‘สภา’ ไฟเขียวรับหลักการก.ม.ชาติพันธุ์ 5 ฉบับ
https://www.dailynews.co.th/news/3215693/
“สภา” ไฟเขียว รับหลักการ ก.ม.ชาติพันธุ์ 5 ฉบับ
เมื่อเวลา 10.45 น. วันที่ 28 ก.พ. ที่รัฐสภา มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีนาย
ปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุมพิจารณาร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ ตามที่ ครม. เป็นผู้เสนอ พร้อมกับร่าง พ.ร.บ. ที่มีเนื้อหาในลักษณะเดียวกันอีก 4 ฉบับ รวมทั้งหมด 5 ฉบับ ให้พิจารณาไปพร้อมกัน มีสาระสำคัญคือ การให้รัฐพึงส่งเสริม ให้ความคุ้มครองชาวไทยทุกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ให้มีสิทธิดำรงชีวิตในสังคมตามวัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิตดั้งเดิมตามความสมัครใจได้อย่างสงบสุข ไม่ถูกรบกวน เท่าที่ไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อย และศีลธรรมอันดีของประชาชน ควรให้มีกฎหมายคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์
ในการอภิปราย สส. ทุกพรรค ทุกคน กล่าวสนับสนุนร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าวไปในแนวทางเดียวกัน ให้มีกฎหมายคุ้มครองชนเผ่าพื้นเมือง ให้ได้รับการรับรองให้บุคคลมีสิทธิเสมอกัน ป้องกันปัญหาละเมิดกลุ่มชาติพันธุ์ ได้รับการคุ้มครองสิทธิความเป็นมนุษย์ สิทธิการใช้ประโยชน์ที่ดินทับซ้อนพื้นที่ที่ราชการไม่อนุญาตให้ประชาชนใช้ประโยชน์ ไม่ให้มีการเลือกปฏิบัติ การให้กลุ่มชาติพันธุ์มีส่วนร่วมในกระบวนการทางการเมือง และสังคมทุกระดับ ตลอดจนมีสิทธิสวัสดิการภาครัฐ สิทธิขั้นพื้นฐานเทียบเท่าคนในเมือง
ภายหลัง สส. อภิปรายครบถ้วนทุกคนแล้ว ที่ประชุมลงมติรับหลักการร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ และร่างพ.ร.บ.ที่เกี่ยวข้องทุกฉบับ โดยใช้ร่าง ครม. เป็นหลัก
นักวิชาการมธ. ร้อง กมธ.การเงินฯ ศึกษา คำนำหน้านาม ธุรกรรมแบงก์พาณิชย์
https://www.matichon.co.th/politics/news_4446465
นักวิชาการ มธ. ร้อง กมธ.การเงินฯ ศึกษา คำนำหน้านาม ธุรกรรมแบงก์พาณิชย์
เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 28 กุมภาพันธ์ ที่รัฐสภา นาย
เคท ครั้งพิบูลย์ อาจารย์ประจำคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เข้ายื่นหนังสือ ต่อกรรมาธิการ (กมธ.) การเงิน การคลัง สถาบันการเงินและตลาดการเงิน โดยมี
ธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล เป็นผู้รับ เพื่อขอให้ กมธ.พิจารณาปัญหา การใช้คำนำหน้านามในธุรกรรม และธุรกรรมออนไลน์ของธนาคาร
นาย
เคทกล่าวว่า ตนได้สอบถามธนาคารไทยพาณิชย์ เรื่องการระบุคำนำหน้านามบุคคลในการทำธุรกรรมทางการเงินออนไลน์นั้นสามารถเปลี่ยนคำนำหน้านามจาก นาย เป็น คุณ ได้หรือไม่ และได้รับแจ้งจากธนาคารจะยึดตามเอกสารที่ออกโดยหน่วยงานราชการ อย่างไรก็ตามเมื่อวันที่ 18 ก.พ.2567 ได้มีการนำเสนอข่าวโดยสำนักข่าวข่าวสดออนไลน์เรื่อง SCB ชี้แจง กรณี นายปอย ตรีชฎา ใช้คำนำหน้าว่า “คุณ” หลังดราม่าเลือกปฏิบัติ มีบุคคลติดต่อสอบถามไปยังธนาคารไทยพาณิชย์ และได้คำตอบว่าธนาคารยังไม่สามารถเปลี่ยนคำนำหน้านามได้และจะยึดตามบัตรประจำตัวประชาชน
