ญาณ ๑๖ หรือ โสฬสญาณ ความหยั่งรู้ ในที่นี้หมายถึงญาณที่เกิดขึ้นแก่ผู้เจริญวิปัสสนาตามลำดับ ตั้งแต่ต้นจนถึงที่สุด
๑. นามรูปปริจเฉทญาณ หรือเรียกว่า สังขารปริจเฉท บ้าง นามรูปววัฏฐาน บ้าง หมายถึง ความรู้จักรูปธรรม-นามธรรมว่า สิ่งที่มีอยู่เป็นอยู่ พอนับได้ว่าเป็นของจริง ก็มีแต่รูปธรรมและนามธรรมเท่านั้น และกําหนดได้ว่า ในการรับรู้และเคลื่อนไหวต่างๆ ของตนนั้น อะไรเป็นรูปธรรม อะไรเป็นนามธรรม เช่น เมื่อ เห็นรูป จักขุประสาท แสง และรูปหรือสี เป็นรูปธรรม จักขุวิญญาณ หรือการเห็น เป็นนามธรรม ดังนี้เป็นต้น
๒. นามรูปปัจจัยปริคคหญาณ หมายถึง ญาณที่กําหนดปัจจัยของนามรูป ญาณขั้นนี้ เรียกได้ หลายชื่อ ว่า ธัมมัฏฐิติญาณ บ้าง ยถาภูตญาณ บ้าง สัมมาทัสสนะ บ้าง ผู้ประกอบด้วยญาณขั้นนี้ พระอรรถกถาจารย์เรียกว่าเป็น “จูฬโสดาบัน” คือ พระโสดาบันน้อย เป็นผู้มี คติ คือทางไปก้าวหน้า ที่แน่นอนในพระพุทธศาสนา
๓. สัมมสนญาณ หมายถึง ญาณที่พิจารณา หรือตรวจตรา (นามรูปตามแนวไตรลักษณ์) เมื่อพิจารณาด้วยสัมมสนญาณไปจนญาณแก่กล้าขึ้น เริ่มมองเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมสลายไป ของสิ่งทั้งหลาย มองเห็นความแปรปรวนของปัจจุบันธรรมว่า ธรรมเหล่านี้ ไม่มีแล้วก็มีขึ้น มีขึ้นแล้วก็ดับล่วงไป มองเห็นการเกิดและดับสลาย ทั้งโดยปัจจัย และเป็นขณะๆ ไป ก็เริ่มเกิดญาณใหม่เรียกว่า อุทยัพพยานุปัสสนา แต่ยังเป็นญาณใหม่ๆ อยู่ และญาณนี้ตอนนี้เอง ที่เรียกว่า ดรุณวิปัสสนา หรือ ตรุณวิปัสสนาญาณ (วิปัสสนา ญาณอ่อนๆ) ผู้ได้ดรุณวิปัสสนานี้ เรียกว่า “อารัทธวิปัสสก” (ผู้เริ่มเห็นแจ้ง หรือผู้ได้เริ่มวิปัสสนาแล้ว) และในตอนนี้ เอง วิปัสสนูปกิเลส” เช่น โอภาส คือ แสงสว่างแสนงาม เป็นต้น จะเกิดขึ้น ชวนให้หลงผิดและติดใจ ถ้ารู้เท่า ทันผ่านพ้นไปได้ กําหนดแยกว่าอะไรเป็นทางอะไรไม่ใช่ทางได้แล้ว
๔. อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ หรือเรียกสั้นๆ ว่า อุทยัพพยญาณ ญาณอันตามเห็นความเกิดดับ คือ พิจารณาความเกิดขึ้นและความดับไปแห่งเบญจขันธ์ จนเห็นปัจจุบันธรรมที่กําลังเกิดขึ้นและดับสลายไปๆ ชัดเจน เข้าใจภาวะที่เป็นของไม่เที่ยง ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ ไม่อยู่ในบังคับบัญชาตามความอยากของใคร หยั่งทราบว่า สิ่งทั้งหลาย เกิดขึ้น ครั้นแล้ว ก็ต้องดับไป ล้วนเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปทั้งหมด เมื่อเกิดการรับรู้หรือ เคลื่อนไหวใดๆ ในแต่ละขณะ ก็มองเห็นนามธรรม รูปธรรม และตัวรู้หรือผู้รู้ ที่เกิดขึ้น แล้วทั้งรูปธรรม นามธรรมและตัวรู้นั้น ก็ดับไปพร้อมกันทั้งหมด เป็นความรู้เห็นชัดแก่กล้า (พลววิปัสสนา) ทําให้ละนิจจสัญญา สุขสัญญา และอัตตสัญญาได้
๕. ภังคานุปัสสนาญาณ เรียกสั้นว่า ภังคญาณ ญาณอันตามเห็นความสลาย คือ เมื่อเห็นความ เกิดดับเช่นนั้นชัดเจนเข้า ก็จะคํานึงเห็นเด่นชัดในส่วนความดับที่เป็นจุดจบสิ้น มองเห็นแต่อาการที่สิ่งทั้งหลาย ดับไปๆ เห็นว่าสิ่งทั้งหลายทั้งปวง ล้วนจะต้องดับสลายไปทั้งหมด
