เท้ง พบชาวตราด หาเสียงช่วย ‘ชลธี นุ่มหนู’ ชิงนายก อบจ. มั่นใจนโยบายตอบโจทย์ปชช.
https://www.matichon.co.th/politics/news_4995748
“ณัฐพงษ์“ พบชาวตราดหาเสียงช่วย ”ชลธี นุ่มหนู“ ชิงนายก อบจ.ตราด มั่นใจนโยบายตอบโจทย์แก้ปัญหาประชาชน-สร้างการเปลี่ยนแปลงได้
เมื่อวันที่ 11 มกราคม ที่ อ.เมือง จ.ตราด นาย
ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ หัวหน้าพรรคประชาชน พร้อมด้วย
ชลธี นุ่มหนู ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นนายก อบจ.ตราด พรรคประชาชน เบอร์ 3,
ศักดินัย นุ่มหนู สส.ตราด พรรคประชาชน และ
วิโรจน์ ลักขณาอดิศร สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ร่วมกิจกรรมพบปะประชาชนและประชาสัมพันธ์การเลือกตั้งนายก อบจ. และสมาชิกสภา อบจ. ที่จะมีขึ้นในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2568
โดยกิจกรรมเริ่มต้นด้วยการเปิดวงพบปะพูดคุยรับฟังปัญหาจากตัวแทนผู้ประกอบการ ภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรม และชาวประมง ที่เขื่อนริมน้ำบ้านท่าเรือจ้าง ต.บางพระ อ.เมืองตราด โดยมีการแลกเปลี่ยนพูดคุยเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ ในจังหวัดตราด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการท่องเที่ยว ประมง การค้าชายแดน ภาคอุตสาหกรรม จากนั้นในช่วงเย็น ทั้งหมดได้ร่วมกันขึ้นรถแห่หาเสียงไปตามถนนสายหลักใน อ.เมือง จ.ตราด จากนั้นในช่วงค่ำจึงได้ร่วมกันเดินพบปะประชาชนพร้อมแจกเอกสารประชาสัมพันธ์ผู้สมัครที่ตลาดถนนคนเดิน ท่ามกลางประชาชนที่ให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก
ในส่วนของ
ณัฐพงษ์ ระบุว่าในการเลือกตั้ง อบจ. ครั้งนี้พรรคประชาชนมีความมั่นใจว่ามีโอกาสชนะในทุกจังหวัด และทุกสนามคือโอกาสในการสร้างการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะในจังหวัดตราด ซึ่งตนก็ต้องขอขอบคุณชาวตราดที่มอบความไว้วางใจให้ สส. จากพรรคประชาชนมาถึงสองสมัย และเรามั่นใจว่างบประมาณ อบจ. ปีละ 200 กว่าล้านบาทจะนำมาจัดทำนโยบายหลายอย่างให้ตอบโจทย์ชาวตราดได้อย่างแท้จริง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเกษตร น้ำประปา น้ำเพื่อการเกษตร สาธารณสุข โดยไม่ได้เป็นการเอานโยบายระดับประเทศมาครอบลงไป แต่มาจากการริเริ่มของชาวตราดจริงๆ โดยเอาองค์ความรู้นโยบายท้องถิ่นมาประกอบใช้ การเลือกตั้งครั้งนี้จึงเป็นโอกาสสำคัญในการเปลี่ยนแปลงจริงๆ และเราเชื่อว่าตราดดีกว่านี้ได้
ทั้งนี้ พรรคประชาชนมีเป้าหมายว่าในทุกภูมิภาคต้องมีอย่างน้อย 1 จังหวัดที่พรรคประชาชนได้เข้าไปบริหาร อบจ. โดยพรรคประชาชนมีความพร้อมไม่ใช่แค่ในการเลือกตั้งเท่านั้น แต่ยังมีการเตรียมนโยบายสำหรับ 100 วันแรกของทุกจังหวัดไว้แล้ว รวมทั้งแผนงบประมาณกลางปี 2568 และข้อบัญญัติสำหรับปี 2569 พรรคประชาชนต้องการสร้างการเปลี่ยนแปลงและเชื่อมั่นว่าด้วยนโยบายเหล่านี้ จะสร้างการเปลี่ยนแปลงได้จริงๆ ในทุกจังหวัด