จากกรณีดังกล่าวได้สร้างความสับสนต่อบริการของธนาคารทำให้เกิดความแตกต่างและสะท้อนถึงความไม่เท่าเทียมและไม่เป็นธรรมต่อผู้ใช้บริการ เราจึงอยากให้ กมธ.การเงินฯ พิจารณาเรื่องของการยืนยันตัวบุคคลในการเข้าใช้บริการธนาคารและแอพพลิเคชั่นต่างๆ ว่าควรจะมีหลักการอย่างไรในการใช้คำนำหน้านาม ซึ่งโดยหลักการ ประเทศไทยมีแนวปฏิบัติในเรื่องของการว่าด้วยการปฏิบัติของธุรกิจและสิทธิมนุษยชน เป็นแผนปฏิบัติการระดับประเทศ มีออกมาใช้แล้ว
ซึ่งการปฏิบัตินี้ ถูกนำมาจากร่างของ UNGP ซึ่งเป็นร่างจากองค์การสหประชาชาติ ในการให้บริการ และคุ้มครองสิทธิของประชาชน ที่เข้าใช้บริการทางด้านการเงิน การคลัง การธนาคารต่างๆ ซึ่งออกมาเพื่อคุ้มครองสิทธิไม่ให้มีการละเมิดสิทธิ เพื่อป้องกันการถูกเลือกปฏิบัติ โดยเฉพาะเรื่องทางเพศ วันนี้เราจึงมายื่นกฎหมาย เพื่อขอให้คณะกรรมาธิการการเงิน พิจารณาดูว่าขอบข่ายต่างๆ สามารถช่วยขับเคลื่อนและสร้างความเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
“
หลักๆ ที่ต้องการเห็น อยากเห็นแผนการทำงานขั้นตอนการปฏิบัติว่าทำอย่างไร ในการใช้คำนำหน้านาม ถึงจะเป็นความกระจ่างชัดเจน และเป็นธรรมกับทุกฝ่าย และไม่มีการตีตราเลือกปฏิบัติ”
ขณะที่นาย
ธัญวัจน์กล่าวว่า ตนจะนำเรื่องดังกล่าวไปให้ กมธ.การเงินฯพิจารณา ทั้งนี้ หลักการสิทธิมนุษยชนและการดำเนินธุรกิจเป็นสิ่งที่ต้องควบคู่กัน เราคงต้องหยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาพูด และพัฒนาให้เกิดการตระหนักถึงอย่างกว้างขวาง เวลาที่สถาบันการเงิน ประชาสัมพันธ์ หรือบริษัทประชาสัมพันธ์ประกันเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศ มีการโอบรับความหลากหลายทางเพศเราก็อยากจะต้องเรียกร้องว่าเราควรจะทำอย่างไรให้ถูกด้านหรือไม่ และหวังว่าจะได้ข้อเสนอนำไปสู่สังคมต่อไป
สทนช. ห่วงภัยแล้งวงกว้าง สั่งลดระบายน้ำเพื่อคุมพื้นที่ปลูกนาปรังรอบ 2
https://www.matichon.co.th/economy/news_4447209
สทนช. ห่วงภัยแล้งวงกว้าง สั่งลดระบายน้ำเพื่อคุมพื้นที่ปลูกนาปรังรอบ 2
นาย
ไพฑูรย์ เก่งการช่าง รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมติดตามและประเมินสถานการณ์น้ำประจำสัปดาห์ พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมอุตุนิยมวิทยา สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) (สสน.) กรมฝนหลวงและการบินเกษตร กรมทรัพยากรน้ำ กรมทรัพยากรธรณี กรมชลประทาน การประปานครหลวง การประปาส่วนภูมิภาค การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (GISTDA) เป็นต้น เข้าร่วมการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
นาย
