เพื่อไทย ชี้ 7 ปัญหาเชิงโครงสร้าง หากรัฐไม่แตะ ไทยหมดสิทธิหลุดจากประเทศรายได้ปานกลาง
https://www.matichon.co.th/politics/news_2982486
‘เผ่าภูมิ’ แนะ ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ ด้วยจิ๊กซอว์ 7 ตัว ชูนโยบาย เข้าถึงอินเตอร์เน็ตฟรี-ลดขนาดระบบราชการ
เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม นาย
เผ่าภูมิ โรจนสกุล รองเลขาธิการพรรค และผู้อำนวยการศูนย์นโยบายพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวว่า เศรษฐกิจที่โตต่ำลากยาวสะท้อนความจริงของเศรษฐกิจไทยว่ามีปัญหาลงลึกถึงโครงสร้าง การหลุดจากประเทศรายได้ปานกลางจะไม่เกิดขึ้น หากไม่แก้ที่ฐาน ซึ่งมี 7 ด้านเสมือนจิ๊กซอว์ 7 ตัวที่ต้องต่อให้ลงล็อกกัน คือ
1.
โครงสร้างประชากร : โครงสร้างประชากรที่เกิดน้อย และแก่ลงเรื่อยๆ แบบนี้กำลังเป็นปัญหา การเพิ่มอัตราการเกิด ขยายฐานแรงงาน เป็นสิ่งจำเป็น ช่วยทั้งด้าน Supply คือด้านการผลิต เติมแรงงานอายุน้อยทักษะสูงกว่าเข้าแทนที่ และด้าน Demand เพิ่มประชากรทำให้กำลังซื้อในประเทศใหญ่ขึ้น ลดผลกระทบเมื่อต่างประเทศมีปัญหา อีกเรื่องคือระบบประกันสังคมและสวัสดิการ หากวัยกลางคนลด แต่ต้องส่งเงินเพื่อเลี้ยงคนรุ่นก่อนหน้าที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ แรงงานรุ่นใหม่เกิดไม่ทัน ระบบมันจะยืนอยู่ไม่ได้ ต้องแก้ที่ต้นเหตุคือโครงสร้างประชากร
นาย
เผ่าภูมิ กล่าวต่อว่า 2.
โครงสร้างแรงงาน : 60% ของแรงงานไทยอยู่ภาคการเกษตร ซึ่งผลิต GDP ได้แค่ 8% เป็นตัวเลขที่น่ากังวล แรงงานซึ่งน้อยลงแก่ลงและยังไปอยู่ในส่วนที่สร้างเงินได้น้อย ภาพใหญ่ต้องสร้างแรงจูงใจให้แรงงานเคลื่อนสู่ภาคอุตสาหกรรมและบริการ โดยให้น้ำหนักภาคอุตสาหรรมมากกว่า เพราะมีช่องว่างการพัฒนาที่สูงกว่า จากการก้าวกระโดดของเทคโนโลยี กระทรวงแรงงานต้องมองตนเองเป็นกระทรวงเศรษฐกิจ มองทิศทางเชิงยุทธศาสตร์ ไม่ใช่ทำตัวเป็นกระทรวงสวัสดิการ
3.
โครงสร้างการศึกษา : ต้องผูกกับตลาดแรงงาน ต้องตอบคำถามใหญ่ก่อนว่า เราต้องการแรงงานแบบไหน แล้วเอาการศึกษาเป็นเครื่องมือในการผลิตคนด้านนั้น การศึกษาต้องมองให้เป็น Education Platform ไม่ใช่มองเป็นเชิงกายภาพ (โรงเรียน) ความรู้และนวัตกรรมเปลี่ยนทุกวัน การเอาคนรุ่นเก่าสอนทักษะล้าสมัยใส่โปรแกรมเดิมๆ ให้คนรุ่นหลัง ไม่ใช่ทิศทางที่ดี ควรเริ่มลดความสำคัญระบบปริญญาที่สร้างแรงงานทักษะเดี่ยว และเริ่มเพิ่มความสำคัญระบบ Certificate เพื่อสร้างแรงงานหลากทักษะที่ตอบโจทย์โลกยุคใหม่ได้ตรงกว่า
นาย
เผ่าภูมิ กล่าวว่า
4.โครงสร้างอุตสาหกรรม : ธุรกิจหัวหอกที่ขับเคลื่อนประเทศทั้งหมดเป็นอุตสาหกรรมโบราณ ตกยุค แต่กลับถูกปกป้องและผูกขาดด้วยระบบใบอนุญาตโดยภาครัฐ เมื่อการแข่งขันไม่เกิด การลงทุนเพื่อพัฒนาก็ไม่เกิด นวัตกรรมมักเกิดจากผู้เล่นรายใหม่มากกว่ารายเก่า แต่การผูกขาดรายเก่าเป็นอุปสรรคต่อรายใหม่ การปลดล็อคให้เกิดการแข่งขันจึงสำคัญ เพราะรายเก่าต้องปรับตัว รายใหม่คิดต้นนวัตกรรมใหม่เพื่อแข่งกับเจ้าตลาด
5.
