกจากนี้ยังมีปัญหาทางเศรษฐกิจอีกหลายเรื่อง เช่น การส่งออกของเรายังติดลบอยู่, ค่าไฟฟ้า, ราคา น้ำมันก็สูงขึ้นต่อเนื่อง ยิ่งทำให้ผู้ประกอบการต่างๆ อยู่ไม่ได้ ดังนั้นรัฐบาลจะแก้ปัญหาเหล่านี้อย่างไร ในเมื่อหน้าตา ครม.ออกมาเป็นเช่นนี้” นาย
ทวิสันต์ฯ กล่าว.
JJNY : เปิด ‘ร่างพ.ร.บ.กลาโหม’ ฉบับ ‘ก้าวไกล’│ยี้ ครม.เศรษฐา 1│อมรัตน์งัดหลักฐานย้อนอดิศร│ดัชนีเชื่อมั่นธุรกิจส.ค.ร่วง
https://www.matichon.co.th/politics/news_4158781
หลักการ
แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ.2551 เพื่อให้กองทัพมีความทันสมัย โปร่งใส และสอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตยที่กำหนดให้กองทัพอยู่ภายใต้รัฐบาลพลเรือน
เหตุผล
โดยที่ปัจจุบัน ทหารและกองทัพมีอำนาจทางการเมืองผ่านโครงสร้างรัฐที่จัดวางอำนาจของกองทัพให้อยู่เหนือรัฐบาลพลเรือนในหลายกระบวนการตัดสินใจ เช่น อำนาจของสภากลาโหมในการกำหนดนโยบายและพิจารณางบประมาณทางการทหาร อำนาจของคณะกรรมการแต่งตั้งนายพลที่ประกอบไปด้วย ข้าราชการทหารเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นโครงสร้างการบริหารจัดการและการใช้อำนาจที่ไม่สอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตย และมีความแตกต่างเมื่อเทียบกับหน่วยงานส่วนราชการอื่น ควรที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงการบริหารจัดการและการใช้อำนาจเพื่อให้สอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตย จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
ร่างพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม (ฉบับที่. …) พ.ศ. … โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม
มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม (ฉบับที่. …) พ.ศ. …”
มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา 3 ให้ยกเลิกความในบทนิยามคำว่า “เจ้าหน้าที่ทางทหาร” ในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ.2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“เจ้าหน้าที่ทางทหาร” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมแต่งตั้ง เพื่อปฏิบัติภารกิจตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา 4 ให้ยกเลิกความในวรรคห้าของมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ.2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2556 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“อำนาจในการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ การปฏิบัติราชการ หรือการปฏิบัติหน้าที่ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมจะพึงปฏิบัติหรือดำเนินการตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับหรือคำสั่งใดๆ หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องใด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมจะมอบอำนาจโดยทำเป็นหนังสือให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ หรือผู้บัญชาการทหารอากาศ ทำการแทน
ในนามของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมก็ได้ และผู้รับมอบอำนาจดังกล่าวอาจมอบอำนาจให้ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นปฏิบัติราชการแทนต่อไปได้ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กระทรวงกลาโหมกำหนด”
มาตรา 5 ให้ยกเลิกความในวรรคหกของมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ.2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“อำนาจในการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ หรือการปฏิบัติราชการประจำที่ผู้บังคับบัญชาทหารไม่ว่าจะเป็นชั้นใดซึ่งรองลงมาจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมจะพึงปฏิบัติหรือดำเนินการตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งใดๆ หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องใด ผู้บังคับบัญชาทหาร
ผู้นั้นจะมอบอำนาจ โดยทำเป็นหนังสือให้ผู้บังคับบัญชาทหารตำแหน่งอื่นทำการแทนในนามของผู้บังคับบัญชาทหารผู้มอบอำนาจก็ได้ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กระทรวงกลาโหมกำหนด”
