เผด็จการพวกมากลากไปอันตราย ต้นเหตุสภาเสื่อมการเมืองเดือด ผ่าประเด็นร้อน แนวหน้าออนไลน์
เหตุการณ์ความตึงเครียดวุ่นวายในการประชุมรัฐสภาจนต้องมีการพักการประชุมถึง 5 ครั้ง
ในการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญในประเด็นที่มาของสมาชิกวุฒิสภา(สว.) เมื่อวันอังคาร
ที่ผ่านมาถือเป็นความอัปยศและเป็นสัญญาณอันตรายสะท้อนระบบรัฐสภาที่ล้มเหลว
ต้นเหตุแห่งความตึงเครียดวุ่นวายไม่อาจปฏิเสธได้เลยว่า เกิดจากการไร้ซึ่งวุฒิภาวะและไร้
ซึ่งความเป็นกลางอย่างสิ้นเชิงของ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร
ในฐานะประธานรัฐสภาและ นายนิคม ไวยรัชพานิช ซึ่งเหตุการณ์อัปยศจะไม่เกิดขึ้นเลยหาก
ผู้ทำหน้าที่ประธานการประชุมสภาทั้งสองวางตัวเป็นกลางอย่างแท้จริงไม่ลุแก่อำนาจเดิน
เกมเร่งรีบรวบรัดเพื่อผ่านร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยเร็วตามความต้องการของ นายใหญ่จาก
แดนไกล
ความพยายามเร่งรีบเริ่มจากการใช้พวกมากลงมติหักดิบไม่ให้สส.ฝ่ายค้านและสว. 57 คน
ที่ขอแปรญัตติไว้มีโอกาสได้อภิปรายเพื่อที่จะรวบรัดตัดความให้ผ่านร่างแก้ไขโดยเร็วจนสร้าง
ความไม่พอใจแก่บรรดาสส.ฝ่ายค้าน
ไม่เพียงเท่านั้น นายสมศักดิ์ ยังลุแก่อำนาจและเหยียบย่ำศักดิ์ศรี สส.ในฐานะผู้แทนปวงชน
ด้วยการสั่งให้ตำรวจหน่วยปราบจลาจลนับร้อยนายเข้ามาเตรียมพร้อมภายในรัฐสภา ซ้ำมี
รถขนผู้ต้องหาของตำรวจเตรียมพร้อมไว้ด้วยสะท้อนความเป็นรัฐ ตำรวจและเหมือนต้องการ
ข่มขู่คุกคามสส.ฝ่ายค้าน ซึ่งการใช้ตำรวจปราบจลาจลเข้ามาคุมเชิงในรัฐสภาในสถานการณ์
ปกติถือเป็นความอัปยศอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์ของรัฐสภา
และที่เป็นชนวนแตกหักก็คือการที่ นายสมศักดิ์ ลุแก่อำนาจสั่งใช้กำลังตำรวจรัฐสภาล็อกตัว
บรรดาสส.พรรคประชาธิปัตย์ออกจากห้องประชุม จึงเกิดเหตุการณ์ยื้อยุดฉุดกระชากจนวุ่นวาย
ตึงเครียดกลางสภาอย่างที่เห็น
ความจริงฝ่ายรัฐบาลครองเสียงข้างมากในรัฐสภาอยู่แล้ว และถึงลงมติอย่างไรก็ชนะการลงมติ
อยู่วันยังค่ำ เพราะฉะนั้นหากรัฐบาลไม่ลุแก่อำนาจหักดิบก็ควรเปิดโอกาสให้ฝ่ายค้านได้อภิปราย
อย่างเต็มที่โดยไม่สกัดขัดขวางซึ่งเป็นหลักปฏิบัติของรัฐสภาตามระบอบประชาธิปไตยทั่วโลก
นอกจากรวบรัดตัดความแล้ว รัฐบาลยังส่อเจตนาปิดปากฝ่ายค้านและสว.ที่ขอแปรญัตติไม่ให้
อภิปรายตอกย้ำให้เห็นถึงความไม่ชอบมาพากลของร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้
ทั้งนี้รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด การแก้ไขรัฐธรรมนูญจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องเปิดโอกาส
ให้มีการอภิปรายท้วงติงกันอย่างกว้างขวาง ไม่ใช่จ้องแต่จะรวบรัดลงมติโดยอาศัยพวกมากลาก
ไปกลายเป็นสภาฝักถั่ว
ที่สำคัญร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญในประเด็นที่มาของสว.ฉบับนี้เกี่ยวพันถึงอนาคตความอยู่รอด
