ค่าใช้จ่ายครัวเรือนยังสูงปรี๊ด เดือน ธ.ค. ทะลุ 18,136 บาท
https://www.pptvhd36.com/news/เศรษฐกิจ/187839
ค่าใช้จ่ายครัวเรือนยังสูงปรี๊ด เดือน ธ.ค. ทะลุ 18,136 บาท ค่าโดยสาร ยานพาหนะ น้ำมัน โทรศัพท์ ยังเป็นอันดับ 1
กระทรวงพาณิชย์ เปิดค่าใช้จ่ายครัวเรือนเดือน ธ.ค.2565 พบว่ายังอยู่ในระดับสูง สอดคล้องกับอัตราเงินเฟ้อทั่วไป โดย ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือน ธ.ค.65 (เงินเฟ้อ) ธันวาคม 2565 อยู่ที่ 107.86 สูงขึ้น 5.89% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนหน้าเป็นการปรับขึ้นของสินค้าที่เป็นปัจจัยพื้นฐานและจำเป็น เช่น
สอดคล้องกับค่าใช้จ่ายของครัวเรือน ธ.ค.2565 พบว่าค่าใช้จ่ายระอยู่ในระดับ 18,136 บาท โดยสัดส่วนที่เป็นสินค้าไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มที่มีแอลกฮอล์อยู่ที่ 58.30% มากกว่า อาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกฮอล์ ซึ่งอยู่ที่ 41.70%
และ 6 อันดับที่ต้องจ่ายเพิ่มขึ้นในเดือน ธ.ค. คือ ค่าโดยสารสาธารณะ ค่าซื้อยานพาหนะ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ค่ายริการโทรศัพท์ 4,202 บาท ค่าเช่าบ้าน ค่าวัสดุก่อสร้าง ค่าไฟฟ้า ค่าก๊าซหุงต้ม เครื่องใช้ในบ้าน 4,018 บาท ค่าแพทย์ ค่ายา และค่าบริการส่วนบุคคล 978 บาท ค่าหนังสือ ค่าสันทนาการ ค่าเล่าเรียน และการกุศลต่างๆ 760 บาท ค่าเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม และรองเท้า 375 บาท และค่าบุหรี่ ค่าเหล้า ค่าเบียร์ 240 บาท
‘เฉลิม’ แนะรบ.ต้องมีมาตรการควบคุมอาวุธเคร่งครัด เผย ‘ถ้ามีโอกาสได้แก้ไขปัญหานี้ จะพยายามเป็นระยะๆ’
https://www.matichon.co.th/politics/news_3757339
‘เฉลิม’ แนะ รบ.ต้องมีมาตรการควบคุมอาวุธเคร่งครัด เผย ‘ถ้ามีโอกาสได้แก้ไขปัญหานี้ จะพยายามเป็นระยะๆ’
เมื่อวันที่ 5 มกราคม ร้อยตำรวจเอก ดร.
เฉลิม อยู่บำรุง ได้เผยแพร่บทความทางเฟซบุ๊ก
เฉลิม อยู่บำรุง เกี่ยวกับมาตรการรักษาความปลอดภัยเรื่องอาวุธทุกชนิด ระบุว่า
มาตรการการรักษาความปลอดภัยเรื่องอาวุธทุกชนิด เมื่อประเทศไทยได้มีการอนุญาตในบางส่วน ซึ่งรัฐบาลจะต้องมีมาตรการควบคุมโดยเคร่งครัด และมีมาตรการทางกฎหมายลงโทษตามความหนักเบาของการกระทำความผิด โดยมีมาตรการดังนี้
1. มาตรการสูงสุดไม่อนุญาตให้มีอาวุธทุกชนิด
2. เมื่อรัฐบาลได้อนุญาตให้มีอาวุธบางชนิดแล้ว จากเหตุการณ์หนองบัวลำภู รัฐบาลต้องออกมาตรการลดการนำเข้าอาวุธทั้งหมด และอาวุธที่มีอยู่ต้องลดการอนุญาตลงครึ่งหนึ่ง
3. อาวุธที่รัฐบาลอนุญาตให้ประชาชนสามารถขอใบพกพาได้ จะต้องลดการอนุญาตลงครึ่งหนึ่งทันที
4. และจะต้องเน้นการอนุญาตให้น้อยลงๆ จนในที่สุดต้องไม่มีการอนุญาตการพกพาอาวุธปืนของเจ้าหน้าที่ต้องให้เฉพาะเจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่ป้องกันปราบปรามโดยแท้จริง ไม่ใช่ว่าเพียงเป็นเจ้าหน้าที่ก็พกพาอาวุธปืนหรืออาวุธอื่นๆ ได้โดยทันที ซึ่งยึดหลักการโดยจะต้องลดการอนุญาต ลดการนำเข้า โดยเฉพาะร้านจำหน่ายอาวุธปืนโดยทั่วไป