อย่างไรก็ตาม ทุกจังหวัดยังมีโอกาสทั้งในการแพ้และชนะ ในเวลาที่เหลืออีกแค่ไม่กี่วันนี้ ตนอยากให้ประชาชนร่วมกันติดตามการหาเสียงของพรรคประชาชน โดยพรรคประชาชนจะดาวกระจายไปพบปะประชาชนให้ทั่วทุกอำเภอ สำหรับตราดนั้น ตนขอฝากให้ชาวตราดได้พิจารณา
ชลธี ซึ่งเป็นอีกคนที่มีความรู้ความสามารถที่จะเข้าไปบริหารให้ชาวตราดได้ ไม่ซื้อเสียง ทำงานโปร่งใสตรงไปตรงมา ทำให้งบประมาณทุกบาทตกถึงมือประชาชนชาวตราดได้อย่างแน่นอน
จากนั้น
ณัฐพงษ์พร้อมด้วย
วิโรจน์และ
ศักดินัย ขึ้นรถแห่ปราศรัยก่อนลงเดินหาเสียงที่ตลาดถนนคนเดิน บรรยากาศเป็นไปอย่างอบอุ่น มีประชาชนเข้ามาทักทายขอถ่ายภาพอย่างต่อเนื่อง
“นิด้าโพล” ชี้ “ทักษิณ” ลุยปราศรัย ลต.เชียงใหม่-เชียงราย เองก็ไร้ผล
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_827314/
“นิด้าโพล”ชี้”ทักษิณ”ลุยปราศรัย ลต.เชียงใหม่-เชียงราย เองก็ไร้ผล ตัดสินใจเลือกตั้ง อบจ.- สส.
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “
ทักษิณปราศรัยเชียงใหม่ เชียงราย”แล้วเราควรตัดสินใจอย่างไร” โดยทำการสำรวจระหว่างวันที่ 7-10 มกราคม 2568 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และมีสิทธิเลือกตั้งในจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดเชียงราย รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,803 หน่วยตัวอย่าง
ซึ่งจากการสำรวจถึงการตัดสินใจของประชาชนที่มีต่อการปราศรัยหาเสียงของนาย
ทักษิณ ชินวัตร เพื่อสนับสนุนผู้สมัครนายก อบจ. เชียงใหม่ ของพรรคเพื่อไทย พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 37.11 ระบุว่า ไม่ส่งผลต่อการตัดสินใจ เพราะจะไม่เลือกพรรคเพื่อไทยอยู่แล้ว รองลงมา ร้อยละ 23.24 ระบุว่า ส่งผลต่อการตัดสินใจ เลือกพรรคเพื่อไทย ร้อยละ 17.06 ระบุว่า ไม่ส่งผลต่อการตัดสินใจ เพราะจะเลือกพรรคเพื่อไทยอยู่แล้ว ร้อยละ 13.59 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจใด ๆ และร้อยละ 9.00 ระบุว่า ส่งผลต่อการตัดสินใจ ไม่เลือกพรรคเพื่อไทย
ด้านความคิดเห็นของประชาชนต่อผลการเลือกตั้งนายก อบจ. ในครั้งนี้ อาจส่งผลต่อการเลือกตั้ง สส. จังหวัดเชียงใหม่ ในครั้งถัดไป พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 30.37 ระบุว่า ไม่ส่งผลเลย รองลงมา ร้อยละ 28.87 ระบุว่า ส่งผลมาก ร้อยละ 24.74 ระบุว่า ค่อนข้างส่งผล และร้อยละ 14.43 ระบุว่า ไม่ค่อยส่งผล
สำหรับการตัดสินใจของประชาชนที่มีต่อการปราศรัยหาเสียงของนายทักษิณ ชินวัตร เพื่อสนับสนุนผู้สมัครนายก อบจ. เชียงราย ของพรรคเพื่อไทย พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 33.01 ระบุว่า ไม่ส่งผลต่อการตัดสินใจ เพราะจะไม่เลือกพรรคเพื่อไทยอยู่แล้ว รองลงมา ร้อยละ 26.09 ระบุว่า ส่งผลต่อการตัดสินใจ เลือกพรรคเพื่อไทย ร้อยละ 17.12 ระบุว่า ไม่ส่งผลต่อการตัดสินใจ เพราะจะเลือกพรรคเพื่อไทยอยู่แล้ว ร้อยละ 14.54 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจใด ๆ และร้อยละ 9.24 ระบุว่า ส่งผลต่อการตัดสินใจ ไม่เลือกพรรคเพื่อไทย
ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อผลการเลือกตั้งนายก อบจ. ในครั้งนี้ อาจส่งผลต่อการเลือกตั้ง สส. จังหวัดเชียงราย ในครั้งถัดไป พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 36.96 ระบุว่า ไม่ส่งผลเลย รองลงมา ร้อยละ 25.95 ระบุว่า ส่งผลมาก ร้อยละ 20.24 ระบุว่า ค่อนข้างส่งผล
'เอกชน' จี้รัฐปฏิรูปกฎหมาย-เศรษฐกิจนอกระบบ ปลดล็อกศักยภาพอุตสาหกรรมไทย
https://www.bangkokbiznews.com/business/economic/1161259
“ส.อ.ท.-สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย” จี้รัฐปฏิรูปกฎหมายประเทศไทยที่มีกว่า 1 แสนฉบับ เพื่อปลดปล่อยศักยภาพประเทศให้แข่งขันได้ แนะภาครัฐใช้งบอุดหนุนสินค้าแบรนด์ไทย ชู 5 ประเด็น กระทบ SME ไทย แนะรัฐอัดงบทรานฟอร์มธุรกิจหนุน GDP ประเทศ
• อยากให้ภาครัฐปฏิรูปกฎหมายกว่าแสนกว่าฉบับ ซึ่งเกาหลีได้ลดลงจาก 1.2 หมื่นฉบับ จนเหลือ 6 พันฉบับ ไทยจึงต้องปรับโครงสร้างปลดปล่อยศักยภาพ เพื่อสู้คู่แข่งได้
• ภาครัฐมีงบประมาณจัดซื้อจัดจ้างปีละเกือบล้านล้านบาท และชอบซื้อของถูกก็ไปตกอยู่ที่การซื้อของจีน จึงควรใช้ของไทยที่เป็น Made in Thailand ด้วยกันเองให้มากขึ้น
• ปีนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงที่น่ากลัว คือ การรับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐ โดยเฉพาะมาตรการกีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐกับจีน เหมือนช้างสารพบกัน ซึ่งไทยอยู่ตรงกลางใน Global supply chain ซึ่งทรัมป์จะโฟกัสไทยเป็นอีกประเทศที่ได้ดุลการค้าอันดับต้นๆ
อุตสาหกรรมไทยยังคงเผชิญความเสี่ยงในหลายปัจจัย โดยเฉพาะเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่ฟื้นตัวอย่างที่คิด โดยเฉพาะต้องจับตานโยบายผู้นำประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะการตั้งกำแพงภาษี การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อีกทั้ง ประเทศไทยยังเผชิญกับปัญหาหนี้สาธารณะและหนี้ครัวเรื่อนที่ยังคสูงมาก เหล่านี้ล้วนสร้างความท้าทายต่อภาคอุตสาหกรรมไทย
นาย
เกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ทั้งนี้ อยากให้ภาครัฐปฏิรูปทุกอย่าง โดยเฉพาะกฎหมายที่ล้าสมัย ที่มีกว่า 1 แสนกว่าฉบับ ซึ่งเกาหลีได้ลดลงจาก 1.2 หมื่นฉบับ จนเหลือ 6 พันฉบับ ไทยจึงต้องปรับโครงสร้างปลดปล่อยศักยภาพ เพื่อสู้คู่แข่งได้ อีกทั้ง จะเห็นว่าภาครัฐมีงบประมาณจัดซื้อจัดจ้างปีละเกือบล้านล้านบาท และชอบซื้อของถูกก็ไปตกอยู่ที่การซื้อของจีน จึงควรใช้ของไทยที่เป็น Made in Thailand ด้วยกันเองให้มากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ปี 2568 ถือเป็นปีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดที่น่ากลัวคือ การรับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐนาย
โดนัลด์ ทรัมป์ ภายใต้นโยบายทำ 2.0 โดยเฉพาะมาตรการกีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐกับจีน เหมือนช้างสารพบกัน ซึ่งประเทศไทยอยู่ตรงกลางใน Global supply chain ที่ไทยต้องส่งสินค้าไปทั้ง 2 ประเทศ จึงต้องโดนจับตามาก ว่าทรัมป์จะโฟกัสว่าไทยถือเป็นประเทศที่ได้ดุลการค้าอันดับ 9 แล้ว จึงต้องรอดูว่าทรัมป์จะมองไทยอย่างไร
“อุตสาหกรรมเกิดความท้าทายอย่างมากในเรื่องของการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะ Digital transformation อย่างรวดเร็ว และพัฒนามาสู่ AI ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรง ส่งผลให้ชีวิตคนรุ่นใหม่เปลี่ยนไปหมด ทั้งการผลิตการสั่งสินค้า และช่องทางการจัดจำหน่าย รวมไปถึงผู้บริโภค ที่เปลี่ยนรสนิยม ดังนั้น ผู้ประกอบการจะต้องเร่งปรับตัวรับกับเทรนด์โลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วด้วย”
ด้านนาย
แสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย กล่าวว่า 5 เรื่องที่สำคัญที่ส่งผลกระทบต่อ SME ไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ คือ
1. ภูมิรัฐศาสตร์
2. เศรษฐกิจการค้า
3. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จะเป็นกลไกสำคัญในด้านของพลังงานสะอาด
4. เทคโนโลยี AI ถือเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นต้องเปลี่ยนผ่านผู้ประกอบการ โดย SME กว่า 57% ยังไม่พร้อมในการปรับเปลี่ยน อีกทั้ง ความสามารถในการประยุกต์ใช้อยู่ระดับ 1.0-1.5 เท่านั้น และ 5. การพัฒนาคน ถือเป็นเรื่องใหญ่ที่สำคัญ ที่ไทยจะเพิ่มขีดสามารถทางการแข่งขันได้
อย่างไรก็ตาม ระยะเวลาการเจริญเติบโตของนวัตกรรม สิ่งที่เกิดขึ้นต้องรวดเร็ว การรองรับการเปลี่ยนผ่านผู้ประกอบการ SME สู่ยุคความยั่งยืนจะต้องมีการปรับตัวให้พร้อมมากยิ่งขึ้น รัฐบาลต้องการแก้ปัญหาเศรษฐกิจนอกระบบ เพราะประเทศไทยมีปัญหาไม่แพ้ชาติใดในโลกอยู่อันดับ 2 ของอาเซียน และมีสัดส่วน 46% ของ GDP ประเทศ ในขณะที่เป็นอันดับที่ 15 ของโลกในเรื่องเศรษฐกิจนอกระบบ จึงต้องแก้เรื่องพลังงานหมุนเวียน ที่ไทยอยู่ลำดับที่ 49
นอกจากนี้ ภาครัฐจะต้องสนับสนุนงบประมาณช่วยภาคเอกชนทรานฟอร์มองค์กร เพราะ SME มีสิ่งสำคัญต่อเศรษฐกิจโลก ทุกประเทศในโลกมีจำนวนประชากรมากสุดเกิน 60-70% เป็น SME ที่สำคัญคือการจ้างงาน ถึง 71% คือการจ้างงานของผู้ประกอบการทั่วประเทศ SME มีภาคการผลิตแค่ 16% แต่หากมองสัดส่วน GDP จะเห็นว่า SME สะท้อนความปัญหาความเหลื่อมล้ำ จึงต้องทำให้โตไปด้วยกัน
“จะเห็นว่า GDP SME ไทยยังแพ้มาเลเซีย เรามีจีนเป็นมหามิตรอันดับต้นๆ และมีสหรัฐที่ตามมา ดังนั้น จะต้องรักพี่เสียดายน้องโดยดำเนินยุทธศาสตร์ที่ทิ้งใครไม่ได้ สิ่งสำคัญวันนี้จีนล้ำหน้าเราไปหลายปีในเรื่องของการพัฒนาเศรษฐกิจ และปักธงว่าแต่ละเมืองต้องการที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้านไหนเป็นพิเศษ โดยเฉพาะเทคโนโลยี พลังงานสะอาด ไฮโดรเจน และกรีนบอนด์ เป็นต้น”
