“ฉัตร” สส.ก้าวไกลโคราช เดินตลาดเช้า ฟังเสียงสะท้อนความเดือดร้อน พ่อค้าแม่ค้าบ่นระงม ค่าไฟ ของแพงทั้งแผ่นดิน
https://siamrath.co.th/n/533049
เมื่อเวลา 07.30 น. วันที่ 1 พฤษภาคม ที่ตลาดประปายุคใหม่ ซึ่งเป็นตลาดเช้ายอดนิยมของคนเมืองโคราช นาย
ฉัตร สุภัทรวณิชย์ ส.ส.เขต 1
จ.นครราชสีมา พรรคก้าวไกล (กก.) เดินตลาดรับฟังเสียงสะท้อนของพ่อค้าแม่ค้าและประชาชนที่เดินทางมาจับจ่ายใช้สอย ปัญหาส่วนใหญ่ สินค้าอุปโภค บริโภคเกือบทุกชนิด โดยเฉพาะวัตถุดิบหลักผัก เนื้อสัตว์รวมทั้งค่าใช้จ่ายที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ทั้งค่าไฟฟ้า ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงได้ปรับราคาขึ้นสวนกระแสสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน
นาย
ฉัตร ส.ส เขตเมืองโคราช เปิดเผยว่า ปัญหาความเดือดร้อนทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย บ่นเป็นเสียงเดียวกันคือค่าใช้จ่ายครัวเรือนที่เป็นต้นทุนในการดำเนินชีวิต เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประชาชนต้องแบกรับภาระถือเป็นการซ้ำเติม ขอเป็นคำถามฝากไปถึงรัฐบาลหมดโปรโมชั่นแล้วหรือยัง ทุกคนเรียกร้องให้รัฐบาลควบคุมราคาสินค้า แม้นปรับค่าแรงแต่ของกินของใช้เขาปรับขึ้นรอแล้ว
พรรคก้าวไกล ในฐานะฝ่ายค้าน มีหน้าที่ตรวจสอบและสะท้อนปัญหาถึงรัฐบาล รวมทั้งประชาสัมพันธ์นำเสนอข้อมูล วิธีแก้ไขให้รัฐบาลตระหนักถึงความสำคัญ เช่นค่าเชื้อเพลิงทุกชนิด ค่าไฟฟ้า ควรผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่โครงสร้างการบริหารจัดการให้มีความเป็นธรรมและเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันรวมทั้งไม่เอื้อประโยชน์ให้กับนายทุน
ตนมีแผนลงพื้นที่พบปะพี่น้องประชาชน เพื่อตระเวนสอบถามรวบรวมข้อมูลรอบด้านเตรียมนำเสนอสภาได้รับการแก้ไขต่อไป
ด้านป้า
ออน แม่ค้าขายอาหาร ข้าวแกง หน้าตลาดประปายุคใหม่ เผยว่า อาหารทุกอย่างยังขายราคาเดิมถุงละ 10 บาท ต้องยอมรับภาระต้นทุนค่าวัตถุดิบสูงเน้นขายปริมาณมากแทน เกรงว่าลูกค้าขาประจำจะหนีหายหมดเนื่องจากทุกคนมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินชีวิตซึ่งปัจจุบันมีราคาที่แพงมาก
‘กมธ.ที่ดินฯ’ บี้ รัฐแจงปมขนกากแคดเมียม-ไฟไหม้ รง.ระยอง ก.ก. จ่อ รับฟังความเห็นปชช. 5 พ.ค.นี้
https://www.matichon.co.th/politics/news_4554594
‘กมธ.ที่ดินฯ’ บี้ รัฐแจงปมขนกากแคดเมียม-ไฟไหม้ รง.ระยอง ขอแผนรับมือที่ชัดเจน จ่อ ก.ก.รับฟังความเห็น ปชช. 5 พ.ค.นี้
เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 1 พฤษภาคม ที่รัฐสภา คณะกรรมาธิการการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สภาผู้แทนราษฎร (กมธ.) นำโดยนาย
พูนศักดิ์ จันทร์จำปี ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ในฐานะประธาน กมธ., นาย
ฐิติกันต์ ฐิติพฤฒิกุล ส.ส.ภูเก็ต พรรคก้าวไกล ในฐานะโฆษก กมธ.ที่ดิน และนาย
ชุติพงศ์ พิภพภิญโญ ส.ส.ระยองพรรคก้าวไกล แถลงผลการประชุมของ กมธ.ที่ดินในวันนี้ (1 พ.ค.)