5. เจ้าของอาวุธปืนผู้ใดที่ได้รับอนุญาตให้พกพาอาวุธปืนต้องยกเลิกให้หมด สำหรับเจ้าหน้าที่ต้องมีมาตรการที่เข้มข้นในการที่จะใช้อาวุธ โดยอ้างว่าเพื่อปฏิบัติหน้าที่โดยอนุญาตได้แต่ต้องควบคุม และเรียกเก็บอาวุธด้วยมาตรการที่เข้มข้น สำรวจอาวุธปืนทั้งหมดที่เจ้าหน้าที่ซื้อไปเป็นการส่วนตัวจะต้องเรียกคืนและชำระทรัพย์สินคืนให้
6. ยังมีความจำเป็นที่บุคคลซึ่งไม่ใช่เจ้าหน้าที่รัฐกับพวกพนักงานธนาคาร ซึ่งจะต้องมีอาวุธ เพื่อปฏิบัติหน้าที่
7. มาตรการสำคัญ ระงับการอนุญาตให้ซื้ออาวุธปืนและมีใบพกปืน หากใครมียกเลิกให้หมดสำหรับเจ้าหน้าที่ที่ไม่มีหน้าที่ในการรักษาความปลอดภัยจะต้องค่อยๆ ดำเนินการเรียกเก็บอาวุธแล้วชำระเงินคืนให้ ต้องมีคณะกรรมการหรือมีอยู่แล้วประสานกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับอาวุธปืนทำความเข้าใจซึ่งกันและกัน
8. สำหรับข้าราชการตำรวจและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการใช้อาวุธจะต้องสร้างความเข้าใจ ระมัดระวังเรื่องอารมณ์และสิ่งแวดล้อม ซึ่งไม่ใช่เรื่องยากเพราะเรามีโรงพยาบาลทั่วประเทศ
การใช้อาวุธปืนด้วยอารมณ์รุนแรง เข่นฆ่าโดยขาดสติเป็นอันตรายยิ่ง
สำหรับสังคมไทย หากผมมีโอกาสได้แก้ไขปัญหานี้ ผมจะพยายามเป็นระยะๆ หรือเรียกว่าค่อยเป็นค่อยไป
เนื่องในโอกาสปีใหม่นี้ ผมขออวยพรให้ทุกท่านมีความสุขความเจริญ และขอภาวนาว่าให้เป็นปีเริ่มต้นให้ปราศจากความเหี้ยมโหด และหามาตรการเสริมในการแก้ปัญหาต่อไป
ด้วยความเคารพรัก
ร้อยตำรวจเอก ดร.เฉลิม อยู่บำรุง
https://www.facebook.com/chalerm.ubumrungofficial/posts/pfbid0gGmJWqBgtHyJbcVopBLYYCG2dm7pqS9MeCkzazsDQnGRUaXz8YdZrPtvTNHEFMwQl
ก้าวไกล ถล่ม รฟท. ป้ายยังใหม่ ทำไมต้องสร้างหนี้เพิ่ม 33 ล. ‘ศักดิ์สยาม’ แจงเป็นประเพณีปฏิบัติ
https://www.matichon.co.th/politics/news_3757136
‘สุชาติ’ เตือน รมต.หนีกระทู้ต้องมีเหตุผล ขณะที่ ‘จิรัฏฐ์’ ถล่ม รฟท.ผลาญงบ 33 ล้าน ปมเปลี่ยนป้ายสถานีกลางบางซื่อ ด้าน “ศักดิ์สยาม” แจงแค่เปลี่ยนชื่อตามประเพณี
เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 5 มกราคม ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่มี นาย
สุชาติ ตันเจริญ รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 1 เป็นประธานการประชุม เมื่อเข้าสู่วาระกระทู้ถามสดด้วยวาจา นาย
โกวิทย์ พวงงาม ส.ส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคพลังท้องถิ่นไท (พทท.) ตั้งกระทู้ถามสดนาย
เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กรณีประกาศคณะกรรมการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เกี่ยวกับผลการประเมินคุณธรรม ความโปร่งใสของหน่วยงานภาครัฐ รวมถึงมหาวิทยาลัย แต่ปรากฏว่านายเอนกติดภารกิจไม่สามารถมาตอบกระทู้ได้
ทำให้นาย