JJNY : เท้งพบชาวตราด│“นิด้าโพล”ชี้“ทักษิณ”ลุยเชียงใหม่-เชียงราย ไร้ผล│จี้รัฐปฏิรูปกม.-ศก.นอกระบบ│เตือนภูเขาไฟโมลุกกะปะทุ
https://www.matichon.co.th/politics/news_4995748
“ณัฐพงษ์“ พบชาวตราดหาเสียงช่วย ”ชลธี นุ่มหนู“ ชิงนายก อบจ.ตราด มั่นใจนโยบายตอบโจทย์แก้ปัญหาประชาชน-สร้างการเปลี่ยนแปลงได้
เมื่อวันที่ 11 มกราคม ที่ อ.เมือง จ.ตราด นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ หัวหน้าพรรคประชาชน พร้อมด้วย ชลธี นุ่มหนู ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นนายก อบจ.ตราด พรรคประชาชน เบอร์ 3, ศักดินัย นุ่มหนู สส.ตราด พรรคประชาชน และ วิโรจน์ ลักขณาอดิศร สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ร่วมกิจกรรมพบปะประชาชนและประชาสัมพันธ์การเลือกตั้งนายก อบจ. และสมาชิกสภา อบจ. ที่จะมีขึ้นในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2568
โดยกิจกรรมเริ่มต้นด้วยการเปิดวงพบปะพูดคุยรับฟังปัญหาจากตัวแทนผู้ประกอบการ ภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรม และชาวประมง ที่เขื่อนริมน้ำบ้านท่าเรือจ้าง ต.บางพระ อ.เมืองตราด โดยมีการแลกเปลี่ยนพูดคุยเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ ในจังหวัดตราด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการท่องเที่ยว ประมง การค้าชายแดน ภาคอุตสาหกรรม จากนั้นในช่วงเย็น ทั้งหมดได้ร่วมกันขึ้นรถแห่หาเสียงไปตามถนนสายหลักใน อ.เมือง จ.ตราด จากนั้นในช่วงค่ำจึงได้ร่วมกันเดินพบปะประชาชนพร้อมแจกเอกสารประชาสัมพันธ์ผู้สมัครที่ตลาดถนนคนเดิน ท่ามกลางประชาชนที่ให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก
ในส่วนของ ณัฐพงษ์ ระบุว่าในการเลือกตั้ง อบจ. ครั้งนี้พรรคประชาชนมีความมั่นใจว่ามีโอกาสชนะในทุกจังหวัด และทุกสนามคือโอกาสในการสร้างการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะในจังหวัดตราด ซึ่งตนก็ต้องขอขอบคุณชาวตราดที่มอบความไว้วางใจให้ สส. จากพรรคประชาชนมาถึงสองสมัย และเรามั่นใจว่างบประมาณ อบจ. ปีละ 200 กว่าล้านบาทจะนำมาจัดทำนโยบายหลายอย่างให้ตอบโจทย์ชาวตราดได้อย่างแท้จริง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเกษตร น้ำประปา น้ำเพื่อการเกษตร สาธารณสุข โดยไม่ได้เป็นการเอานโยบายระดับประเทศมาครอบลงไป แต่มาจากการริเริ่มของชาวตราดจริงๆ โดยเอาองค์ความรู้นโยบายท้องถิ่นมาประกอบใช้ การเลือกตั้งครั้งนี้จึงเป็นโอกาสสำคัญในการเปลี่ยนแปลงจริงๆ และเราเชื่อว่าตราดดีกว่านี้ได้
ทั้งนี้ พรรคประชาชนมีเป้าหมายว่าในทุกภูมิภาคต้องมีอย่างน้อย 1 จังหวัดที่พรรคประชาชนได้เข้าไปบริหาร อบจ. โดยพรรคประชาชนมีความพร้อมไม่ใช่แค่ในการเลือกตั้งเท่านั้น แต่ยังมีการเตรียมนโยบายสำหรับ 100 วันแรกของทุกจังหวัดไว้แล้ว รวมทั้งแผนงบประมาณกลางปี 2568 และข้อบัญญัติสำหรับปี 2569 พรรคประชาชนต้องการสร้างการเปลี่ยนแปลงและเชื่อมั่นว่าด้วยนโยบายเหล่านี้ จะสร้างการเปลี่ยนแปลงได้จริงๆ ในทุกจังหวัด