ไพฑูรย์ กล่าวถึงผลการประชุมว่า ปัจจุบันกรมอุตุนิยมวิทยาประกาศว่าประเทศไทยได้เข้าสู่ฤดูร้อนแล้ว ประกอบกับสภาวะเอลนีโญที่ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้สภาพอากาศมีลักษณะร้อนและแล้ง แต่จากการบูรณาการร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และแก้ไขปัญหาภัยแล้งในเชิงรุก โดยมีการประเมินและลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์ความเสี่ยงขาดแคลนน้ำ โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำอุปโภค บริโภค อย่างต่อเนื่อง พร้อมหาแนวทางแก้ไขปัญหาทั้งในระยะสั้นและระยะยาว รวมถึงสนับสนุนการดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างเต็มที่ ส่งผลให้ปัจจุบันมีจำนวนพื้นที่ประสบปัญหาภัยแล้งไม่มากนัก โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัยแล้ง) ในพื้นที่ 3 จังหวัด 4 อำเภอ ได้แก่ พื้นที่ อ.เลาขวัญ อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี ได้รับผลกระทบจากการเพาะปลูกมันสำปะหลัง พื้นที่ อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ ได้รับผลกระทบจากการเพาะปลูกนาปีต่อเนื่อง และ พื้นที่ อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร ประสบการขาดแคลนน้ำจืดจากน้ำทะเลหนุนสูง โดยปัจจุบันสถานการณ์ในพื้นที่ อ.กระทุ่มแบน ได้กลับเข้าสู่สภาวะปกติแล้ว ทั้งนี้ สทนช. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะมีการติดตามให้ความช่วยเหลือในพื้นที่ที่ยังประสบปัญหาอย่างใกล้ชิดจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้ติดตามสถานการณ์น้ำของการประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) สาขาที่มีความเสี่ยงขาดแคลนน้ำดิบในช่วงฤดูแล้งนี้ จำนวน 18 สาขา 14 จังหวัด โดยมอบหมายให้มีการบูรณาการดำเนินงานร่วมกันระหว่างกรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำ และ กปภ. ในการเร่งหาแนวทางแก้ไขปัญหาให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในแต่ละพื้นที่ อาทิ การบริหารจัดการน้ำดิบโดยดึงปริมาณน้ำจากแหล่งน้ำใกล้เคียงมาช่วยเหลือให้เกิดความสมดุล เป็นต้น สำหรับพื้นที่เสี่ยงประสบปัญหาขาดแคลนน้ำในพื้นที่อื่น ๆ เช่น เกาะสีชัง จ.ชลบุรี ปัจจุบันจังหวัดได้มีการประกาศซื้อน้ำจากเอกชนเพื่อบรรเทาปัญหาในบางพื้นที่ของเกาะ ควบคู่ไปกับการให้ความช่วยเหลือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น การสูบน้ำช่วยเหลือพื้นที่การเกษตร ฯลฯ รวมถึงการเร่งดำเนินการวางท่อส่งน้ำประปาเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนด้วย ในส่วนของ จ.ประจวบคีรีขันธ์ และ จ.เพชรบุรี ที่มีปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำค่อนข้างน้อย และมีการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่น ทุเรียน พื้นที่เพาะปลูกดังกล่าวอยู่บริเวณต้นน้ำ อาจส่งผลกระทบต่อปริมาณน้ำในพื้นที่ท้ายน้ำซึ่งใช้สำหรับการผลิตประปา สทนช. จึงได้ประสานไปยังจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงและมอบหมายกรมส่งเสริมการเกษตรให้มีการทำความเข้าใจร่วมกับเกษตรกรในการปรับลดการใช้น้ำให้เหมาะสม เพื่อป้องกันปัญหาการแย่งใช้น้ำ
ในอนาคต
