บุคคลย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวงหายใจออก
ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวงหายใจเข้าอย่างไร ฯ
กาย ในคำว่า กาโย มี ๒ คือ
นามกาย ๑ รูปกาย ๑ นามกายเป็นไฉน
เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ เป็นนามด้วย เป็นนามกายด้วย
และท่านกล่าวจิตสังขารว่า นี้เป็นนามกาย
รูปกายเป็นไฉน มหาภูตรูป ๔
รูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ ลมอัสสาสะปัสสาสะ นิมิต และท่านกล่าวว่า
กายสังขารที่เนื่องกัน นี้เป็นรูปกาย ฯ
ลม6กอง
[๑๓๘] ดูกรราหุล วาโยธาตุเป็นไฉน?
วาโยธาตุเป็นภายในก็มี เป็นภายนอกก็มี.
ก็วาโยธาตุเป็นเป็นไฉน
สิ่งใดเป็นภายใน อาศัยตน เป็นวาโย มีลักษณะพัดไปมา
อันกรรมและกิเลสเข้าไปยึดมั่น คือ
1.ลมพัดขึ้นเบื้องบน
2.ลมพัดลงเบื้องต่ำ
3.ลมในท้อง
4. ลมในไส้
5.ลมแล่นไปตามอวัยวะน้อยใหญ่
6.ลมหายใจ
หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างอื่น เป็นภายใน
อาศัยตนเป็นวาโย พัดไปมา
อันกรรมและกิเลสเข้าไปยึดมั่น
นี้เราเรียกว่าวาโยธาตุเป็นภายใน.
ก็วาโยธาตุเป็นภายในก็ดี เป็นภายนอกก็ดี อันใด
วาโยธาตุนั้นเป็นวาโยธาตุเหมือนกัน.
วาโยธาตุ นั้นเธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า
นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตนของเรา ดังนี้.
เพราะบุคคลเห็นวาโยธาตุนั้น
ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้แล้ว
ย่อมเบื่อหน่ายในวาโยธาตุ
จิตย่อมคลายกำหนัดในวาโยธาตุ.
สติปัฏฐาน4สอบตก เพราะไม่รู้กองลมทั้งปวง