อย่างไรก็ตาม ทุกจังหวัดยังมีโอกาสทั้งในการแพ้และชนะ ในเวลาที่เหลืออีกแค่ไม่กี่วันนี้ ตนอยากให้ประชาชนร่วมกันติดตามการหาเสียงของพรรคประชาชน โดยพรรคประชาชนจะดาวกระจายไปพบปะประชาชนให้ทั่วทุกอำเภอ สำหรับตราดนั้น ตนขอฝากให้ชาวตราดได้พิจารณาชลธี ซึ่งเป็นอีกคนที่มีความรู้ความสามารถที่จะเข้าไปบริหารให้ชาวตราดได้ ไม่ซื้อเสียง ทำงานโปร่งใสตรงไปตรงมา ทำให้งบประมาณทุกบาทตกถึงมือประชาชนชาวตราดได้อย่างแน่นอน
จากนั้นณัฐพงษ์พร้อมด้วยวิโรจน์และศักดินัย ขึ้นรถแห่ปราศรัยก่อนลงเดินหาเสียงที่ตลาดถนนคนเดิน บรรยากาศเป็นไปอย่างอบอุ่น มีประชาชนเข้ามาทักทายขอถ่ายภาพอย่างต่อเนื่อง
“นิด้าโพล” ชี้ “ทักษิณ” ลุยปราศรัย ลต.เชียงใหม่-เชียงราย เองก็ไร้ผล
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_827314/
“นิด้าโพล”ชี้”ทักษิณ”ลุยปราศรัย ลต.เชียงใหม่-เชียงราย เองก็ไร้ผล ตัดสินใจเลือกตั้ง อบจ.- สส.
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “ทักษิณปราศรัยเชียงใหม่ เชียงราย”แล้วเราควรตัดสินใจอย่างไร” โดยทำการสำรวจระหว่างวันที่ 7-10 มกราคม 2568 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และมีสิทธิเลือกตั้งในจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดเชียงราย รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,803 หน่วยตัวอย่าง
ซึ่งจากการสำรวจถึงการตัดสินใจของประชาชนที่มีต่อการปราศรัยหาเสียงของนายทักษิณ ชินวัตร เพื่อสนับสนุนผู้สมัครนายก อบจ. เชียงใหม่ ของพรรคเพื่อไทย พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 37.11 ระบุว่า ไม่ส่งผลต่อการตัดสินใจ เพราะจะไม่เลือกพรรคเพื่อไทยอยู่แล้ว รองลงมา ร้อยละ 23.24 ระบุว่า ส่งผลต่อการตัดสินใจ เลือกพรรคเพื่อไทย ร้อยละ 17.06 ระบุว่า ไม่ส่งผลต่อการตัดสินใจ เพราะจะเลือกพรรคเพื่อไทยอยู่แล้ว ร้อยละ 13.59 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจใด ๆ และร้อยละ 9.00 ระบุว่า ส่งผลต่อการตัดสินใจ ไม่เลือกพรรคเพื่อไทย
ด้านความคิดเห็นของประชาชนต่อผลการเลือกตั้งนายก อบจ. ในครั้งนี้ อาจส่งผลต่อการเลือกตั้ง สส. จังหวัดเชียงใหม่ ในครั้งถัดไป พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 30.37 ระบุว่า ไม่ส่งผลเลย รองลงมา ร้อยละ 28.87 ระบุว่า ส่งผลมาก ร้อยละ 24.74 ระบุว่า ค่อนข้างส่งผล และร้อยละ 14.43 ระบุว่า ไม่ค่อยส่งผล
สำหรับการตัดสินใจของประชาชนที่มีต่อการปราศรัยหาเสียงของนายทักษิณ ชินวัตร เพื่อสนับสนุนผู้สมัครนายก อบจ. เชียงราย ของพรรคเพื่อไทย พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 33.01 ระบุว่า ไม่ส่งผลต่อการตัดสินใจ เพราะจะไม่เลือกพรรคเพื่อไทยอยู่แล้ว รองลงมา ร้อยละ 26.09 ระบุว่า ส่งผลต่อการตัดสินใจ เลือกพรรคเพื่อไทย ร้อยละ 17.12 ระบุว่า ไม่ส่งผลต่อการตัดสินใจ เพราะจะเลือกพรรคเพื่อไทยอยู่แล้ว ร้อยละ 14.54 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจใด ๆ และร้อยละ 9.24 ระบุว่า ส่งผลต่อการตัดสินใจ ไม่เลือกพรรคเพื่อไทย
ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อผลการเลือกตั้งนายก อบจ. ในครั้งนี้ อาจส่งผลต่อการเลือกตั้ง สส. จังหวัดเชียงราย ในครั้งถัดไป พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 36.96 ระบุว่า ไม่ส่งผลเลย รองลงมา ร้อยละ 25.95 ระบุว่า ส่งผลมาก ร้อยละ 20.24 ระบุว่า ค่อนข้างส่งผล
'เอกชน' จี้รัฐปฏิรูปกฎหมาย-เศรษฐกิจนอกระบบ ปลดล็อกศักยภาพอุตสาหกรรมไทย
https://www.bangkokbiznews.com/business/economic/1161259
“ส.อ.ท.-สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย” จี้รัฐปฏิรูปกฎหมายประเทศไทยที่มีกว่า 1 แสนฉบับ เพื่อปลดปล่อยศักยภาพประเทศให้แข่งขันได้ แนะภาครัฐใช้งบอุดหนุนสินค้าแบรนด์ไทย ชู 5 ประเด็น กระทบ SME ไทย แนะรัฐอัดงบทรานฟอร์มธุรกิจหนุน GDP ประเทศ
• อยากให้ภาครัฐปฏิรูปกฎหมายกว่าแสนกว่าฉบับ ซึ่งเกาหลีได้ลดลงจาก 1.2 หมื่นฉบับ จนเหลือ 6 พันฉบับ ไทยจึงต้องปรับโครงสร้างปลดปล่อยศักยภาพ เพื่อสู้คู่แข่งได้
• ภาครัฐมีงบประมาณจัดซื้อจัดจ้างปีละเกือบล้านล้านบาท และชอบซื้อของถูกก็ไปตกอยู่ที่การซื้อของจีน จึงควรใช้ของไทยที่เป็น Made in Thailand ด้วยกันเองให้มากขึ้น
• ปีนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงที่น่ากลัว คือ การรับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐ โดยเฉพาะมาตรการกีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐกับจีน เหมือนช้างสารพบกัน ซึ่งไทยอยู่ตรงกลางใน Global supply chain ซึ่งทรัมป์จะโฟกัสไทยเป็นอีกประเทศที่ได้ดุลการค้าอันดับต้นๆ
อุตสาหกรรมไทยยังคงเผชิญความเสี่ยงในหลายปัจจัย โดยเฉพาะเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่ฟื้นตัวอย่างที่คิด โดยเฉพาะต้องจับตานโยบายผู้นำประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะการตั้งกำแพงภาษี การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อีกทั้ง ประเทศไทยยังเผชิญกับปัญหาหนี้สาธารณะและหนี้ครัวเรื่อนที่ยังคสูงมาก เหล่านี้ล้วนสร้างความท้าทายต่อภาคอุตสาหกรรมไทย
นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ทั้งนี้ อยากให้ภาครัฐปฏิรูปทุกอย่าง โดยเฉพาะกฎหมายที่ล้าสมัย ที่มีกว่า 1 แสนกว่าฉบับ ซึ่งเกาหลีได้ลดลงจาก 1.2 หมื่นฉบับ จนเหลือ 6 พันฉบับ ไทยจึงต้องปรับโครงสร้างปลดปล่อยศักยภาพ เพื่อสู้คู่แข่งได้ อีกทั้ง จะเห็นว่าภาครัฐมีงบประมาณจัดซื้อจัดจ้างปีละเกือบล้านล้านบาท และชอบซื้อของถูกก็ไปตกอยู่ที่การซื้อของจีน จึงควรใช้ของไทยที่เป็น Made in Thailand ด้วยกันเองให้มากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ปี 2568 ถือเป็นปีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดที่น่ากลัวคือ การรับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐนายโดนัลด์ ทรัมป์ ภายใต้นโยบายทำ 2.0 โดยเฉพาะมาตรการกีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐกับจีน เหมือนช้างสารพบกัน ซึ่งประเทศไทยอยู่ตรงกลางใน Global supply chain ที่ไทยต้องส่งสินค้าไปทั้ง 2 ประเทศ จึงต้องโดนจับตามาก ว่าทรัมป์จะโฟกัสว่าไทยถือเป็นประเทศที่ได้ดุลการค้าอันดับ 9 แล้ว จึงต้องรอดูว่าทรัมป์จะมองไทยอย่างไร