โกวิทย์กล่าวว่า น่าเสียดายที่รัฐมนตรีไม่ได้มาตอบ เพราะสถานการณ์ความโปร่งใสภาครัฐที่มีการประเมิน และเปิดเผยระดับผลคะแนนเป็นที่สนใจของประชาชน มีบางหน่วยได้ผลการประเมินระดับดีเด่น แต่ดูเหมือนมีความย้อนแย้งเช่น กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้ผลการประเมินระดับเอ แต่ยังมีเรื่องอื้อฉาวอย่างที่ประชาชนได้ทราบ
ส่วนมหาวิทยาลัยมีอยู่ 20 กว่ามหาวิทยาลัยที่ไม่ผ่านเกณฑ์ สิ่งอยากถามรัฐมนตรีคือ ผลการประเมินที่ย้อนแย้งกันสัมพันธ์กับแนวปฏิบัติเรื่องธรรมาภิบาลในมหาวิทยาลัยหรือไม่
ซึ่งนาย
สุชาติได้ฝากให้สำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรไปดำเนินการว่า หากจดหมายหรือหนังสือที่รัฐมนตรีขอเลื่อนตอบกระทู้ ตามข้อบังคับต้องระบุเหตุผล ความจำเป็นที่ขอเลื่อน ไม่ใช่ขอเลื่อนเฉยๆ โดยไม่บอกเหตุผล ขอให้ช่วยเตือนไปด้วย
จากนั้น เป็นการพิจารณากระทู้ถามสดของ นาย
จิรัฏฐ์ ทองสุวรรณ์ ส.ส.ฉะเชิงเทรา พรรคก้าวไกล (ก.ก.) ที่สอบถามนาย
ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กรณีการเปลี่ยนชื่อป้ายสถานีกลางบางซื่อ เป็นสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ที่มีมูลค่าก่อสร้างสูงถึง 33 ล้านบาท
โดยนาย
จิรัฏฐ์ ถามว่า ราคาก่อสร้าง 33 ล้านบาท แพงเกินไปหรือไม่ อยู่ดีๆ ทำไมขอเปลี่ยนชื่อ ป้ายเดิมใช้แค่ 3 ปี ยังใหม่อยู่ จะเปลี่ยนชื่ออย่างไร ก็ยังเรียกชื่อสถานีกลางบางซื่อเหมือนเดิม เหตุใดต้องเร่งเปลี่ยนชื่อทันที
เมื่อได้รับพระราชทานชื่อจนต้องใช้วิธีจัดซื้อเฉพาะเจาะจง ได้บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จํากัด (มหาชน) เป็นผู้ติดตั้ง หลังจากที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เพิ่งประกาศราคากลางมา 2 สัปดาห์ ที่ผ่านมารฟท. มีหนี้ 2 แสนล้านบาท แต่ยังเปลี่ยนป้ายชื่อให้มีหนี้เพิ่ม ถือว่าเกินกว่าเหตุ เอาเงินมาใช้สุรุ่ยสุร่าย มือเติบเกินไป ทราบว่า บริษัท ยูนิคฯ ที่ได้งานนี้ รฟท.เพิ่งแพ้คดีให้บริษัทฯ ที่ฟ้องรฟท. 7,500 ล้านบาท เมื่อปลายเดือนพฤศจิกายน 2565
“
ปกติถ้ามีคดีพิพาทขนาดนี้ อย่าว่าแต่แค่จ้างกลับมาทำงาน หน้าก็ยังไม่อยากมอง แต่กลับเปิดโอกาสให้บริษัท ยูนิคฯ ได้งาน อัยการเคยเตือนให้รฟท.ประนีประนอมกับบริษัท ยูนิคฯ แต่ รฟท.ไม่ทำ ถือว่าปล่อยปละละเลยให้เกิดความเสียหาย ใครจะรับผิดชอบ ส่วนการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง ทำไมต้องรอ 15 วัน การตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง เป็นสูตรสำเร็จเอาตัวรอดแบบไทยๆ สุดท้ายรอดกันหมด” นาย
จิรัฏฐ์กล่าว
ขณะที่ นาย
ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ชี้แจงว่า รายละเอียดวงเงินการเปลี่ยนป้ายชื่อ 33 ล้านบาท ประกอบด้วย 1.งานรื้อถอนป้ายสถานีกลางบางซื่อเดิม 6.2 ล้านบาท 2.งานติดตั้งกระจกและโครงกระจกอะลูมิเนียมใหม่ทั้งหมด มีราคาสูงสุด 24.3 ล้านบาท 3.งานออกแบบ 4.งานติดตั้งและรื้อถอนวัสดุปิดแทนกระจกระหว่างเปิดใช้งาน 1.6 ล้านบาท ยืนยันไม่ได้ว่าราคา 33 ล้านบาท ถูกหรือแพง เพราะไม่ใช่คนกำหนดราคา แต่ทุกคนไม่ได้ต่างกันในการเข้าถึงข้อมูล
