ก็เสร็จสิ้นลงไปแล้ว สำหรับการประชุมร่วมรัฐสภาที่ประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ในการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทั้งหมด 7 ฉบับ แบ่งเป็นร่างที่เสนอโดยฝ่ายรัฐบาล 1 ฉบับ เสนอโดยฝ่ายค้าน 5 ฉบับ และของกลุ่มไอลอว์ที่เสนอโดยประชาชนกว่า 100,000 รายชื่อ 1 ฉบับ
ผลการลงมติที่ประชุมร่วมรัฐสภา รับหลักการเพียง 2 ร่าง ซึ่งเป็นร่างที่แก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 หมวดแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ เพื่อนำไปสู่การจัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ ส.ส.ร. เพื่อยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ โดยร่างของฝ่ายรัฐบาล รับหลักการด้วยมติ 647 คะแนน แบ่งเป็น ส.ส. 471 คะแนน ส.ว. 176 คะแนน ส่วนร่างของฝ่ายค้าน รับหลักการด้วยมติ 576 คนแนน แบ่งเป็น ส.ส. 449 คะแนน ส.ว. 127 คะแนน ซึ่งทั้ง 2 ร่างถูกรับหลักการตามมติที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ คือต้องมีผู้รับหลักการไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกรัฐสภาทั้งหมดซึ่งในมตินี้จะต้องมี ส.ว. รับหลักการด้วยไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของ ส.ว. ทั้งหมด 245 คน ก็คือ 82 คะแนน
ส่วนร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของฝ่ายค้าน 5 ฉบับ ที่มุ่งแก้ไขรายมาตรา และร่างของกลุ่มไอลอว์ ไม่ถูกรับหลักการ
คราวนี้เรามาทำความเข้าใจถึงร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ถูกรับหลักการมาแล้ว 2 ร่าง จะมีความเหมือนหรือต่างกันอย่างไร และเนื่องจากตามรัฐธรรมนูญ การแก้ไขในหมวดแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ เมื่อผ่านขั้นตอนการพิจารณาจากรัฐสภาแล้ว ก่อนที่นายกรัฐมนตรีจะนำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยและมีผลบังคับใช้ จะต้องให้ประชาชนทำการออกเสียงลงประชามติเสียก่อน หากประชาชนเห็นชอบจึงนำขึ้นทูลเกล้าฯ แต่เนื่องจากมี 2 ร่าง เราก็ไม่แน่ใจว่าเมื่อเข้าสู่ขั้นตอนการพิจารณาของทางรัฐสภา เขาจะให้ผ่านทั้ง 2 ร่าง หรือผ่านเพียง 1 ร่าง โดยเลือกเอาบทบัญญัติจากร่างใดร่างหนึ่งหรืองนำบทบัญญัติทั้ง 2 ร่างมาปรับแก้ในร่างเดียวกัน
................................................................................................................................................................................................................
ข้อเปรียบเทียบที่ 1 การแก้ไขมาตรา 265 (ไม่เกี่ยวกับร่างของ ส.ส.ร. แต่เป็นร่างที่ได้รับการเสนอจากคณะรัฐมนตรี รัฐสภา และประชาชน)
(1) ฝ่ายค้านบัญญัติให้การยื่นญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญโดย ส.ส. ใช้เพียง 1 ใน 10 ของ ส.ส. ทั้งหมดที่อยู่ หรือทั้งสมาชิกรัฐสภาไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของสมาชิกรัฐสภาทั้งหมดที่อยู่ ส่วนฝ่ายรัฐบาลไม่มีการแก้ไขในส่วนนี้
(3) ร่างของฝ่ายรัฐบาล บัญญัติให้การลงมติรับหลักการร่างรัฐธรรมนูญจากวาระที่ 1 ต้องเป็นมติของที่ประชุมร่วมรัฐสภาไม่น้อยกว่า 3 ใน 5 ของสมาชิกทั้งหมดที่มีอยู่ ส่วนร่างของฝ่ายค้านให้ใช้มติกึ่งหนึ่งของสมาชิกรัฐสภาที่มีอยู่ ซึ่งทั้งนี้ไม่มีการกำหนดว่าจะต้องให้ ส.ว. ร่วมเห็นชอบด้วยเท่าไหร่
(6) ร่างของฝ่ายรัฐบาล ในการพิจารณาลงมติในวาระ 3 ให้ใช้มติของที่ประชุมร่วมรัฐสภาไม่น้อยกว่า 3 ใน 5 ของสมาชิกทั้งหมดที่อยู่ ส่วนร่างของฝ่ายค้าน ให้ใช้มติกึ่งหนึ่งของสมาชิกรัฐสภาทั้งหมดที่มีอยู่
ในร่างของรัฐบาล ยังให้คง (8) อยู่ หากเป็นการแก้ไขในหมวดบททั่วไป พระมหากษัตริย์ การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ตามรัฐธรรมนูญ หรืออำนาจหน้าที่ของศาลและองค์กรอิสระ ก่อนนำขึ้นทูลเกล้าฯ ต้องให้ประชาชนลงประชามติก่อน ส่วนร่างของฝ่ายค้านไม่ต้องทำประชามติ เมื่อผ่านขั้นตอนของรัฐสภา ให้รอไว้ 15 วันจึงนำขึ้นทูลเกล้าฯ
.....................................................................................................................................................................................................................