“อุตสาหกรรมเกิดความท้าทายอย่างมากในเรื่องของการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะ Digital transformation อย่างรวดเร็ว และพัฒนามาสู่ AI ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรง ส่งผลให้ชีวิตคนรุ่นใหม่เปลี่ยนไปหมด ทั้งการผลิตการสั่งสินค้า และช่องทางการจัดจำหน่าย รวมไปถึงผู้บริโภค ที่เปลี่ยนรสนิยม ดังนั้น ผู้ประกอบการจะต้องเร่งปรับตัวรับกับเทรนด์โลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วด้วย”
ด้านนายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย กล่าวว่า 5 เรื่องที่สำคัญที่ส่งผลกระทบต่อ SME ไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ คือ
1. ภูมิรัฐศาสตร์
2. เศรษฐกิจการค้า
3. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จะเป็นกลไกสำคัญในด้านของพลังงานสะอาด
4. เทคโนโลยี AI ถือเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นต้องเปลี่ยนผ่านผู้ประกอบการ โดย SME กว่า 57% ยังไม่พร้อมในการปรับเปลี่ยน อีกทั้ง ความสามารถในการประยุกต์ใช้อยู่ระดับ 1.0-1.5 เท่านั้น และ 5. การพัฒนาคน ถือเป็นเรื่องใหญ่ที่สำคัญ ที่ไทยจะเพิ่มขีดสามารถทางการแข่งขันได้
อย่างไรก็ตาม ระยะเวลาการเจริญเติบโตของนวัตกรรม สิ่งที่เกิดขึ้นต้องรวดเร็ว การรองรับการเปลี่ยนผ่านผู้ประกอบการ SME สู่ยุคความยั่งยืนจะต้องมีการปรับตัวให้พร้อมมากยิ่งขึ้น รัฐบาลต้องการแก้ปัญหาเศรษฐกิจนอกระบบ เพราะประเทศไทยมีปัญหาไม่แพ้ชาติใดในโลกอยู่อันดับ 2 ของอาเซียน และมีสัดส่วน 46% ของ GDP ประเทศ ในขณะที่เป็นอันดับที่ 15 ของโลกในเรื่องเศรษฐกิจนอกระบบ จึงต้องแก้เรื่องพลังงานหมุนเวียน ที่ไทยอยู่ลำดับที่ 49
นอกจากนี้ ภาครัฐจะต้องสนับสนุนงบประมาณช่วยภาคเอกชนทรานฟอร์มองค์กร เพราะ SME มีสิ่งสำคัญต่อเศรษฐกิจโลก ทุกประเทศในโลกมีจำนวนประชากรมากสุดเกิน 60-70% เป็น SME ที่สำคัญคือการจ้างงาน ถึง 71% คือการจ้างงานของผู้ประกอบการทั่วประเทศ SME มีภาคการผลิตแค่ 16% แต่หากมองสัดส่วน GDP จะเห็นว่า SME สะท้อนความปัญหาความเหลื่อมล้ำ จึงต้องทำให้โตไปด้วยกัน
“จะเห็นว่า GDP SME ไทยยังแพ้มาเลเซีย เรามีจีนเป็นมหามิตรอันดับต้นๆ และมีสหรัฐที่ตามมา ดังนั้น จะต้องรักพี่เสียดายน้องโดยดำเนินยุทธศาสตร์ที่ทิ้งใครไม่ได้ สิ่งสำคัญวันนี้จีนล้ำหน้าเราไปหลายปีในเรื่องของการพัฒนาเศรษฐกิจ และปักธงว่าแต่ละเมืองต้องการที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้านไหนเป็นพิเศษ โดยเฉพาะเทคโนโลยี พลังงานสะอาด ไฮโดรเจน และกรีนบอนด์ เป็นต้น”