ส่วนการเปลี่ยนชื่อป้ายเป็นเรื่องประเพณีปฏิบัติ เพื่อความเป็นมหามงคล ไม่ใช่ความต้องการของตน เหมือนการเปลี่ยนชื่อสนามบินหนองงูเห่า เป็นสนามบินสุวรรณภูมิ หรือสถานที่ราชการหลายแห่งก็ดำเนินการลักษณะนี้เช่นกัน ขณะที่การต้องจ้างบริษัท ยูนิคฯ เป็นผู้รับผิดชอบ เพราะโครงการสถานีกลางบางซื่ออยู่ในระยะประกันสัญญา จึงต้องให้บริษัท ยูนิคฯ ที่เป็นผู้ก่อสร้างเดิมในโครงการเป็นผู้รับผิดชอบ
นาย
ศักดิ์สยามชี้แจงต่อว่า ส่วนกรณีที่ รฟท.แพ้คดีบริษัท ยูนิค 7,500 ล้านบาทนั้น คดียังไม่ถึงที่สุด รฟท.ดำเนินการอุทธรณ์คดีอยู่ ส่วนการตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงเพราะเป็นเรื่องที่ประชาชนให้ความสนใจ ไม่ว่าผลออกมาอย่างไร จะแจ้งให้ประชาชนทราบแน่นอน ไม่มีปกปิด ผิดคือผิด ถ้าถูกก็ต้องดำเนินการต่อ ขอเวลาตรวจสอบเล็กน้อย
‘ก้าวไกล’ บี้ รัฐเร่งแก้ค่าไฟแพง ถาม ที่มาค่าบริการรายเดือน ‘สุพัฒนพงษ์’ แจง เป็นต้นทุนบำรุงรักษามิเตอร์
https://www.matichon.co.th/politics/news_3757137
‘ก้าวไกล’ บี้ รัฐเร่งแก้ค่าไฟแพง ถาม ที่มาค่าบริการรายเดือน ‘สุพัฒนพงษ์’ แจง เป็นต้นทุนบำรุงรักษามิเตอร์
เมื่อเวลา 12.05 น. วันที่ 5 มกราคม ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่มีนาย
สุชาติ ตันเจริญ รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 1 ทำหน้าที่ประธานการประชุม ในช่วงกระทู้ถามทั่วไป นาย
มานพ คีรีภูวดล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล (ก.ก.) ตั้งกระทู้ถามทั่วไป เรื่องค่าไฟฟ้าราคาแพง ถามนาย
สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ว่า รัฐธรรมนูญหมวด 5 มาตรา 56 ระบุว่า รัฐต้องจัดให้มีสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานต่อประชาชนอย่างทั่วถึง รัฐจะทำการใดๆ ให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชน หรือรัฐเป็นเจ้าของน้อยกว่าร้อยละ 50 จะกระทำไม่ได้ และการเรียกเก็บจะให้เป็นภาระต่อประชาชนไม่ได้ ประชาชนต้องเข้าถึงอย่างเป็นธรรมเสมอภาค ซึ่งค่าบริการรายเดือนในบิลค่าไฟ จำนวน 38.22
บาท ในรายละเอียดบอกว่าเป็นค่าพิมพ์บิล ค่ารักษามิเตอร์ และค่าจัดส่งเอกสาร ทั้งที่ประชาชนจ่ายค่ามิเตอร์ไปแล้ว เงินประกันก็อยู่ที่การไฟฟ้าแล้ว ส่วนบิลเป็นเรื่องปกติที่หน่วยงานจะต้องทำบิลส่งอยู่แล้ว
นาย
มานพกล่าวต่อว่า ทั้งนี้ จากการตรวจสอบมิเตอร์ในประเทศไทยมีประมาณ 50 ล้านมิเตอร์ คิดเป็นเงินจำนวน 1,911 ล้านบาทต่อเดือน ที่ประชาชนจะต้องจ่าย ตนถามว่าค่าบริการรายเดือนดังกล่าวมีที่มาที่ไปอย่างไร จะจัดการไม่ให้มีได้อย่างไร เพราะไม่มีความเหมาะสม ไม่มีความเป็นธรรมกับประชาชน และเป็นการเก็บค่าบริการเกินควร นอกจากนี้ ตนอยากเห็นตัวเลขโครงสร้างพลังงานว่ามีเกินความจำเป็นเท่าไหร่ และในระยะเร่งด่วน มีแนวทางลดค่าไฟฟ้าให้ยั่งยืนได้อย่างไร