๖. ภยตูปัฏฐานญาณ เรียกสั้นว่า ภยญาณ ญาณอันมองเห็นสังขารปรากฎเป็นของน่ากลัว คือ เมื่อพิจารณาเห็นแต่ความแตกสลาย อันมีแก่สิ่งทั้งปวงหมดทุกอย่างเช่นนั้นแล้ว สังขารทั้งปวงไม่ว่าจะเป็นไปใน ภพใดคติใด ก็ปรากฏเป็นของน่ากลัว เพราะล้วนแต่จะต้องแตกสลายไป ไม่ปลอดภัยทั้งสิ้น
๗. อาทีนวานุปัสสนาญาณ เรียกสั้นว่า อาทีนวญาณ ญาณอันคํานึงเห็นโทษ คือ เมื่อพิจารณา เห็นสังขารทั้งปวงล้วนต้องแตกสลายไป เป็นของน่ากลัว ไม่ปลอดภัยทั้งสิ้นแล้ว ย่อมคํานึงเห็นสังขารทั้งปวงนั้น ว่าเป็นโทษ เป็นสิ่งที่มีความบกพร่อง จะต้องระคนอยู่ด้วยทุกข์
๘. นิพพิทานุปัสสนาญาณ เรียกสั้นว่า นิพพิทาญาณ ญาณอันคํานึงเห็นด้วยความหน่าย คือ เมื่อพิจารณาเห็นสังขารว่าเป็นโทษเช่นนั้นแล้ว ย่อมเกิดความหน่าย ไม่เพลิดเพลินติดใจ
๙. มุจจิตุกัมยตาญาณ หมายถึง ญาณหยั่งรู้ที่ทําให้ต้องการจะพ้นไปเสีย คือ เมื่อหน่ายสังขารทั้งหลาย แล้ว ย่อมปรารถนาที่จะพ้นไปเสียจากสังขารเหล่านั้น
๑๐. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ หรือ ปฏิสังขาญาณ ญาณอันพิจารณาทบทวนเพื่อให้เห็นทาง คือ เมื่อต้องการจะพ้นไปเสีย จึงกลับหันไปยกเอาสังขารทั้งหลายขึ้นมาพิจารณากําหนดด้วยไตรลักษณ์ เพื่อมองหา อุบายที่จะปลดเปลื้องออกไป
๑๑. สังขารุเบกขาญาณ หมายถึง ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร คือ เมื่อพิจารณาสังขาร ทั้งหลายต่อไป ย่อมเกิดความรู้เห็นสภาวะของสังขารตามเป็นจริงว่า มันก็เป็นอยู่เป็นไปของมันอย่างนั้นเป็น ธรรมดา หรือเป็นธรรมดาของมันอย่างนั้นเอง จึงวางใจเป็นกลางเรียบเฉยได้ ไม่ยินดียินร้าย ไม่ขัดใจติดใจ ใน สังขารทั้งหลาย แต่นั้นก็มองเห็นนิพพานเป็นสันติบท ญาณจึงโน้มน้อมที่จะมุ่งแล่นไปยังนิพพาน เลิกละความ เกี่ยวเกาะกับสังขารทั้งหลาย ญาณข้อนี้จัดเป็นสิขาปปัตตวิปัสสนา คือ วิปัสสนาที่ถึงจุดสุดยอด และเป็นวุฏฐาน คามินีวิปัสสนา คือ วิปัสสนาที่เชื่อมถึงมรรค อันเป็นที่ออกจากสิ่งที่ยึด หรือออกจากสังขาร
๑๒. สัจจานุโลมิกญาณ หรือ อนุโลมญาณ ญาณอันเป็นไปโดยอนุโลมแก่การหยั่งรู้อริยสัจ คือ เมื่อวางใจเป็นกลางต่อสังขารทั้งหลาย ไม่พะวง และญาณก็โน้มน้อมแล่นมุ่งตรงสู่นิพพานแล้ว ญาณอันคล้อยต่อ การตรัสรู้อริยสัจ ย่อมเกิดขึ้นในลําดับถัดไป เป็นขั้นสุดท้ายของวิปัสสนาญาณ
๑๓. โคตรภูญาณ หมายถึง ญาณครอบโคตร ต่อจากอนุโลมญาณ ก็จะเกิด โคตรภูญาณ ญาณครอบโคตร คือ ญาณที่เป็นหัวต่อ ระหว่างภาวะ ปุถุชน กับภาวะอริยบุคคล มาคั่นกลาง
๑๔. มัคคญาณ หมายถึง ญาณในอริยมรรค คือ ความหยั่งรู้ที่ให้สำเร็จภาวะอริยบุคคลแต่ละขั้น
๑๕. ผลญาณ หมายถึง ญาณในอริยผล คือ ความหยั่งรู้ที่เป็นผลสำเร็จของพระอริยบุคคลชั้นนั้นๆ
๑๖. ปัจจเวกขณญาณ หมายถึง ญาณหยั่งรู้ด้วยการพิจารณาทบทวน คือ สำรวจรู้มรรค ผล กิเลสที่ละแล้ว กิเลสที่เหลืออยู่ และนิพพาน เว้นแต่ว่าพระอรหันต์ไม่มีการพิจารณากิเลสที่ยังเหลืออยู่
หลักฐานและสภาวะของวิปัสสนาญาณ ๑๖ - หนังสือ คู่มือปฏิบัติสมถวิปัสสนากัมมัฏฐาน ๕ สาย
