เหตุโรงงานระเบิดของ “บริษัท ซินเคอหยวน จำกัด” ที่ จ.ระยอง เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2567 ที่ผ่านมา ไม่ใช่ครั้งแรกที่บริษัทแห่งนี้สร้างความเสียหายจนเกิดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน
ความบกพร่องที่เกิดขึ้นไม่สามารถระบุชัดเจนได้ ว่านี่คืออุบัติเหตุ ความประมาทเลินเล่อของพนักงาน หรือการปล่อยปละละเลยกับอุปกรณ์เครื่องจักรภายในโรงงาน
ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าซินเคอหยวนซึ่งเป็นผู้ผลิตทั้งเหล็กเส้น เหล็กลวด รวมถึงเหล็กแผ่นรายใหญ่ของจีนที่เข้ามาทำตลาดในประเทศไทยเมื่อหลายปีก่อน เป็นอีกต้นเหตุหนึ่งที่ทำให้ตลาดเหล็กในประเทศถึงจุดตกต่ำ ด้วยการแย่งส่วนแบ่งตลาดและแข่งขันด้วยราคาที่ถูก ทำให้สถานการณ์เหล็กไทยเกิดวิกฤตจนต้องปิดกิจการมาแล้วหลายราย
ใช้เตาอินดักชั่นเผาเหล็ก
หากย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 10 ปีที่แล้ว คณะกรรมการผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (กมอ.) ต้องทำงานอย่างหนักเมื่อมีบริษัทเหล็กรายใหญ่จากประเทศจีน หนึ่งในนั้นคือซินเคอหยวน ได้พยายามที่จะนำเข้าเครื่องจักรและเตาอินดักชั่นเข้ามาใช้ในโรงงานที่ จ.ระยอง เพื่อผลิตเหล็กขายในประเทศไทยและส่งออก
ซึ่งในขณะนั้นได้มีการดึงเอาผู้เชี่ยวชาญจากหลายหน่วยงานเข้ามาร่วมหารือ ทดสอบ และพยายามที่จะเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียระหว่างเตาอินดักชั่น (IF) และเตาอิเล็กทริกอาร์กเฟอร์เนซ (EAF) จากการเก็บข้อมูล พบว่า การนำเตาอินดักชั่นมาใช้ในกระบวนการหลอมเหล็กนั้น ด้วยประสิทธิภาพและคุณสมบัติของเตาไม่เหมาะสม ด้วยมีการเผาใหม้ไม่สมบูรณ์ ทำให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนมาก ส่งผลต่อมลพิษทางอากาศ และประเทศจีนไม่อนุญาตให้ใช้เตาหลอม IF นี้แล้ว ทำให้โรงงานเหล็กเตาหลอม IF จากจีนต้องย้ายฐานการผลิตมายังประเทศไทย ขณะที่เดิมโรงงานเหล็กไทยจะใช้เตาหลอมแบบ EAF
เมื่อซินเคอหยวนได้รับการอนุญาตให้ตั้งโรงงานและผลิตเหล็กได้ตามที่ต้องการ ซึ่งทางกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) ในขณะนั้นให้เหตุผลไว้ว่า ด้วยซินเคอหยวนรวมถึงรายอื่น ๆ ได้ปฏิบัติตามกฎและระเบียบตามขั้นตอนทุกอย่าง และการยื่นขอตั้งโรงงานเกิดขึ้นก่อนที่กระทรวงอุตสาหกรรมจะมีประกาศกำกับดูแลเตาหลอมแบบ IF ทำให้การอนุมัติและอนุญาตจึงต้องเป็นไปตามที่เอกชนขอ นี่จึงเป็นประเด็นแรกที่เกิดขึ้นจากซินเคอหยวน
ห้ามตั้งโรงเหล็กเส้น 5 ปี