โดยนายฐิติกันต์กล่าวว่า สืบเนื่องจากการตรวจพบกากแร่แคดเมียมถูกขนย้ายจากหลุมฝังกลบในพื้นที่ จ.ตาก มาเก็บไว้ ต.บางน้ำจืด อ.เมือง จ.สมุทรสาคร และ ต.คลองกิ่ว อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี ทาง กมธ.ได้เชิญอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม, อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ, เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก, ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี, ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร และผู้บังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปรากฏว่า กรมโรงงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่มีแผนการดำเนินงานใดๆ ที่เป็นลายลักษณ์อักษร ในการขนย้ายที่ประชาชนสามารถร่วมตรวจสอบได้ ไม่มีความเป็นมืออาชีพในการรับมือเหตุที่เกิดขึ้นซ้ำๆ
“
ทาง กมธ.ได้ข้อมูลว่ามีการปนเปื้อนผักและผลไม้บริเวณรอบโรงงานแล้ว แต่ยังไม่พบสารปนเปื้อนในดิน อาจจะหมายถึง มีการหลอมแคดเมียมเกิดขึ้นใน จ.สมุทรสาครแล้วหรือไม่ และใน จ.ชลบุรีก็ยังมีการลักลอบหลอมแคดเมียม แต่ก็ยังไม่มีความชัดเจนในการจัดการรับมือ หรือดำเนินคดีใดๆ” นาย
ฐิติกันต์กล่าว
ด้านนาย
พูนศักดิ์กล่าวว่า ส่วนกรณีเกิดเหตุเพลิงไหม้ โรงงานของบริษัท วินโพรเสส จำกัด ในพื้นที่ อ.บ้านค่าย จ.ระยอง ทาง กมธ.ได้ อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ, ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง, หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ระยอง, อุตสาหกรรมจังหวัดระยอง, นายแพทย์สาธารณสุข จ.ระยอง, นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบางบุตร, นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว และผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรบ้านค่าย จ.ระยอง ในขณะนี้มีผู้ป่วยกว่า 600 รายที่ได้รับผลกระทบ ทาง กมธ.มีข้อสังเกตว่า ระบบแจ้งเตือน และการอพยพมีปัญหาใช่หรือไม่
การบัญชาการแก้ปัญหา ปัจจุบันยังโครงสร้างเป็นอย่างไร และหน่วยงานเอกชนที่มาดับไฟ หน่วยงานใดจะรับผิดชอบค่าปฏิบัติงาน ในทั้ง 2 กรณี ทางผู้ที่เกี่ยวข้อง ไม่สามารถตอบคำถามที่ทาง กมธ.ซักถามได้ จึงได้ให้กลับไปเขียนแผนงาน พร้อมหาคำตอบกับสิ่งที่เกิดขึ้น โดยทาง กมธ.จะติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด และรอข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อส่งข้อเสนอไปยังนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี เพื่อให้เร่งจัดการกับปัญหาดังกล่าวต่อไป
ด้านนาย
ชุติพงศ์กล่าวว่า ตนขอตั้งคำถามไปยัง ปภ.จังหวัดระยองว่า ในจังหวัดที่มีลักษณะเปิดลงทุนอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เมื่อเกิดเหตุพิเศษแบบนี้แผนเผชิญเหตุที่เกิดขึ้นจริงๆ กลับล่าช้า ไม่ทันการ ไม่ชัดเจน ตนคิดว่าต้องมีการถอดบทเรียนครั้งใหญ่ เพื่อปรับปรุงว่าจะทำอย่างไรกับเหตุที่เกิดขึ้นแบบนี้ การเผชิญเหตุที่ล่าช้าไม่ใช่การระงับไฟ แต่ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขคือมีผู้ป่วยไปตรวจสุขภาพร่างกาย ส่วนใหญ่มีผลกระทบจากการสูดดมควัน และมีผลต่อระบบทางเดินหายใจ และคำถามคือจะมีการชดเชยเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบหรือไม่ อย่างไรก็ตามพรรคก้าวไกลจะจัดเวทีเพื่อรับฟังเสียงของประชาชนในวันที่ 5 พ.ค. ที่ จ.ระยองเพื่อรวบรวมส่งไปยังหน่วยงานราชการในการปรับปรุงแผนต่อไป
พนักงานช็อก บริษัทดัง ประกาศ ปิดกิจการ กะทันหัน ไม่เจรจาค่าชดเชย.