สำหรับปัญหาการเพาะปลูกข้าวนาปรังรอบที่ 2 ที่เกษตรกรในบางพื้นที่ยังคงเดินหน้าเพาะปลูกแม้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะมีการรณรงค์งดเพาะปลูกอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้อ่างเก็บน้ำบางแห่งมีการจัดสรรน้ำเกินกว่าแผนที่วางไว้ โดยเฉพาะอ่างฯ ในลุ่มน้ำเจ้าพระยา เช่น เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนภูมิพล สทนช. จึงได้บูรณาการร่วมกับกรมชลประทาน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และกรมส่งเสริมการเกษตร ในการควบคุมพื้นที่เพาะปลูกอย่างเคร่งครัด และปรับลดการระบายน้ำให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม รวมถึงจะมีการนำน้ำจากลุ่มน้ำอื่น ๆ ที่มีปริมาณน้ำมากเข้ามาช่วยลดการใช้น้ำจากลุ่มน้ำเจ้าพระยา เช่น ให้ระบายน้ำจากเขื่อนวชิราลงกรณและเขื่อนศรีนครินทร์ ในลุ่มน้ำแม่กลองไปสนับสนุนการใช้น้ำในลุ่มน้ำท่าจีน ซึ่งจะช่วยลดภาระการในเร่งระบายน้ำในช่วงฤดูฝนและลดโอกาสการเกิดน้ำล้นได้อีกด้วย สำหรับสถานการณ์ค่าความเค็มในแม่น้ำหลักทั้ง 4 สาย ปัจจุบันสามารถควบคุมความเค็มให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน แต่คงมีการติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์อย่างใกล้ชิด
สภาอุตฯ เสนออุ้มราคาดีเซล ช่วยเหลือเฉพาะกลุ่มขนส่ง-รถรับจ้าง
https://ch3plus.com/news/economy/ruangden/389148
ราคาน้ำมันดีเซลที่กระทรวงพลังงานจ่อขยับเพดานเป็น 32 บาท หลังกองทุนน้ำมันส่อติดลบแสนล้านอีกครั้ง ขณะที่สภาอุตสาหกรรมฯ เสนอ ให้ปรับมาตรการ ช่วยเหลือเฉพาะกลุ่มที่เดือดร้อน เช่น ขนส่ง รถรับจ้าง
นาย
อิศเรศ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า การบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง และการลดภาษีสรรพสามิตดีเซล เพื่อดูแลราคาดีเซลไม่ให้เกิน 30บาท/ลิตรนั้น เป็นการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุเหมือนรัฐให้ขนมจนประชาชนติด การจะปรับขึ้นราคาดีเซลเป็น 32 บาท/ลิตร จะยิ่งซ้ำเติมประชาชน ที่ขณะนี้กำลังประสบปัญหาค่าครองชีพที่สูง โดยนายอิศเรศ เสนอว่า รัฐควรจะพิจารณาแนวทางหลักๆ 3 เรื่อง
คือ ช่วยเหลือเฉพาะกลุ่มเปราะบาง เช่น กลุ่มรถขนส่ง รถรับจ้าง ฯลฯ เพื่อลดภาระการอุดหนุนลง ควบคู่กับหันมาพิจารณาการพึ่งพาพลังงานภายในประเทศอย่างจริงจังเสียที ทั้ง เอทานอล ไบโอดีเซล หรือแม้กระทั่งการวิจัยด้านอื่นๆ ฯลฯ ซึ่งจะช่วยเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรได้อีกทางหนึ่งด้วย ซึ่งหากรัฐส่งเสริมและปรับโครงสร้างการผลิตให้ดีๆ และไม่ต้องเสียภาษีฯ จะช่วยลดการนำเข้าน้ำมันได้มาก นอกจากนี้ต้องเร่งส่งเสริมพลังงานทดแทนอื่น เช่น โซลาร์เซลล์ หรือ ส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า(EV) ที่นอกจากจะช่วยลดมลพิษแล้ว ยังจะช่วยใช้ไฟที่เกินความต้องการ ซึ่งท้ายสุดจะไปลดค่าพร้อมจ่าย’ หรือ AP ที่ประชาชนต้องแบกรับ โดยค่าพร้อมจ่าย เป็นการจ่ายเงินให้กับโรงไฟฟ้าทุกโรงไฟฟ้าแม้ว่าจะไม่มีการเดินเครื่อง เป็นต้น