ของชาติบ้านเมืองเพราะร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้นอกจากส่อเจตนายึดวุฒิสภาอย่างเบ็ด
เสร็จเด็ดขาดแล้ว ยังส่อปูทางไปสู่การยึดครองประเทศกลายเป็นเผด็จการรัฐสภาในคราบ
ประชาธิปไตยอย่างเต็มรูปแบบ
เพราะฉะนั้นรัฐบาลหุ่นเชิดระบอบทักษิณโดยเฉพาะสองประธานคือนายสมศักดิ์และนายนิคม
ต้องทบทวนพฤติกรรมการลุแก่อำนาจของตัวเองอย่างจริงจัง ซึ่งหากยังขืนใช้อำนาจเผด็จการ
พวกมากลากไปก็เชื่อได้เลยว่าเหตุการณ์อัปยศยังจะเกิดขึ้นอีกซ้ำซากและจะรุนแรงกว่าเดิม
อีกทั้งสะท้อนให้เห็นว่ารัฐบาลหุ่นเชิดระบอบทักษิณไม่ได้จริงใจที่จะปฏิรูปการเมืองเพื่อสร้าง
ความปรองดองอย่างที่สร้างภาพแม้แต่น้อยและที่สำคัญการใช้อำนาจเผด็จการรัฐสภาจะบีบ
ให้การเมืองไปเคลื่อนไหวกันนอกสภารุนแรงมากขึ้นเพราะระบบรัฐสภาล้มเหลวพึ่งไม่ได้
ทีมข่าวการเมือง
http://www.naewna.com/creative/65295
ขุดหลุมฝังตัวเอง มันฯ มือเสือ มันมือเสือ ข่าวสดออนไลน์
เข้าทำนองประดาบก็เลือดเดือด
สำหรับการประชุมร่วมรัฐสภาพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญวาระ 2 ในประเด็นที่มา
สมาชิกวุฒิสภาหรือส.ว. ให้มาจากการเลือกตั้ง 200 คน
ความจริงสัญญาณวุ่นวายฉายแววมาตั้งแต่วันสุกดิบ
กรณีวิปฝ่ายค้านมีมติบอยคอตไม่เข้าร่วมประชุมกับวิปรัฐบาลและวิปวุฒิสภาเพื่อกำหนด
กรอบเวลาอภิปรายร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าว
ฉะนั้น เมื่อเริ่มต้นการประชุมเช้าวันอังคารทุกอย่างก็เป็นไปตามที่หลายคนทำใจไว้ล่วงหน้า
ว่าฝ่ายคัดค้านทั้งในส่วนส.ส. ฝ่ายค้านและส.ว.จำนวนหนึ่ง
ต้องเดินหน้าสกัดขัดขวางตั้งแต่วินาทีแรกเพื่อไม่ให้การประชุมเดินหน้าได้
เชื่อว่าใครก็ตามที่ติดตามถ่ายทอดสดการประชุมคงได้เห็นทุกกิริยาอาการ
แสดงออกของบรรดาส.ส.และส.ว. โดยเฉพาะส.ส.พรรคประชาธิปัตย์
และคงตัดสินได้ว่าใครเป็นอย่างไร
พรรคประชาธิปัตย์นั้นอับจนหนทางในระบอบรัฐสภาพอสมควรเพราะ
มีส.ส.แค่ 160 กว่าเสียง
บรรดา"นั่งร้าน"เมื่อครั้งเป็นรัฐบาลพากันตีจากกันไปหมด
ด้วยจำนวนส.ส.เท่านี้จึงนำไปสู่การ"บากหน้า" ไปเจรจาขอความช่วยเหลือ
จากกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เพื่อเคลื่อนไหวนอกสภา
แต่พอแกนนำพันธมิตรฯ ยื่นเงื่อนไขกลับมาให้พรรคประชาธิปัตย์ยื่นลาออก
จากส.ส.ก่อนแล้วค่อยว่ากัน
ก็เลยอึกๆ อักๆ กันทั้งพรรคตั้งแต่หัวหน้ายันระดับล่าง
ย้อนกลับมายังที่ประชุมร่วมรัฐสภาเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ไม่ว่าประเด็นที่มาของส.ว. หรือประเด็นมาตรา 68, 237 และมาตรา 190
ที่จ่อคิวรอพิจารณาอยู่ในระยะเวลาอันใกล้
สุดท้ายเรื่องทั้งหมด ก็ต้องไปจบที่ศาลรัฐธรรม นูญอยู่ดี ตามแผนที่ฝ่ายตรงข้าม
รัฐบาลวางไว้และกระทำมาตลอดเวลาแพ้เสียงในสภา
เมื่อต้องเป็นอย่างนั้น
ก็ไม่รู้ว่าส.ส.ประชาธิปัตย์จะชิงขุดหลุมฝังตัวเองกลางสภาไปทำไม
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNM056QTVPRGN6TkE9PQ==§ionid=
เชื่อใครดี