โครงสร้างธุรกิจ : ไทยมีสัดส่วนเอกชนนอกระบบสูงมาก ส่งผลให้มีแรงงานนอกระบบสูงถึง 53% นั่นหมายถึงฐานภาษีที่หายไป รายได้รัฐจึงโตไม่ทันรายจ่าย นับวันยิ่งห่างขึ้นทุกที Gig economy และฟรีแลนซ์ที่จะเพิ่มขึ้น ยิ่งขยายช่องว่างตรงนี้หากอยู่นอกระบบภาษี การดึงแรงงานเข้าระบบผ่านแรงจูงใจด้านภาษีและสวัสดิการต้องเร่งทำ 6.โครงสร้างงบประมาณ : ขนาดราชการที่ใหญ่ เทอะทะ ไม่เคยเป็นสิ่งดี ทั้งด้านงบประมาณ ความคล่องตัว และประสิทธิภาพที่ต่ำกว่าเอกชนมาก ต้อง Outsource หน่วยงานและภารกิจต่างๆ ของภาครัฐไปสู่ภาคเอกชน สร้างภาคเอกชนในหน้าที่ของราชการขึ้นมาเพื่อลดขนาดรัฐ และใช้การร่วมทุนระหว่างภาคเอกชนกับรัฐให้มาก
นาย
เผ่าภูมิ กล่าวว่า และ 7.
โครงสร้างพื้นฐาน : ทั้งด้านกายภาพและดิจิทัล ด้านกายภาพการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานออกสู่หัวเมืองหลักนั้นมีผลตอบแทนสูงมาก โดยเฉพาะในแง่ของความเจริญ โครงสร้างด้านดิจิทัล การเข้าถึงอินเตอร์เน็ตสำคัญไม่น้อยกว่าการเข้าถึงระบบการศึกษาพื้นฐาน สิทธิการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตฟรีควรถูกบัญญัติไว้ในกฎหมายให้ทุกรัฐบาลต้องทำ การลดช่องว่างการเข้าถึงเทคโนโลยี เป็นการลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำที่ถูก ง่าย และเร็วที่สุด
หน.พรรคก้าวไกล ลงพื้นที่พบชาวบ้านที่ระยอง พร้อมเปิดตัวว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.ภาคตะวันออก
https://www.matichon.co.th/politics/news_2982654
หน.พรรคก้าวไกลพร้อมคณะลงพื้นที่พบชาวบ้านที่ระยอง พร้อมเปิดตัวว่าที่ผู้สมัครส.ส.ภาคตะวันออก
เมื่อเวลา 12.30 น.วันที่ 9 กันยายน นาย
พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล พร้อมด้วยนาย
ชัยธวัช ตุลาธน เลขาธิการพรรค นางสาว
เบญจา แสงจันทร์ กรรมการบริหารพรรค นาย
รังสิมันต์ โรมและทีมส.ส.พรรคก้าวไกลเปิดตัวว่าที่ส.ส.ภาคตะวันออก ”
วาระเปลี่ยนตะวันออก สู่บูรพาแห่งความสุข”และ พบกลุ่มประชาชนผู้มีความเดือดร้อนเกี่ยวกับที่ดินทำกิน ต.สำนักท้อน-ต.ห้วยโป่ง ที่บริเวณ ศาลาเอนกประสงค์ หมู่ 2 ต.สำนักท้อน อ.บ้านฉาง จ.ระยอง โดยมีกลุ่มประชาชนฯให้การต้อนรับ
ชาวบ้าน กลุ่มประชาชนผู้มีความเดือดร้อนเกี่ยวกับที่ดินทำกิน ต.สำนักท้อนและต.ห้วยโป่ง กล่าวว่าประชาชนอาศัยอยู่ในที่ดิน ต.สำนักท้อนและ ต.ห้วยโป่ง มาก่อนประกาศพระราชกฤษฎีกาพ.ศ.2492 เคยยื่นหนังสือเรียกร้องสิทธิในที่ดินทำกินมานานกว่า 50 ปี อยู่อย่างเลื่อนลอยไม่มีกรรมสิทธิในที่ดินดังกล่าวทั้งที่พวกเราอยู่กันมาก่อนประกาศ ต่อมามติค.ร.ม.ลงวันที่ 19 มกราคม 2514ให้ประกาศเพิกถอนแปลงดังกล่าว แต่บางแปลงกลับออกโฉนดได้ แต่ที่ดินของชาวบ้านจะให้เป็นที่ราชพัสดุ ทั้งที่อยู่ในเขตพระราชกฤษฎีกาฯพ.ศ.พ.ศ.2492เดียวกัน
นาย
พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หน.พรรคก้าวไกล กล่าวว่า วันนี้เดินทางมาพบกลุ่มชาวบ้าน ต.สำนักท้อนและ ต.ห้วยโป่งที่ได้รับความเดือดร้อนในที่ดินทำกินมาก่อนประกาศพระราชกฤษฎีกาพ.ศ.2492 เนื่องจากชาวบ้านมีหลักฐานว่าเขาอยู่มาก่อน วัดสร้างตั้งแต่พ.ศ.2467 และผมรู้ว่ามติค.ร.ม. 2514อนุญาตให้ที่ดินบางส่วนมีโฉนดบางส่วนไม่ได้โฉนด มันเกิดความเหลื่อมล้ำ ถ้าเราเอามติค.ร.ม.2514 มาเป็นตัวตั้งเราก็จะสามารถผลักดันเพื่อให้ได้สิทธิที่ดินทำกิน แม้จะช้าไป 50 ปี แต่ความยุติธรรมช้าก็ยังดีกว่าไม่มาเลย