JJNY : 5in1 ‘สภา’รับหลักการก.ม.ชาติพันธุ์│ร้องกมธ.ศึกษาคำนำหน้า│สทนช.ห่วงภัยแล้ง│สภาอุตฯเสนออุ้มดีเซล│เซเลนสกีเยือนซาอุ
https://www.dailynews.co.th/news/3215693/
“สภา” ไฟเขียว รับหลักการ ก.ม.ชาติพันธุ์ 5 ฉบับ
เมื่อเวลา 10.45 น. วันที่ 28 ก.พ. ที่รัฐสภา มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีนายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุมพิจารณาร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ ตามที่ ครม. เป็นผู้เสนอ พร้อมกับร่าง พ.ร.บ. ที่มีเนื้อหาในลักษณะเดียวกันอีก 4 ฉบับ รวมทั้งหมด 5 ฉบับ ให้พิจารณาไปพร้อมกัน มีสาระสำคัญคือ การให้รัฐพึงส่งเสริม ให้ความคุ้มครองชาวไทยทุกกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ให้มีสิทธิดำรงชีวิตในสังคมตามวัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิตดั้งเดิมตามความสมัครใจได้อย่างสงบสุข ไม่ถูกรบกวน เท่าที่ไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อย และศีลธรรมอันดีของประชาชน ควรให้มีกฎหมายคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์
ในการอภิปราย สส. ทุกพรรค ทุกคน กล่าวสนับสนุนร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าวไปในแนวทางเดียวกัน ให้มีกฎหมายคุ้มครองชนเผ่าพื้นเมือง ให้ได้รับการรับรองให้บุคคลมีสิทธิเสมอกัน ป้องกันปัญหาละเมิดกลุ่มชาติพันธุ์ ได้รับการคุ้มครองสิทธิความเป็นมนุษย์ สิทธิการใช้ประโยชน์ที่ดินทับซ้อนพื้นที่ที่ราชการไม่อนุญาตให้ประชาชนใช้ประโยชน์ ไม่ให้มีการเลือกปฏิบัติ การให้กลุ่มชาติพันธุ์มีส่วนร่วมในกระบวนการทางการเมือง และสังคมทุกระดับ ตลอดจนมีสิทธิสวัสดิการภาครัฐ สิทธิขั้นพื้นฐานเทียบเท่าคนในเมือง
ภายหลัง สส. อภิปรายครบถ้วนทุกคนแล้ว ที่ประชุมลงมติรับหลักการร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ และร่างพ.ร.บ.ที่เกี่ยวข้องทุกฉบับ โดยใช้ร่าง ครม. เป็นหลัก
นักวิชาการมธ. ร้อง กมธ.การเงินฯ ศึกษา คำนำหน้านาม ธุรกรรมแบงก์พาณิชย์
https://www.matichon.co.th/politics/news_4446465
นักวิชาการ มธ. ร้อง กมธ.การเงินฯ ศึกษา คำนำหน้านาม ธุรกรรมแบงก์พาณิชย์
เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 28 กุมภาพันธ์ ที่รัฐสภา นายเคท ครั้งพิบูลย์ อาจารย์ประจำคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เข้ายื่นหนังสือ ต่อกรรมาธิการ (กมธ.) การเงิน การคลัง สถาบันการเงินและตลาดการเงิน โดยมีธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล เป็นผู้รับ เพื่อขอให้ กมธ.พิจารณาปัญหา การใช้คำนำหน้านามในธุรกรรม และธุรกรรมออนไลน์ของธนาคาร
นายเคทกล่าวว่า ตนได้สอบถามธนาคารไทยพาณิชย์ เรื่องการระบุคำนำหน้านามบุคคลในการทำธุรกรรมทางการเงินออนไลน์นั้นสามารถเปลี่ยนคำนำหน้านามจาก นาย เป็น คุณ ได้หรือไม่ และได้รับแจ้งจากธนาคารจะยึดตามเอกสารที่ออกโดยหน่วยงานราชการ อย่างไรก็ตามเมื่อวันที่ 18 ก.พ.2567 ได้มีการนำเสนอข่าวโดยสำนักข่าวข่าวสดออนไลน์เรื่อง SCB ชี้แจง กรณี นายปอย ตรีชฎา ใช้คำนำหน้าว่า “คุณ” หลังดราม่าเลือกปฏิบัติ มีบุคคลติดต่อสอบถามไปยังธนาคารไทยพาณิชย์ และได้คำตอบว่าธนาคารยังไม่สามารถเปลี่ยนคำนำหน้านามได้และจะยึดตามบัตรประจำตัวประชาชน
