ออกแล้ว! ผลตรวจเหล็ก'ตึกสตง.ถล่ม' ตกมาตรฐาน 13 ท่อน

งานนี้ สงสัยประกันไม่จ่าย อมยิ้ม19

ผลตรวจเหล็ก'ตึกสตง.ถล่ม'ออกแล้ว!  ตกมาตรฐาน 13 ท่อน พบมาจากบ.เดียวกัน บี้ผลิตระหว่างถูกสั่งปิดหรือไม่ ปูเสื่อ

วันที่ 31 มีนาคม 2568 เวลา 19.00 น.  ที่สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย น.ส.ฐิติภัสร์ โชติเดชาชัยนันต์ หัวหน้าคณะทำงาน รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยถึงผลการนำตัวอย่างเหล็กเส้น จำนวน 28 ท่อน ที่เก็บจากตึกสตง.ถล่มเมื่อวันที่ 28 มี.ค.จากเหตุแผ่นดินไหวมาตรวจสอบคุณภาพ ที่สถาบันเหล็ก และเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย เพื่อตรวจสอบว่าเป็นไปตามคุณภาพมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) หรือไม่ โดยใช้เวลาการตรวจสอบเหล็กทุกท่อนมากกว่า 4 ชั่วโมงว่า กระทรวงอุตสาหกรรม ได้ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อตรวจสอบคุณภาพเหล็กทุกท่อน โดยเป็นไปอย่างโปร่งใส มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกับสื่อมวลชนร่วมสังเกตการณ์ต่อเนื่อง 
น.ส.ฐิติภัสร์  กล่าวถึงพบการตรวจสอบว่า เหล็กที่นำมาตรวจสอบ 28 ท่อน 7 ไซส์ ได้มาตรฐาน 15 ท่อน 5 ไซส์ ไม่ได้มาตรฐาน 13 ท่อน 2 ไซส์ คือ ไซส์ 20 มิลลิเมตร และ32 มิลลิเมตร ซึ่งทั้ง 2 ไซส์ มาจากบริษัทเดียวกัน ซึ่งเป็นบริษัทเหล็กแห่งหนึ่ง ที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ได้สั่งปิดไปในช่วงเดือนธ.ค. 67 เนื่องจากจำหน่ายเหล็กไม่เป็นไปตามมาตรฐาน

“เหล็กที่เรานำมาตรวจสอบ เป็นเพียงการสุ่มตรวจเข้ามา หลังจากนี้ทางสมอ.จะกลับไปนำตัวอย่างเข้ามาตรวจสอบเพิ่มเติม เพื่อให้มีหลักฐานเพียงพอ ซึ่งเวลาเราตรวจสอบ เราไม่ได้เฉพาะเจาะจงบริษัทใด บริษัทหนึ่งเท่านั้น เป็นการสุ่มตรวจจากซากตึกที่ถล่ม ส่วนเหล็กที่ไม่ผ่านมาตรฐานการตรวจสอบครั้งนี้ เราจะไปดูว่า เป็นเหล็กที่ผลิตระหว่างที่เราสั่งปิดหรือไม่ อย่างไร เพราะเราสั่งปิดไปประมาณ 4 เดือน แต่ดูจากเหล็กน่าจะประมาณ 5 เดือน ก็ต้องตรวจสอบเชิงลึกกันอีกครั้ง หากพบว่า มีการลักลอบนำเหล็กไม่ได้มาตรฐานออกมาใช้ ก็จะโดนดำเนินคดีต่อไป จากปัจจุบันนนี้ ทางบริษัท อยู่ระหว่างถูกดำเนินคดีอยู่แล้ว แม้ว่า เหล็กที่เราตรวจสอบ จะพบว่า ไม่ได้มาตรฐานบางส่วน แต่ยังไม่สวามารถสรุปได้ว่า เป็นสาเหตุหลักในการทำให้อาคารพังลงมา“น.ส.ฐิติภัสร์กล่าว

สำหรับเหล็กเส้นที่เก็บมาจากที่เกิดเหตุ และนำมาตรวจสอบคุณภาพมีจำนวน 28 เส้น มีทั้งหมด 7 ประเภท ประกอบด้วย เหล็กข้ออ้อย ขนาด 12 มม. จำนวน 3 เส้น เหล็กข้ออ้อย ขนาด 16 มม. จำนวน 3 เส้น เหล็กข้ออ้อย ขนาด 20 มม. จำนวน 6 เส้น เหล็กข้ออ้อย ขนาด 25 มม. จำนวน 2 เส้น เหล็กข้ออ้อย ขนาด 32 มม. จำนวน 7 เส้น เหล็กเส้นกลม ขนาด 9 มม. จำนวน 2 เส้น ลวดสลิง ขนาด 15.2 มม. จำนวน 5 เส้น จาก 3 บริษัท คือ SKY (บริษัทซินเคอหยวน ซึ่งเป็นผู้ผลิตจากจีน) TATA (บริษัท ทาทา สตีล ผู้ผลิตจากอินเดีย) และ TYS ( เครือบริษัทไทยคูณ ผู้ผลิตจากจีนร่วมทุนกับไทย) ซึ่ง ณ เวลานี้เรายังไม่สามารถปรักปรำทั้ง 3 บริษัทได้ จนกว่าผลการตรวจสอบจะออกมาอย่างเป็นทางการ และให้ทางสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ยืนยันอีกครั้งว่า ผลของเหล็กนั้นเป็นบวกหรือลบ

ทั้งนี้ขั้นตอนการตรวจสอบคุณภาพเหล็ก แบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเจ้าหน้าที่จะนำเหล็กทุกท่อน ที่เก็บมาจากจุดเกิดเหตุ มาตัดเป็นท่อนขนาด 1 เซนติเมตร จากนั้นนำไปตีแบน ก่อนจะนำไปวิเคราะห์หาค่าองค์ประกอบทางเคมีในเหล็กส่วนที่สอง เจ้าหน้าที่จะนำเหล็กเส้นมาวัดขนาดความยาว และชั่งน้ำหนัก ก่อนจะนำมาคำนวณค่ามวลต่อเมตรว่า เป็นไปตามมาตรฐานมอก.หรือไม่ 

สำหรับรายชื่อผู้ร่วมตรวจสอบครั้งนี้ ได้แก่ นายวิโรจน์ โรจน์วัฒนชัย ผู้อำนวยการสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย นายเอกนิติ รมยานนท์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม ผู้แทนจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) รศ.ดร.กิจพัฒน์ ภู่วรวรรณ กรรมการวิศวกรรมโยธา และประธานคณะอนุกรรมการโครงสร้างเหล็ก วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) ดร.เติมศักดิ์ ศรีคิรินทร์ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) ดร.เอกรัตน์ไวยนิตย์ นักวิจัยอาวุโส ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยเทคโนโลยีระบบรางและการขนส่งสมัยใหม่ นายณัฐพล สุทธิธรรม อนุกรรมการสาขาโครงสร้างเหล็กวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยร่วมตรวจสอบ


แก้ไขข้อความเมื่อ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่