JJNY : 5in1 ค่าใช้จ่ายครัวเรือนยังสูงปรี๊ด│‘เฉลิม’แนะรบ.│ก้าวไกลถล่มรฟท.│‘ก้าวไกล’บี้แก้ค่าไฟแพง│จีนวอนWHOเที่ยงธรรม
https://www.pptvhd36.com/news/เศรษฐกิจ/187839
ค่าใช้จ่ายครัวเรือนยังสูงปรี๊ด เดือน ธ.ค. ทะลุ 18,136 บาท ค่าโดยสาร ยานพาหนะ น้ำมัน โทรศัพท์ ยังเป็นอันดับ 1
กระทรวงพาณิชย์ เปิดค่าใช้จ่ายครัวเรือนเดือน ธ.ค.2565 พบว่ายังอยู่ในระดับสูง สอดคล้องกับอัตราเงินเฟ้อทั่วไป โดย ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือน ธ.ค.65 (เงินเฟ้อ) ธันวาคม 2565 อยู่ที่ 107.86 สูงขึ้น 5.89% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนหน้าเป็นการปรับขึ้นของสินค้าที่เป็นปัจจัยพื้นฐานและจำเป็น เช่น
สอดคล้องกับค่าใช้จ่ายของครัวเรือน ธ.ค.2565 พบว่าค่าใช้จ่ายระอยู่ในระดับ 18,136 บาท โดยสัดส่วนที่เป็นสินค้าไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มที่มีแอลกฮอล์อยู่ที่ 58.30% มากกว่า อาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกฮอล์ ซึ่งอยู่ที่ 41.70%
และ 6 อันดับที่ต้องจ่ายเพิ่มขึ้นในเดือน ธ.ค. คือ ค่าโดยสารสาธารณะ ค่าซื้อยานพาหนะ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ค่ายริการโทรศัพท์ 4,202 บาท ค่าเช่าบ้าน ค่าวัสดุก่อสร้าง ค่าไฟฟ้า ค่าก๊าซหุงต้ม เครื่องใช้ในบ้าน 4,018 บาท ค่าแพทย์ ค่ายา และค่าบริการส่วนบุคคล 978 บาท ค่าหนังสือ ค่าสันทนาการ ค่าเล่าเรียน และการกุศลต่างๆ 760 บาท ค่าเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม และรองเท้า 375 บาท และค่าบุหรี่ ค่าเหล้า ค่าเบียร์ 240 บาท
‘เฉลิม’ แนะรบ.ต้องมีมาตรการควบคุมอาวุธเคร่งครัด เผย ‘ถ้ามีโอกาสได้แก้ไขปัญหานี้ จะพยายามเป็นระยะๆ’
https://www.matichon.co.th/politics/news_3757339
‘เฉลิม’ แนะ รบ.ต้องมีมาตรการควบคุมอาวุธเคร่งครัด เผย ‘ถ้ามีโอกาสได้แก้ไขปัญหานี้ จะพยายามเป็นระยะๆ’
เมื่อวันที่ 5 มกราคม ร้อยตำรวจเอก ดร.เฉลิม อยู่บำรุง ได้เผยแพร่บทความทางเฟซบุ๊ก เฉลิม อยู่บำรุง เกี่ยวกับมาตรการรักษาความปลอดภัยเรื่องอาวุธทุกชนิด ระบุว่า
มาตรการการรักษาความปลอดภัยเรื่องอาวุธทุกชนิด เมื่อประเทศไทยได้มีการอนุญาตในบางส่วน ซึ่งรัฐบาลจะต้องมีมาตรการควบคุมโดยเคร่งครัด และมีมาตรการทางกฎหมายลงโทษตามความหนักเบาของการกระทำความผิด โดยมีมาตรการดังนี้
1. มาตรการสูงสุดไม่อนุญาตให้มีอาวุธทุกชนิด
2. เมื่อรัฐบาลได้อนุญาตให้มีอาวุธบางชนิดแล้ว จากเหตุการณ์หนองบัวลำภู รัฐบาลต้องออกมาตรการลดการนำเข้าอาวุธทั้งหมด และอาวุธที่มีอยู่ต้องลดการอนุญาตลงครึ่งหนึ่ง
3. อาวุธที่รัฐบาลอนุญาตให้ประชาชนสามารถขอใบพกพาได้ จะต้องลดการอนุญาตลงครึ่งหนึ่งทันที
4. และจะต้องเน้นการอนุญาตให้น้อยลงๆ จนในที่สุดต้องไม่มีการอนุญาตการพกพาอาวุธปืนของเจ้าหน้าที่ต้องให้เฉพาะเจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่ป้องกันปราบปรามโดยแท้จริง ไม่ใช่ว่าเพียงเป็นเจ้าหน้าที่ก็พกพาอาวุธปืนหรืออาวุธอื่นๆ ได้โดยทันที ซึ่งยึดหลักการโดยจะต้องลดการอนุญาต ลดการนำเข้า โดยเฉพาะร้านจำหน่ายอาวุธปืนโดยทั่วไป