ข้อเปรียบเทียบที่ 2 การจัดทำร่างรัฐธรรมนูญใหม่
2.1 การจัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ ส.ส.ร.
ส.ส.ร. ตามร่างฝ่ายรัฐบาล มีทั้งหมด 200 คน ประกอบด้วย มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนในแต่ละจังหวัด 150 คน สมาชิกรัฐสภาคัดเลือกกัน 20 คน คัดเลือกจากที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย หรือ ทปอ. ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย ด้านรัฐศาสตร์ หรือผู้มีประสบการณ์ด้านการเมือง การบริหารราชการแผ่นดิน และการร่างรัฐธรรมนูญ 10 คน และคนที่เป็นนักเรียน นิสิต นักศึกษา 10 คน
ส.ส.ร. ตามร่างของฝ่ายค้าน มีทั้งหมด 200 คน ซึ่งมากจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนในแต่ละจังหวัด
....................................................................................................................................................................................................................
2.2 การจัดเลือกตั้ง ส.ส.ร. ซึ่งเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. หลังจากที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเพื่อจัดตั้ง ส.ส.ร. มีผลบังคับใช้
ตามร่างของฝ่ายรัฐบาล ให้ กกต. จัดการเลือกตั้งภายใน 90 วันส่วนวิธีการคัดเลือก ส.ส.ร. ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของ กกต.
ส่วนร่างของฝ่ายค้าน ให้จัดการเลือกตั้งภายใน 60 วัน
......................................................................................................................................................................................................................
2.3 ขั้นตอนและวิธีการร่างรัฐธรรมนูญ
ในร่างของฝ่ายรัฐบาล จะมีเวลาในการยกร่างรัฐธรรมนูญไม่เกิน 240 วัน โดยจะต้องมีการประชุม ส.ส.ร. นัดแรกภายใน 30 วันนับแต่มี ส.ส.ร. วิธีการคือจะให้ ส.ส.ร. ทั้งหมด 200 คน ทำการประชุมและยกร่างรัฐธรรมนูญ โดยไม่มีการจัดตั้งคณะกรรมาธิการใด ๆ แบบร่างของฝ่ายค้าน แต่ให้มีการเปิดรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนด้วย
ในร่างของฝ่ายค้าน จะมีเวลาในการยกร่างรัฐธรรมนูญไม่เกิน 120 วัน โดยจะต้องมีการประชุม ส.ส.ร. นัดแรกภายใน 30 วันนับแต่มี ส.ส.ร. ส่วนหน้าที่ในการยกร่างจะเป็นของคณะกรรมาธิการยกร่าง จำนวน 45 คน ซึ่งคณะกรรมาธิการยกร่างประกอบด้วยบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งจาก ส.ส.ร. 30 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายมหาชน 5 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านรัฐศาสตร์ 5 คน และผู้มีประสบการณ์ด้านการเมือง การบริหารราชการแผ่นดิน และการร่างรัฐรรมนูญ 5 คน พร้อมกันนี้ต้องมีการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนด้วย และเมื่อคณะกรรมาธิการยกร่างได้ทำการร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว จึงนำเสนอต่อ ส.ส.ร.
.........................................................................................................................................................................................................................
