JJNY : นักธุรกิจผู้เอาเงิน 60 ล.ฝาก สวนม็อบกปปส.│‘ฐากร’ปูด‘มิสเตอร์ดับเบิลที’│ประปากระบี่ยังวิกฤต│รัสเซียขู่โจมตีอังกฤษ

นักธุรกิจผู้เอาเงิน 60 ล้านฝากออมสิน สวนม็อบ กปปส.ที่รณรงค์ให้ถอน กับการตัดสินใจลงสมัคร สว.
https://www.matichon.co.th/politics/thai-senate-2024/news_4563203

วิวัฒน์ ทีฆคีรีกุล นักธุรกิจวัย 72 ปี ผู้อยู่ในวงการอุตสาหกรรมมาทั้งชีวิต ต่อสู้จนประสบความสำเร็จทางธุรกิจ และเคยเป็นข่าวนำเงิน 60 ล้านบาทไปฝากธนาคารออมสิน สวนม็อบ กปปส.ที่รณรงค์ให้ถอนจากกรณีนำเงินไปจ่ายโครงการจำนำข้าวตอนช่วงรัฐบาลยิ่งลักษณ์ กับการตัดสินใจสมัคร สว.เพื่อให้ได้สิทธิ์โหวตเลือก สว.ที่อยู่ฝ่ายประชาธิปไตย
 
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
 

 
‘ฐากร’ ปูดข้อมูล ‘มิสเตอร์ดับเบิลที’ พัวพันจัดซื้อจัดจ้างในดีอีเอส เรียกรับประโยชน์30%
https://www.matichon.co.th/politics/news_4562551

‘ฐากร’ ปูดข้อมูล ‘มิสเตอร์ดับเบิลที’ พัวพันจัดซื้อจัดจ้างในดีอี เรียกรับประโยชน์30% เล็งอภิปรายวาระงบฯ’68  5-6มิ.ย. นี้
 
เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคไทยสร้างไทย เปิดเผยว่า ศูนย์ปราบโกงพรรคไทยสร้างไทยได้รับข้อมูลจากประชาชนที่หวังดีต่อชาติบ้านเมือง กรณีความไม่ชอบพากลในการจัดประมูลจัดซื้อจัดจ้างโครงการต่างๆ ในหลายกระทรวง โดยเฉพาะกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) มีข้อมูลส่งมาเป็นจำนวนมาก โดยดีอีมีหน่วยงานที่อยู่ในสังกัด อาทิ กรมอุตุนิยมวิทยา สำนักงานสถิติแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ กระทรวงได้รับงบประมาณปี 2567 เป็นจำนวน 5,347 ล้านบาท หน่วยงานที่ได้รับงบประมาณมากสุด ได้แก่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล จำนวน 1,586 ล้านบาท และกรมอุตุนิยมวิทยา จำนวน 1,348 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีรัฐวิสาหกิจอีก 2 แห่งที่ดีอีกำกับดูแล ได้แก่ บริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติ (NT) มีรายได้ปีละกว่า 8 หมื่นล้านบาท บริษัทไปรษณีย์ไทยจำกัด เมื่อปีที่ผ่านมามีรายได้ 2 หมื่นล้านบาท
 
นายฐากรกล่าวว่า ในการอภิปรายทั่วไปโดยไม่ลงมติตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 152 เมื่อวันที่ 3 เมษายนที่ผ่านมา ได้อภิปรายในโครงการจัดซื้อจัดจ้างของกรมอุตุฯ ที่มีบริษัท 6 บริษัทหมุนเวียนเข้าประมูลเสนอแข่งราคาไขว้กันและคว้างานประมูลของกรมอุตุฯแทบทุกโครงการ ปรากฏว่าหลังอภิปรายไปแล้วมีประชาชนส่งข้อมูลความไม่โปร่งใสในกรมอุตุฯและหน่วยงานอื่นๆ
 
นายฐากรกล่าวว่า ข้อมูลความไม่โปร่งใสที่ได้จากประชาชนเมื่อนำไปตรวจสอบพบความผิดปกติในหลายโครงการ อาทิ โครงการติดตั้งเรดาร์ตรวจอากาศ ชนิดเอส-แบนด์ (S-Band) ที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ มูลค่า 350 ล้านบาท ใช้งานได้ไม่นานอุปกรณ์เสื่อมสภาพและหมดอายุประกัน กรมอุตุฯต้องจัดงบประมาณซ่อมบำรุงเพิ่มอีกกว่า 60 ล้านบาท รวมทั้งการจัดซื้ออุปกรณ์ตรวจวัดสภาพอากาศซึ่งมีราคาแพงกว่าปกตินำไปติดตั้งในสถานที่ เช่น ในป่ามีต้นไม้บังทิศทางลมไม่เป็นไปตามมาตรฐานสากล
 