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_8211218
ช็อกวันแรงงาน บริษัทดัง ประกาศ ปิดกิจการ กะทันหัน เลิกจ้างพนักงานทั้งหมด หลายชีวิตเคว้ง บางรายทำมาหลายสิบปีใกล้จะเกษียณแล้ว ซ้ำ โรงงานไม่เจรจาค่าชดเชย
เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 1 พ.ค.2567 ที่โรงงานแห่งหนึ่ง ถนนเทพารักษ์ ต.บางเสาธง อ.บางเสาธง จ.สมุทรปราการ ได้ติดหนังสือประกาศปิดกิจการและเลิกจ้างพนักงานทั้งหมด โดยเอกสารดังกล่าวระบุว่า
ประกาศปิดกิจการและเลิกจ้างพนักงาน
เรียน พนักงานบริษัท วีเอ็ม.ซี.เซฟตี้กลาส (ประเทศไทย) จำกัด เนื่องด้วยบริษัท วีเอ็ม.ซีเซฟตี้กลาสประเทศไทย จำกัด ได้ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ ทำให้กิจการของบริษัทฯ ประสบสภาวะขาดทุนสะสม ขาดสภาพคล่องทางการเงินอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน ติดต่อกันหลายปี ทำให้ปัจจุบัน บริษัทตกอยู่ในภาวะวิกฤตไม่อาจดำเนินกิจการต่อไปได้
บริษัท วี.เอ็ม,ซี เซฟตี้กลาส (ประเทศไทย) จำกัด ได้พิจารณาแล้วเห็นว่ามีความจำเป็นที่จะต้องปิดกิจการและเลิกจ้างพนักงานทุกท่านตั้งแต่ วันที่ 30 เมษายน 2567 เป็นต้นไป จึงปิดประกาศให้ทราบทั่วกัน
ประกาศ ณ วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2567
ต่อมา พนักงานบริษัททั้งหมด 62 คน เดินทางไปยังสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดสมุทรปราการ เพื่อเขียนคำร้องยื่นต่อสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ให้นายจ้าง จ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน เนื่องจากถูกเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรมและไม่มีการแจ้งให้พนักงานทราบล่วงหน้า
นาย
ประเทียง (ขอสงวนนามสกุล) อายุ 55 ปี พนักงาน กล่าวว่า ตนทำงานที่นี่มา 10 กว่าปีแล้ว เมื่อช่วงเย็นของวันที่ 30 เม.ย.ที่ผ่านมา ทราบว่าทางโรงงานเอาประกาศมาติดเลิกจ้าง ตนก็ตกใจ เพราะก่อนหน้านี้ทางบริษัทก็ไม่เคยมีการพูดคุยเรื่องนี้มาก่อน
นาย
ประเทียง กล่าวต่อว่า หลังจากประกาศปิดกิจการทางบริษัทก็ไม่เคยส่งตัวแทนมาเจรจาเรื่องการเยียวยาพนักงาน วันนี้จึงรวมตัวกันมาเรียกร้องค่าชดเชย ซึ่งทางแรงงานจังหวัดก็รับเรื่องไว้แล้ว ยอมรับว่า ตอนนี้หมดหนทางไม่รู้จะไปทำงานที่ไหนต่อ เพราะอายุก็เยอะแล้ว และยังมีค่าใช้จ่ายเหมือนเดิมทุกเดือน
ด้าน นาย
อนันต์ (ขอสงวนนามสกุล) อายุ 54 ปี กล่าวว่า ตนทำงานที่นี่มานาน 30 ปีแล้ว จนจะใกล้เกษียณแล้ว เมื่อวันที่ 30 เม.ย. ทำงานวันสุดท้าย ตอนเย็นหลังจากทราบข่าวบริษัทติดป้ายประกาศตนก็ตกใจ เนื่องจากยังไม่ได้มีการพูดคุยเรื่องการเยียวยา และตอนนี้ก็ไม่รู้จะไปทำงานที่ไหนต่อ เพราะโรงงานไม่แจ้งล่วงหน้า อายุตนก็เยอะแล้ว
นาย