มาตรา 6 ให้ยกเลิกความในมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ.2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“มาตรา 25 การบริหารจัดการกำลังพลของกระทรวงกลาโหมให้เป็นไปตามกฎหมายและตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนดการพิจารณาแต่งตั้งนายทหารชั้นนายพลของสำนักงานปลัดกระทรวงและส่วนราชการในกองทัพไทย ให้ดำเนินการด้วยระบบคุณธรรม ด้วยการเลือกผู้มีคุณสมบัติตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง โดยคณะกรรมการที่ส่วนราชการนั้นแต่งตั้งขึ้นแล้วเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมพิจารณา ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงกลาโหมกำหนด”
มาตรา 7 ให้ยกเลิกความในมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ.2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“มาตรา 30 ให้กระทรวงกลาโหมกำหนดระเบียบ หลักเกณฑ์ กระบวนการและขั้นตอนการปฏิบัติเกี่ยวกับระบบการส่งกำลังบำรุงร่วมและการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ให้กับกองทัพไทย ซึ่งต้องคำนึงถึงความจำเป็นยิ่งยวด ความประหยัด มาตรฐาน ขีดความสามารถในการรบ ทั้งนี้ ในการจัดซื้อจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์จะต้องดำเนินการโดยสุจริต โปร่งใส เปิดเผย ศึกษาเปรียบเทียบคุณสมบัติเฉพาะ พิจารณาถึงการส่งกำลังบำรุง การถ่ายทอดเทคโนโลยีและการให้มีการจ้างงานภายในประเทศ โดยเปิดให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการต่างๆ นั้นด้วยทุกขั้นตอน”
มาตรา 8 ให้ยกเลิกความในมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ.2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“มาตรา 34 ในกรณีที่มีความจำเป็น เพื่อการรบหรือการสงคราม การปราบปราม การกบฏ หรือเมื่อได้ประกาศใช้กฎอัยการศึก ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม โดยการเสนอความเห็นของสภากลาโหม มีอำนาจกำหนดหน่วยงาน แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ทางทหารและกำหนดอำนาจหน้าที่ของหน่วยงาน และเจ้าหน้าที่ทางทหารได้ตามความเหมาะสมแก่การปฏิบัติภารกิจ
เมื่อการรบหรือการสงคราม หรือการปราบปรามการกบฏสิ้นสุดลง หรือมีการยกเลิกประกาศกฎอัยการศึก ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมโดยการเสนอความเห็นของสภากลาโหม พิจารณาสั่งยกเลิกหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ทางทหารที่ได้กำหนด หรือแต่งตั้งตามวรรคหนึ่ง
เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม โดยการเสนอความเห็นของสภากลาโหมมีอำนาจกำหนดพื้นที่ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติการทางทหารเป็นยุทธบริเวณ และกำหนดพื้นที่ส่วนที่เหลือเป็นเขตภายใน”
มาตรา 9 ให้ยกเลิกความในมาตรา 37 และมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ.2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“มาตรา 37 เพื่อป้องกันและรักษาผลประโยชน์แห่งชาติ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม โดยการเสนอความเห็นของสภากลาโหมมีอำนาจอนุมัติให้กระทรวงกลาโหมจัดและวางกำลังในพื้นที่ที่เห็นว่าเหมาะสมเพื่อปฏิบัติภารกิจของกระทรวงกลาโหมได้ตั้งแต่ยามปกติ”
มาตรา 38 การใช้กำลังทหารในการปฏิบัติภารกิจเพื่อสันติภาพให้เป็นไปตามมติของคณะรัฐมนตรี
“ในกรณีที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ใช้กำลังทหารในการปฏิบัติการตามวรรคหนึ่ง ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมโดยการเสนอความเห็นของสภากลาโหม มีอำนาจกำหนดหน่วยงานในกระทรวงกลาโหม และแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ทางทหาร รวมทั้งกำหนดอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ทางทหารนั้น เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี”
มาตรา 10 ให้ยกเลิกชื่อหมวด 5 คณะผู้บริหาร แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ.2551 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“หมวด 5 คณะที่ปรึกษา”