พร้อมประกาศตัวว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.พรรคก้าวไกลภาคตะวันออก ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง จันทบุรีและตราด สำหรับ จ.ระยองว่าที่ผู้สมัครส.ส.พรรคก้าวไกล เขต 1.นาง
บุศรินทร์ ธงศรีเจริญ เขต 3. นา
งสว่างจิตต์ เลาหะโรจนพันธ์ เขต 4. นาย
กฤช ศิลปะชัย สำหรับว่าที่ผู้สมัครส.ส.เขต 2 และเขต 5 อยู่ระหว่างพิจารณา สำหรับว่าที่ผู้สมัครส.ส.ระยองทั้ง 3 คนช่วยงานมาตั้งแต่พรรคอนาคตใหม่ทำงานมาอย่างต่อเนื่องโดยไม่มีค่าตอบแทน ไม่มีกล้วยแต่มาด้วยอุดมการณ์ที่ผมมั่นใจแล้วว่าจะได้คนทั้งคนรุ่นใหม่ ชัดเจนและมีความสื่อสัตย์ต่อพี่น้องชาวระยอง สำหรับการเลือกตั้งสมัยหน้าผมมีความมั่นใจจากภายในและมั่นใจจากปัจจัยภายนอกด้วยสถานการณ์โควิด-19 เรื่องน้ำท่วม ทำให้ราคาสินค้าที่มาจากระยองและปัญหาของพี่น้องชาวประมง รวมทั้งปัญหาแรงงานต่างด้าวที่ได้รับผลกระทบ เป็นวิกฤตซ้อนวิกฤตมาหลายครั้ง ทำให้ประชาชนหิวโหยอยากเปลี่ยนแปลงอย่างมากไม่ใช่แต่เฉพาะที่ จ.ระยอง และภาคตะวันออก แต่ทั่วประเทศที่ผมไปมาเขาต้องการการเปลี่ยนแปลงนาย
พิธากล่าว.
หอการค้าไทย-จีน กังวลโควิด หนี้ครัวเรือน การเมือง กดจีดีพีไทยปีนี้ลบ 1%
https://www.matichon.co.th/economy/news_2982053
หอการค้าไทย-จีน กังวลโควิด หนี้ครัวเรือน การเมือง กดจีดีพีไทยปีนี้ลบ 1%
นาย
ณรงค์ศักดิ์ พุทธพรมงคล ประธานกรรมการ หอการค้าไทย-จีน เปิดเผยว่า หอการค้าไทย-จีน และคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ทำการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่น ไตรมาส 4/2564 ด้วยการสำรวจความเห็นในรูปแบบออนไลน์ ไปยัง คณะกรรมการกิตติมศักดิ์ คณะกรรมการบริหาร และสมาชิกหอการค้าไทยจีน และประธาน ผู้บริหาร กรรมการสมาพันธ์หอการค้าไทยจีน และกลุ่มนักธุรกิจรุ่นใหม่หอการค้าไทย-จีน จำนวนประมาณมากกว่า 200 คน โดยผู้ตอบแบบสอบถามเหล่านั้น เป็นนักธุรกิจที่มีประสบการณ์ทำธุรกิจมายาวนาน มากกว่า 20-40 ปี เป็นเจ้าของกิจการทั้งขนาดใหญ่ ขนาดกลางและขนาดเล็ก ซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนของจีน รวมถึงนักธุรกิจชาวจีนโพ้นทะเล สำหรับแบบสอบถามประกอบด้วย 4 ส่วน คือ 1) ประเด็นเฉพาะกิจ หรือเหตุการณ์ 2) ความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจ ไทย-จีน 3) ตัวชี้วัดภาวะเศรษฐกิจไทย และ 4) ตัวชี้วัดปัจจัยเกื้อหนุน ระหว่างวันที่ 16 – 26 กันยายน 2564 หรือช่วงไตรมาสที่ 3 เพื่อคาดการณ์ทิศทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 4 สรุปได้ว่า
ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดความกังวลก่อนที่จะผ่านปี 2564 คือ ความกังวลต่อการกลายพันธุ์ของโรค โควิด-19 ที่รุนแรงกว่าสายพันธุ์เดลต้า ปัจจัยในลำดับต่อมาคือ หนี้สะสมของภาคธุรกิจและภาคครัวเรือน และเสถียรภาพทางด้านการเมือง และอีกสองปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับโรค โควิด-19 คือ ความสำเร็จของการฉีดวัคซีนให้ได้ตามแผน และการที่ต่างชาติเฝ้าระวังไทยหากมีการระบาดของโรคเพิ่มสูงขึ้น จึงกล่าวโดยสรุปได้ว่าการแพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นการสร้างความกังวลทุกครั้งที่มีการสำรวจ ตั้งแต่ไตรมาส 1 ถึงไตรมาส 4 รวม 4 ครั้ง ในรอบ 12 เดือน
นาย
ณรงค์ศักดิ์ กล่าวย้ำว่า จากการตั้งเป้าหมายฉีดวัคซีนให้ครบ 2 เข็ม ร้อยละ 70 ของประชากรที่อยู่ ในกลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป และกลุ่มเสี่ยง8 กลุ่ม ซึ่งได้ดำเนินการฉีดเข็มแรกได้ร้อยละ 50 ของประชากรทั้งหมด ซึ่งในการทำผลการสำรวจพบว่าร้อยละ 19 เห็นว่าจะมีผลดีต่อเศรษฐกิจมาก และร้อยละ 54.7 เห็นว่าจะมีผลดีต่อเศรษฐกิจภายในสิ้นปี 2564 อย่างไรก็ตามมีร้อยละ 23.6 คาดว่าสถานการณ์เศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวทันที ซึ่งอาจจะเป็นเพราะปัจจัยอื่นๆนอกเหนือจากโรคระบาด
นอกจากนี้ยังได้มีการสอบถามเพิ่มเติมว่าการแสดงเอกสารที่ได้รับการฉีดวัคซีนอย่างน้อยหนึ่งเข็มมีความจำเป็นมากหรือน้อยเพียงใดที่สร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าและผู้ประกอบการในธุรกิจที่เป็นแหล่งพบปะของคนจำนวนมาก ร้อยละ 49.1 และร้อยละ 33.5 กล่าวว่าจำเป็นและจำเป็นมากตามลำดับ ขณะที่ร้อยละ 17.5 ให้ความคิดเห็นว่าไม่จำเป็น ซึ่งสรุปได้ว่าผู้ถูกสำรวจเล็งเห็นว่าการฉีดวัคซีนให้ได้ตามแผนที่วางไว้และการมีเอกสารแสดงว่าได้รับวัคซีนแล้ว มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจและสร้างความมั่นใจในการทำธุรกิจที่มีคนพบปะกันจำนวนมาก อาทิ ร้านอาหาร และศูนย์การค้า
อย่างไรก็ตามจากสถานการณ์ที่ยังมีผู้ติดเชื้อโควิดอย่างต่อเนื่อง ทำให้เราคงจะต้องใช้ชีวิตร่วมอยู่กับการแพร่ระบาดของเชื้อโรคไปอีกระยะเวลาหนึ่ง หากพิจารณาจากสถิติจำนวนผู้ติดเชื้อเฉลี่ย 14 วัน ได้สอบถามผู้สำรวจถึงปัจจัยที่ทำให้เกิดความสบายใจในการทำธุรกิจและการขยายการลงทุน พบว่า ร้อยละ 52.4 เห็นว่าจำนวนผู้ติดเชื้อควรจะมีน้อยกว่า 2,000 รายต่อวัน (ค่าเฉลี่ย 14 วันย้อนหลัง) และร้อยละ 15.1 เห็นว่าผู้ติดเชื้อควรจะมีอยู่ระหว่าง 2,000 ถึง 4,000 ราย
เมื่อพิจารณาถึงความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างจีนและไทย จากการสำรวจพบว่าร้อยละ 44.8 คาดว่าเศรษฐกิจ การค้า การลงทุนโดยรวมของจีนในไตรมาสที่ 4 จะดีขึ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ในขณะที่ร้อยละ 24.1 คาดว่าเศรษฐกิจจีนจะทรงๆ ส่วนร้อยละ 25 มีความเห็นว่าเศรษฐกิจจีนน่าจะเติบโตช้าลง ซึ่งผลการประเมินดังกล่าวได้สะท้อนถึงการคาดคะเนการส่งออกของไทยไปยังประเทศจีนในไตรมาสที่ 4 เมื่อเทียบกับไตรมาสปัจจุบันกล่าวคือ ร้อยละ 40.1 คาดว่าการส่งออกของไทยไปยังจีนจะเพิ่มขึ้น และ ร้อยละ 31.1 ยังไม่เปลี่ยนแปลงไปจากปัจจุบัน การคาดคะเนการนำเข้านั้น ร้อยละ 45.8 คาดว่าการนำเข้าจากจีนจะเพิ่มสูงขึ้น และร้อยละ 25.5 การนำเข้าจะทรงตัว ส่วนผลของการสอบถามความคิดเห็น ด้านการลงทุนของจีนในไทย พบว่า การคาดคะเนระหว่างการลงทุนจากจีนที่ เพิ่มขึ้น คงเดิม หรือลดลงไม่มี