5. เจ้าของอาวุธปืนผู้ใดที่ได้รับอนุญาตให้พกพาอาวุธปืนต้องยกเลิกให้หมด สำหรับเจ้าหน้าที่ต้องมีมาตรการที่เข้มข้นในการที่จะใช้อาวุธ โดยอ้างว่าเพื่อปฏิบัติหน้าที่โดยอนุญาตได้แต่ต้องควบคุม และเรียกเก็บอาวุธด้วยมาตรการที่เข้มข้น สำรวจอาวุธปืนทั้งหมดที่เจ้าหน้าที่ซื้อไปเป็นการส่วนตัวจะต้องเรียกคืนและชำระทรัพย์สินคืนให้
6. ยังมีความจำเป็นที่บุคคลซึ่งไม่ใช่เจ้าหน้าที่รัฐกับพวกพนักงานธนาคาร ซึ่งจะต้องมีอาวุธ เพื่อปฏิบัติหน้าที่
7. มาตรการสำคัญ ระงับการอนุญาตให้ซื้ออาวุธปืนและมีใบพกปืน หากใครมียกเลิกให้หมดสำหรับเจ้าหน้าที่ที่ไม่มีหน้าที่ในการรักษาความปลอดภัยจะต้องค่อยๆ ดำเนินการเรียกเก็บอาวุธแล้วชำระเงินคืนให้ ต้องมีคณะกรรมการหรือมีอยู่แล้วประสานกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับอาวุธปืนทำความเข้าใจซึ่งกันและกัน
8. สำหรับข้าราชการตำรวจและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการใช้อาวุธจะต้องสร้างความเข้าใจ ระมัดระวังเรื่องอารมณ์และสิ่งแวดล้อม ซึ่งไม่ใช่เรื่องยากเพราะเรามีโรงพยาบาลทั่วประเทศ
การใช้อาวุธปืนด้วยอารมณ์รุนแรง เข่นฆ่าโดยขาดสติเป็นอันตรายยิ่ง
สำหรับสังคมไทย หากผมมีโอกาสได้แก้ไขปัญหานี้ ผมจะพยายามเป็นระยะๆ หรือเรียกว่าค่อยเป็นค่อยไป
เนื่องในโอกาสปีใหม่นี้ ผมขออวยพรให้ทุกท่านมีความสุขความเจริญ และขอภาวนาว่าให้เป็นปีเริ่มต้นให้ปราศจากความเหี้ยมโหด และหามาตรการเสริมในการแก้ปัญหาต่อไป
ด้วยความเคารพรัก
ร้อยตำรวจเอก ดร.เฉลิม อยู่บำรุง
https://www.facebook.com/chalerm.ubumrungofficial/posts/pfbid0gGmJWqBgtHyJbcVopBLYYCG2dm7pqS9MeCkzazsDQnGRUaXz8YdZrPtvTNHEFMwQl
ก้าวไกล ถล่ม รฟท. ป้ายยังใหม่ ทำไมต้องสร้างหนี้เพิ่ม 33 ล. ‘ศักดิ์สยาม’ แจงเป็นประเพณีปฏิบัติ
https://www.matichon.co.th/politics/news_3757136
‘สุชาติ’ เตือน รมต.หนีกระทู้ต้องมีเหตุผล ขณะที่ ‘จิรัฏฐ์’ ถล่ม รฟท.ผลาญงบ 33 ล้าน ปมเปลี่ยนป้ายสถานีกลางบางซื่อ ด้าน “ศักดิ์สยาม” แจงแค่เปลี่ยนชื่อตามประเพณี
เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 5 มกราคม ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่มี นายสุชาติ ตันเจริญ รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 1 เป็นประธานการประชุม เมื่อเข้าสู่วาระกระทู้ถามสดด้วยวาจา นายโกวิทย์ พวงงาม ส.ส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคพลังท้องถิ่นไท (พทท.) ตั้งกระทู้ถามสดนายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กรณีประกาศคณะกรรมการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เกี่ยวกับผลการประเมินคุณธรรม ความโปร่งใสของหน่วยงานภาครัฐ รวมถึงมหาวิทยาลัย แต่ปรากฏว่านายเอนกติดภารกิจไม่สามารถมาตอบกระทู้ได้