ประเด็นถัดมา หลังจากได้รับอนุมัติตั้งโรงงานไม่นาน เหล่าผู้ผลิตเหล็กในประเทศได้รับผลกระทบอย่างหนัก ทางสมาคมผู้ผลิตเหล็กจึงมีการเรียกร้องและขอให้กระทรวงอุตสาหกรรมออกคำสั่งห้ามตั้งโรงงานผลิตเหล็กเส้นในประเทศ ใช้เวลาหารืออยู่หลายปี ในที่สุด “นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ” อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมในขณะนั้น ได้ออกประกาศวันที่ 25 พฤศจิกายน 2562 ห้ามตั้งหรือขยายโรงงานผลิตเหล็กเส้นเสริมคอนกรีต หรือเหล็กแท่งเล็กสำหรับผลิตเหล็กเส้นเสริมคอนกรีตทุกขนาดทุกท้องที่ในราชอาณาจักร ตาม พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ. 2535 เป็นเวลา 5 ปี ซึ่งมีผลอย่างเป็นทางการในเดือนมกราคม 2563
เรื่องนี้จะส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมเหล็กในประเทศ เพราะอุตสาหกรรมกำลังปรับเข้าสู่โหมดปรับตัวของซัพพลายและดีมานด์ให้สมดุล ดังนั้น ในช่วงระหว่าง 5 ปีนั้น ผู้ประกอบการเหล็กในประเทศจะไม่เพียงนั่งรอให้ประกาศฉบับนี้จบลงในปี 2568 แต่ต้องปรับตัวไปสู่อุตสาหกรรมเหล็ก 4.0 รับมือกับอนาคต นั่นหมายถึงการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ เพื่อเป็นทั้งผู้ผลิต ดีไซน์ การไปสู่เหล็กเกรดพิเศษที่ใช้ในอุตสาหกรรมใหม่ ๆ อย่าง ยานยนต์ไฟฟ้า (EV) อุตสาหกรรมอากาศยาน และอุตสาหกรรมที่เป็น New S-Curve ที่สำคัญ คือการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมที่เรียกว่า “เหล็กสะอาด” ที่ดูตั้งแต่วัตถุดิบ ขั้นตอนการผลิต พลังงานที่นำมาใช้ และการรีไซเคิล
ถึงอย่างไร แม้ประเด็นการห้ามตั้งโรงเหล็กจะเป็นมาตรการสกัดกั้นไม่ให้เหล็กจีนล้นตลาด แต่กลับมีปัญหาตามมา เมื่อเหล็กลวดกำลังจะล้นตลาดเช่นกัน
ซินเคอหยวนขึ้นแท่นเบอร์ 1
เมื่อปลายปี 2566 การเลิกจ้างคนงานของบริษัทโรงงานเหล็กกรุงเทพ จำกัด ซึ่งเป็นผู้ผลิตเหล็กทรงยาว เหล็กเส้น เหล็กลวด และเหล็กโครงสร้าง ที่ใช้ในงานก่อสร้าง และยังเป็น 1 ใน 4 เจ้าของธุรกิจบิลเลตที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย อายุกว่า 60 ปี ต้องประสบกับปัญหาขาดทุนสะสม จนต้องปิดกิจการลงอย่างน่าเสียดาย ปรากฏการณ์ครั้งนี้ทำให้เกิดแรงกระเพื่อมอย่างมากกับผู้ประกอบการเหล็กในประเทศ และยังคงวิเคราะห์ไปในทิศทางเดียวกันว่า สาเหตุหลักมาจากการถูกดัมพ์ราคาของเหล็กจีนตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา
อุตสาหกรรมเหล็กต้องสะเทือนอีกครั้ง เมื่อมีข่าวว่าซินเคอหยวนกำลังตั้งโรงงานผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อน รวมไปถึงเหล็กรีดเย็น และเหล็กเคลือบทรงแบนแห่งใหม่ 5,600,000 ตัน/ปี ที่มีไลน์การผลิตยาวเกือบ 1 กิโลเมตร ตั้งอยู่ที่ จ. ปราจีนบุรี รวมกับกำลังการผลิตเดิมของซินเคอหยวน คือเหล็กลวดและผลิตภัณฑ์ประมาณ 2,800,000 ตัน/ปี เหล็กเส้นข้ออ้อยประมาณ 132,000 ตัน/ปี เหล็กเส้นกลมประมาณ 66,000 ตัน/ปี ทำให้ซินเคอหยวนขึ้นแท่นเบอร์ 1 ทันที ด้วยกำลังการผลิตรวมทั้งหมดสูงถึง 8,600,000 ตัน/ปี
อุบัติเหตุใหญ่ 2 ครั้งในปีเดียว
