เท้ง นัดพรรคร่วมฝ่ายค้านดินเนอร์ พุธนี้ จับตา ลุงป้อม ร่วมวงหรือไม่
https://www.matichon.co.th/politics/news_4954908
เท้ง นัดพรรคร่วมฝ่ายค้านดินเนอร์ พุธนี้ จับตา ลุงป้อมร่วมวงหรือไม่ หลังขับก๊วน ธรรมนัส พ้น ส่วน ไทยสร้างไทย ยังไม่นิ่ง แม้ หญิงหน่อย ประกาศอยู่ฝ่ายค้าน แต่ ส.ส. ปันใจให้รบ.เกือบยกพรรค
เมื่อวันทึ่ 15 ธันวาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ส.ส.บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคประชาชน ในฐานะผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ได้นัดแกนนำพรรคร่วมฝ่ายค้านรับประทานอาหารเย็น ในวันพุธที่ 18 ธ.ค.นี้ ที่ร้านอาหารเอิกเกริก ตรงข้ามอาคารรัฐสภา
โอกาสนี้ นายณัฐพงษ์จะใช้เวลาในการรับประทานอาหาร หารือกับแกนนำพรรคร่วมฝ่ายค้าน ถึงทิศทางการทำงานในการเปิดประชุมสภา ซึ่งคาดว่าน่าจะมีหัวข้อการยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลด้วยภายในไตรมาสแรกของปีหน้า
สำหรับดินเนอร์พรรคร่วมฝ่ายค้านในครั้งนี้ ถือเป็นครั้งแรกตั้งแต่นายณัฐพงษ์ดำรงตำแหน่งผู้นำฝ่ายค้าน ซึ่งภายหลังจากพรรคพลังประชารัฐ มีมติขับ 20 ส.ส. ก๊วน ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า ออกจากพรรค ทำให้เสียงของฝ่ายค้านชัดเจนขึ้น ซึ่งต้องจับตาว่าดินเนอร์ที่จะเกิดขึ้นนี้ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ จะเข้าร่วมด้วยหรือไม่ รวมถึงพรรคไทยสร้างไทยที่แม้จะยังเป็นฝ่ายค้าน แต่เสียง ส.ส.ส่วนใหญ่เทไปอยู่ฝั่งรัฐบาล คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ หัวหน้าพรรค จะมีทิศทางหลังจากนี้อย่างไร เพราะเคยประกาศว่าจะยังอยู่กับฝั่งฝ่ายค้าน
'ธำรงศักดิ์โพล' ชี้คนส่วนใหญ่ 44.83% มอง สว.เป็นอุปสรรคสร้างประชาธิปไตย
https://prachatai.com/journal/2024/12/111718
งานวิจัยส่วนบุคคลของ รศ.ดร.ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ สำรวจความเห็น 4,679 คน ช่วงเดือน ต.ค. 2567 โดยเมื่อถามว่า 'วุฒิสภา' เป็นสถาบันที่สนับสนุนหรือเป็นอุปสรรคสร้างประชาธิปไตยไทยหรือไม่? ส่วนใหญ่ 44.83% ระบุเป็นอุปสรรคสร้างประชาธิปไตย
15 ธ.ค. 2567 งานวิจัยส่วนบุคคลของ รศ.ดร.ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ ผู้อำนวยการหลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ ม.รังสิต เก็บข้อมูลแบบสอบถามจากคนทั้งประเทศ จำนวน 4,679 คน เก็บแบบสอบถามระหว่าง 5-15 ต.ค. 2567 โดยนักศึกษาปริญญาตรี-โท-เอก คณะรัฐศาสตร์ และปริญญาตรี คณะเศรษฐศาสตร์ ม.รังสิต 193 คน เก็บแบบสอบถามใน 55 จังหวัด
ข้อคำถามว่า “ท่านคิดว่า วุฒิสภา เป็นสถาบันที่สนับสนุนหรือเป็นอุปสรรคสร้างประชาธิปไตยไทย” ผลการวิจัยพบว่า (มี 4,664 คนตอบคำถามข้อนี้)
- สนับสนุนสร้างประชาธิปไตยไทย ร้อยละ 19.06 (889 คน)
- เป็นอุปสรรคสร้างประชาธิปไตยไทย ร้อยละ 44.83 (2,091 คน)
- ไม่แสดงความเห็น ร้อยละ 36.11 (1,684 คน)
เมื่อพิจารณาผลสำรวจรายภาค เห็นว่าวุฒิสภาสนับสนุนสร้างประชาธิปไตยไทย ภาคใต้ ร้อยละ 22.5 กรุงเทพ ร้อยละ 19.7 ภาคกลาง ร้อยละ 19.0 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 18.6 ภาคเหนือ ร้อยละ 12.7 เห็นว่าวุฒิสภาเป็นอุปสรรคสร้างประชาธิปไตยไทย ภาคเหนือ ร้อยละ 49.8 กรุงเทพ ร้อยละ 48.5 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 48.0 ภาคใต้ ร้อยละ 43.9 ภาคกลาง ร้อยละ 43
เปิดภาพดาวเทียม! อากาศเย็นมาแรง ย้ำอีกครั้ง 6 จังหวัดใต้เฝ้าระวังน้ำหลาก
https://www.dailynews.co.th/news/4190123/
กรมอุตุฯ เผยภาพถ่ายดาวเทียม มวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรง ได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนแล้ว พร้อมเผยรายชื่อ 6 จังหวัดภาคใต้เน้นย้ำเฝ้าระวังน้ำหลาก!
