ความคิดเห็นจาก Expert Account
ความคิดเห็นที่ 8
ในกระบวนการวิเคราะห์ความเสียหายเราจะเก็บตัวอย่าง 2 แบบครับ
1. ในการวิเคราะห์ความเสียหายของโลหะอย่างแรกที่ต้องทำคือ วัสดุที่เกิดการวิบัติ มีสมบัติตามที่ได้ออกแบบไว้หรือไม่
ซึ่งในส่วนนี้เราต้องเก็บต้วอย่างจากที่ตัวอย่างที่ไม่ได้รับผลกระทบจากความเสียหาย หรือ ได้รับผลกระทบจากความเสียหายน้อยที่สุด
เพราะในส่วนที่เกิดความเสียหายอาจทำให้สมบัติของโลหะเกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น ในกรณีที่เหล็กเกิดการยืดตัวไปแบบถาวร (Plastic Deformation) หากนำไปวัดขนาด หรือทดสอบความต้านทานแรงดึง ค่าที่ได้จะต่ำกว่าเหล็กที่ยังไม่ผ่านการใช้งาน
เหล็กที่ยังไม่ผ่านการใช้งาน เนื่องจากเหล็กเกิดการยืดตัวและมีความเค้นสะสมภายใน (residual stress), ซึ่งจะทำให้เกิดข้อโต้แย้งจากผู้ผลิตได้
และในกรณีที่หาตัวอย่างที่สมบูรณ์ไม่ได้เราอาจจำเป็นต้องใช้ตัวอย่างที่ผลิตจากล็อตการผลิตเดียวกับกับชิ้นงานที่เกิดความเสียหายเป็นตัวแทนในการตรวจสอบ
2. รูปแบบการแตกหัก จุดเริ่มต้นความเสียหาย ในส่วนนี้เราสามารถวิเคราะห์จากชิ้นงานที่เกิดความเสียหายได้โดยตรง เช่น
ลักษณะผิวแตก รวมกับสมบัติอื่น ๆ เช่น โครงสร้างจุลภาค ความแข็ง หรือ สมบัติอื่น ๆ ที่ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงในระหว่างการเกิดความเสียหาย
อย่างไรก็ตาม ลักษณะความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นลักษณะที่เป็นการถล่ม ซึ่งเป็นลักษณะแรงแบบ Shock Load โลหะสามารถเปลี่ยนสมบัติจากเหนียวเป็นเปราะได้ (Ductile to Brittle Transition) ตำแหน่งที่เก็บตัวอย่างจะต้องพิจารณาร่วมกับสภาวะแรงที่เกิดขึ้น
และในการวิเคราะห์ส่วนนี้จำเป็นต้องดูลักษณะผิวแตกควบคู่กับโครงสร้างจุลภาค ซึ่งในส่วนนี้
การวิเคราะห์ต้องใช้เวลา รวมถึงต้องพิจารณาปัจจัยอื่น ๆ เช่น สมบัติคอนกรีต และการออกแบบ
ว่าปัจจัยใดเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดความเสียหาย
https://ppantip.com/topic/40960938 <<<< ตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงสมบัติของวัสดุจากเหนียวเป็นเปราะจากแรงกระทำ
3. ในส่วนข้อมูลเกี่ยวกับเหล็กเส้น T และ Non T ที่ใช้ในการก่อสร้างกับแผ่นดินไหว สามารถเข้าไปอ่านได้ที่
https://www.facebook.com/share/p/1AMpkTKMrD/
4. ในส่วนเรื่องของการวิเคราะห์สมบัติของเหล็กไม่ต้องห่วงครับ เครือข่ายนักโลหะวิทยาหลายหน่วยงานรวมถึงหน่วยงานของผม
ร่วมกันช่วยดูอยู่ครับ เมื่อวันที่ 9 เมษา เมษาที่ผ่านมาเราก็จัดเสวนาเกี่ยวกับเหล็กเสริมแรงกับแผ่นดินไหว สามารถเข้าไปดูได้ที่
https://www.facebook.com/share/v/1AKU7xsSiB/
1. ในการวิเคราะห์ความเสียหายของโลหะอย่างแรกที่ต้องทำคือ วัสดุที่เกิดการวิบัติ มีสมบัติตามที่ได้ออกแบบไว้หรือไม่
ซึ่งในส่วนนี้เราต้องเก็บต้วอย่างจากที่ตัวอย่างที่ไม่ได้รับผลกระทบจากความเสียหาย หรือ ได้รับผลกระทบจากความเสียหายน้อยที่สุด
เพราะในส่วนที่เกิดความเสียหายอาจทำให้สมบัติของโลหะเกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น ในกรณีที่เหล็กเกิดการยืดตัวไปแบบถาวร (Plastic Deformation) หากนำไปวัดขนาด หรือทดสอบความต้านทานแรงดึง ค่าที่ได้จะต่ำกว่าเหล็กที่ยังไม่ผ่านการใช้งาน