อนันต์ กล่าวต่อว่า ตอนนี้อยากให้บริษัททำตามกฏหมาย คุ้มครองแรงงาน จ่ายค่าชดเชย เพราะพนักงานทุกคนก็ลำบาก ต่อจากนี้ตนก็คงต้องหางานรับจ้างทั่วไปทำหรือไม่ก็ต้องอยู่บ้านเลี้ยงหลาน
ขณะที่ เจ้าหน้าที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดสมุทรปราการ เปิดเผยว่า วันนี้ได้เชิญเจ้าหน้าที่ประกันสังคมเข้ามาชี้แจงสิทธิประโยชน์ที่ลูกจ้างจะได้รับ และ หลังจากได้รับหนังสือคำร้องจากพนักงานทั้งหมดแล้ว จะทำการตรวจสอบหนังสือตามขั้นตอน และจะส่งหนังสือเชิญนายจ้างเข้ามาชี้แจง และให้ชดเชยลูกจ้างทั้งหมดตามกรอบของกฎหมายแรงงานต่อไป
ผลิตรถยนต์ร่วง 8 เดือนติด กดภาคผลิตไทยไตรมาสแรก -3.65%
https://www.matichon.co.th/economy/news_4554658
ผลิตรถยนต์ร่วง 8 เดือนติด กดภาคผลิตไทยไตรมาสแรก -3.65%
นาง
วรวรรณ ชิตอรุณ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (เอ็มพีไอ) มีนาคม 2567 อยู่ที่ระดับ 104.06 หดตัว 5.13% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 18 โดยมีอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ 62.39% ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมไตรมาสแรกของปี 2567 เฉลี่ยอยู่ที่ 100.85 หดตัวเฉลี่ย 3.65% และอัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ 60.45% สาเหตุหลักมาจากการผลิตยานยนต์ลดลงเป็นเดือนที่ 8 จากการหดตัวของการบริโภคภายในประเทศ เนื่องจากปัญหาหนี้ภาคครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง ทำให้ผู้บริโภคยังคงระมัดระวังในการจับจ่ายใช้สอย ประกอบกับการส่งออกลดลงเกิดจากความต้องการสินค้าในประเทศคู่ค้าในแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ลดลง
อย่างไรก็ตามคาดว่าเอ็มพีไอหลังจากนี้จะดีขึ้น จากการขยายตัวของภาคการท่องเที่ยว ส่งผลให้อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องขยายตัว อาทิ อุตสาหกรรมอาหาร และอุตสาหกรรมการกลั่นปิโตรเลียม รวมถึงการเร่งใช้งบประมาณปี 2567 ของรัฐบาล
“
ประเด็นที่ต้องจับตา คือ การปรับขึ้นราคาขายปลีกน้ำมันกลุ่มดีเซลทุกชนิด จนปัจจุบันราคาน้ำมันดีเซลปรับขึ้นเป็น 30.94 บาทต่อลิตร ส่งผลให้ต้นทุนผลิตสินค้าเพิ่มขึ้น เนื่องจากภาคอุตสาหกรรมมีสัดส่วนการใช้น้ำมันดีเซลค่อนข้างสูง โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า การฟอกและย้อมผ้า และเคมีภัณฑ์ขั้นมูลฐาน และผลให้ต้นทุนการขนส่งสินค้าเพิ่มขึ้น อาจทำให้ราคาสินค้ามีแนวโน้มสูงขึ้นกระทบค่าครองชีพของประชาชน เกิดภาวะเงินเฟ้อ เนื่องจากภาวะราคาสินค้าโดยรวมเพิ่มสูงขึ้น โดยทาง สศอ. จะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดต่อไป” นาง
วรวรรณกล่าว
JJNY : 5in1 แพงทั้งแผ่นดิน│‘กมธ.ที่ดินฯ’บี้รัฐ│บ.ดังประกาศปิดกิจการ│ผลิตรถยนต์ร่วง 8 ด.ติด│สื่อพม่าตีข่าว มินอ่องลายกลัว
https://siamrath.co.th/n/533049