วิปัสสนาญาณ เป็นผลของวิปัสสนากัมมัฏฐาน ซึ่งหมายถึง ปัญญาที่กําหนดจนรู้เห็น ว่าขันธ์ ๕ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา คือเห็นประจักษ์แจ้งซึ่งไตรลักษณ์แห่งรูปและนาม โดย อาศัยวิปัสสนากัมมัฏฐานเป็นฐานในการฝึกปฏิบัติ เพื่อให้เกิดวิปัสสนาญาณ หรือที่เรียกว่า โสฬสญาณ นั้น มีเนื้อหาสาระปรากฏในขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค ที่ว่าด้วย ญาณ ๗๓ ซึ่งท่านพระสารีบุตรได้อธิบายสาระสําคัญของโสฬสญาณไว้ เพียงแต่ไม่ระบุชื่อญาณ เหมือน ที่ปรากฏในคัมภีร์วิสุทธิมรรคที่เรียงวิปัสสนาญาณตามลําดับทั้ง ๑๖ ขั้น ฉะนั้น ความหมาย และที่มาของญาณ ปรากฏทั้งในพระไตรปิฎกและคัมภีร์อรรถกถาอย่างครบถ้วน เพียงแต่ บางญาณถูกจัดรวมเข้าเป็นหมวดหมู่กัน และบางญาณก็ถูกเรียกชื่อแตกต่างกันออกไป วิปัสสนาญาณทั้ง ๑๖ ที่เกิดจากผลของการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน ซึ่งเป็นเส้นทางตรงสู่ พระนิพพาน มีดังต่อไปนี้
คัมภีร์วิสุทธิมรรค พระพุทธโฆสเถระ รจนา , สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร) แปลและเรียบเรียง
ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธินิเทศ
วิปัสสนาที่บรรลุถึงยอดด้วยญาณ ๙ และสัจจานุโลมิกญาณอันดับที่ (๙) นี้ เรียกชื่อว่า ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ คือ ความบริสุทธิ์ของความรู้และความเห็นในทางปฏิบัติถูก และในคำว่า "ญาณ ๙" นี้พึงทราบไว้ว่าหมายถึงญาณ ๘ เหล่านี้คือ
๔. อุทยพยานุปัสสนาญาณ(อย่างแก่) ซึ่งเรียกว่าวิปัสสนาที่พ้นจากอุปกิเลสดำเนินไปตามวิถี (ของวิปัสสนา)
๕. ภังคานุปัสสนาญาณ ญาณกำหนดรู้ด้วยการเห็นเนืองๆ ซึ่งความดับ
๖. ภยตุปัฏฐานญาณ ญาณกำหนดรู้โดยปรากฏเป็นของน่ากลัว
๗. อาทีนวานุปัสสนาญาณ ญาณกำหนดรู้ด้วยการเห็นเนืองๆ ซึ่งโทษชั่วร้าย
๘. นิพพิทานุปัสสนาญาณ ญาณกำหนดรู้ด้วยการเห็นเนืองๆ ด้วยความเบื่อหน่าย
๙. มุญจิตุกัมยตาญาณ ญาณกำหนดรู้ด้วยความปรารถนาจะพ้นไป
๑๐. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ ญาณกำหนดรู้ด้วยการเห็นเนืองๆ โดยพิจารณาทบทวน
๑๑. สังขารุเปกขาญาณ ญาณกำหนดรู้ด้วยการวางเฉยในสังขาร
คำว่า "สัจจานุโลมิกญาณ อันดับที่ (๑๒)" นั้นเป็นคำเรียก "อนุโลมญาณ" เพราะฉะนั้นโยคาวจรผู้ปรารถนาบรรลุอนุโลมญาณนั้น จะต้องกระทำโยคะในญาณทั้งหลายดังกล่าวนี้ ตั้งแต่ อุทยพยญาณ (อย่างแก่) ซึ่งพ้นแล้วจากอุปกิเลส เป็นต้นไป
๔. พลวอุทยพยญาณ หรือ อุทยพยญาณอย่างแก่ หากมีคำถามว่า กระทำโยคะในอุทยพยญาณต่อไปอีก มีประโยชน์อะไร ?
(ตอบว่า) มีประโยชน์ในการกำหนดรู้ (พระไตรลักษณ์) เพราะว่า อุทยพยญาณ ในตอนต้นๆ (อย่างอ่อน) เป็นญาณที่ถูกอุปกิเลส ๑๐ ทำให้มัวหมอง ไม่สามารถกำหนดรู้พระไตรลักษณ์โดยหน้าที่ของตนตามเป็นจริงได้ แต่อุทยพยญาณ (อย่างแก่) ที่พ้นจากอุปกิเลสแล้ว สามารถกำหนดรู้ (พระไตรลักษณ์) ได้ เพราะฉะนั้น โยคาวจรจึงต้องทำโยคะในอุทยพยญาณนี้ต่อไปอีก เพื่อกำหนดรู้ (พระไตรลักษณ์)
(ถามว่า) แต่ทว่า พระไตรลักษณ์ทั้งหลาย ก็ยังมิปรากฏ เพราะอะไรปิดบังไว้ ? เพราะไม่มนสิการอะไร ?
