อานาปานสติ เป็นอารมณ์ของมหาบุรุษ ถ้ามิใช่มหาบุรุษ ก็เจริญสำเร็จได้ยาก

ผมไม่ขอค้านกับผู้ใดนะครับ  แต่ถ้าท่านใดจะค้าน ก็ขอให้ค้านโดยตรงกับพระพุทธเจ้านะครับ

https://www.dhammahome.com/cd/topic/47/2

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 364

จริงอยู่ กรรมฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมสำเร็จแก่ผู้มีสติ มีความรู้
ตัวเท่านั้น แม้ก็จริง, ถึงกระนั้น กรรมฐานอย่างอื่น นอกจากอานาปานัสสติ
กรรมฐานนี้ ย่อมปรากฏได้แก่ผู้ที่มนสิการอยู่. แต่อานาปานัสสติกรรมฐานนี้
เป็นภาระหนัก เจริญสำเร็จได้ยาก ทั้งเป็นภูมิแห่งมนสิการของมหาบุรุษ
ทั้งหลาย คือ พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพุทธบุตรเท่านั้น,
ไม่ใช่เป็นกรรมฐานต่ำต้อย, ทั้งมิได้เป็นกรรมฐานที่สัตว์ผู้ต่ำต้อยซ่องเสพ,
เป็นกรรมฐานสงบและละเอียด โดยประการที่มหาบุรุษทั้งหลายย่อมทำไว้ใน
ใจ ; เพราะฉะนั้นในอานาปานัสสติกรรมฐานนี้ จำต้องปรารถนาสติและปัญญา
อันมีกำลัง. เหมือนอย่างว่า ในเวลาชุนผ้าสาฎกเนื้อเกลี้ยง แม้เข็มก็จำต้อง
ปรารถนาอย่างเล็ก, แม้ด้ายซึ่งร้อยในบ่วงเข็ม ก็จำต้องปรารถนาเส้นละเอียด
กว่านั้น ฉันใด, ในเวลาเจริญกรรมฐานนี้ ซึ่งเป็นเช่นกับผ้าสาฎกเนื้อเกลี้ยง
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สติมีส่วนเปรียบด้วยเข็มก็ดี ปัญญาที่สัมปยุตด้วยสตินั้น
มีส่วนเปรียบด้วยด้ายร้อยบ่วงเข็มก็ดี จำต้องปรารถนาให้มีกำลัง.
ก็แล ภิกษุผู้ประกอบด้วยสติและปัญญานั้นแล้ว ไม่จำต้องแสวงหา
ลมหายใจเข้าและหายใจออกนั้น นอกจากโอกาสที่ลมถูกต้องโดยปกติ. เปรียบ
เหมือนชาวนาไถนาแล้วปล่อยพวกโคถึก ให้บ่ายหน้าไปสู่ที่หากิน แล้วพึงนั่ง
พักที่ร่มไม้, คราวนั้นพวกโคถึกเหล่านั้นของเขาก็เข้าดงไป โดยเร็ว. ชาวนา
ผู้ฉลาด ประสงค์จะจับโคถึกเหล่านั้นมาเทียมไถอีก จะไม่เดินคามรอยเท้าโค
ถึกเหล่านั้นเข้าไปยังดง, โดยที่แท้ เขาจะ ถือเอาเชือกและประตักเดินตรงไป
ยังท่าน้ำซึ่งโคถึกเหล่านั้นลงทีเดียว นั่งหรือนอนคอยอยู่. เวลานั้นเขาได้เห็น
โคเหล่านั้น ซึ่งเที่ยวไปสิ้นทั้งวัน แล้วลงไปสู่ท่าน้าดื่มอาบและกินน้ำแล้ว
ขึ้นมายืนอยู่ จึงเอาเชือกผูกแล้วเอาประตักทิ่มแทง นำไปเทียม (ไถ) ทำการ
งานอีก ฉันใด ภิกษุนั้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่จำต้องแสวงหาลมหายใจเข้า
และหายใจออก นอกจากโอกาสที่ลมถูกต้องโดยปกติ แต่พึงถือเอาเชือก คือ
สติ และประตักคือปัญญาแล้ว ตั้งจิตไว้ในโอกาสที่ลมถูกต้องโดยปกติ ยัง
มนสิการให้เป็นไป. เพราะว่า เมื่อเธอมนสิการอยู่อย่างนั้น ต่อกาลไม่นานเลย
ลมหายใจเข้าและหายใจออกนั้น จะปรากฏดุจพวกโคปรากฏที่ท่าลงดื่มฉะนั้น.
ในลำดับนั้น เธอพึงเอาเชือกคือสติผูกประกอบไว้ในที่นั้นนั่นแหละ แล้วแทง
ด้วยประตักคือปัญญาตามประกอบกรรมฐานอีก. เมื่อเธอหมั่นประกอบอยู่
อย่างนั้น ต่อกาลไม่นานเลย นิมิตจะปรากฏ.
อาจารย์บางพวกกล่าวไว้ว่า ก็นิมิตนี้นั้น ย่อมไม่เป็นเช่นเดียวกัน
แก่พระโยคาวจรทุกรูป. อนึ่งแล นิมิตนั้น ย่อมปรากฏแก่พระโยคาวจรบางรูป
ดุจปุยนุ่น ดุจปุยฝ้าย และดุจสายลม ให้เกิดสุขสัมผัส.
ส่วนวินิจฉัยในอรรถกถา มีดังต่อไปนี้ :- จริงอยู่ นิมิตนี้ ย่อม
ปรากฏแก่พระโยคาวจรบางรูป ดุจดวงดาว ดุจพวงแก้วมณี และดุจพวงแก้ว
มุกดา บางรูปปรากฏเป็นของมีสัมผัสหยาบ ดุจเมล็ดฝ้าย และดุจเสี้ยนไม้แก่น,
บางรูปปรากฏเป็นของสายสังวาลที่ยาว ดุจพวงแห่งดอกคำ และดุจเปลวควัน
ไฟ, ปางรูปดุจใยแมลงมุมที่กว้าง ดุจช่อกลีบเมฆ ดุจดอกปทุม ดุจล้อรถ
ดุจมณฑลจันทร์ และดุจมณฑลพระอาทิตย์ ฉะนั้น.
ก็แล กรรมฐานนี้นั้นเป็นอันเดียวกันแท้ ๆ แต่ปรากฏโดยความต่าง
กัน เพราะมีสัญญาต่างกัน เหมือนบรรดาภิกษุหลายรูปด้วยกัน นั่งสาธยาย
พระสูตรอยู่ เมื่อภิกษุรูปหนึ่ง พูดว่า พระสูตรนี้ ย่อมปรากฏแก่พวกท่าน
เป็นเช่นไร้ ? รูปหนึ่งพูดว่า ย่อมปรากฏแก่ผม เป็นเหมือนแม่น้ำไหลตกจาก
ภูเขาใหญ่, อีกรูปอื่น พูดว่า ย่อมปรากฏแก่ผม เป็นเหมือนแนวป่าแห่งหนึ่ง,
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่