เมื่อเวลา 07.30 น. วันที่ 1 พฤษภาคม ที่ตลาดประปายุคใหม่ ซึ่งเป็นตลาดเช้ายอดนิยมของคนเมืองโคราช นายฉัตร สุภัทรวณิชย์ ส.ส.เขต 1
จ.นครราชสีมา พรรคก้าวไกล (กก.) เดินตลาดรับฟังเสียงสะท้อนของพ่อค้าแม่ค้าและประชาชนที่เดินทางมาจับจ่ายใช้สอย ปัญหาส่วนใหญ่ สินค้าอุปโภค บริโภคเกือบทุกชนิด โดยเฉพาะวัตถุดิบหลักผัก เนื้อสัตว์รวมทั้งค่าใช้จ่ายที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ทั้งค่าไฟฟ้า ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงได้ปรับราคาขึ้นสวนกระแสสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน
นายฉัตร ส.ส เขตเมืองโคราช เปิดเผยว่า ปัญหาความเดือดร้อนทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย บ่นเป็นเสียงเดียวกันคือค่าใช้จ่ายครัวเรือนที่เป็นต้นทุนในการดำเนินชีวิต เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประชาชนต้องแบกรับภาระถือเป็นการซ้ำเติม ขอเป็นคำถามฝากไปถึงรัฐบาลหมดโปรโมชั่นแล้วหรือยัง ทุกคนเรียกร้องให้รัฐบาลควบคุมราคาสินค้า แม้นปรับค่าแรงแต่ของกินของใช้เขาปรับขึ้นรอแล้ว
พรรคก้าวไกล ในฐานะฝ่ายค้าน มีหน้าที่ตรวจสอบและสะท้อนปัญหาถึงรัฐบาล รวมทั้งประชาสัมพันธ์นำเสนอข้อมูล วิธีแก้ไขให้รัฐบาลตระหนักถึงความสำคัญ เช่นค่าเชื้อเพลิงทุกชนิด ค่าไฟฟ้า ควรผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่โครงสร้างการบริหารจัดการให้มีความเป็นธรรมและเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันรวมทั้งไม่เอื้อประโยชน์ให้กับนายทุน
ตนมีแผนลงพื้นที่พบปะพี่น้องประชาชน เพื่อตระเวนสอบถามรวบรวมข้อมูลรอบด้านเตรียมนำเสนอสภาได้รับการแก้ไขต่อไป
ด้านป้าออน แม่ค้าขายอาหาร ข้าวแกง หน้าตลาดประปายุคใหม่ เผยว่า อาหารทุกอย่างยังขายราคาเดิมถุงละ 10 บาท ต้องยอมรับภาระต้นทุนค่าวัตถุดิบสูงเน้นขายปริมาณมากแทน เกรงว่าลูกค้าขาประจำจะหนีหายหมดเนื่องจากทุกคนมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินชีวิตซึ่งปัจจุบันมีราคาที่แพงมาก
‘กมธ.ที่ดินฯ’ บี้ รัฐแจงปมขนกากแคดเมียม-ไฟไหม้ รง.ระยอง ก.ก. จ่อ รับฟังความเห็นปชช. 5 พ.ค.นี้
https://www.matichon.co.th/politics/news_4554594
‘กมธ.ที่ดินฯ’ บี้ รัฐแจงปมขนกากแคดเมียม-ไฟไหม้ รง.ระยอง ขอแผนรับมือที่ชัดเจน จ่อ ก.ก.รับฟังความเห็น ปชช. 5 พ.ค.นี้
เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 1 พฤษภาคม ที่รัฐสภา คณะกรรมาธิการการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สภาผู้แทนราษฎร (กมธ.) นำโดยนายพูนศักดิ์ จันทร์จำปี ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ในฐานะประธาน กมธ., นายฐิติกันต์ ฐิติพฤฒิกุล ส.ส.ภูเก็ต พรรคก้าวไกล ในฐานะโฆษก กมธ.ที่ดิน และนายชุติพงศ์ พิภพภิญโญ ส.ส.ระยองพรรคก้าวไกล แถลงผลการประชุมของ กมธ.ที่ดินในวันนี้ (1 พ.ค.)