(ตอบว่า) ก่อนอื่น อนิจจลักษณะไม่ปรากฏเพราะสันตติปิดบังไว้ เพราะไม่มนสิการความเกิดและความดับ ทุกขลักษณะไม่ปรากฏเพราะอิริยาบถทั้งหลายปิดบังไว้ เพราะไม่มนสิการความเบียดเบียนเฉพาะหน้าเนืองๆ อนัตตลักษณะไม่ปรากฏเพราะแท่ง (หรือก้อน) ปิดบังไว้ เพราะไม่มนสิการถึงความสลายตัวของธาตุต่าง ๆ แต่ว่า เมื่อโยคาวจร กำหนดรู้ความเกิดและความดับแล้วเพิกถอนสันตติออกไป อนิจจลักษณะก็ปรากฏ โดยหน้าที่ของตนตามเป็นจริง เมื่อมนสิการความเบียดเบียนเฉพาะหน้าเนืองๆ แล้วเพิกถอนอิริยาบถ ทุกขลักษณะก็ปรากฏ โดยหน้าที่ของตนตามเป็นจริง เมื่อกระจายธาตุต่างๆ ออกไป แล้วทำการกระจายความเป็นก้อน" (เป็นแท่ง เป็นกลุ่ม) ออกไป อนัตตลักษณะก็ปรากฏ
วิภาค ๖การจำแนกลักษณะทั้ง ๓ นี้ไว้ ดังนี้คือ
อนิจจะ ความไม่เที่ยง
อนิจจลักษณะ ลักษณะของความไม่เที่ยง
ทุกขะ ความเป็นทุกข์
ทุกขลักษณะ ลักษณะของความเป็นทุกข์
อนัตตา ความไม่มีอัตตา
อนัตตลักษณะ ลักษณะของความไม่มีอัตตา
ในวิภาคนั้น
ขันธ์ ๕ ชื่อว่า อนิจจะ (ถาม) เพราะเหตุไร? (ตอบ) เพราะเกิดขึ้นดับไปและมีความเป็นอย่างอื่น หรือว่า เพราะมีแล้วหามีไม่ (ได้แก่ เพราะเกิดแล้วดับไป)
ความเกิดขึ้น ดับไป และความเป็นอย่างอื่น เป็น อนิจจลักษณะ หรือว่าอาการและพิการ กล่าวคือ ความมีแล้วหามีไม่ (เกิดแล้วดับไป) เป็นอนิจจลักษณะ
แต่ขันธ์ ๕ นั้นนั่นแลเป็น ทุกขะ เพราะมีพระพุทธดำรัสอยู่ว่า "ยทนิจฺจํ ตํทุกฺขํ - สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์" เพราะเหตุไร ? เพราะเบียดเบียนเฉพาะหน้าเนืองๆ
อาการเบียดเบียนเฉพาะหน้าเนือง ๆ เป็น "ทุกขลักษณะ"
และขันธ์ ๕ นั้นนั่นเอง ชื่อว่าเป็น อนัตตา เพราะมีพระพุทธดำรัสอยู่ว่า "ยํ ทุกฺขํ ตทนตฺตา - สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา" เพราะเหตุไร ?เพราะไม่เป็นไปในอำนาจ
อาการไม่เป็นไปในอำนาจ เป็น อนัตตลักษณะ
โยคาวจรนี้กำหนดรู้วิภาคนี้นั้นอยู่แม้ทั้งหมด ด้วยอุทยพยญาณ (อย่างแก่) ที่ท่านเรียกว่า วิปัสสนาซึ่งพ้นไปแล้วจากอุปกิเลส ดำเนินไปตามวิถี โดยหน้าที่ของตนตามเป็นจริง
๕. ภังคานุปัสสนาญาณ
เมื่อโยคาวจรนั้นกำหนดรู้อยู่อย่างนี้แล้วชั่งใจ ไตร่ตรองรูปธรรมและอรูปธรรม (รูปและนาม) ทั้งหลายว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา อยู่แล้ว ๆ เล่า ๆ ญาณนั้นก็ดำเนินไปแก่กล้า สังขารทั้งหลายก็ปรากฏรวดเร็ว เมื่อญาณดำเนินไปแก่กล้า เมื่อสังขารทั้งหลายปรากฏรวดเร็ว ญาณก็ตามไม่ทันความเกิดขึ้น หรือความตั้งอยู่ หรือความเป็นไป หรือนิมิต (ของสังขารทั้งหลาย) สติ (คือญาณ) ก็ตั้งมั่นอยู่ในนิโรธ คือความสิ้นไป ความเสื่อมไป และความแตกทำลายไปแต่อย่างเดียว
พระบาลีอธิบายความภังคานุปัสสนาญาณ
เมื่อโยคาวจรนั้นเห็นอยู่ว่า "สังขารเกิดขึ้นอย่างนี้ แล้วดับไปอย่างนี้เป็นธรรมดา" ดังนี้ วิปัสสนาญาณชื่อว่า ภังคานุปัสสนา ก็เกิดขึ้น ณ ที่ตรงนี้ ซึ่งท่านกล่าวระบุถึงไว้ (ในพระบาลีปฏิสัมภิทามรรค) แปลความว่า "ถามว่า ปัญญาในการกำหนดรู้อารมณ์แล้วเห็นเนืองๆ ซึ่งความดับ ชื่อว่า วิปัสสนาญาณ เป็นอย่างไร"