ต่อมาในเดือนมีนาคม 2567 โครงการก่อสร้างโรงงานผลิตแผ่นเหล็ก เหล็กรูปพรรณ และลวดเหล็ก ของซินเคอหยวนใน จ.ระยอง ที่เริ่มโครงการตั้งแต่ปี 2563 มีกำหนดจะแล้วเสร็จปี 2569 โดยเป็นการก่อสร้างอาคาร 6 หลัง ในเนื้อที่ 1,000 ไร่ เกิดอุบัติเหตุปั้นจั่นหอสูงกว่า 20 เมตรถล่มลงมาทับลูกจ้างที่ปฏิบัติงานอยู่ด้านล่างเสียชีวิตทั้งหมด 7 ราย และยังมีการเรียกร้องสิทธิการจ่ายเงินเยียวยาจากการเสียชีวิตดังกล่าว ซึ่งที่ผ่านมาซินเคอหยวนเองปฏิเสธในการจ่ายชดเชยและสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลต่าง ๆ ของลูกจ้าง เนื่องจากเป็นต่างด้าว แต่เมื่อตรวจสอบพบว่าลูกจ้างต่างด้าวขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนถูกต้อง ได้รับสิทธิการรักษาพยาบาล และค่าชดเชยเยียวยาต่าง ๆ จากกองทุนเงินทดแทน
ล่าสุดเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2567 ซินเคอหยวนสตีล ที่ตั้งอยู่ในเขตประกอบการอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ ระยอง ต.หนองละลอก อ.บ้านค่าย จ.ระยอง เกิดเหตุระเบิดจากการรั่วไหลของถังก๊าซ LPG ขนาด 110,000 ลิตร ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บ 5 ราย สาเหตุพบว่ามีการเคลื่อนย้ายถังก๊าซ LPG โดยไม่แจ้งขออนุญาตจากสำนักงานพลังงานจังหวัดระยอง ถูกปรับเงิน 50,000 บาท ขณะที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมส่งตรวจสอบระบบไฟฟ้า สภาพอาคารภายในโรงงาน พร้อมให้หยุดประกอบกิจการ 30 วัน และแจ้งให้อุตสาหกรรมจังหวัดระยองร่วมตรวจสอบ ก่อนพิจารณาอนุญาตให้ประกอบกิจการอีกครั้ง
สมอ.ฮึ่มยึดใบอนุญาต
ในขณะที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ได้ร่วมตรวจสอบสายการผลิตและผลิตภัณฑ์เหล็ก พบว่าผู้ประกอบการไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของ สมอ. โดยมีการซื้อวัตถุดิบจากผู้ขายที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนอยู่ในระบบทะเบียนของบริษัท ไม่กำหนดเกณฑ์ตัดสินความสามารถของผู้ขายวัตถุดิบ กำหนดเกณฑ์การตัดสินทางเคมีไม่สอดคล้องกับมาตรฐานที่ มอก.กำหนด สมอ.จึงสั่งให้แก้ไขปรับปรุงภายใน 15 วัน หากไม่แจ้งกลับมาจะถูกพักใช้ใบอนุญาตประกอบกิจการ และอาจดำเนินคดีตามกฎหมายหากพบว่าผลิตภัณฑ์เหล็กไม่เป็นไปตามมาตรฐาน
หากดูจากศักยภาพของซินเคอหยวน จะเห็นได้ว่าการที่ซินเคอหยวนได้พยายามเข้ามาบุกตลาดในไทย ด้วยกำลังการผลิตและความสามารถในการทำตลาดประสบความสำเร็จไม่น้อย มีกำไรไม่ต่ำกว่า 500 ล้านบาททุกปี ด้วยการบริหารจัดการต้นทุนได้ดี ทำให้สามารถผลิตและขายเหล็กในราคาถูกได้ แต่จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทำให้เห็นว่าซินเคอหยวนบกพร่องหลายอย่าง ไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบ แม้ซินเคอหยวนจะมีศักยภาพผลิตเหล็กมากที่สุด แต่กลับไม่มีคุณภาพทั้งตัวของผลิตภัณฑ์ และการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์
อย่างไรก็ตาม ไม่สามารถที่จะโทษซินเคอหยวนเพียงผู้เดียว ระบบราชการ หน่วยงานกำกับดูแล ต้องร่วมรับผิดชอบด้วย...
อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ :
https://www.prachachat.net/economy/news-1727308
ย้อนวีรกรรม “โรงเหล็กซินเคอหยวน” สะท้อนศักยภาพที่ไร้คุณภาพ
ความบกพร่องที่เกิดขึ้นไม่สามารถระบุชัดเจนได้ ว่านี่คืออุบัติเหตุ ความประมาทเลินเล่อของพนักงาน หรือการปล่อยปละละเลยกับอุปกรณ์เครื่องจักรภายในโรงงาน
ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าซินเคอหยวนซึ่งเป็นผู้ผลิตทั้งเหล็กเส้น เหล็กลวด รวมถึงเหล็กแผ่นรายใหญ่ของจีนที่เข้ามาทำตลาดในประเทศไทยเมื่อหลายปีก่อน เป็นอีกต้นเหตุหนึ่งที่ทำให้ตลาดเหล็กในประเทศถึงจุดตกต่ำ ด้วยการแย่งส่วนแบ่งตลาดและแข่งขันด้วยราคาที่ถูก ทำให้สถานการณ์เหล็กไทยเกิดวิกฤตจนต้องปิดกิจการมาแล้วหลายราย
ใช้เตาอินดักชั่นเผาเหล็ก
หากย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 10 ปีที่แล้ว คณะกรรมการผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (กมอ.) ต้องทำงานอย่างหนักเมื่อมีบริษัทเหล็กรายใหญ่จากประเทศจีน หนึ่งในนั้นคือซินเคอหยวน ได้พยายามที่จะนำเข้าเครื่องจักรและเตาอินดักชั่นเข้ามาใช้ในโรงงานที่ จ.ระยอง เพื่อผลิตเหล็กขายในประเทศไทยและส่งออก
ซึ่งในขณะนั้นได้มีการดึงเอาผู้เชี่ยวชาญจากหลายหน่วยงานเข้ามาร่วมหารือ ทดสอบ และพยายามที่จะเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียระหว่างเตาอินดักชั่น (IF) และเตาอิเล็กทริกอาร์กเฟอร์เนซ (EAF) จากการเก็บข้อมูล พบว่า การนำเตาอินดักชั่นมาใช้ในกระบวนการหลอมเหล็กนั้น ด้วยประสิทธิภาพและคุณสมบัติของเตาไม่เหมาะสม ด้วยมีการเผาใหม้ไม่สมบูรณ์ ทำให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนมาก ส่งผลต่อมลพิษทางอากาศ และประเทศจีนไม่อนุญาตให้ใช้เตาหลอม IF นี้แล้ว ทำให้โรงงานเหล็กเตาหลอม IF จากจีนต้องย้ายฐานการผลิตมายังประเทศไทย ขณะที่เดิมโรงงานเหล็กไทยจะใช้เตาหลอมแบบ EAF
เมื่อซินเคอหยวนได้รับการอนุญาตให้ตั้งโรงงานและผลิตเหล็กได้ตามที่ต้องการ ซึ่งทางกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) ในขณะนั้นให้เหตุผลไว้ว่า ด้วยซินเคอหยวนรวมถึงรายอื่น ๆ ได้ปฏิบัติตามกฎและระเบียบตามขั้นตอนทุกอย่าง และการยื่นขอตั้งโรงงานเกิดขึ้นก่อนที่กระทรวงอุตสาหกรรมจะมีประกาศกำกับดูแลเตาหลอมแบบ IF ทำให้การอนุมัติและอนุญาตจึงต้องเป็นไปตามที่เอกชนขอ นี่จึงเป็นประเด็นแรกที่เกิดขึ้นจากซินเคอหยวน
ห้ามตั้งโรงเหล็กเส้น 5 ปี
ประเด็นถัดมา หลังจากได้รับอนุมัติตั้งโรงงานไม่นาน เหล่าผู้ผลิตเหล็กในประเทศได้รับผลกระทบอย่างหนัก ทางสมาคมผู้ผลิตเหล็กจึงมีการเรียกร้องและขอให้กระทรวงอุตสาหกรรมออกคำสั่งห้ามตั้งโรงงานผลิตเหล็กเส้นในประเทศ ใช้เวลาหารืออยู่หลายปี ในที่สุด “นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ” อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมในขณะนั้น ได้ออกประกาศวันที่ 25 พฤศจิกายน 2562 ห้ามตั้งหรือขยายโรงงานผลิตเหล็กเส้นเสริมคอนกรีต หรือเหล็กแท่งเล็กสำหรับผลิตเหล็กเส้นเสริมคอนกรีตทุกขนาดทุกท้องที่ในราชอาณาจักร ตาม พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ. 2535 เป็นเวลา 5 ปี ซึ่งมีผลอย่างเป็นทางการในเดือนมกราคม 2563