โดยนายฐิติกันต์กล่าวว่า สืบเนื่องจากการตรวจพบกากแร่แคดเมียมถูกขนย้ายจากหลุมฝังกลบในพื้นที่ จ.ตาก มาเก็บไว้ ต.บางน้ำจืด อ.เมือง จ.สมุทรสาคร และ ต.คลองกิ่ว อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี ทาง กมธ.ได้เชิญอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม, อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ, เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก, ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี, ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร และผู้บังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปรากฏว่า กรมโรงงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่มีแผนการดำเนินงานใดๆ ที่เป็นลายลักษณ์อักษร ในการขนย้ายที่ประชาชนสามารถร่วมตรวจสอบได้ ไม่มีความเป็นมืออาชีพในการรับมือเหตุที่เกิดขึ้นซ้ำๆ
“ทาง กมธ.ได้ข้อมูลว่ามีการปนเปื้อนผักและผลไม้บริเวณรอบโรงงานแล้ว แต่ยังไม่พบสารปนเปื้อนในดิน อาจจะหมายถึง มีการหลอมแคดเมียมเกิดขึ้นใน จ.สมุทรสาครแล้วหรือไม่ และใน จ.ชลบุรีก็ยังมีการลักลอบหลอมแคดเมียม แต่ก็ยังไม่มีความชัดเจนในการจัดการรับมือ หรือดำเนินคดีใดๆ” นายฐิติกันต์กล่าว
ด้านนายพูนศักดิ์กล่าวว่า ส่วนกรณีเกิดเหตุเพลิงไหม้ โรงงานของบริษัท วินโพรเสส จำกัด ในพื้นที่ อ.บ้านค่าย จ.ระยอง ทาง กมธ.ได้ อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ, ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง, หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ระยอง, อุตสาหกรรมจังหวัดระยอง, นายแพทย์สาธารณสุข จ.ระยอง, นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบางบุตร, นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว และผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรบ้านค่าย จ.ระยอง ในขณะนี้มีผู้ป่วยกว่า 600 รายที่ได้รับผลกระทบ ทาง กมธ.มีข้อสังเกตว่า ระบบแจ้งเตือน และการอพยพมีปัญหาใช่หรือไม่
การบัญชาการแก้ปัญหา ปัจจุบันยังโครงสร้างเป็นอย่างไร และหน่วยงานเอกชนที่มาดับไฟ หน่วยงานใดจะรับผิดชอบค่าปฏิบัติงาน ในทั้ง 2 กรณี ทางผู้ที่เกี่ยวข้อง ไม่สามารถตอบคำถามที่ทาง กมธ.ซักถามได้ จึงได้ให้กลับไปเขียนแผนงาน พร้อมหาคำตอบกับสิ่งที่เกิดขึ้น โดยทาง กมธ.จะติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด และรอข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อส่งข้อเสนอไปยังนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี เพื่อให้เร่งจัดการกับปัญหาดังกล่าวต่อไป
ด้านนายชุติพงศ์กล่าวว่า ตนขอตั้งคำถามไปยัง ปภ.จังหวัดระยองว่า ในจังหวัดที่มีลักษณะเปิดลงทุนอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เมื่อเกิดเหตุพิเศษแบบนี้แผนเผชิญเหตุที่เกิดขึ้นจริงๆ กลับล่าช้า ไม่ทันการ ไม่ชัดเจน ตนคิดว่าต้องมีการถอดบทเรียนครั้งใหญ่ เพื่อปรับปรุงว่าจะทำอย่างไรกับเหตุที่เกิดขึ้นแบบนี้ การเผชิญเหตุที่ล่าช้าไม่ใช่การระงับไฟ แต่ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขคือมีผู้ป่วยไปตรวจสุขภาพร่างกาย ส่วนใหญ่มีผลกระทบจากการสูดดมควัน และมีผลต่อระบบทางเดินหายใจ และคำถามคือจะมีการชดเชยเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบหรือไม่ อย่างไรก็ตามพรรคก้าวไกลจะจัดเวทีเพื่อรับฟังเสียงของประชาชนในวันที่ 5 พ.ค. ที่ จ.ระยองเพื่อรวบรวมส่งไปยังหน่วยงานราชการในการปรับปรุงแผนต่อไป
พนักงานช็อก บริษัทดัง ประกาศ ปิดกิจการ กะทันหัน ไม่เจรจาค่าชดเชย.