เมื่อวันที่ 15 ธ.ค. กรมอุตุนิยมวิทยา เปิดเผยภาพถ่ายดาวเทียมวิเคราะห์สภาพอากาศของประเทศไทยในช่วงนี้ โดยระบุว่า
“วิเคราะห์ภาพถ่ายดาวเทียม” ความกดอากาศที่ระดับน้ำทะเลปานกลาง ทิศทางและความเร็วลม ที่ระดับ 925hPa (750ม.) : มวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรง ได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนแล้ว
ส่วนหย่อมความกดอากาศต่ำได้เคลื่อนลงไปปกคลุมบริเวณทะเลอันดามัน ภาพเรดาร์ กลุ่มฝนกำลังอ่อนถึงปานกลาง ปกคลุม
จ.ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ปัตตานี ยะลา นราธิวาส แม้ฝนจะเริ่มซาเม็ดแล้ว ประชาชนที่อาศัยใกล้ลำน้ำ ลุ่มน้ำต่างๆ ต้องเฝ้าระวังน้ำหลาก..
ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก @กรมอุตุนิยมวิทยา
นักเศรษฐศาสตร์ เผย หลายปัจจัยดึงดูดการลงทุนแห่งอนาคต
https://tna.mcot.net/business-1461123
กรุงเทพฯ 15 ธ.ค.-นักเศรษฐศาสตร์ เผยปัจจัยดึงดูดการลงทุนอุตสาหกรรมแห่งอนาคต ต้องมีทักษะแรงงานคุณภาพ ปลอดคอร์รัปชัน เสถียรภาพระบอบประชาธิปไตย หนุนหนึ่งอำเภอหนึ่งทุนขยายโอกาสการศึกษา
ดร.
อนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และ อดีตกรรมการสภาการศึกษา เปิดเผยว่า บรรษัทข้ามชาติเจ้าของเทคโนโลยีและธุรกิจอุตสาหกรรมแห่งอนาคตยังมุ่งการลงทุนและตั้งศูนย์กลางของภูมิภาคไปยังประเทศที่มีทักษะแรงงานคุณภาะทั้งด้าน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รองรับการต่อยอดนวัตกรรม ภาครัฐโปร่งใสปลอดทุจริตคอร์รัปชัน มีความคงเส้นคงวาและความต่อเนื่องของนโยบาย รวมทั้ง เสถียรภาพของระบอบประชาธิปไตย ล้วนเป็นปัจจัยดึงดูดโครงการการลงทุนระยะยาว เพราะโครงการขนาดใหญ่ระยะยาวจะไปยังประเทศที่มีความพร้อมที่สุด และตั้งฐานในการส่งออก
นโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำและเงินเดือนขั้นต่ำไม่ก่อปัญหาต้นทุนต่อภาคธุรกิจและภาคการผลิต ค่าแรงขั้นต่ำที่ต้องปรับตัวขึ้นสูง เป็นเพียงแนวโน้มสำคัญหนึ่งของตลาดแรงงานไทยและตลาดแรงงานในเอเชียเท่านั้น ยังมีแนวโน้มอื่นๆอีก เช่น การใช้ระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์หรือสมองกลอัจฉริยะแทนแรงงานมนุษย์ ธุรกิจอุตสาหกรรมต้องปรับตัวต่อแนวโน้มต่างๆ รัฐต้องมีนโยบายและมาตรการอันเหมาะสมในการตอบสนอง ไม่เช่นนั้นแล้วจะสร้างปัญหาทางเศรษฐกิจในมิติใดมิติหนึ่งได้ ไม่ว่าจะเป็นด้านการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ความสามารถในการแข่งขัน ความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจ
แนวโน้มที่สำคัญและยังเป็นแนวโน้มที่ช่วยอธิบายเราว่า ค่าจ้างในไทยแพงหรือไม่ คือ ผลิตภาพแรงงานไทยในอนาคตว่าเป็นอย่างไร ปัจจุบันผลิตภาพแรงงานไทย (Labor Productivity) เติบโตระดับหนึ่งแต่ไม่สูงเท่าจีน เวียดนาม สิงคโปร์ มาเลเซีย แต่ดีกว่า ลาว เขมร เมียร์มาร์ นอกจากนี้แรงงานไทย ในวัยทำงานยังมีแนวโน้มลดลง โดยในทศวรรษนี้จะเพิ่มเพียง 0.2% เท่านั้น ขณะที่ทศวรรษก่อน เพิ่มน้อยอยู่ 1% แล้วแรงงานส่วนใหญ่ที่ทำงานอยู่ ยังทำงานนอกระบบเป็นส่วนใหญ่ เกือบครึ่งหนึ่งของกำลังแรงงานไม่ใช่ลูกจ้างระยะยาวที่ได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือน
ดร.
อนุสรณ์ กล่าวว่า ขอสนับสนุนแนวคิดในการฟื้นฟูนโยบาย 1 อำเภอ 1 ทุนศึกษา เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษา และ ขอเสนอว่า โครงการดังกล่าวควรอยู่ภายใต้การดูแลของ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาเพื่อจักได้ผนวกรวมงานขยายโอกาสทางการศึกษาเข้าด้วยกัน เกิดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการงบประมาณและทรัพยากรต่างๆ ประเทศไทยยังมีปัญหาความยากจนข้ามรุ่นและความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจสังคมที่ต้องได้รับการแก้ไขจึงจะหลุดพ้นประเทศรายได้ระดับปานกลาง รัฐบาลควรเพิ่มงบประมาณให้กับกองทุนเพื่อความเสมอภาคเพื่อทำให้ครอบครัวรายได้น้อยหรือครัวเรือนยากจนสามารถเข้าถึงโอกาสทางการศึกษา
การเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาที่มีคุณภาพจะทำให้สมาชิกในครอบครัวมีทักษะในการทำงาน มีรายได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว และมีความสามารถในการยกระดับฐานะทางเศรษฐกิจให้หลุดพ้นจากความยากจนได้ การเพิ่มโอกาการศึกษาและการพัฒนาทักษะแรงงานจึงเป็นการแก้ปัญหาความยากจนข้ามรุ่นและความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจได้ดีกว่ามาตรการประชานิยมแจกเงินทั้งหลาย ด้านนโยบาย 1 อำเภอ 1 โรงเรียนในฝัน นโยบาย 1 อำเภอ 1 ทุน หากสามารถดำเนินการได้จะเป็นเรื่องที่ดีต่อประเทศในระยะยาว คุณภาพการศึกษาไทยนั้นตกต่ำมาอย่างต่อเนื่อง
ผลการศึกษาวิจัยยังพบว่า การลงทุนในเด็ก Investment in Children ครัวเรือนรวยลงทุนในเด็กสูงกว่าครัวเรือนยากจน หลายเท่าตัว 5-10 เท่า ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจ ระบบการผลิต สังคมและชีวิตของผู้คน นอกจากนี้ Disruptive Technology ยังส่งผลต่อระบบการศึกษาที่จำเป็นต้องมีการปรับตัวพลิกโฉมครั้งใหญ่และสถาบันการศึกษาจำเป็นต้องปรับตัวให้เท่าทันต่อพลวัตดังกล่าว
ในช่วงงบประมาณปี 2561-2567 กองทุน กยศ ไม่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลเลย จนกระทั่งมีการของบประมาณในปี งบประมาณ 2568 เป็นครั้งแรกในรอบหลายปีเพื่อมาเสริมสภาพคล่อง เนื่องจากในปีงบประมาณ 2568 กองทุนต้องจ่ายเงินกู้ยืมและภาระผูกพันจ่ายเงินกู้ยืมกว่า 5.9 หมื่นล้านบาท ส่วนรายรับจากการชำระหนี้มีเพียง 2.7 หมื่นล้านบาท เงินสดสะสมอาจติดลบเร็วๆนี้ และ จะเกิดปัญหาสภาพคล่องในการปล่อยสินเชื่อเพื่อสนับสนุนการศึกษาได้ ขณะนี้มีผู้กู้ยืม กองทุน กยศ กว่า 7.1 ล้านราย อยู่ในระหว่างการชำระหนี้ 3.6 ล้านราย ชำระหนี้เรียบร้อย 1.9 ล้านราย