เหล็กที่ยังไม่ผ่านการใช้งาน เนื่องจากเหล็กเกิดการยืดตัวและมีความเค้นสะสมภายใน (residual stress), ซึ่งจะทำให้เกิดข้อโต้แย้งจากผู้ผลิตได้
และในกรณีที่หาตัวอย่างที่สมบูรณ์ไม่ได้เราอาจจำเป็นต้องใช้ตัวอย่างที่ผลิตจากล็อตการผลิตเดียวกับกับชิ้นงานที่เกิดความเสียหายเป็นตัวแทนในการตรวจสอบ
2. รูปแบบการแตกหัก จุดเริ่มต้นความเสียหาย ในส่วนนี้เราสามารถวิเคราะห์จากชิ้นงานที่เกิดความเสียหายได้โดยตรง เช่น
ลักษณะผิวแตก รวมกับสมบัติอื่น ๆ เช่น โครงสร้างจุลภาค ความแข็ง หรือ สมบัติอื่น ๆ ที่ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงในระหว่างการเกิดความเสียหาย
อย่างไรก็ตาม ลักษณะความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นลักษณะที่เป็นการถล่ม ซึ่งเป็นลักษณะแรงแบบ Shock Load โลหะสามารถเปลี่ยนสมบัติจากเหนียวเป็นเปราะได้ (Ductile to Brittle Transition) ตำแหน่งที่เก็บตัวอย่างจะต้องพิจารณาร่วมกับสภาวะแรงที่เกิดขึ้น
และในการวิเคราะห์ส่วนนี้จำเป็นต้องดูลักษณะผิวแตกควบคู่กับโครงสร้างจุลภาค ซึ่งในส่วนนี้
การวิเคราะห์ต้องใช้เวลา รวมถึงต้องพิจารณาปัจจัยอื่น ๆ เช่น สมบัติคอนกรีต และการออกแบบ
ว่าปัจจัยใดเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดความเสียหาย
https://ppantip.com/topic/40960938 <<<< ตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงสมบัติของวัสดุจากเหนียวเป็นเปราะจากแรงกระทำ
3. ในส่วนข้อมูลเกี่ยวกับเหล็กเส้น T และ Non T ที่ใช้ในการก่อสร้างกับแผ่นดินไหว สามารถเข้าไปอ่านได้ที่
https://www.facebook.com/share/p/1AMpkTKMrD/
4. ในส่วนเรื่องของการวิเคราะห์สมบัติของเหล็กไม่ต้องห่วงครับ เครือข่ายนักโลหะวิทยาหลายหน่วยงานรวมถึงหน่วยงานของผม
ร่วมกันช่วยดูอยู่ครับ เมื่อวันที่ 9 เมษา เมษาที่ผ่านมาเราก็จัดเสวนาเกี่ยวกับเหล็กเสริมแรงกับแผ่นดินไหว สามารถเข้าไปดูได้ที่
https://www.facebook.com/share/v/1AKU7xsSiB/
แสดงความคิดเห็น
การเก็บหลักฐานตึก สตง ถล่มกำลังหลงทางอยู่หรือเปล่า
ในความเห็นของผม ผู้รับผิดชอบดูเหมือนจะยึดติดอยู่กับวิธีตรวจสอบแบบปกติ คือชิ้นส่วนที่ทดสอบต้องมีสภาพตามที่มาตรฐานการตรวจระบุไว้ แต่การเก็บหลักฐานในกรณีของตึกเต้าหู้ที่ถล่มลงมาแล้ว น่าจะต้องคิดต่างออกไป เพราะส่วนที่ไม่ได้มาตรฐานคือส่วนที่แตกหักไปแล้ว ในกรณีของคอนกรีต คอนกรีตตรงจุดที่ได้มาตรฐานจะยังทรงรูปอยู่เป็นท่อนๆ ส่วนคอนกรีตที่ไม่ได้มาตรฐานจะแตกร่วนเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย ดังนั้นถ้าท่านไปเจาะเก็บตัวอย่างคอนกรีตที่ยังทรงรูปอยู่มาตรวจอย่างที่ให้สัมภาษณ์ ท่านก็จะพบว่ามันได้มาตรฐาน และจะพลาดข้อเท็จจริงไป
แล้วควรทำอย่างไร ในกรณีที่จะทดสอบความล้มเหลวผมคิดว่าน่าจะเอาจุดที่ล้มเหลวมาตรวจสอบ ถ้าเป็นเหล็กก็ควรเลือกชิ้นที่ร่องรอยหักเปราะ เอามาตรวจสอบองค์ประกอบทางเคมี ส่วนคอนกรีตก็ต้องเอาที่แตกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยนั่นแหละมาตรวจ ซึ่งจะตรวจแบบปกติไม่ได้ ต้องตรวจด้วยวิธีทดสอบที่ต่างออกไป ซึ่งผมไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร แต่เชื่อว่าน่าจะมีวิธีตรวจได้ ถ้าในประเทศไทยไม่มีห้องแล็บหรือผู้ชำนาญที่รู้วิธี ก็น่าจะขอความช่วยเหลือจากต่างประเทศได้
อนึ่งถ้าใครจะแย้งว่าคนรับผิดชอบเขารู้อยู่แล้ว ก็ต้องขออภัยด้วย เพราะไม่เห็นมีใครพูดถึงในประเด็นที่ผมเป็นห่วงเลย