จากกรณีดังกล่าวได้สร้างความสับสนต่อบริการของธนาคารทำให้เกิดความแตกต่างและสะท้อนถึงความไม่เท่าเทียมและไม่เป็นธรรมต่อผู้ใช้บริการ เราจึงอยากให้ กมธ.การเงินฯ พิจารณาเรื่องของการยืนยันตัวบุคคลในการเข้าใช้บริการธนาคารและแอพพลิเคชั่นต่างๆ ว่าควรจะมีหลักการอย่างไรในการใช้คำนำหน้านาม ซึ่งโดยหลักการ ประเทศไทยมีแนวปฏิบัติในเรื่องของการว่าด้วยการปฏิบัติของธุรกิจและสิทธิมนุษยชน เป็นแผนปฏิบัติการระดับประเทศ มีออกมาใช้แล้ว
ซึ่งการปฏิบัตินี้ ถูกนำมาจากร่างของ UNGP ซึ่งเป็นร่างจากองค์การสหประชาชาติ ในการให้บริการ และคุ้มครองสิทธิของประชาชน ที่เข้าใช้บริการทางด้านการเงิน การคลัง การธนาคารต่างๆ ซึ่งออกมาเพื่อคุ้มครองสิทธิไม่ให้มีการละเมิดสิทธิ เพื่อป้องกันการถูกเลือกปฏิบัติ โดยเฉพาะเรื่องทางเพศ วันนี้เราจึงมายื่นกฎหมาย เพื่อขอให้คณะกรรมาธิการการเงิน พิจารณาดูว่าขอบข่ายต่างๆ สามารถช่วยขับเคลื่อนและสร้างความเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
“หลักๆ ที่ต้องการเห็น อยากเห็นแผนการทำงานขั้นตอนการปฏิบัติว่าทำอย่างไร ในการใช้คำนำหน้านาม ถึงจะเป็นความกระจ่างชัดเจน และเป็นธรรมกับทุกฝ่าย และไม่มีการตีตราเลือกปฏิบัติ”
ขณะที่นายธัญวัจน์กล่าวว่า ตนจะนำเรื่องดังกล่าวไปให้ กมธ.การเงินฯพิจารณา ทั้งนี้ หลักการสิทธิมนุษยชนและการดำเนินธุรกิจเป็นสิ่งที่ต้องควบคู่กัน เราคงต้องหยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาพูด และพัฒนาให้เกิดการตระหนักถึงอย่างกว้างขวาง เวลาที่สถาบันการเงิน ประชาสัมพันธ์ หรือบริษัทประชาสัมพันธ์ประกันเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศ มีการโอบรับความหลากหลายทางเพศเราก็อยากจะต้องเรียกร้องว่าเราควรจะทำอย่างไรให้ถูกด้านหรือไม่ และหวังว่าจะได้ข้อเสนอนำไปสู่สังคมต่อไป
สทนช. ห่วงภัยแล้งวงกว้าง สั่งลดระบายน้ำเพื่อคุมพื้นที่ปลูกนาปรังรอบ 2
https://www.matichon.co.th/economy/news_4447209
สทนช. ห่วงภัยแล้งวงกว้าง สั่งลดระบายน้ำเพื่อคุมพื้นที่ปลูกนาปรังรอบ 2
นายไพฑูรย์ เก่งการช่าง รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมติดตามและประเมินสถานการณ์น้ำประจำสัปดาห์ พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมอุตุนิยมวิทยา สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) (สสน.) กรมฝนหลวงและการบินเกษตร กรมทรัพยากรน้ำ กรมทรัพยากรธรณี กรมชลประทาน การประปานครหลวง การประปาส่วนภูมิภาค การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (GISTDA) เป็นต้น เข้าร่วมการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