2.3 ขั้นตอนของรัฐสภาในการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญและการบังคับใช้
โดยทั้งร่างของฝ่ายรัฐบาล เมื่อ ส.ส.ร. ได้จัดทำร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว ก็จะนำเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมร่วมรัฐสภา โดยร่างที่เสนอนั้น ที่ประชุมร่วมรัฐสภาทำได้เพียงลงมติเท่านั้น ไม่สามารถจะแก้ไขเนื้อหาใด ๆ ได้ โดยให้สมาชิกรัฐสภาทุกคนลงมติแบบขานชื่อทีละคน หากได้รับความเห็นชอบเกินกึ่งหนึ่งของสมาชิกรัฐสภาทั้งหมดที่มีอยู่ ให้ประธานรัฐสภานำร่างขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยให้มีผลบังคับใช้ แต่หากได้รับความเห็นชอบไม่ถึงกึ่งหนึ่ง จะต้องให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินด้วยการออกเสียงลงประชามติ โดยให้ประธานรัฐสภาส่งร่างรัฐธรรมนูญไปยัง กกต. ภายใน 7 วันนับแต่มีมติ และให้ กกต. จัดให้มีการลงประชามติภายในไม่น้อยกว่า 45 วัน แต่ต้องไม่เกินภายใน 60 วัน จากนั้นให้ กกต. รับรองผลการลงประชามติภายใน 60 วัน หากประชาชนเห็นชอบให้นำร่างขึ้นทูลเกล้าฯ แต่หากไม่เห็นชอบให้ร่างตกไป
แต่สำหรับร่างของฝ่ายค้าน เมื่อ ส.ส.ร. ได้จัดทำร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว ไม่ต้องผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมร่วมรัฐสภาแบบร่างของฝ่ายรัฐบาล โดยให้ประธานรัฐสภาส่งร่างรัฐธรรมนูญไปยัง กกต. ภายใน 7 วัน และให้ กกต. จัดให้มีการลงประชามติภายในไม่น้อยกว่า 45 วัน แต่ต้องไม่เกินภายใน 60 วัน จากนั้นให้ กกต. รับรองผลการลงประชามติภายใน 60 วัน หากประชาชนเห็นชอบให้นำร่างขึ้นทูลเกล้าฯ แต่หากไม่เห็นชอบให้ร่างตกไป
.........................................................................................................................................................................................................................
ถ้าเกิดกรณีที่ร่างรัฐธรรมนูญถูกตีตกจริง ๆ ก็จะเข้าสู่กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ แต่จะไม่ใช่การจัดตั้ง ส.ส.ร. ขึ้นมาใหม่ จะเป็นการร่างรัฐธรรมนูญตามมาตรา 265 ที่ได้รับการแก้ไขใหม่
*** ปิดโหวต วันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ.2563 เวลา 16:06:37 น.
1. คุณเห็นชอบกับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของฝ่ายใด
คุณลืมตอบคำถามที่ * จำเป็นต้องตอบ
คุณจะลงประชามติในร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของฝ่ายค้านหรือฝ่ายรัฐบาล
ผลการลงมติที่ประชุมร่วมรัฐสภา รับหลักการเพียง 2 ร่าง ซึ่งเป็นร่างที่แก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 หมวดแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ เพื่อนำไปสู่การจัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ ส.ส.ร. เพื่อยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ โดยร่างของฝ่ายรัฐบาล รับหลักการด้วยมติ 647 คะแนน แบ่งเป็น ส.ส. 471 คะแนน ส.ว. 176 คะแนน ส่วนร่างของฝ่ายค้าน รับหลักการด้วยมติ 576 คนแนน แบ่งเป็น ส.ส. 449 คะแนน ส.ว. 127 คะแนน ซึ่งทั้ง 2 ร่างถูกรับหลักการตามมติที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ คือต้องมีผู้รับหลักการไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกรัฐสภาทั้งหมดซึ่งในมตินี้จะต้องมี ส.ว. รับหลักการด้วยไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของ ส.ว. ทั้งหมด 245 คน ก็คือ 82 คะแนน
ส่วนร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของฝ่ายค้าน 5 ฉบับ ที่มุ่งแก้ไขรายมาตรา และร่างของกลุ่มไอลอว์ ไม่ถูกรับหลักการ
คราวนี้เรามาทำความเข้าใจถึงร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ถูกรับหลักการมาแล้ว 2 ร่าง จะมีความเหมือนหรือต่างกันอย่างไร และเนื่องจากตามรัฐธรรมนูญ การแก้ไขในหมวดแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ เมื่อผ่านขั้นตอนการพิจารณาจากรัฐสภาแล้ว ก่อนที่นายกรัฐมนตรีจะนำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยและมีผลบังคับใช้ จะต้องให้ประชาชนทำการออกเสียงลงประชามติเสียก่อน หากประชาชนเห็นชอบจึงนำขึ้นทูลเกล้าฯ แต่เนื่องจากมี 2 ร่าง เราก็ไม่แน่ใจว่าเมื่อเข้าสู่ขั้นตอนการพิจารณาของทางรัฐสภา เขาจะให้ผ่านทั้ง 2 ร่าง หรือผ่านเพียง 1 ร่าง โดยเลือกเอาบทบัญญัติจากร่างใดร่างหนึ่งหรืองนำบทบัญญัติทั้ง 2 ร่างมาปรับแก้ในร่างเดียวกัน
................................................................................................................................................................................................................