นายฐากรกล่าวว่า อีกหลายๆ หน่วยงานที่ดีอีกำกับดูแลเปิดให้ประมูลงานจัดซื้อจัดจ้างเป็นจำนวนมาก ขณะเดียวกันคนใกล้ชิดของรัฐมนตรีเข้าไปพัวพันในการจัดซื้อและประมูลงานซึ่งประชาชนที่ร้องเรียนระบุชื่อตำแหน่ง แต่จะขอเรียกย่อๆ ว่า มิสเตอร์ดับเบิลที บุคคลทั้งสองเสนอเรียกรับผลประโยชน์จากผู้รับเหมาในบางโครงการมากถึง 30 เปอร์เซ็นต์ บางโครงการมูลค่าแค่ 10 กว่าล้านบาท ก็ยังขอแบ่งส่วนผลประโยชน์
 
ผมมั่นใจว่า คุณประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดีอี ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับพฤติการณ์ของมิสเตอร์ดับเบิลทีอย่างแน่นอน แต่จะขอให้รัฐมนตรีเข้าไปตรวจสอบข้อกล่าวหาซึ่งกำลังเป็นเรื่องอื้อฉาวในกระทรวงดีอี” นายฐากรกล่าว
 
นายฐากรยังกล่าวด้วยว่า รัฐบาลชุดนี้มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย น่าจะบริหารประเทศด้วยความสุจริตโปร่งใสตรวจสอบได้ แต่เมื่อได้รับข้อมูลที่ผู้หวังดีส่งมาพบว่าในหลายกระทรวงกลับมีการประมูลจัดซื้อจัดจ้างที่น่าสงสัยให้เชื่อได้ว่ามีการเรียกรับผลประโยชน์มากกว่ารัฐบาลชุดที่แล้วๆ มา
 
นายฐากรกล่าวว่า ข้อมูลที่ได้รับมาจะตรวจสอบเพิ่มเติมเพื่อให้ได้หลักฐานชัดเจนแน่นหนามากขึ้นและนำข้อมูลดังกล่าวอภิปรายในสภาผู้แทนฯระหว่างการพิจารณาร่างงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2568 วาระที่ 1 วันที่ 5-6 มิถุนายน
 
นายฐากรกล่าวว่า พรรคร่วมฝ่ายค้านหารือร่วมกันว่าในการเปิดประชุมสภาผู้แทนฯปีที่ 2 สมัยที่ 1 ระหว่าง 3 กรกฎาคม-30 ตุลาคม 2567 พรรคร่วมฝ่ายค้านน่าจะยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจเป็นรายบุคคลหรือทั้งคณะ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 151 ทั้งนี้ หากประชาชนที่มีข้อมูลความไม่โปร่งใสในกระทรวงต่างๆ เพิ่มเติมสามารถขอให้ส่งมาที่ศูนย์ปราบโกงพรรคไทยสร้างไทย
  


น้ำประปากระบี่ยังวิกฤต น้ำในอ่างแห้งขอด - ที่พักเกาะพีพี ไร้น้ำใช้ เริ่มปิดกิจการชั่วคราว
https://ch3plus.com/news/economy/morning/398779

วานนี้ (6 พ.ค. 67) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ปริมาณน้ำในคลองกระบี่ใหญ่ แหล่งน้ำสำหรับผลิตน้ำประปาของการประปาส่วนภูมิภาค สาขา กระบี่ ลดลงต่อเนื่อง จากสถานการณ์ภัยแล้ง ฝนทิ้งช่วงนานกว่า 2 เดือน ทำให้ปริมาณน้ำไม่เพียงพอ สูบไปผลิตน้ำประปา จึงต้องยังคงใช้มาตรการประหยัดน้ำดิบโดยแบ่งโซนสลับการจ่ายน้ำ วันเว้นวันต่อเนื่อง จากเดิมสิ้นสุดวันที่ 6 พฤษภาคม นี้ เนื่องจากสถานการณ์ยังไม่คลี่คลาย
 
ด้านพื้นที่เกาะพีพี ต.อ่าวนาง อ.เมืองกระบี่ ซึ่งปัจจุบันผู้ผลิตน้ำประปาของเอกชนบนเกาะ ต้องยุติการจ่ายน้ำ ตั้งแต่วันที่ 23 เม.ย. ที่ผ่านมาเนื่องจากน้ำในอ่างพื้นที่ กว่า 5 ไร่ แห้งขอด ทำให้ผู้ประกอบการร้านค้าขนาดกลางถึงเล็ก และโรงแรมที่พักบางส่วน ต้องปิดกิจการชั่วคราว เพราะไม่มีน้ำใช้ หากต้องการน้ำต้องซื้อน้ำจากฝั่ง ซึ่งมีราคาแพง จึงยังเหลือผู้ประกอบการโรงแรมรายใหญ่เพียง 3-4 ราย ที่เปิดให้บริการ เพราะมีบ่อบาดาลของตัวเอง

รับชมผ่านยูทูบได้ที่ : https://youtu.be/pNcqDzF-g1U
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่