เรื่องนี้จะส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมเหล็กในประเทศ เพราะอุตสาหกรรมกำลังปรับเข้าสู่โหมดปรับตัวของซัพพลายและดีมานด์ให้สมดุล ดังนั้น ในช่วงระหว่าง 5 ปีนั้น ผู้ประกอบการเหล็กในประเทศจะไม่เพียงนั่งรอให้ประกาศฉบับนี้จบลงในปี 2568 แต่ต้องปรับตัวไปสู่อุตสาหกรรมเหล็ก 4.0 รับมือกับอนาคต นั่นหมายถึงการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ เพื่อเป็นทั้งผู้ผลิต ดีไซน์ การไปสู่เหล็กเกรดพิเศษที่ใช้ในอุตสาหกรรมใหม่ ๆ อย่าง ยานยนต์ไฟฟ้า (EV) อุตสาหกรรมอากาศยาน และอุตสาหกรรมที่เป็น New S-Curve ที่สำคัญ คือการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมที่เรียกว่า “เหล็กสะอาด” ที่ดูตั้งแต่วัตถุดิบ ขั้นตอนการผลิต พลังงานที่นำมาใช้ และการรีไซเคิล
ถึงอย่างไร แม้ประเด็นการห้ามตั้งโรงเหล็กจะเป็นมาตรการสกัดกั้นไม่ให้เหล็กจีนล้นตลาด แต่กลับมีปัญหาตามมา เมื่อเหล็กลวดกำลังจะล้นตลาดเช่นกัน
ซินเคอหยวนขึ้นแท่นเบอร์ 1
เมื่อปลายปี 2566 การเลิกจ้างคนงานของบริษัทโรงงานเหล็กกรุงเทพ จำกัด ซึ่งเป็นผู้ผลิตเหล็กทรงยาว เหล็กเส้น เหล็กลวด และเหล็กโครงสร้าง ที่ใช้ในงานก่อสร้าง และยังเป็น 1 ใน 4 เจ้าของธุรกิจบิลเลตที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย อายุกว่า 60 ปี ต้องประสบกับปัญหาขาดทุนสะสม จนต้องปิดกิจการลงอย่างน่าเสียดาย ปรากฏการณ์ครั้งนี้ทำให้เกิดแรงกระเพื่อมอย่างมากกับผู้ประกอบการเหล็กในประเทศ และยังคงวิเคราะห์ไปในทิศทางเดียวกันว่า สาเหตุหลักมาจากการถูกดัมพ์ราคาของเหล็กจีนตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา
อุตสาหกรรมเหล็กต้องสะเทือนอีกครั้ง เมื่อมีข่าวว่าซินเคอหยวนกำลังตั้งโรงงานผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อน รวมไปถึงเหล็กรีดเย็น และเหล็กเคลือบทรงแบนแห่งใหม่ 5,600,000 ตัน/ปี ที่มีไลน์การผลิตยาวเกือบ 1 กิโลเมตร ตั้งอยู่ที่ จ. ปราจีนบุรี รวมกับกำลังการผลิตเดิมของซินเคอหยวน คือเหล็กลวดและผลิตภัณฑ์ประมาณ 2,800,000 ตัน/ปี เหล็กเส้นข้ออ้อยประมาณ 132,000 ตัน/ปี เหล็กเส้นกลมประมาณ 66,000 ตัน/ปี ทำให้ซินเคอหยวนขึ้นแท่นเบอร์ 1 ทันที ด้วยกำลังการผลิตรวมทั้งหมดสูงถึง 8,600,000 ตัน/ปี
อุบัติเหตุใหญ่ 2 ครั้งในปีเดียว