ข้อเปรียบเทียบที่ 1 การแก้ไขมาตรา 265 (ไม่เกี่ยวกับร่างของ ส.ส.ร. แต่เป็นร่างที่ได้รับการเสนอจากคณะรัฐมนตรี รัฐสภา และประชาชน)
(1) ฝ่ายค้านบัญญัติให้การยื่นญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญโดย ส.ส. ใช้เพียง 1 ใน 10 ของ ส.ส. ทั้งหมดที่อยู่ หรือทั้งสมาชิกรัฐสภาไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของสมาชิกรัฐสภาทั้งหมดที่อยู่ ส่วนฝ่ายรัฐบาลไม่มีการแก้ไขในส่วนนี้
(3) ร่างของฝ่ายรัฐบาล บัญญัติให้การลงมติรับหลักการร่างรัฐธรรมนูญจากวาระที่ 1 ต้องเป็นมติของที่ประชุมร่วมรัฐสภาไม่น้อยกว่า 3 ใน 5 ของสมาชิกทั้งหมดที่มีอยู่ ส่วนร่างของฝ่ายค้านให้ใช้มติกึ่งหนึ่งของสมาชิกรัฐสภาที่มีอยู่ ซึ่งทั้งนี้ไม่มีการกำหนดว่าจะต้องให้ ส.ว. ร่วมเห็นชอบด้วยเท่าไหร่
(6) ร่างของฝ่ายรัฐบาล ในการพิจารณาลงมติในวาระ 3 ให้ใช้มติของที่ประชุมร่วมรัฐสภาไม่น้อยกว่า 3 ใน 5 ของสมาชิกทั้งหมดที่อยู่ ส่วนร่างของฝ่ายค้าน ให้ใช้มติกึ่งหนึ่งของสมาชิกรัฐสภาทั้งหมดที่มีอยู่
ในร่างของรัฐบาล ยังให้คง (8) อยู่ หากเป็นการแก้ไขในหมวดบททั่วไป พระมหากษัตริย์ การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ตามรัฐธรรมนูญ หรืออำนาจหน้าที่ของศาลและองค์กรอิสระ ก่อนนำขึ้นทูลเกล้าฯ ต้องให้ประชาชนลงประชามติก่อน ส่วนร่างของฝ่ายค้านไม่ต้องทำประชามติ เมื่อผ่านขั้นตอนของรัฐสภา ให้รอไว้ 15 วันจึงนำขึ้นทูลเกล้าฯ
.....................................................................................................................................................................................................................
ข้อเปรียบเทียบที่ 2 การจัดทำร่างรัฐธรรมนูญใหม่
2.1 การจัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ ส.ส.ร.
ส.ส.ร. ตามร่างฝ่ายรัฐบาล มีทั้งหมด 200 คน ประกอบด้วย มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนในแต่ละจังหวัด 150 คน สมาชิกรัฐสภาคัดเลือกกัน 20 คน คัดเลือกจากที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย หรือ ทปอ. ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย ด้านรัฐศาสตร์ หรือผู้มีประสบการณ์ด้านการเมือง การบริหารราชการแผ่นดิน และการร่างรัฐธรรมนูญ 10 คน และคนที่เป็นนักเรียน นิสิต นักศึกษา 10 คน
ส.ส.ร. ตามร่างของฝ่ายค้าน มีทั้งหมด 200 คน ซึ่งมากจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนในแต่ละจังหวัด
....................................................................................................................................................................................................................
2.2 การจัดเลือกตั้ง ส.ส.ร. ซึ่งเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. หลังจากที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเพื่อจัดตั้ง ส.ส.ร. มีผลบังคับใช้
ตามร่างของฝ่ายรัฐบาล ให้ กกต. จัดการเลือกตั้งภายใน 90 วันส่วนวิธีการคัดเลือก ส.ส.ร. ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของ กกต.
ส่วนร่างของฝ่ายค้าน ให้จัดการเลือกตั้งภายใน 60 วัน
......................................................................................................................................................................................................................