ต้นเหตุสภาเสื่อมการเมืองเดือด เกิดจากอะไร ? "เผด็จการพวกมากลากไป " กับ "ขุดหลุมฝังตัวเอง" แนวหน้า vs ข่าวสด
เหตุการณ์ความตึงเครียดวุ่นวายในการประชุมรัฐสภาจนต้องมีการพักการประชุมถึง 5 ครั้ง
ในการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญในประเด็นที่มาของสมาชิกวุฒิสภา(สว.) เมื่อวันอังคาร
ที่ผ่านมาถือเป็นความอัปยศและเป็นสัญญาณอันตรายสะท้อนระบบรัฐสภาที่ล้มเหลว
ต้นเหตุแห่งความตึงเครียดวุ่นวายไม่อาจปฏิเสธได้เลยว่า เกิดจากการไร้ซึ่งวุฒิภาวะและไร้
ซึ่งความเป็นกลางอย่างสิ้นเชิงของ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร
ในฐานะประธานรัฐสภาและ นายนิคม ไวยรัชพานิช ซึ่งเหตุการณ์อัปยศจะไม่เกิดขึ้นเลยหาก
ผู้ทำหน้าที่ประธานการประชุมสภาทั้งสองวางตัวเป็นกลางอย่างแท้จริงไม่ลุแก่อำนาจเดิน
เกมเร่งรีบรวบรัดเพื่อผ่านร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยเร็วตามความต้องการของ นายใหญ่จาก
แดนไกล
ความพยายามเร่งรีบเริ่มจากการใช้พวกมากลงมติหักดิบไม่ให้สส.ฝ่ายค้านและสว. 57 คน
ที่ขอแปรญัตติไว้มีโอกาสได้อภิปรายเพื่อที่จะรวบรัดตัดความให้ผ่านร่างแก้ไขโดยเร็วจนสร้าง
ความไม่พอใจแก่บรรดาสส.ฝ่ายค้าน
ไม่เพียงเท่านั้น นายสมศักดิ์ ยังลุแก่อำนาจและเหยียบย่ำศักดิ์ศรี สส.ในฐานะผู้แทนปวงชน
ด้วยการสั่งให้ตำรวจหน่วยปราบจลาจลนับร้อยนายเข้ามาเตรียมพร้อมภายในรัฐสภา ซ้ำมี
รถขนผู้ต้องหาของตำรวจเตรียมพร้อมไว้ด้วยสะท้อนความเป็นรัฐ ตำรวจและเหมือนต้องการ
ข่มขู่คุกคามสส.ฝ่ายค้าน ซึ่งการใช้ตำรวจปราบจลาจลเข้ามาคุมเชิงในรัฐสภาในสถานการณ์
ปกติถือเป็นความอัปยศอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์ของรัฐสภา
และที่เป็นชนวนแตกหักก็คือการที่ นายสมศักดิ์ ลุแก่อำนาจสั่งใช้กำลังตำรวจรัฐสภาล็อกตัว
บรรดาสส.พรรคประชาธิปัตย์ออกจากห้องประชุม จึงเกิดเหตุการณ์ยื้อยุดฉุดกระชากจนวุ่นวาย
ตึงเครียดกลางสภาอย่างที่เห็น
ความจริงฝ่ายรัฐบาลครองเสียงข้างมากในรัฐสภาอยู่แล้ว และถึงลงมติอย่างไรก็ชนะการลงมติ
อยู่วันยังค่ำ เพราะฉะนั้นหากรัฐบาลไม่ลุแก่อำนาจหักดิบก็ควรเปิดโอกาสให้ฝ่ายค้านได้อภิปราย
อย่างเต็มที่โดยไม่สกัดขัดขวางซึ่งเป็นหลักปฏิบัติของรัฐสภาตามระบอบประชาธิปไตยทั่วโลก
นอกจากรวบรัดตัดความแล้ว รัฐบาลยังส่อเจตนาปิดปากฝ่ายค้านและสว.ที่ขอแปรญัตติไม่ให้
อภิปรายตอกย้ำให้เห็นถึงความไม่ชอบมาพากลของร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้
ทั้งนี้รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด การแก้ไขรัฐธรรมนูญจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องเปิดโอกาส
ให้มีการอภิปรายท้วงติงกันอย่างกว้างขวาง ไม่ใช่จ้องแต่จะรวบรัดลงมติโดยอาศัยพวกมากลาก
ไปกลายเป็นสภาฝักถั่ว
ที่สำคัญร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญในประเด็นที่มาของสว.ฉบับนี้เกี่ยวพันถึงอนาคตความอยู่รอด