จิตมีรูปเป็นอารมณ์ เกิดขึ้นแล้วดับไป โยคีกำหนดรู้อารมณ์นั้นแล้วเห็นอยู่เนืองๆ ซึ่งความดับของจิตนั้น ที่ว่า "เห็นเนืองๆ" คือ เห็นเนืองๆ อย่างไร คือ เห็นเนืองๆ โดยความไม่เที่ยง มิใช่เห็นเนืองๆ โดยความเป็นของเที่ยง เห็นเนืองๆ โดยความเป็นทุกข์ มิใช่เห็นเนืองๆ โดยความเป็นสุข เห็นเนืองๆ โดยความเป็นอนัตตา มิใช่เห็นเนืองๆ โดยความเป็นอ
ญาณ ๑๖ หรือโสฬสญาณ บรรยายโดยผม ศ.ดร จำนง ธรรมจารี ประธานหลักสูตรครุศาสตร์ มจร.สงฆ์วังน้อย
๑. นามรูปปริจเฉทญาณ หรือเรียกว่า สังขารปริจเฉท บ้าง นามรูปววัฏฐาน บ้าง หมายถึง ความรู้จักรูปธรรม-นามธรรมว่า สิ่งที่มีอยู่เป็นอยู่ พอนับได้ว่าเป็นของจริง ก็มีแต่รูปธรรมและนามธรรมเท่านั้น และกําหนดได้ว่า ในการรับรู้และเคลื่อนไหวต่างๆ ของตนนั้น อะไรเป็นรูปธรรม อะไรเป็นนามธรรม เช่น เมื่อ เห็นรูป จักขุประสาท แสง และรูปหรือสี เป็นรูปธรรม จักขุวิญญาณ หรือการเห็น เป็นนามธรรม ดังนี้เป็นต้น
๒. นามรูปปัจจัยปริคคหญาณ หมายถึง ญาณที่กําหนดปัจจัยของนามรูป ญาณขั้นนี้ เรียกได้ หลายชื่อ ว่า ธัมมัฏฐิติญาณ บ้าง ยถาภูตญาณ บ้าง สัมมาทัสสนะ บ้าง ผู้ประกอบด้วยญาณขั้นนี้ พระอรรถกถาจารย์เรียกว่าเป็น “จูฬโสดาบัน” คือ พระโสดาบันน้อย เป็นผู้มี คติ คือทางไปก้าวหน้า ที่แน่นอนในพระพุทธศาสนา
๓. สัมมสนญาณ หมายถึง ญาณที่พิจารณา หรือตรวจตรา (นามรูปตามแนวไตรลักษณ์) เมื่อพิจารณาด้วยสัมมสนญาณไปจนญาณแก่กล้าขึ้น เริ่มมองเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมสลายไป ของสิ่งทั้งหลาย มองเห็นความแปรปรวนของปัจจุบันธรรมว่า ธรรมเหล่านี้ ไม่มีแล้วก็มีขึ้น มีขึ้นแล้วก็ดับล่วงไป มองเห็นการเกิดและดับสลาย ทั้งโดยปัจจัย และเป็นขณะๆ ไป ก็เริ่มเกิดญาณใหม่เรียกว่า อุทยัพพยานุปัสสนา แต่ยังเป็นญาณใหม่ๆ อยู่ และญาณนี้ตอนนี้เอง ที่เรียกว่า ดรุณวิปัสสนา หรือ ตรุณวิปัสสนาญาณ (วิปัสสนา ญาณอ่อนๆ) ผู้ได้ดรุณวิปัสสนานี้ เรียกว่า “อารัทธวิปัสสก” (ผู้เริ่มเห็นแจ้ง หรือผู้ได้เริ่มวิปัสสนาแล้ว) และในตอนนี้ เอง วิปัสสนูปกิเลส” เช่น โอภาส คือ แสงสว่างแสนงาม เป็นต้น จะเกิดขึ้น ชวนให้หลงผิดและติดใจ ถ้ารู้เท่า ทันผ่านพ้นไปได้ กําหนดแยกว่าอะไรเป็นทางอะไรไม่ใช่ทางได้แล้ว
๔. อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ หรือเรียกสั้นๆ ว่า อุทยัพพยญาณ ญาณอันตามเห็นความเกิดดับ คือ พิจารณาความเกิดขึ้นและความดับไปแห่งเบญจขันธ์ จนเห็นปัจจุบันธรรมที่กําลังเกิดขึ้นและดับสลายไปๆ ชัดเจน เข้าใจภาวะที่เป็นของไม่เที่ยง ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ ไม่อยู่ในบังคับบัญชาตามความอยากของใคร หยั่งทราบว่า สิ่งทั้งหลาย เกิดขึ้น ครั้นแล้ว ก็ต้องดับไป ล้วนเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปทั้งหมด เมื่อเกิดการรับรู้หรือ เคลื่อนไหวใดๆ ในแต่ละขณะ ก็มองเห็นนามธรรม รูปธรรม และตัวรู้หรือผู้รู้ ที่เกิดขึ้น แล้วทั้งรูปธรรม นามธรรมและตัวรู้นั้น ก็ดับไปพร้อมกันทั้งหมด เป็นความรู้เห็นชัดแก่กล้า (พลววิปัสสนา) ทําให้ละนิจจสัญญา สุขสัญญา และอัตตสัญญาได้