ยอมรับว่า การลงทุนทางการศึกษาคุ้มค่าที่สุดเมื่อพิจารณาจากผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและสังคม คือ การลงทุนการศึกษาในช่วงปฐมวัย เด็กประถมจำนวนมากในหลายประเทศรวมทั้งไทยอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ทักษะทางคณิตศาสตร์ ทักษะทางด้านสังคมอ่อนแอลงเพราะหยุดเรียนในชั้นเรียนไปนานจากปัญหาการแพร่ระบาดโควิด-19 เด็กนักเรียนจะมีปัญหาทางการศึกษาในการเรียนรู้ขั้นสูงต่อไปในระดับอุดมศึกษา เด็กเหล่านี้จะมีความ “อ่อนแอ” ในวิชาพื้นฐานต่างๆที่ทำให้ไม่สามารถเรียนต่อในขั้นสูงได้เลย และ ประเทศไทย จึงขาดกำลังทั้งที่มีความรู้พื้นฐานและความรู้ขั้นสูงและการวิจัยด้านต่างๆ.-515.-สำนักข่าวไทย
JJNY : 5in1 เท้งนัดพรรคร่วมดินเนอร์│มองสว.เป็นอุปสรรค│เปิดภาพดาวเทียม!│นักเศรษฐศาสตร์เผยหลายปัจจัย│เกาหลีใต้ร้องรัสเซีย
https://www.matichon.co.th/politics/news_4954908
เท้ง นัดพรรคร่วมฝ่ายค้านดินเนอร์ พุธนี้ จับตา ลุงป้อมร่วมวงหรือไม่ หลังขับก๊วน ธรรมนัส พ้น ส่วน ไทยสร้างไทย ยังไม่นิ่ง แม้ หญิงหน่อย ประกาศอยู่ฝ่ายค้าน แต่ ส.ส. ปันใจให้รบ.เกือบยกพรรค
เมื่อวันทึ่ 15 ธันวาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ส.ส.บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคประชาชน ในฐานะผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ได้นัดแกนนำพรรคร่วมฝ่ายค้านรับประทานอาหารเย็น ในวันพุธที่ 18 ธ.ค.นี้ ที่ร้านอาหารเอิกเกริก ตรงข้ามอาคารรัฐสภา
โอกาสนี้ นายณัฐพงษ์จะใช้เวลาในการรับประทานอาหาร หารือกับแกนนำพรรคร่วมฝ่ายค้าน ถึงทิศทางการทำงานในการเปิดประชุมสภา ซึ่งคาดว่าน่าจะมีหัวข้อการยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลด้วยภายในไตรมาสแรกของปีหน้า
สำหรับดินเนอร์พรรคร่วมฝ่ายค้านในครั้งนี้ ถือเป็นครั้งแรกตั้งแต่นายณัฐพงษ์ดำรงตำแหน่งผู้นำฝ่ายค้าน ซึ่งภายหลังจากพรรคพลังประชารัฐ มีมติขับ 20 ส.ส. ก๊วน ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า ออกจากพรรค ทำให้เสียงของฝ่ายค้านชัดเจนขึ้น ซึ่งต้องจับตาว่าดินเนอร์ที่จะเกิดขึ้นนี้ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ จะเข้าร่วมด้วยหรือไม่ รวมถึงพรรคไทยสร้างไทยที่แม้จะยังเป็นฝ่ายค้าน แต่เสียง ส.ส.ส่วนใหญ่เทไปอยู่ฝั่งรัฐบาล คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ หัวหน้าพรรค จะมีทิศทางหลังจากนี้อย่างไร เพราะเคยประกาศว่าจะยังอยู่กับฝั่งฝ่ายค้าน