นายไพฑูรย์ กล่าวถึงผลการประชุมว่า ปัจจุบันกรมอุตุนิยมวิทยาประกาศว่าประเทศไทยได้เข้าสู่ฤดูร้อนแล้ว ประกอบกับสภาวะเอลนีโญที่ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้สภาพอากาศมีลักษณะร้อนและแล้ง แต่จากการบูรณาการร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และแก้ไขปัญหาภัยแล้งในเชิงรุก โดยมีการประเมินและลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์ความเสี่ยงขาดแคลนน้ำ โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำอุปโภค บริโภค อย่างต่อเนื่อง พร้อมหาแนวทางแก้ไขปัญหาทั้งในระยะสั้นและระยะยาว รวมถึงสนับสนุนการดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างเต็มที่ ส่งผลให้ปัจจุบันมีจำนวนพื้นที่ประสบปัญหาภัยแล้งไม่มากนัก โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัยแล้ง) ในพื้นที่ 3 จังหวัด 4 อำเภอ ได้แก่ พื้นที่ อ.เลาขวัญ อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี ได้รับผลกระทบจากการเพาะปลูกมันสำปะหลัง พื้นที่ อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ ได้รับผลกระทบจากการเพาะปลูกนาปีต่อเนื่อง และ พื้นที่ อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร ประสบการขาดแคลนน้ำจืดจากน้ำทะเลหนุนสูง โดยปัจจุบันสถานการณ์ในพื้นที่ อ.กระทุ่มแบน ได้กลับเข้าสู่สภาวะปกติแล้ว ทั้งนี้ สทนช. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะมีการติดตามให้ความช่วยเหลือในพื้นที่ที่ยังประสบปัญหาอย่างใกล้ชิดจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้ติดตามสถานการณ์น้ำของการประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) สาขาที่มีความเสี่ยงขาดแคลนน้ำดิบในช่วงฤดูแล้งนี้ จำนวน 18 สาขา 14 จังหวัด โดยมอบหมายให้มีการบูรณาการดำเนินงานร่วมกันระหว่างกรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำ และ กปภ. ในการเร่งหาแนวทางแก้ไขปัญหาให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในแต่ละพื้นที่ อาทิ การบริหารจัดการน้ำดิบโดยดึงปริมาณน้ำจากแหล่งน้ำใกล้เคียงมาช่วยเหลือให้เกิดความสมดุล เป็นต้น สำหรับพื้นที่เสี่ยงประสบปัญหาขาดแคลนน้ำในพื้นที่อื่น ๆ เช่น เกาะสีชัง จ.ชลบุรี ปัจจุบันจังหวัดได้มีการประกาศซื้อน้ำจากเอกชนเพื่อบรรเทาปัญหาในบางพื้นที่ของเกาะ ควบคู่ไปกับการให้ความช่วยเหลือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น การสูบน้ำช่วยเหลือพื้นที่การเกษตร ฯลฯ รวมถึงการเร่งดำเนินการวางท่อส่งน้ำประปาเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนด้วย ในส่วนของ จ.ประจวบคีรีขันธ์ และ จ.เพชรบุรี ที่มีปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำค่อนข้างน้อย และมีการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่น ทุเรียน พื้นที่เพาะปลูกดังกล่าวอยู่บริเวณต้นน้ำ อาจส่งผลกระทบต่อปริมาณน้ำในพื้นที่ท้ายน้ำซึ่งใช้สำหรับการผลิตประปา สทนช. จึงได้ประสานไปยังจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงและมอบหมายกรมส่งเสริมการเกษตรให้มีการทำความเข้าใจร่วมกับเกษตรกรในการปรับลดการใช้น้ำให้เหมาะสม เพื่อป้องกันปัญหาการแย่งใช้น้ำ
ในอนาคต