JJNY : พท.ชี้7ปัญหา│หน.ก้าวไกลลงพื้นที่ระยอง│หอค้าไทย-จีน กังวลโควิด หนี้ครัวเรือน การเมืองกดGDP│ไลออนร็อกทำอีสานฝนหนัก
https://www.matichon.co.th/politics/news_2982486
‘เผ่าภูมิ’ แนะ ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ ด้วยจิ๊กซอว์ 7 ตัว ชูนโยบาย เข้าถึงอินเตอร์เน็ตฟรี-ลดขนาดระบบราชการ
เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รองเลขาธิการพรรค และผู้อำนวยการศูนย์นโยบายพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวว่า เศรษฐกิจที่โตต่ำลากยาวสะท้อนความจริงของเศรษฐกิจไทยว่ามีปัญหาลงลึกถึงโครงสร้าง การหลุดจากประเทศรายได้ปานกลางจะไม่เกิดขึ้น หากไม่แก้ที่ฐาน ซึ่งมี 7 ด้านเสมือนจิ๊กซอว์ 7 ตัวที่ต้องต่อให้ลงล็อกกัน คือ
1.โครงสร้างประชากร : โครงสร้างประชากรที่เกิดน้อย และแก่ลงเรื่อยๆ แบบนี้กำลังเป็นปัญหา การเพิ่มอัตราการเกิด ขยายฐานแรงงาน เป็นสิ่งจำเป็น ช่วยทั้งด้าน Supply คือด้านการผลิต เติมแรงงานอายุน้อยทักษะสูงกว่าเข้าแทนที่ และด้าน Demand เพิ่มประชากรทำให้กำลังซื้อในประเทศใหญ่ขึ้น ลดผลกระทบเมื่อต่างประเทศมีปัญหา อีกเรื่องคือระบบประกันสังคมและสวัสดิการ หากวัยกลางคนลด แต่ต้องส่งเงินเพื่อเลี้ยงคนรุ่นก่อนหน้าที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ แรงงานรุ่นใหม่เกิดไม่ทัน ระบบมันจะยืนอยู่ไม่ได้ ต้องแก้ที่ต้นเหตุคือโครงสร้างประชากร
นายเผ่าภูมิ กล่าวต่อว่า 2.โครงสร้างแรงงาน : 60% ของแรงงานไทยอยู่ภาคการเกษตร ซึ่งผลิต GDP ได้แค่ 8% เป็นตัวเลขที่น่ากังวล แรงงานซึ่งน้อยลงแก่ลงและยังไปอยู่ในส่วนที่สร้างเงินได้น้อย ภาพใหญ่ต้องสร้างแรงจูงใจให้แรงงานเคลื่อนสู่ภาคอุตสาหกรรมและบริการ โดยให้น้ำหนักภาคอุตสาหรรมมากกว่า เพราะมีช่องว่างการพัฒนาที่สูงกว่า จากการก้าวกระโดดของเทคโนโลยี กระทรวงแรงงานต้องมองตนเองเป็นกระทรวงเศรษฐกิจ มองทิศทางเชิงยุทธศาสตร์ ไม่ใช่ทำตัวเป็นกระทรวงสวัสดิการ
3.โครงสร้างการศึกษา : ต้องผูกกับตลาดแรงงาน ต้องตอบคำถามใหญ่ก่อนว่า เราต้องการแรงงานแบบไหน แล้วเอาการศึกษาเป็นเครื่องมือในการผลิตคนด้านนั้น การศึกษาต้องมองให้เป็น Education Platform ไม่ใช่มองเป็นเชิงกายภาพ (โรงเรียน) ความรู้และนวัตกรรมเปลี่ยนทุกวัน การเอาคนรุ่นเก่าสอนทักษะล้าสมัยใส่โปรแกรมเดิมๆ ให้คนรุ่นหลัง ไม่ใช่ทิศทางที่ดี ควรเริ่มลดความสำคัญระบบปริญญาที่สร้างแรงงานทักษะเดี่ยว และเริ่มเพิ่มความสำคัญระบบ Certificate เพื่อสร้างแรงงานหลากทักษะที่ตอบโจทย์โลกยุคใหม่ได้ตรงกว่า
นายเผ่าภูมิ กล่าวว่า 4.โครงสร้างอุตสาหกรรม : ธุรกิจหัวหอกที่ขับเคลื่อนประเทศทั้งหมดเป็นอุตสาหกรรมโบราณ ตกยุค แต่กลับถูกปกป้องและผูกขาดด้วยระบบใบอนุญาตโดยภาครัฐ เมื่อการแข่งขันไม่เกิด การลงทุนเพื่อพัฒนาก็ไม่เกิด นวัตกรรมมักเกิดจากผู้เล่นรายใหม่มากกว่ารายเก่า แต่การผูกขาดรายเก่าเป็นอุปสรรคต่อรายใหม่ การปลดล็อคให้เกิดการแข่งขันจึงสำคัญ เพราะรายเก่าต้องปรับตัว รายใหม่คิดต้นนวัตกรรมใหม่เพื่อแข่งกับเจ้าตลาด