๕. ภังคานุปัสสนาญาณ เรียกสั้นว่า ภังคญาณ ญาณอันตามเห็นความสลาย คือ เมื่อเห็นความ เกิดดับเช่นนั้นชัดเจนเข้า ก็จะคํานึงเห็นเด่นชัดในส่วนความดับที่เป็นจุดจบสิ้น มองเห็นแต่อาการที่สิ่งทั้งหลาย ดับไปๆ เห็นว่าสิ่งทั้งหลายทั้งปวง ล้วนจะต้องดับสลายไปทั้งหมด
๖. ภยตูปัฏฐานญาณ เรียกสั้นว่า ภยญาณ ญาณอันมองเห็นสังขารปรากฎเป็นของน่ากลัว คือ เมื่อพิจารณาเห็นแต่ความแตกสลาย อันมีแก่สิ่งทั้งปวงหมดทุกอย่างเช่นนั้นแล้ว สังขารทั้งปวงไม่ว่าจะเป็นไปใน ภพใดคติใด ก็ปรากฏเป็นของน่ากลัว เพราะล้วนแต่จะต้องแตกสลายไป ไม่ปลอดภัยทั้งสิ้น
๗. อาทีนวานุปัสสนาญาณ เรียกสั้นว่า อาทีนวญาณ ญาณอันคํานึงเห็นโทษ คือ เมื่อพิจารณา เห็นสังขารทั้งปวงล้วนต้องแตกสลายไป เป็นของน่ากลัว ไม่ปลอดภัยทั้งสิ้นแล้ว ย่อมคํานึงเห็นสังขารทั้งปวงนั้น ว่าเป็นโทษ เป็นสิ่งที่มีความบกพร่อง จะต้องระคนอยู่ด้วยทุกข์
๘. นิพพิทานุปัสสนาญาณ เรียกสั้นว่า นิพพิทาญาณ ญาณอันคํานึงเห็นด้วยความหน่าย คือ เมื่อพิจารณาเห็นสังขารว่าเป็นโทษเช่นนั้นแล้ว ย่อมเกิดความหน่าย ไม่เพลิดเพลินติดใจ
๙. มุจจิตุกัมยตาญาณ หมายถึง ญาณหยั่งรู้ที่ทําให้ต้องการจะพ้นไปเสีย คือ เมื่อหน่ายสังขารทั้งหลาย แล้ว ย่อมปรารถนาที่จะพ้นไปเสียจากสังขารเหล่านั้น
๑๐. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ หรือ ปฏิสังขาญาณ ญาณอันพิจารณาทบทวนเพื่อให้เห็นทาง คือ เมื่อต้องการจะพ้นไปเสีย จึงกลับหันไปยกเอาสังขารทั้งหลายขึ้นมาพิจารณากําหนดด้วยไตรลักษณ์ เพื่อมองหา อุบายที่จะปลดเปลื้องออกไป
๑๑. สังขารุเบกขาญาณ หมายถึง ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร คือ เมื่อพิจารณาสังขาร ทั้งหลายต่อไป ย่อมเกิดความรู้เห็นสภาวะของสังขารตามเป็นจริงว่า มันก็เป็นอยู่เป็นไปของมันอย่างนั้นเป็น ธรรมดา หรือเป็นธรรมดาของมันอย่างนั้นเอง จึงวางใจเป็นกลางเรียบเฉยได้ ไม่ยินดียินร้าย ไม่ขัดใจติดใจ ใน สังขารทั้งหลาย แต่นั้นก็มองเห็นนิพพานเป็นสันติบท ญาณจึงโน้มน้อมที่จะมุ่งแล่นไปยังนิพพาน เลิกละความ เกี่ยวเกาะกับสังขารทั้งหลาย ญาณข้อนี้จัดเป็นสิขาปปัตตวิปัสสนา คือ วิปัสสนาที่ถึงจุดสุดยอด และเป็นวุฏฐาน คามินีวิปัสสนา คือ วิปัสสนาที่เชื่อมถึงมรรค อันเป็นที่ออกจากสิ่งที่ยึด หรือออกจากสังขาร
๑๒. สัจจานุโลมิกญาณ หรือ อนุโลมญาณ ญาณอันเป็นไปโดยอนุโลมแก่การหยั่งรู้อริยสัจ คือ เมื่อวางใจเป็นกลางต่อสังขารทั้งหลาย ไม่พะวง และญาณก็โน้มน้อมแล่นมุ่งตรงสู่นิพพานแล้ว ญาณอันคล้อยต่อ การตรัสรู้อริยสัจ ย่อมเกิดขึ้นในลําดับถัดไป เป็นขั้นสุดท้ายของวิปัสสนาญาณ
๑๓. โคตรภูญาณ หมายถึง ญาณครอบโคตร ต่อจากอนุโลมญาณ ก็จะเกิด โคตรภูญาณ ญาณครอบโคตร คือ ญาณที่เป็นหัวต่อ ระหว่างภาวะ ปุถุชน กับภาวะอริยบุคคล มาคั่นกลาง
๑๔. มัคคญาณ หมายถึง ญาณในอริยมรรค คือ ความหยั่งรู้ที่ให้สำเร็จภาวะอริยบุคคลแต่ละขั้น
๑๕. ผลญาณ หมายถึง ญาณในอริยผล คือ ความหยั่งรู้ที่เป็นผลสำเร็จของพระอริยบุคคลชั้นนั้นๆ
๑๖. ปัจจเวกขณญาณ หมายถึง ญาณหยั่งรู้ด้วยการพิจารณาทบทวน คือ สำรวจรู้มรรค ผล กิเลสที่ละแล้ว กิเลสที่เหลืออยู่ และนิพพาน เว้นแต่ว่าพระอรหันต์ไม่มีการพิจารณากิเลสที่ยังเหลืออยู่
หลักฐานและสภาวะของวิปัสสนาญาณ ๑๖ - หนังสือ คู่มือปฏิบัติสมถวิปัสสนากัมมัฏฐาน ๕ สาย