2.3 ขั้นตอนและวิธีการร่างรัฐธรรมนูญ
ในร่างของฝ่ายรัฐบาล จะมีเวลาในการยกร่างรัฐธรรมนูญไม่เกิน 240 วัน โดยจะต้องมีการประชุม ส.ส.ร. นัดแรกภายใน 30 วันนับแต่มี ส.ส.ร. วิธีการคือจะให้ ส.ส.ร. ทั้งหมด 200 คน ทำการประชุมและยกร่างรัฐธรรมนูญ โดยไม่มีการจัดตั้งคณะกรรมาธิการใด ๆ แบบร่างของฝ่ายค้าน แต่ให้มีการเปิดรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนด้วย
ในร่างของฝ่ายค้าน จะมีเวลาในการยกร่างรัฐธรรมนูญไม่เกิน 120 วัน โดยจะต้องมีการประชุม ส.ส.ร. นัดแรกภายใน 30 วันนับแต่มี ส.ส.ร. ส่วนหน้าที่ในการยกร่างจะเป็นของคณะกรรมาธิการยกร่าง จำนวน 45 คน ซึ่งคณะกรรมาธิการยกร่างประกอบด้วยบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งจาก ส.ส.ร. 30 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายมหาชน 5 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านรัฐศาสตร์ 5 คน และผู้มีประสบการณ์ด้านการเมือง การบริหารราชการแผ่นดิน และการร่างรัฐรรมนูญ 5 คน พร้อมกันนี้ต้องมีการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนด้วย และเมื่อคณะกรรมาธิการยกร่างได้ทำการร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว จึงนำเสนอต่อ ส.ส.ร.
.........................................................................................................................................................................................................................
2.3 ขั้นตอนของรัฐสภาในการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญและการบังคับใช้
โดยทั้งร่างของฝ่ายรัฐบาล เมื่อ ส.ส.ร. ได้จัดทำร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว ก็จะนำเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมร่วมรัฐสภา โดยร่างที่เสนอนั้น ที่ประชุมร่วมรัฐสภาทำได้เพียงลงมติเท่านั้น ไม่สามารถจะแก้ไขเนื้อหาใด ๆ ได้ โดยให้สมาชิกรัฐสภาทุกคนลงมติแบบขานชื่อทีละคน หากได้รับความเห็นชอบเกินกึ่งหนึ่งของสมาชิกรัฐสภาทั้งหมดที่มีอยู่ ให้ประธานรัฐสภานำร่างขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยให้มีผลบังคับใช้ แต่หากได้รับความเห็นชอบไม่ถึงกึ่งหนึ่ง จะต้องให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินด้วยการออกเสียงลงประชามติ โดยให้ประธานรัฐสภาส่งร่างรัฐธรรมนูญไปยัง กกต. ภายใน 7 วันนับแต่มีมติ และให้ กกต. จัดให้มีการลงประชามติภายในไม่น้อยกว่า 45 วัน แต่ต้องไม่เกินภายใน 60 วัน จากนั้นให้ กกต. รับรองผลการลงประชามติภายใน 60 วัน หากประชาชนเห็นชอบให้นำร่างขึ้นทูลเกล้าฯ แต่หากไม่เห็นชอบให้ร่างตกไป
แต่สำหรับร่างของฝ่ายค้าน เมื่อ ส.ส.ร. ได้จัดทำร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว ไม่ต้องผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมร่วมรัฐสภาแบบร่างของฝ่ายรัฐบาล โดยให้ประธานรัฐสภาส่งร่างรัฐธรรมนูญไปยัง กกต. ภายใน 7 วัน และให้ กกต. จัดให้มีการลงประชามติภายในไม่น้อยกว่า 45 วัน แต่ต้องไม่เกินภายใน 60 วัน จากนั้นให้ กกต. รับรองผลการลงประชามติภายใน 60 วัน หากประชาชนเห็นชอบให้นำร่างขึ้นทูลเกล้าฯ แต่หากไม่เห็นชอบให้ร่างตกไป
.........................................................................................................................................................................................................................
ถ้าเกิดกรณีที่ร่างรัฐธรรมนูญถูกตีตกจริง ๆ ก็จะเข้าสู่กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ แต่จะไม่ใช่การจัดตั้ง ส.ส.ร. ขึ้นมาใหม่ จะเป็นการร่างรัฐธรรมนูญตามมาตรา 265 ที่ได้รับการแก้ไขใหม่