ทำให้นายโกวิทย์กล่าวว่า น่าเสียดายที่รัฐมนตรีไม่ได้มาตอบ เพราะสถานการณ์ความโปร่งใสภาครัฐที่มีการประเมิน และเปิดเผยระดับผลคะแนนเป็นที่สนใจของประชาชน มีบางหน่วยได้ผลการประเมินระดับดีเด่น แต่ดูเหมือนมีความย้อนแย้งเช่น กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้ผลการประเมินระดับเอ แต่ยังมีเรื่องอื้อฉาวอย่างที่ประชาชนได้ทราบ
ส่วนมหาวิทยาลัยมีอยู่ 20 กว่ามหาวิทยาลัยที่ไม่ผ่านเกณฑ์ สิ่งอยากถามรัฐมนตรีคือ ผลการประเมินที่ย้อนแย้งกันสัมพันธ์กับแนวปฏิบัติเรื่องธรรมาภิบาลในมหาวิทยาลัยหรือไม่
ซึ่งนายสุชาติได้ฝากให้สำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรไปดำเนินการว่า หากจดหมายหรือหนังสือที่รัฐมนตรีขอเลื่อนตอบกระทู้ ตามข้อบังคับต้องระบุเหตุผล ความจำเป็นที่ขอเลื่อน ไม่ใช่ขอเลื่อนเฉยๆ โดยไม่บอกเหตุผล ขอให้ช่วยเตือนไปด้วย
จากนั้น เป็นการพิจารณากระทู้ถามสดของ นายจิรัฏฐ์ ทองสุวรรณ์ ส.ส.ฉะเชิงเทรา พรรคก้าวไกล (ก.ก.) ที่สอบถามนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กรณีการเปลี่ยนชื่อป้ายสถานีกลางบางซื่อ เป็นสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ที่มีมูลค่าก่อสร้างสูงถึง 33 ล้านบาท
โดยนายจิรัฏฐ์ ถามว่า ราคาก่อสร้าง 33 ล้านบาท แพงเกินไปหรือไม่ อยู่ดีๆ ทำไมขอเปลี่ยนชื่อ ป้ายเดิมใช้แค่ 3 ปี ยังใหม่อยู่ จะเปลี่ยนชื่ออย่างไร ก็ยังเรียกชื่อสถานีกลางบางซื่อเหมือนเดิม เหตุใดต้องเร่งเปลี่ยนชื่อทันที
เมื่อได้รับพระราชทานชื่อจนต้องใช้วิธีจัดซื้อเฉพาะเจาะจง ได้บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จํากัด (มหาชน) เป็นผู้ติดตั้ง หลังจากที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เพิ่งประกาศราคากลางมา 2 สัปดาห์ ที่ผ่านมารฟท. มีหนี้ 2 แสนล้านบาท แต่ยังเปลี่ยนป้ายชื่อให้มีหนี้เพิ่ม ถือว่าเกินกว่าเหตุ เอาเงินมาใช้สุรุ่ยสุร่าย มือเติบเกินไป ทราบว่า บริษัท ยูนิคฯ ที่ได้งานนี้ รฟท.เพิ่งแพ้คดีให้บริษัทฯ ที่ฟ้องรฟท. 7,500 ล้านบาท เมื่อปลายเดือนพฤศจิกายน 2565
“ปกติถ้ามีคดีพิพาทขนาดนี้ อย่าว่าแต่แค่จ้างกลับมาทำงาน หน้าก็ยังไม่อยากมอง แต่กลับเปิดโอกาสให้บริษัท ยูนิคฯ ได้งาน อัยการเคยเตือนให้รฟท.ประนีประนอมกับบริษัท ยูนิคฯ แต่ รฟท.ไม่ทำ ถือว่าปล่อยปละละเลยให้เกิดความเสียหาย ใครจะรับผิดชอบ ส่วนการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง ทำไมต้องรอ 15 วัน การตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง เป็นสูตรสำเร็จเอาตัวรอดแบบไทยๆ สุดท้ายรอดกันหมด” นายจิรัฏฐ์กล่าว
ขณะที่ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ชี้แจงว่า รายละเอียดวงเงินการเปลี่ยนป้ายชื่อ 33 ล้านบาท ประกอบด้วย 1.งานรื้อถอนป้ายสถานีกลางบางซื่อเดิม 6.2 ล้านบาท 2.งานติดตั้งกระจกและโครงกระจกอะลูมิเนียมใหม่ทั้งหมด มีราคาสูงสุด 24.3 ล้านบาท 3.งานออกแบบ 4.งานติดตั้งและรื้อถอนวัสดุปิดแทนกระจกระหว่างเปิดใช้งาน 1.6 ล้านบาท ยืนยันไม่ได้ว่าราคา 33 ล้านบาท ถูกหรือแพง เพราะไม่ใช่คนกำหนดราคา แต่ทุกคนไม่ได้ต่างกันในการเข้าถึงข้อมูล