สำหรับปัญหาการเพาะปลูกข้าวนาปรังรอบที่ 2 ที่เกษตรกรในบางพื้นที่ยังคงเดินหน้าเพาะปลูกแม้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะมีการรณรงค์งดเพาะปลูกอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้อ่างเก็บน้ำบางแห่งมีการจัดสรรน้ำเกินกว่าแผนที่วางไว้ โดยเฉพาะอ่างฯ ในลุ่มน้ำเจ้าพระยา เช่น เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนภูมิพล สทนช. จึงได้บูรณาการร่วมกับกรมชลประทาน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และกรมส่งเสริมการเกษตร ในการควบคุมพื้นที่เพาะปลูกอย่างเคร่งครัด และปรับลดการระบายน้ำให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม รวมถึงจะมีการนำน้ำจากลุ่มน้ำอื่น ๆ ที่มีปริมาณน้ำมากเข้ามาช่วยลดการใช้น้ำจากลุ่มน้ำเจ้าพระยา เช่น ให้ระบายน้ำจากเขื่อนวชิราลงกรณและเขื่อนศรีนครินทร์ ในลุ่มน้ำแม่กลองไปสนับสนุนการใช้น้ำในลุ่มน้ำท่าจีน ซึ่งจะช่วยลดภาระการในเร่งระบายน้ำในช่วงฤดูฝนและลดโอกาสการเกิดน้ำล้นได้อีกด้วย สำหรับสถานการณ์ค่าความเค็มในแม่น้ำหลักทั้ง 4 สาย ปัจจุบันสามารถควบคุมความเค็มให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน แต่คงมีการติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์อย่างใกล้ชิด
สภาอุตฯ เสนออุ้มราคาดีเซล ช่วยเหลือเฉพาะกลุ่มขนส่ง-รถรับจ้าง
https://ch3plus.com/news/economy/ruangden/389148
ราคาน้ำมันดีเซลที่กระทรวงพลังงานจ่อขยับเพดานเป็น 32 บาท หลังกองทุนน้ำมันส่อติดลบแสนล้านอีกครั้ง ขณะที่สภาอุตสาหกรรมฯ เสนอ ให้ปรับมาตรการ ช่วยเหลือเฉพาะกลุ่มที่เดือดร้อน เช่น ขนส่ง รถรับจ้าง
นายอิศเรศ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า การบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง และการลดภาษีสรรพสามิตดีเซล เพื่อดูแลราคาดีเซลไม่ให้เกิน 30บาท/ลิตรนั้น เป็นการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุเหมือนรัฐให้ขนมจนประชาชนติด การจะปรับขึ้นราคาดีเซลเป็น 32 บาท/ลิตร จะยิ่งซ้ำเติมประชาชน ที่ขณะนี้กำลังประสบปัญหาค่าครองชีพที่สูง โดยนายอิศเรศ เสนอว่า รัฐควรจะพิจารณาแนวทางหลักๆ 3 เรื่อง
คือ ช่วยเหลือเฉพาะกลุ่มเปราะบาง เช่น กลุ่มรถขนส่ง รถรับจ้าง ฯลฯ เพื่อลดภาระการอุดหนุนลง ควบคู่กับหันมาพิจารณาการพึ่งพาพลังงานภายในประเทศอย่างจริงจังเสียที ทั้ง เอทานอล ไบโอดีเซล หรือแม้กระทั่งการวิจัยด้านอื่นๆ ฯลฯ ซึ่งจะช่วยเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรได้อีกทางหนึ่งด้วย ซึ่งหากรัฐส่งเสริมและปรับโครงสร้างการผลิตให้ดีๆ และไม่ต้องเสียภาษีฯ จะช่วยลดการนำเข้าน้ำมันได้มาก นอกจากนี้ต้องเร่งส่งเสริมพลังงานทดแทนอื่น เช่น โซลาร์เซลล์ หรือ ส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า(EV) ที่นอกจากจะช่วยลดมลพิษแล้ว ยังจะช่วยใช้ไฟที่เกินความต้องการ ซึ่งท้ายสุดจะไปลดค่าพร้อมจ่าย’ หรือ AP ที่ประชาชนต้องแบกรับ โดยค่าพร้อมจ่าย เป็นการจ่ายเงินให้กับโรงไฟฟ้าทุกโรงไฟฟ้าแม้ว่าจะไม่มีการเดินเครื่อง เป็นต้น