5.โครงสร้างธุรกิจ : ไทยมีสัดส่วนเอกชนนอกระบบสูงมาก ส่งผลให้มีแรงงานนอกระบบสูงถึง 53% นั่นหมายถึงฐานภาษีที่หายไป รายได้รัฐจึงโตไม่ทันรายจ่าย นับวันยิ่งห่างขึ้นทุกที Gig economy และฟรีแลนซ์ที่จะเพิ่มขึ้น ยิ่งขยายช่องว่างตรงนี้หากอยู่นอกระบบภาษี การดึงแรงงานเข้าระบบผ่านแรงจูงใจด้านภาษีและสวัสดิการต้องเร่งทำ 6.โครงสร้างงบประมาณ : ขนาดราชการที่ใหญ่ เทอะทะ ไม่เคยเป็นสิ่งดี ทั้งด้านงบประมาณ ความคล่องตัว และประสิทธิภาพที่ต่ำกว่าเอกชนมาก ต้อง Outsource หน่วยงานและภารกิจต่างๆ ของภาครัฐไปสู่ภาคเอกชน สร้างภาคเอกชนในหน้าที่ของราชการขึ้นมาเพื่อลดขนาดรัฐ และใช้การร่วมทุนระหว่างภาคเอกชนกับรัฐให้มาก
นายเผ่าภูมิ กล่าวว่า และ 7.โครงสร้างพื้นฐาน : ทั้งด้านกายภาพและดิจิทัล ด้านกายภาพการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานออกสู่หัวเมืองหลักนั้นมีผลตอบแทนสูงมาก โดยเฉพาะในแง่ของความเจริญ โครงสร้างด้านดิจิทัล การเข้าถึงอินเตอร์เน็ตสำคัญไม่น้อยกว่าการเข้าถึงระบบการศึกษาพื้นฐาน สิทธิการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตฟรีควรถูกบัญญัติไว้ในกฎหมายให้ทุกรัฐบาลต้องทำ การลดช่องว่างการเข้าถึงเทคโนโลยี เป็นการลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำที่ถูก ง่าย และเร็วที่สุด
หน.พรรคก้าวไกล ลงพื้นที่พบชาวบ้านที่ระยอง พร้อมเปิดตัวว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.ภาคตะวันออก
https://www.matichon.co.th/politics/news_2982654
หน.พรรคก้าวไกลพร้อมคณะลงพื้นที่พบชาวบ้านที่ระยอง พร้อมเปิดตัวว่าที่ผู้สมัครส.ส.ภาคตะวันออก
เมื่อเวลา 12.30 น.วันที่ 9 กันยายน นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล พร้อมด้วยนายชัยธวัช ตุลาธน เลขาธิการพรรค นางสาวเบญจา แสงจันทร์ กรรมการบริหารพรรค นายรังสิมันต์ โรมและทีมส.ส.พรรคก้าวไกลเปิดตัวว่าที่ส.ส.ภาคตะวันออก ”วาระเปลี่ยนตะวันออก สู่บูรพาแห่งความสุข”และ พบกลุ่มประชาชนผู้มีความเดือดร้อนเกี่ยวกับที่ดินทำกิน ต.สำนักท้อน-ต.ห้วยโป่ง ที่บริเวณ ศาลาเอนกประสงค์ หมู่ 2 ต.สำนักท้อน อ.บ้านฉาง จ.ระยอง โดยมีกลุ่มประชาชนฯให้การต้อนรับ
ชาวบ้าน กลุ่มประชาชนผู้มีความเดือดร้อนเกี่ยวกับที่ดินทำกิน ต.สำนักท้อนและต.ห้วยโป่ง กล่าวว่าประชาชนอาศัยอยู่ในที่ดิน ต.สำนักท้อนและ ต.ห้วยโป่ง มาก่อนประกาศพระราชกฤษฎีกาพ.ศ.2492 เคยยื่นหนังสือเรียกร้องสิทธิในที่ดินทำกินมานานกว่า 50 ปี อยู่อย่างเลื่อนลอยไม่มีกรรมสิทธิในที่ดินดังกล่าวทั้งที่พวกเราอยู่กันมาก่อนประกาศ ต่อมามติค.ร.ม.ลงวันที่ 19 มกราคม 2514ให้ประกาศเพิกถอนแปลงดังกล่าว แต่บางแปลงกลับออกโฉนดได้ แต่ที่ดินของชาวบ้านจะให้เป็นที่ราชพัสดุ ทั้งที่อยู่ในเขตพระราชกฤษฎีกาฯพ.ศ.พ.ศ.2492เดียวกัน
นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หน.พรรคก้าวไกล กล่าวว่า วันนี้เดินทางมาพบกลุ่มชาวบ้าน ต.สำนักท้อนและ ต.ห้วยโป่งที่ได้รับความเดือดร้อนในที่ดินทำกินมาก่อนประกาศพระราชกฤษฎีกาพ.ศ.2492 เนื่องจากชาวบ้านมีหลักฐานว่าเขาอยู่มาก่อน วัดสร้างตั้งแต่พ.ศ.2467 และผมรู้ว่ามติค.ร.ม. 2514อนุญาตให้ที่ดินบางส่วนมีโฉนดบางส่วนไม่ได้โฉนด มันเกิดความเหลื่อมล้ำ ถ้าเราเอามติค.ร.ม.2514 มาเป็นตัวตั้งเราก็จะสามารถผลักดันเพื่อให้ได้สิทธิที่ดินทำกิน แม้จะช้าไป 50 ปี แต่ความยุติธรรมช้าก็ยังดีกว่าไม่มาเลย