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_8211218
ช็อกวันแรงงาน บริษัทดัง ประกาศ ปิดกิจการ กะทันหัน เลิกจ้างพนักงานทั้งหมด หลายชีวิตเคว้ง บางรายทำมาหลายสิบปีใกล้จะเกษียณแล้ว ซ้ำ โรงงานไม่เจรจาค่าชดเชย
เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 1 พ.ค.2567 ที่โรงงานแห่งหนึ่ง ถนนเทพารักษ์ ต.บางเสาธง อ.บางเสาธง จ.สมุทรปราการ ได้ติดหนังสือประกาศปิดกิจการและเลิกจ้างพนักงานทั้งหมด โดยเอกสารดังกล่าวระบุว่า
ประกาศปิดกิจการและเลิกจ้างพนักงาน
เรียน พนักงานบริษัท วีเอ็ม.ซี.เซฟตี้กลาส (ประเทศไทย) จำกัด เนื่องด้วยบริษัท วีเอ็ม.ซีเซฟตี้กลาสประเทศไทย จำกัด ได้ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ ทำให้กิจการของบริษัทฯ ประสบสภาวะขาดทุนสะสม ขาดสภาพคล่องทางการเงินอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน ติดต่อกันหลายปี ทำให้ปัจจุบัน บริษัทตกอยู่ในภาวะวิกฤตไม่อาจดำเนินกิจการต่อไปได้
บริษัท วี.เอ็ม,ซี เซฟตี้กลาส (ประเทศไทย) จำกัด ได้พิจารณาแล้วเห็นว่ามีความจำเป็นที่จะต้องปิดกิจการและเลิกจ้างพนักงานทุกท่านตั้งแต่ วันที่ 30 เมษายน 2567 เป็นต้นไป จึงปิดประกาศให้ทราบทั่วกัน
ประกาศ ณ วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2567
ต่อมา พนักงานบริษัททั้งหมด 62 คน เดินทางไปยังสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดสมุทรปราการ เพื่อเขียนคำร้องยื่นต่อสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ให้นายจ้าง จ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน เนื่องจากถูกเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรมและไม่มีการแจ้งให้พนักงานทราบล่วงหน้า
นายประเทียง (ขอสงวนนามสกุล) อายุ 55 ปี พนักงาน กล่าวว่า ตนทำงานที่นี่มา 10 กว่าปีแล้ว เมื่อช่วงเย็นของวันที่ 30 เม.ย.ที่ผ่านมา ทราบว่าทางโรงงานเอาประกาศมาติดเลิกจ้าง ตนก็ตกใจ เพราะก่อนหน้านี้ทางบริษัทก็ไม่เคยมีการพูดคุยเรื่องนี้มาก่อน
นายประเทียง กล่าวต่อว่า หลังจากประกาศปิดกิจการทางบริษัทก็ไม่เคยส่งตัวแทนมาเจรจาเรื่องการเยียวยาพนักงาน วันนี้จึงรวมตัวกันมาเรียกร้องค่าชดเชย ซึ่งทางแรงงานจังหวัดก็รับเรื่องไว้แล้ว ยอมรับว่า ตอนนี้หมดหนทางไม่รู้จะไปทำงานที่ไหนต่อ เพราะอายุก็เยอะแล้ว และยังมีค่าใช้จ่ายเหมือนเดิมทุกเดือน
ด้าน นายอนันต์ (ขอสงวนนามสกุล) อายุ 54 ปี กล่าวว่า ตนทำงานที่นี่มานาน 30 ปีแล้ว จนจะใกล้เกษียณแล้ว เมื่อวันที่ 30 เม.ย. ทำงานวันสุดท้าย ตอนเย็นหลังจากทราบข่าวบริษัทติดป้ายประกาศตนก็ตกใจ เนื่องจากยังไม่ได้มีการพูดคุยเรื่องการเยียวยา และตอนนี้ก็ไม่รู้จะไปทำงานที่ไหนต่อ เพราะโรงงานไม่แจ้งล่วงหน้า อายุตนก็เยอะแล้ว