มาตรา 11 ให้ยกเลิกความในมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ.2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2556 และพระราชบัญญัติระบียบบริหารราชการในพระองค์ พ.ศ.2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“มาตรา 42 ให้มี ‘สภากลาโหม’ ประกอบด้วยสมาชิก ดังต่อไปนี้
(1) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานสภากลาโหม
(2) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นรองประธานสภากลาโหม
(3) ปลัดกระทรวงกลาโหม
(4) ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
(5) ผู้บัญชาการทหารบก
(6) ผู้บัญชาการทหารเรือ
(7) ผู้บัญชาการทหารอากาศ
(8) สมาชิกสภากลาโหมผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็นผู้มีความรู้และความเชี่ยวชาญเป็นที่ประจักษ์ทั่วไปในด้านการทหาร ด้านความมั่นคง ด้านการบริหารราชการ ด้านกฎหมายหรือด้านอื่นที่เกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่ของกระทรวงกลาโหม จำนวนไม่เกินห้าคน ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมแต่งตั้งตามมติของคณะรัฐมนตรี ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมแต่งตั้งบุคคลที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเห็นว่ามีความเหมาะสม เป็นเลขาธิการและรองเลขาธิการ ในกรณีที่มีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมมากกว่าหนึ่งคน ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมแต่งตั้งให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นรองประธานเรียงตามลำดับ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมจะเชิญบุคคลอื่นเข้าชี้แจงหรือแสดงความคิดเห็นต่อสภากลาโหมเฉพาะเรื่องใดก็ได้”
นักวิชาการโคราช ยี้ ครม.เศรษฐา 1 ชี้ ตั้งตามโควต้า ไม่คำนึงถึงความรู้ความสามารถที่เหมาะสม
https://www.matichon.co.th/politics/news_4159630
นักวิชาการโคราช ยี้ ครม.เศรษฐา 1 ชี้ ตั้งตามโควต้า ไม่คำนึงถึงความรู้ความสามารถที่เหมาะสมกับงาน หวั่นแก้ปัญหาเศรษฐกิจไทยไม่ได้
นครราชสีมา – ภายหลังจากที่ ประกาศแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี(ครม.)แล้ว นายทวิสันต์ โลณานุรักษ์ นักวิชาการอิสระ จ.นครราชสีมา ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นถึงหน้าตาของ ครม.เศรษฐา 1 ว่า หลายภาคส่วนได้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ ครม.ชุดนี้มาก เพราะเรื่องแรก เหมือนว่ามีการแต่งตั้งบุคคลที่ไม่เหมาะสมเข้ามาเป็นรัฐมนตรี โดยเฉพาะคนที่เคยมีคดีความเก่าๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งก่อนหน้านี้ก็มีความพยายามที่จะสกัดคนเหล่านี้ไม่ให้เข้ามา แต่สามารถสกัดออกไปได้เพียงแค่ 2 คนเท่านั้น
นายทวิสันต์ กล่าวว่า เรื่องที่ 2 ก็จะเป็นเรื่องแต่งตั้งบุคคลเข้ามาเป็นรัฐมนตรีตามโควต้า โดยที่ไม่ได้คำนึงถึงความรู้ ความสามารถ ที่เหมาะสมกับกระทรวงนั้นๆ เช่น เอาคนที่เป็นครูไปคุมกระทรวงกลาโหม เอาคนที่เป็นตำรวจไปคุมกระทรวงศึกษาธิการ เขาจะมีความรู้ความเข้าใจเรื่องของเฉพาะทางเหล่านั้นได้อย่างไร ซึ่งเรื่องนี้นายเศรษฐาฯ นายกรัฐมนตรี ไม่สามารถเข้าไปจัดการอะไรได้เลย เพราะอาจจะเป็นข้อตกลงของแต่ละพรรคการเมืองที่เข้ามาร่วมรัฐบาล
“สถานการณ์ของประเทศไทยในขณะนี้นั้น เราต้องการคนที่เป็นยอดฝีมือเฉพาะทางเท่านั้น เพื่อเข้ามาแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่สั่งสมมานาน ตามหลัก Put the right man on the right job วางคนให้เหมาะกับงานถึงจะถูกต้อง และเรื่องที่ 3 นโยบายของรัฐบาลชุดนี้ มีการใช้จ่ายเงินเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะเรื่องนโยบายแจกเงินดิจิตัล 10,000 บาท ซึ่งต้องใช้เงินมหาศาลกว่า 570,000 ล้านบาท ไม่รู้ว่าจะเอาเงินที่ไหนมาแจก หลายคนก็คิดว่ารัฐบาลคงจะต้องขึ้นภาษีจาก 7% เป็น 10% ทำให้เงิน 100 บาท ซื้อของได้ 90 บาท ซึ่งคนรวยไม่มีปัญหา แต่ปัญหาจะตกไปอยู่ที่คนจนลำบากแน่นอน นอกจากนี้ยังมีปัญหาทางเศรษฐกิจอีกหลายเรื่อง เช่น การส่งออกของเรายังติดลบอยู่, ค่าไฟฟ้า, ราคา น้ำมันก็สูงขึ้นต่อเนื่อง ยิ่งทำให้ผู้ประกอบการต่างๆ อยู่ไม่ได้ ดังนั้นรัฐบาลจะแก้ปัญหาเหล่านี้อย่างไร ในเมื่อหน้าตา ครม.ออกมาเป็นเช่นนี้” นายทวิสันต์ฯ กล่าว.