ของชาติบ้านเมืองเพราะร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้นอกจากส่อเจตนายึดวุฒิสภาอย่างเบ็ด
เสร็จเด็ดขาดแล้ว ยังส่อปูทางไปสู่การยึดครองประเทศกลายเป็นเผด็จการรัฐสภาในคราบ
ประชาธิปไตยอย่างเต็มรูปแบบ
เพราะฉะนั้นรัฐบาลหุ่นเชิดระบอบทักษิณโดยเฉพาะสองประธานคือนายสมศักดิ์และนายนิคม
ต้องทบทวนพฤติกรรมการลุแก่อำนาจของตัวเองอย่างจริงจัง ซึ่งหากยังขืนใช้อำนาจเผด็จการ
พวกมากลากไปก็เชื่อได้เลยว่าเหตุการณ์อัปยศยังจะเกิดขึ้นอีกซ้ำซากและจะรุนแรงกว่าเดิม
อีกทั้งสะท้อนให้เห็นว่ารัฐบาลหุ่นเชิดระบอบทักษิณไม่ได้จริงใจที่จะปฏิรูปการเมืองเพื่อสร้าง
ความปรองดองอย่างที่สร้างภาพแม้แต่น้อยและที่สำคัญการใช้อำนาจเผด็จการรัฐสภาจะบีบ
ให้การเมืองไปเคลื่อนไหวกันนอกสภารุนแรงมากขึ้นเพราะระบบรัฐสภาล้มเหลวพึ่งไม่ได้
ทีมข่าวการเมือง
http://www.naewna.com/creative/65295
ขุดหลุมฝังตัวเอง มันฯ มือเสือ มันมือเสือ ข่าวสดออนไลน์
เข้าทำนองประดาบก็เลือดเดือด
สำหรับการประชุมร่วมรัฐสภาพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญวาระ 2 ในประเด็นที่มา
สมาชิกวุฒิสภาหรือส.ว. ให้มาจากการเลือกตั้ง 200 คน
ความจริงสัญญาณวุ่นวายฉายแววมาตั้งแต่วันสุกดิบ
กรณีวิปฝ่ายค้านมีมติบอยคอตไม่เข้าร่วมประชุมกับวิปรัฐบาลและวิปวุฒิสภาเพื่อกำหนด
กรอบเวลาอภิปรายร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าว
ฉะนั้น เมื่อเริ่มต้นการประชุมเช้าวันอังคารทุกอย่างก็เป็นไปตามที่หลายคนทำใจไว้ล่วงหน้า
ว่าฝ่ายคัดค้านทั้งในส่วนส.ส. ฝ่ายค้านและส.ว.จำนวนหนึ่ง
ต้องเดินหน้าสกัดขัดขวางตั้งแต่วินาทีแรกเพื่อไม่ให้การประชุมเดินหน้าได้
เชื่อว่าใครก็ตามที่ติดตามถ่ายทอดสดการประชุมคงได้เห็นทุกกิริยาอาการ
แสดงออกของบรรดาส.ส.และส.ว. โดยเฉพาะส.ส.พรรคประชาธิปัตย์
และคงตัดสินได้ว่าใครเป็นอย่างไร
พรรคประชาธิปัตย์นั้นอับจนหนทางในระบอบรัฐสภาพอสมควรเพราะ
มีส.ส.แค่ 160 กว่าเสียง
บรรดา"นั่งร้าน"เมื่อครั้งเป็นรัฐบาลพากันตีจากกันไปหมด
ด้วยจำนวนส.ส.เท่านี้จึงนำไปสู่การ"บากหน้า" ไปเจรจาขอความช่วยเหลือ
จากกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เพื่อเคลื่อนไหวนอกสภา
แต่พอแกนนำพันธมิตรฯ ยื่นเงื่อนไขกลับมาให้พรรคประชาธิปัตย์ยื่นลาออก
จากส.ส.ก่อนแล้วค่อยว่ากัน
ก็เลยอึกๆ อักๆ กันทั้งพรรคตั้งแต่หัวหน้ายันระดับล่าง
ย้อนกลับมายังที่ประชุมร่วมรัฐสภาเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ไม่ว่าประเด็นที่มาของส.ว. หรือประเด็นมาตรา 68, 237 และมาตรา 190
ที่จ่อคิวรอพิจารณาอยู่ในระยะเวลาอันใกล้
สุดท้ายเรื่องทั้งหมด ก็ต้องไปจบที่ศาลรัฐธรรม นูญอยู่ดี ตามแผนที่ฝ่ายตรงข้าม
รัฐบาลวางไว้และกระทำมาตลอดเวลาแพ้เสียงในสภา
เมื่อต้องเป็นอย่างนั้น
ก็ไม่รู้ว่าส.ส.ประชาธิปัตย์จะชิงขุดหลุมฝังตัวเองกลางสภาไปทำไม
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNM056QTVPRGN6TkE9PQ==§ionid=
เชื่อใครดี