ส่วนการเปลี่ยนชื่อป้ายเป็นเรื่องประเพณีปฏิบัติ เพื่อความเป็นมหามงคล ไม่ใช่ความต้องการของตน เหมือนการเปลี่ยนชื่อสนามบินหนองงูเห่า เป็นสนามบินสุวรรณภูมิ หรือสถานที่ราชการหลายแห่งก็ดำเนินการลักษณะนี้เช่นกัน ขณะที่การต้องจ้างบริษัท ยูนิคฯ เป็นผู้รับผิดชอบ เพราะโครงการสถานีกลางบางซื่ออยู่ในระยะประกันสัญญา จึงต้องให้บริษัท ยูนิคฯ ที่เป็นผู้ก่อสร้างเดิมในโครงการเป็นผู้รับผิดชอบ
นายศักดิ์สยามชี้แจงต่อว่า ส่วนกรณีที่ รฟท.แพ้คดีบริษัท ยูนิค 7,500 ล้านบาทนั้น คดียังไม่ถึงที่สุด รฟท.ดำเนินการอุทธรณ์คดีอยู่ ส่วนการตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงเพราะเป็นเรื่องที่ประชาชนให้ความสนใจ ไม่ว่าผลออกมาอย่างไร จะแจ้งให้ประชาชนทราบแน่นอน ไม่มีปกปิด ผิดคือผิด ถ้าถูกก็ต้องดำเนินการต่อ ขอเวลาตรวจสอบเล็กน้อย
‘ก้าวไกล’ บี้ รัฐเร่งแก้ค่าไฟแพง ถาม ที่มาค่าบริการรายเดือน ‘สุพัฒนพงษ์’ แจง เป็นต้นทุนบำรุงรักษามิเตอร์
https://www.matichon.co.th/politics/news_3757137
‘ก้าวไกล’ บี้ รัฐเร่งแก้ค่าไฟแพง ถาม ที่มาค่าบริการรายเดือน ‘สุพัฒนพงษ์’ แจง เป็นต้นทุนบำรุงรักษามิเตอร์
เมื่อเวลา 12.05 น. วันที่ 5 มกราคม ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายสุชาติ ตันเจริญ รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 1 ทำหน้าที่ประธานการประชุม ในช่วงกระทู้ถามทั่วไป นายมานพ คีรีภูวดล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล (ก.ก.) ตั้งกระทู้ถามทั่วไป เรื่องค่าไฟฟ้าราคาแพง ถามนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ว่า รัฐธรรมนูญหมวด 5 มาตรา 56 ระบุว่า รัฐต้องจัดให้มีสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานต่อประชาชนอย่างทั่วถึง รัฐจะทำการใดๆ ให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชน หรือรัฐเป็นเจ้าของน้อยกว่าร้อยละ 50 จะกระทำไม่ได้ และการเรียกเก็บจะให้เป็นภาระต่อประชาชนไม่ได้ ประชาชนต้องเข้าถึงอย่างเป็นธรรมเสมอภาค ซึ่งค่าบริการรายเดือนในบิลค่าไฟ จำนวน 38.22
บาท ในรายละเอียดบอกว่าเป็นค่าพิมพ์บิล ค่ารักษามิเตอร์ และค่าจัดส่งเอกสาร ทั้งที่ประชาชนจ่ายค่ามิเตอร์ไปแล้ว เงินประกันก็อยู่ที่การไฟฟ้าแล้ว ส่วนบิลเป็นเรื่องปกติที่หน่วยงานจะต้องทำบิลส่งอยู่แล้ว
นายมานพกล่าวต่อว่า ทั้งนี้ จากการตรวจสอบมิเตอร์ในประเทศไทยมีประมาณ 50 ล้านมิเตอร์ คิดเป็นเงินจำนวน 1,911 ล้านบาทต่อเดือน ที่ประชาชนจะต้องจ่าย ตนถามว่าค่าบริการรายเดือนดังกล่าวมีที่มาที่ไปอย่างไร จะจัดการไม่ให้มีได้อย่างไร เพราะไม่มีความเหมาะสม ไม่มีความเป็นธรรมกับประชาชน และเป็นการเก็บค่าบริการเกินควร นอกจากนี้ ตนอยากเห็นตัวเลขโครงสร้างพลังงานว่ามีเกินความจำเป็นเท่าไหร่ และในระยะเร่งด่วน มีแนวทางลดค่าไฟฟ้าให้ยั่งยืนได้อย่างไร