วิปัสสนาญาณ เป็นผลของวิปัสสนากัมมัฏฐาน ซึ่งหมายถึง ปัญญาที่กําหนดจนรู้เห็น ว่าขันธ์ ๕ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา คือเห็นประจักษ์แจ้งซึ่งไตรลักษณ์แห่งรูปและนาม โดย อาศัยวิปัสสนากัมมัฏฐานเป็นฐานในการฝึกปฏิบัติ เพื่อให้เกิดวิปัสสนาญาณ หรือที่เรียกว่า โสฬสญาณ นั้น มีเนื้อหาสาระปรากฏในขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค ที่ว่าด้วย ญาณ ๗๓ ซึ่งท่านพระสารีบุตรได้อธิบายสาระสําคัญของโสฬสญาณไว้ เพียงแต่ไม่ระบุชื่อญาณ เหมือน ที่ปรากฏในคัมภีร์วิสุทธิมรรคที่เรียงวิปัสสนาญาณตามลําดับทั้ง ๑๖ ขั้น ฉะนั้น ความหมาย และที่มาของญาณ ปรากฏทั้งในพระไตรปิฎกและคัมภีร์อรรถกถาอย่างครบถ้วน เพียงแต่ บางญาณถูกจัดรวมเข้าเป็นหมวดหมู่กัน และบางญาณก็ถูกเรียกชื่อแตกต่างกันออกไป วิปัสสนาญาณทั้ง ๑๖ ที่เกิดจากผลของการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน ซึ่งเป็นเส้นทางตรงสู่ พระนิพพาน มีดังต่อไปนี้
คัมภีร์วิสุทธิมรรค พระพุทธโฆสเถระ รจนา , สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร) แปลและเรียบเรียง
ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธินิเทศ
วิปัสสนาที่บรรลุถึงยอดด้วยญาณ ๙ และสัจจานุโลมิกญาณอันดับที่ (๙) นี้ เรียกชื่อว่า ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ คือ ความบริสุทธิ์ของความรู้และความเห็นในทางปฏิบัติถูก และในคำว่า "ญาณ ๙" นี้พึงทราบไว้ว่าหมายถึงญาณ ๘ เหล่านี้คือ
๔. อุทยพยานุปัสสนาญาณ(อย่างแก่) ซึ่งเรียกว่าวิปัสสนาที่พ้นจากอุปกิเลสดำเนินไปตามวิถี (ของวิปัสสนา)
๕. ภังคานุปัสสนาญาณ ญาณกำหนดรู้ด้วยการเห็นเนืองๆ ซึ่งความดับ
๖. ภยตุปัฏฐานญาณ ญาณกำหนดรู้โดยปรากฏเป็นของน่ากลัว
๗. อาทีนวานุปัสสนาญาณ ญาณกำหนดรู้ด้วยการเห็นเนืองๆ ซึ่งโทษชั่วร้าย
๘. นิพพิทานุปัสสนาญาณ ญาณกำหนดรู้ด้วยการเห็นเนืองๆ ด้วยความเบื่อหน่าย
๙. มุญจิตุกัมยตาญาณ ญาณกำหนดรู้ด้วยความปรารถนาจะพ้นไป
๑๐. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ ญาณกำหนดรู้ด้วยการเห็นเนืองๆ โดยพิจารณาทบทวน
๑๑. สังขารุเปกขาญาณ ญาณกำหนดรู้ด้วยการวางเฉยในสังขาร
คำว่า "สัจจานุโลมิกญาณ อันดับที่ (๑๒)" นั้นเป็นคำเรียก "อนุโลมญาณ" เพราะฉะนั้นโยคาวจรผู้ปรารถนาบรรลุอนุโลมญาณนั้น จะต้องกระทำโยคะในญาณทั้งหลายดังกล่าวนี้ ตั้งแต่ อุทยพยญาณ (อย่างแก่) ซึ่งพ้นแล้วจากอุปกิเลส เป็นต้นไป
๔. พลวอุทยพยญาณ หรือ อุทยพยญาณอย่างแก่ หากมีคำถามว่า กระทำโยคะในอุทยพยญาณต่อไปอีก มีประโยชน์อะไร ?
(ตอบว่า) มีประโยชน์ในการกำหนดรู้ (พระไตรลักษณ์) เพราะว่า อุทยพยญาณ ในตอนต้นๆ (อย่างอ่อน) เป็นญาณที่ถูกอุปกิเลส ๑๐ ทำให้มัวหมอง ไม่สามารถกำหนดรู้พระไตรลักษณ์โดยหน้าที่ของตนตามเป็นจริงได้ แต่อุทยพยญาณ (อย่างแก่) ที่พ้นจากอุปกิเลสแล้ว สามารถกำหนดรู้ (พระไตรลักษณ์) ได้ เพราะฉะนั้น โยคาวจรจึงต้องทำโยคะในอุทยพยญาณนี้ต่อไปอีก เพื่อกำหนดรู้ (พระไตรลักษณ์)
(ถามว่า) แต่ทว่า พระไตรลักษณ์ทั้งหลาย ก็ยังมิปรากฏ เพราะอะไรปิดบังไว้ ? เพราะไม่มนสิการอะไร ?