'ธำรงศักดิ์โพล' ชี้คนส่วนใหญ่ 44.83% มอง สว.เป็นอุปสรรคสร้างประชาธิปไตย
https://prachatai.com/journal/2024/12/111718
งานวิจัยส่วนบุคคลของ รศ.ดร.ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ สำรวจความเห็น 4,679 คน ช่วงเดือน ต.ค. 2567 โดยเมื่อถามว่า 'วุฒิสภา' เป็นสถาบันที่สนับสนุนหรือเป็นอุปสรรคสร้างประชาธิปไตยไทยหรือไม่? ส่วนใหญ่ 44.83% ระบุเป็นอุปสรรคสร้างประชาธิปไตย
15 ธ.ค. 2567 งานวิจัยส่วนบุคคลของ รศ.ดร.ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ ผู้อำนวยการหลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ ม.รังสิต เก็บข้อมูลแบบสอบถามจากคนทั้งประเทศ จำนวน 4,679 คน เก็บแบบสอบถามระหว่าง 5-15 ต.ค. 2567 โดยนักศึกษาปริญญาตรี-โท-เอก คณะรัฐศาสตร์ และปริญญาตรี คณะเศรษฐศาสตร์ ม.รังสิต 193 คน เก็บแบบสอบถามใน 55 จังหวัด
ข้อคำถามว่า “ท่านคิดว่า วุฒิสภา เป็นสถาบันที่สนับสนุนหรือเป็นอุปสรรคสร้างประชาธิปไตยไทย” ผลการวิจัยพบว่า (มี 4,664 คนตอบคำถามข้อนี้)
- สนับสนุนสร้างประชาธิปไตยไทย ร้อยละ 19.06 (889 คน)
- เป็นอุปสรรคสร้างประชาธิปไตยไทย ร้อยละ 44.83 (2,091 คน)
- ไม่แสดงความเห็น ร้อยละ 36.11 (1,684 คน)
เมื่อพิจารณาผลสำรวจรายภาค เห็นว่าวุฒิสภาสนับสนุนสร้างประชาธิปไตยไทย ภาคใต้ ร้อยละ 22.5 กรุงเทพ ร้อยละ 19.7 ภาคกลาง ร้อยละ 19.0 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 18.6 ภาคเหนือ ร้อยละ 12.7 เห็นว่าวุฒิสภาเป็นอุปสรรคสร้างประชาธิปไตยไทย ภาคเหนือ ร้อยละ 49.8 กรุงเทพ ร้อยละ 48.5 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 48.0 ภาคใต้ ร้อยละ 43.9 ภาคกลาง ร้อยละ 43
เปิดภาพดาวเทียม! อากาศเย็นมาแรง ย้ำอีกครั้ง 6 จังหวัดใต้เฝ้าระวังน้ำหลาก
https://www.dailynews.co.th/news/4190123/
กรมอุตุฯ เผยภาพถ่ายดาวเทียม มวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรง ได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนแล้ว พร้อมเผยรายชื่อ 6 จังหวัดภาคใต้เน้นย้ำเฝ้าระวังน้ำหลาก!
เมื่อวันที่ 15 ธ.ค. กรมอุตุนิยมวิทยา เปิดเผยภาพถ่ายดาวเทียมวิเคราะห์สภาพอากาศของประเทศไทยในช่วงนี้ โดยระบุว่า
“วิเคราะห์ภาพถ่ายดาวเทียม” ความกดอากาศที่ระดับน้ำทะเลปานกลาง ทิศทางและความเร็วลม ที่ระดับ 925hPa (750ม.) : มวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรง ได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนแล้ว
ส่วนหย่อมความกดอากาศต่ำได้เคลื่อนลงไปปกคลุมบริเวณทะเลอันดามัน ภาพเรดาร์ กลุ่มฝนกำลังอ่อนถึงปานกลาง ปกคลุม
จ.ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ปัตตานี ยะลา นราธิวาส แม้ฝนจะเริ่มซาเม็ดแล้ว ประชาชนที่อาศัยใกล้ลำน้ำ ลุ่มน้ำต่างๆ ต้องเฝ้าระวังน้ำหลาก..
ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก @กรมอุตุนิยมวิทยา
นักเศรษฐศาสตร์ เผย หลายปัจจัยดึงดูดการลงทุนแห่งอนาคต
https://tna.mcot.net/business-1461123
กรุงเทพฯ 15 ธ.ค.-นักเศรษฐศาสตร์ เผยปัจจัยดึงดูดการลงทุนอุตสาหกรรมแห่งอนาคต ต้องมีทักษะแรงงานคุณภาพ ปลอดคอร์รัปชัน เสถียรภาพระบอบประชาธิปไตย หนุนหนึ่งอำเภอหนึ่งทุนขยายโอกาสการศึกษา
ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และ อดีตกรรมการสภาการศึกษา เปิดเผยว่า บรรษัทข้ามชาติเจ้าของเทคโนโลยีและธุรกิจอุตสาหกรรมแห่งอนาคตยังมุ่งการลงทุนและตั้งศูนย์กลางของภูมิภาคไปยังประเทศที่มีทักษะแรงงานคุณภาะทั้งด้าน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รองรับการต่อยอดนวัตกรรม ภาครัฐโปร่งใสปลอดทุจริตคอร์รัปชัน มีความคงเส้นคงวาและความต่อเนื่องของนโยบาย รวมทั้ง เสถียรภาพของระบอบประชาธิปไตย ล้วนเป็นปัจจัยดึงดูดโครงการการลงทุนระยะยาว เพราะโครงการขนาดใหญ่ระยะยาวจะไปยังประเทศที่มีความพร้อมที่สุด และตั้งฐานในการส่งออก
นโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำและเงินเดือนขั้นต่ำไม่ก่อปัญหาต้นทุนต่อภาคธุรกิจและภาคการผลิต ค่าแรงขั้นต่ำที่ต้องปรับตัวขึ้นสูง เป็นเพียงแนวโน้มสำคัญหนึ่งของตลาดแรงงานไทยและตลาดแรงงานในเอเชียเท่านั้น ยังมีแนวโน้มอื่นๆอีก เช่น การใช้ระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์หรือสมองกลอัจฉริยะแทนแรงงานมนุษย์ ธุรกิจอุตสาหกรรมต้องปรับตัวต่อแนวโน้มต่างๆ รัฐต้องมีนโยบายและมาตรการอันเหมาะสมในการตอบสนอง ไม่เช่นนั้นแล้วจะสร้างปัญหาทางเศรษฐกิจในมิติใดมิติหนึ่งได้ ไม่ว่าจะเป็นด้านการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ความสามารถในการแข่งขัน ความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจ
แนวโน้มที่สำคัญและยังเป็นแนวโน้มที่ช่วยอธิบายเราว่า ค่าจ้างในไทยแพงหรือไม่ คือ ผลิตภาพแรงงานไทยในอนาคตว่าเป็นอย่างไร ปัจจุบันผลิตภาพแรงงานไทย (Labor Productivity) เติบโตระดับหนึ่งแต่ไม่สูงเท่าจีน เวียดนาม สิงคโปร์ มาเลเซีย แต่ดีกว่า ลาว เขมร เมียร์มาร์ นอกจากนี้แรงงานไทย ในวัยทำงานยังมีแนวโน้มลดลง โดยในทศวรรษนี้จะเพิ่มเพียง 0.2% เท่านั้น ขณะที่ทศวรรษก่อน เพิ่มน้อยอยู่ 1% แล้วแรงงานส่วนใหญ่ที่ทำงานอยู่ ยังทำงานนอกระบบเป็นส่วนใหญ่ เกือบครึ่งหนึ่งของกำลังแรงงานไม่ใช่ลูกจ้างระยะยาวที่ได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือน
ดร.อนุสรณ์ กล่าวว่า ขอสนับสนุนแนวคิดในการฟื้นฟูนโยบาย 1 อำเภอ 1 ทุนศึกษา เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษา และ ขอเสนอว่า โครงการดังกล่าวควรอยู่ภายใต้การดูแลของ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาเพื่อจักได้ผนวกรวมงานขยายโอกาสทางการศึกษาเข้าด้วยกัน เกิดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการงบประมาณและทรัพยากรต่างๆ ประเทศไทยยังมีปัญหาความยากจนข้ามรุ่นและความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจสังคมที่ต้องได้รับการแก้ไขจึงจะหลุดพ้นประเทศรายได้ระดับปานกลาง รัฐบาลควรเพิ่มงบประมาณให้กับกองทุนเพื่อความเสมอภาคเพื่อทำให้ครอบครัวรายได้น้อยหรือครัวเรือนยากจนสามารถเข้าถึงโอกาสทางการศึกษา
การเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาที่มีคุณภาพจะทำให้สมาชิกในครอบครัวมีทักษะในการทำงาน มีรายได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว และมีความสามารถในการยกระดับฐานะทางเศรษฐกิจให้หลุดพ้นจากความยากจนได้ การเพิ่มโอกาการศึกษาและการพัฒนาทักษะแรงงานจึงเป็นการแก้ปัญหาความยากจนข้ามรุ่นและความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจได้ดีกว่ามาตรการประชานิยมแจกเงินทั้งหลาย ด้านนโยบาย 1 อำเภอ 1 โรงเรียนในฝัน นโยบาย 1 อำเภอ 1 ทุน หากสามารถดำเนินการได้จะเป็นเรื่องที่ดีต่อประเทศในระยะยาว คุณภาพการศึกษาไทยนั้นตกต่ำมาอย่างต่อเนื่อง
ผลการศึกษาวิจัยยังพบว่า การลงทุนในเด็ก Investment in Children ครัวเรือนรวยลงทุนในเด็กสูงกว่าครัวเรือนยากจน หลายเท่าตัว 5-10 เท่า ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจ ระบบการผลิต สังคมและชีวิตของผู้คน นอกจากนี้ Disruptive Technology ยังส่งผลต่อระบบการศึกษาที่จำเป็นต้องมีการปรับตัวพลิกโฉมครั้งใหญ่และสถาบันการศึกษาจำเป็นต้องปรับตัวให้เท่าทันต่อพลวัตดังกล่าว
ในช่วงงบประมาณปี 2561-2567 กองทุน กยศ ไม่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลเลย จนกระทั่งมีการของบประมาณในปี งบประมาณ 2568 เป็นครั้งแรกในรอบหลายปีเพื่อมาเสริมสภาพคล่อง เนื่องจากในปีงบประมาณ 2568 กองทุนต้องจ่ายเงินกู้ยืมและภาระผูกพันจ่ายเงินกู้ยืมกว่า 5.9 หมื่นล้านบาท ส่วนรายรับจากการชำระหนี้มีเพียง 2.7 หมื่นล้านบาท เงินสดสะสมอาจติดลบเร็วๆนี้ และ จะเกิดปัญหาสภาพคล่องในการปล่อยสินเชื่อเพื่อสนับสนุนการศึกษาได้ ขณะนี้มีผู้กู้ยืม กองทุน กยศ กว่า 7.1 ล้านราย อยู่ในระหว่างการชำระหนี้ 3.6 ล้านราย ชำระหนี้เรียบร้อย 1.9 ล้านราย
ยอมรับว่า การลงทุนทางการศึกษาคุ้มค่าที่สุดเมื่อพิจารณาจากผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและสังคม คือ การลงทุนการศึกษาในช่วงปฐมวัย เด็กประถมจำนวนมากในหลายประเทศรวมทั้งไทยอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ทักษะทางคณิตศาสตร์ ทักษะทางด้านสังคมอ่อนแอลงเพราะหยุดเรียนในชั้นเรียนไปนานจากปัญหาการแพร่ระบาดโควิด-19 เด็กนักเรียนจะมีปัญหาทางการศึกษาในการเรียนรู้ขั้นสูงต่อไปในระดับอุดมศึกษา เด็กเหล่านี้จะมีความ “อ่อนแอ” ในวิชาพื้นฐานต่างๆที่ทำให้ไม่สามารถเรียนต่อในขั้นสูงได้เลย และ ประเทศไทย จึงขาดกำลังทั้งที่มีความรู้พื้นฐานและความรู้ขั้นสูงและการวิจัยด้านต่างๆ.-515.-สำนักข่าวไทย