พร้อมประกาศตัวว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.พรรคก้าวไกลภาคตะวันออก ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง จันทบุรีและตราด สำหรับ จ.ระยองว่าที่ผู้สมัครส.ส.พรรคก้าวไกล เขต 1.นางบุศรินทร์ ธงศรีเจริญ เขต 3. นางสว่างจิตต์ เลาหะโรจนพันธ์ เขต 4. นายกฤช ศิลปะชัย สำหรับว่าที่ผู้สมัครส.ส.เขต 2 และเขต 5 อยู่ระหว่างพิจารณา สำหรับว่าที่ผู้สมัครส.ส.ระยองทั้ง 3 คนช่วยงานมาตั้งแต่พรรคอนาคตใหม่ทำงานมาอย่างต่อเนื่องโดยไม่มีค่าตอบแทน ไม่มีกล้วยแต่มาด้วยอุดมการณ์ที่ผมมั่นใจแล้วว่าจะได้คนทั้งคนรุ่นใหม่ ชัดเจนและมีความสื่อสัตย์ต่อพี่น้องชาวระยอง สำหรับการเลือกตั้งสมัยหน้าผมมีความมั่นใจจากภายในและมั่นใจจากปัจจัยภายนอกด้วยสถานการณ์โควิด-19 เรื่องน้ำท่วม ทำให้ราคาสินค้าที่มาจากระยองและปัญหาของพี่น้องชาวประมง รวมทั้งปัญหาแรงงานต่างด้าวที่ได้รับผลกระทบ เป็นวิกฤตซ้อนวิกฤตมาหลายครั้ง ทำให้ประชาชนหิวโหยอยากเปลี่ยนแปลงอย่างมากไม่ใช่แต่เฉพาะที่ จ.ระยอง และภาคตะวันออก แต่ทั่วประเทศที่ผมไปมาเขาต้องการการเปลี่ยนแปลงนายพิธากล่าว.
หอการค้าไทย-จีน กังวลโควิด หนี้ครัวเรือน การเมือง กดจีดีพีไทยปีนี้ลบ 1%
https://www.matichon.co.th/economy/news_2982053
หอการค้าไทย-จีน กังวลโควิด หนี้ครัวเรือน การเมือง กดจีดีพีไทยปีนี้ลบ 1%
นายณรงค์ศักดิ์ พุทธพรมงคล ประธานกรรมการ หอการค้าไทย-จีน เปิดเผยว่า หอการค้าไทย-จีน และคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ทำการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่น ไตรมาส 4/2564 ด้วยการสำรวจความเห็นในรูปแบบออนไลน์ ไปยัง คณะกรรมการกิตติมศักดิ์ คณะกรรมการบริหาร และสมาชิกหอการค้าไทยจีน และประธาน ผู้บริหาร กรรมการสมาพันธ์หอการค้าไทยจีน และกลุ่มนักธุรกิจรุ่นใหม่หอการค้าไทย-จีน จำนวนประมาณมากกว่า 200 คน โดยผู้ตอบแบบสอบถามเหล่านั้น เป็นนักธุรกิจที่มีประสบการณ์ทำธุรกิจมายาวนาน มากกว่า 20-40 ปี เป็นเจ้าของกิจการทั้งขนาดใหญ่ ขนาดกลางและขนาดเล็ก ซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนของจีน รวมถึงนักธุรกิจชาวจีนโพ้นทะเล สำหรับแบบสอบถามประกอบด้วย 4 ส่วน คือ 1) ประเด็นเฉพาะกิจ หรือเหตุการณ์ 2) ความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจ ไทย-จีน 3) ตัวชี้วัดภาวะเศรษฐกิจไทย และ 4) ตัวชี้วัดปัจจัยเกื้อหนุน ระหว่างวันที่ 16 – 26 กันยายน 2564 หรือช่วงไตรมาสที่ 3 เพื่อคาดการณ์ทิศทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 4 สรุปได้ว่า
ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดความกังวลก่อนที่จะผ่านปี 2564 คือ ความกังวลต่อการกลายพันธุ์ของโรค โควิด-19 ที่รุนแรงกว่าสายพันธุ์เดลต้า ปัจจัยในลำดับต่อมาคือ หนี้สะสมของภาคธุรกิจและภาคครัวเรือน และเสถียรภาพทางด้านการเมือง และอีกสองปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับโรค โควิด-19 คือ ความสำเร็จของการฉีดวัคซีนให้ได้ตามแผน และการที่ต่างชาติเฝ้าระวังไทยหากมีการระบาดของโรคเพิ่มสูงขึ้น จึงกล่าวโดยสรุปได้ว่าการแพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นการสร้างความกังวลทุกครั้งที่มีการสำรวจ ตั้งแต่ไตรมาส 1 ถึงไตรมาส 4 รวม 4 ครั้ง ในรอบ 12 เดือน
นายณรงค์ศักดิ์ กล่าวย้ำว่า จากการตั้งเป้าหมายฉีดวัคซีนให้ครบ 2 เข็ม ร้อยละ 70 ของประชากรที่อยู่ ในกลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป และกลุ่มเสี่ยง8 กลุ่ม ซึ่งได้ดำเนินการฉีดเข็มแรกได้ร้อยละ 50 ของประชากรทั้งหมด ซึ่งในการทำผลการสำรวจพบว่าร้อยละ 19 เห็นว่าจะมีผลดีต่อเศรษฐกิจมาก และร้อยละ 54.7 เห็นว่าจะมีผลดีต่อเศรษฐกิจภายในสิ้นปี 2564 อย่างไรก็ตามมีร้อยละ 23.6 คาดว่าสถานการณ์เศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวทันที ซึ่งอาจจะเป็นเพราะปัจจัยอื่นๆนอกเหนือจากโรคระบาด
นอกจากนี้ยังได้มีการสอบถามเพิ่มเติมว่าการแสดงเอกสารที่ได้รับการฉีดวัคซีนอย่างน้อยหนึ่งเข็มมีความจำเป็นมากหรือน้อยเพียงใดที่สร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าและผู้ประกอบการในธุรกิจที่เป็นแหล่งพบปะของคนจำนวนมาก ร้อยละ 49.1 และร้อยละ 33.5 กล่าวว่าจำเป็นและจำเป็นมากตามลำดับ ขณะที่ร้อยละ 17.5 ให้ความคิดเห็นว่าไม่จำเป็น ซึ่งสรุปได้ว่าผู้ถูกสำรวจเล็งเห็นว่าการฉีดวัคซีนให้ได้ตามแผนที่วางไว้และการมีเอกสารแสดงว่าได้รับวัคซีนแล้ว มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจและสร้างความมั่นใจในการทำธุรกิจที่มีคนพบปะกันจำนวนมาก อาทิ ร้านอาหาร และศูนย์การค้า
อย่างไรก็ตามจากสถานการณ์ที่ยังมีผู้ติดเชื้อโควิดอย่างต่อเนื่อง ทำให้เราคงจะต้องใช้ชีวิตร่วมอยู่กับการแพร่ระบาดของเชื้อโรคไปอีกระยะเวลาหนึ่ง หากพิจารณาจากสถิติจำนวนผู้ติดเชื้อเฉลี่ย 14 วัน ได้สอบถามผู้สำรวจถึงปัจจัยที่ทำให้เกิดความสบายใจในการทำธุรกิจและการขยายการลงทุน พบว่า ร้อยละ 52.4 เห็นว่าจำนวนผู้ติดเชื้อควรจะมีน้อยกว่า 2,000 รายต่อวัน (ค่าเฉลี่ย 14 วันย้อนหลัง) และร้อยละ 15.1 เห็นว่าผู้ติดเชื้อควรจะมีอยู่ระหว่าง 2,000 ถึง 4,000 ราย
เมื่อพิจารณาถึงความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างจีนและไทย จากการสำรวจพบว่าร้อยละ 44.8 คาดว่าเศรษฐกิจ การค้า การลงทุนโดยรวมของจีนในไตรมาสที่ 4 จะดีขึ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ในขณะที่ร้อยละ 24.1 คาดว่าเศรษฐกิจจีนจะทรงๆ ส่วนร้อยละ 25 มีความเห็นว่าเศรษฐกิจจีนน่าจะเติบโตช้าลง ซึ่งผลการประเมินดังกล่าวได้สะท้อนถึงการคาดคะเนการส่งออกของไทยไปยังประเทศจีนในไตรมาสที่ 4 เมื่อเทียบกับไตรมาสปัจจุบันกล่าวคือ ร้อยละ 40.1 คาดว่าการส่งออกของไทยไปยังจีนจะเพิ่มขึ้น และ ร้อยละ 31.1 ยังไม่เปลี่ยนแปลงไปจากปัจจุบัน การคาดคะเนการนำเข้านั้น ร้อยละ 45.8 คาดว่าการนำเข้าจากจีนจะเพิ่มสูงขึ้น และร้อยละ 25.5 การนำเข้าจะทรงตัว ส่วนผลของการสอบถามความคิดเห็น ด้านการลงทุนของจีนในไทย พบว่า การคาดคะเนระหว่างการลงทุนจากจีนที่ เพิ่มขึ้น คงเดิม หรือลดลงไม่มี