(ตอบว่า) ก่อนอื่น อนิจจลักษณะไม่ปรากฏเพราะสันตติปิดบังไว้ เพราะไม่มนสิการความเกิดและความดับ ทุกขลักษณะไม่ปรากฏเพราะอิริยาบถทั้งหลายปิดบังไว้ เพราะไม่มนสิการความเบียดเบียนเฉพาะหน้าเนืองๆ อนัตตลักษณะไม่ปรากฏเพราะแท่ง (หรือก้อน) ปิดบังไว้ เพราะไม่มนสิการถึงความสลายตัวของธาตุต่าง ๆ แต่ว่า เมื่อโยคาวจร กำหนดรู้ความเกิดและความดับแล้วเพิกถอนสันตติออกไป อนิจจลักษณะก็ปรากฏ โดยหน้าที่ของตนตามเป็นจริง เมื่อมนสิการความเบียดเบียนเฉพาะหน้าเนืองๆ แล้วเพิกถอนอิริยาบถ ทุกขลักษณะก็ปรากฏ โดยหน้าที่ของตนตามเป็นจริง เมื่อกระจายธาตุต่างๆ ออกไป แล้วทำการกระจายความเป็นก้อน" (เป็นแท่ง เป็นกลุ่ม) ออกไป อนัตตลักษณะก็ปรากฏ
วิภาค ๖การจำแนกลักษณะทั้ง ๓ นี้ไว้ ดังนี้คือ
อนิจจะ ความไม่เที่ยง
อนิจจลักษณะ ลักษณะของความไม่เที่ยง
ทุกขะ ความเป็นทุกข์
ทุกขลักษณะ ลักษณะของความเป็นทุกข์
อนัตตา ความไม่มีอัตตา
อนัตตลักษณะ ลักษณะของความไม่มีอัตตา
ในวิภาคนั้น
ขันธ์ ๕ ชื่อว่า อนิจจะ (ถาม) เพราะเหตุไร? (ตอบ) เพราะเกิดขึ้นดับไปและมีความเป็นอย่างอื่น หรือว่า เพราะมีแล้วหามีไม่ (ได้แก่ เพราะเกิดแล้วดับไป)
ความเกิดขึ้น ดับไป และความเป็นอย่างอื่น เป็น อนิจจลักษณะ หรือว่าอาการและพิการ กล่าวคือ ความมีแล้วหามีไม่ (เกิดแล้วดับไป) เป็นอนิจจลักษณะ
แต่ขันธ์ ๕ นั้นนั่นแลเป็น ทุกขะ เพราะมีพระพุทธดำรัสอยู่ว่า "ยทนิจฺจํ ตํทุกฺขํ - สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์" เพราะเหตุไร ? เพราะเบียดเบียนเฉพาะหน้าเนืองๆ
อาการเบียดเบียนเฉพาะหน้าเนือง ๆ เป็น "ทุกขลักษณะ"
และขันธ์ ๕ นั้นนั่นเอง ชื่อว่าเป็น อนัตตา เพราะมีพระพุทธดำรัสอยู่ว่า "ยํ ทุกฺขํ ตทนตฺตา - สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา" เพราะเหตุไร ?เพราะไม่เป็นไปในอำนาจ
อาการไม่เป็นไปในอำนาจ เป็น อนัตตลักษณะ
โยคาวจรนี้กำหนดรู้วิภาคนี้นั้นอยู่แม้ทั้งหมด ด้วยอุทยพยญาณ (อย่างแก่) ที่ท่านเรียกว่า วิปัสสนาซึ่งพ้นไปแล้วจากอุปกิเลส ดำเนินไปตามวิถี โดยหน้าที่ของตนตามเป็นจริง
๕. ภังคานุปัสสนาญาณ
เมื่อโยคาวจรนั้นกำหนดรู้อยู่อย่างนี้แล้วชั่งใจ ไตร่ตรองรูปธรรมและอรูปธรรม (รูปและนาม) ทั้งหลายว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา อยู่แล้ว ๆ เล่า ๆ ญาณนั้นก็ดำเนินไปแก่กล้า สังขารทั้งหลายก็ปรากฏรวดเร็ว เมื่อญาณดำเนินไปแก่กล้า เมื่อสังขารทั้งหลายปรากฏรวดเร็ว ญาณก็ตามไม่ทันความเกิดขึ้น หรือความตั้งอยู่ หรือความเป็นไป หรือนิมิต (ของสังขารทั้งหลาย) สติ (คือญาณ) ก็ตั้งมั่นอยู่ในนิโรธ คือความสิ้นไป ความเสื่อมไป และความแตกทำลายไปแต่อย่างเดียว
พระบาลีอธิบายความภังคานุปัสสนาญาณ
เมื่อโยคาวจรนั้นเห็นอยู่ว่า "สังขารเกิดขึ้นอย่างนี้ แล้วดับไปอย่างนี้เป็นธรรมดา" ดังนี้ วิปัสสนาญาณชื่อว่า ภังคานุปัสสนา ก็เกิดขึ้น ณ ที่ตรงนี้ ซึ่งท่านกล่าวระบุถึงไว้ (ในพระบาลีปฏิสัมภิทามรรค) แปลความว่า "ถามว่า ปัญญาในการกำหนดรู้อารมณ์แล้วเห็นเนืองๆ ซึ่งความดับ ชื่อว่า วิปัสสนาญาณ เป็นอย่างไร"
จิตมีรูปเป็นอารมณ์ เกิดขึ้นแล้วดับไป โยคีกำหนดรู้อารมณ์นั้นแล้วเห็นอยู่เนืองๆ ซึ่งความดับของจิตนั้น ที่ว่า "เห็นเนืองๆ" คือ เห็นเนืองๆ อย่างไร คือ เห็นเนืองๆ โดยความไม่เที่ยง มิใช่เห็นเนืองๆ โดยความเป็นของเที่ยง เห็นเนืองๆ โดยความเป็นทุกข์ มิใช่เห็นเนืองๆ โดยความเป็นสุข เห็นเนืองๆ โดยความเป็นอนัตตา มิใช่เห็นเนืองๆ โดยความเป็นอ