ต่อมาในเดือนมีนาคม 2567 โครงการก่อสร้างโรงงานผลิตแผ่นเหล็ก เหล็กรูปพรรณ และลวดเหล็ก ของซินเคอหยวนใน จ.ระยอง ที่เริ่มโครงการตั้งแต่ปี 2563 มีกำหนดจะแล้วเสร็จปี 2569 โดยเป็นการก่อสร้างอาคาร 6 หลัง ในเนื้อที่ 1,000 ไร่ เกิดอุบัติเหตุปั้นจั่นหอสูงกว่า 20 เมตรถล่มลงมาทับลูกจ้างที่ปฏิบัติงานอยู่ด้านล่างเสียชีวิตทั้งหมด 7 ราย และยังมีการเรียกร้องสิทธิการจ่ายเงินเยียวยาจากการเสียชีวิตดังกล่าว ซึ่งที่ผ่านมาซินเคอหยวนเองปฏิเสธในการจ่ายชดเชยและสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลต่าง ๆ ของลูกจ้าง เนื่องจากเป็นต่างด้าว แต่เมื่อตรวจสอบพบว่าลูกจ้างต่างด้าวขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนถูกต้อง ได้รับสิทธิการรักษาพยาบาล และค่าชดเชยเยียวยาต่าง ๆ จากกองทุนเงินทดแทน
ล่าสุดเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2567 ซินเคอหยวนสตีล ที่ตั้งอยู่ในเขตประกอบการอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ ระยอง ต.หนองละลอก อ.บ้านค่าย จ.ระยอง เกิดเหตุระเบิดจากการรั่วไหลของถังก๊าซ LPG ขนาด 110,000 ลิตร ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บ 5 ราย สาเหตุพบว่ามีการเคลื่อนย้ายถังก๊าซ LPG โดยไม่แจ้งขออนุญาตจากสำนักงานพลังงานจังหวัดระยอง ถูกปรับเงิน 50,000 บาท ขณะที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมส่งตรวจสอบระบบไฟฟ้า สภาพอาคารภายในโรงงาน พร้อมให้หยุดประกอบกิจการ 30 วัน และแจ้งให้อุตสาหกรรมจังหวัดระยองร่วมตรวจสอบ ก่อนพิจารณาอนุญาตให้ประกอบกิจการอีกครั้ง
สมอ.ฮึ่มยึดใบอนุญาต
ในขณะที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ได้ร่วมตรวจสอบสายการผลิตและผลิตภัณฑ์เหล็ก พบว่าผู้ประกอบการไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของ สมอ. โดยมีการซื้อวัตถุดิบจากผู้ขายที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนอยู่ในระบบทะเบียนของบริษัท ไม่กำหนดเกณฑ์ตัดสินความสามารถของผู้ขายวัตถุดิบ กำหนดเกณฑ์การตัดสินทางเคมีไม่สอดคล้องกับมาตรฐานที่ มอก.กำหนด สมอ.จึงสั่งให้แก้ไขปรับปรุงภายใน 15 วัน หากไม่แจ้งกลับมาจะถูกพักใช้ใบอนุญาตประกอบกิจการ และอาจดำเนินคดีตามกฎหมายหากพบว่าผลิตภัณฑ์เหล็กไม่เป็นไปตามมาตรฐาน
หากดูจากศักยภาพของซินเคอหยวน จะเห็นได้ว่าการที่ซินเคอหยวนได้พยายามเข้ามาบุกตลาดในไทย ด้วยกำลังการผลิตและความสามารถในการทำตลาดประสบความสำเร็จไม่น้อย มีกำไรไม่ต่ำกว่า 500 ล้านบาททุกปี ด้วยการบริหารจัดการต้นทุนได้ดี ทำให้สามารถผลิตและขายเหล็กในราคาถูกได้ แต่จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทำให้เห็นว่าซินเคอหยวนบกพร่องหลายอย่าง ไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบ แม้ซินเคอหยวนจะมีศักยภาพผลิตเหล็กมากที่สุด แต่กลับไม่มีคุณภาพทั้งตัวของผลิตภัณฑ์ และการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์
อย่างไรก็ตาม ไม่สามารถที่จะโทษซินเคอหยวนเพียงผู้เดียว ระบบราชการ หน่วยงานกำกับดูแล ต้องร่วมรับผิดชอบด้วย...
อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : https://www.prachachat.net/economy/news-1727308