นายอนันต์ กล่าวต่อว่า ตอนนี้อยากให้บริษัททำตามกฏหมาย คุ้มครองแรงงาน จ่ายค่าชดเชย เพราะพนักงานทุกคนก็ลำบาก ต่อจากนี้ตนก็คงต้องหางานรับจ้างทั่วไปทำหรือไม่ก็ต้องอยู่บ้านเลี้ยงหลาน
ขณะที่ เจ้าหน้าที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดสมุทรปราการ เปิดเผยว่า วันนี้ได้เชิญเจ้าหน้าที่ประกันสังคมเข้ามาชี้แจงสิทธิประโยชน์ที่ลูกจ้างจะได้รับ และ หลังจากได้รับหนังสือคำร้องจากพนักงานทั้งหมดแล้ว จะทำการตรวจสอบหนังสือตามขั้นตอน และจะส่งหนังสือเชิญนายจ้างเข้ามาชี้แจง และให้ชดเชยลูกจ้างทั้งหมดตามกรอบของกฎหมายแรงงานต่อไป
ผลิตรถยนต์ร่วง 8 เดือนติด กดภาคผลิตไทยไตรมาสแรก -3.65%
https://www.matichon.co.th/economy/news_4554658
ผลิตรถยนต์ร่วง 8 เดือนติด กดภาคผลิตไทยไตรมาสแรก -3.65%
นางวรวรรณ ชิตอรุณ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (เอ็มพีไอ) มีนาคม 2567 อยู่ที่ระดับ 104.06 หดตัว 5.13% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 18 โดยมีอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ 62.39% ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมไตรมาสแรกของปี 2567 เฉลี่ยอยู่ที่ 100.85 หดตัวเฉลี่ย 3.65% และอัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ 60.45% สาเหตุหลักมาจากการผลิตยานยนต์ลดลงเป็นเดือนที่ 8 จากการหดตัวของการบริโภคภายในประเทศ เนื่องจากปัญหาหนี้ภาคครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง ทำให้ผู้บริโภคยังคงระมัดระวังในการจับจ่ายใช้สอย ประกอบกับการส่งออกลดลงเกิดจากความต้องการสินค้าในประเทศคู่ค้าในแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ลดลง
อย่างไรก็ตามคาดว่าเอ็มพีไอหลังจากนี้จะดีขึ้น จากการขยายตัวของภาคการท่องเที่ยว ส่งผลให้อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องขยายตัว อาทิ อุตสาหกรรมอาหาร และอุตสาหกรรมการกลั่นปิโตรเลียม รวมถึงการเร่งใช้งบประมาณปี 2567 ของรัฐบาล
“ประเด็นที่ต้องจับตา คือ การปรับขึ้นราคาขายปลีกน้ำมันกลุ่มดีเซลทุกชนิด จนปัจจุบันราคาน้ำมันดีเซลปรับขึ้นเป็น 30.94 บาทต่อลิตร ส่งผลให้ต้นทุนผลิตสินค้าเพิ่มขึ้น เนื่องจากภาคอุตสาหกรรมมีสัดส่วนการใช้น้ำมันดีเซลค่อนข้างสูง โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า การฟอกและย้อมผ้า และเคมีภัณฑ์ขั้นมูลฐาน และผลให้ต้นทุนการขนส่งสินค้าเพิ่มขึ้น อาจทำให้ราคาสินค้ามีแนวโน้มสูงขึ้นกระทบค่าครองชีพของประชาชน เกิดภาวะเงินเฟ้อ เนื่องจากภาวะราคาสินค้าโดยรวมเพิ่มสูงขึ้น โดยทาง สศอ. จะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดต่อไป” นางวรวรรณกล่าว