ธรรมะพื้นฐานเบื้องต้นนำไปสู่นิพพาน
"สติสัมปชัญญะ" "อริยสัจ" "โยนิโสมนสิการ" "วิปัสสนา" "ญาณ" "ปัญญา" ทำไมถึงมีการแยกเป็นส่วนๆ ด้วย องค์ธรรมต่างๆ เหล่านี้ เปรียบเสมือนรถมอเตอร์ไซค์ ๑ คัน จะต้องมีการแยกส่วนประกอบต่างๆ เช่น โซ่ น๊อต ท่อไอเสีย ล้อ น้ำมัน ฯลฯ แล้วประกอบขึ้นมาเป็นรถ
แต่ว่า โยนิโสมนสิการกับวิปัสสนามีความแตกต่างกันไหน?
โยนิโสมนสิการกับวิปัสสนามีความแตกต่างกัน คือ วิปัสสนาเป็นหัว แต่โยนิโสฯ เป็นเครื่องมือ
สมมติว่า วิปัสสนา โยนิโสมนสิการ อริยสัจ สัมปชัญญะ ปัญญา ญาณ เปรียบเสมือน "รถ"
"วิปัสสนา" เปรียบเสมือน "ตัวรถ"
"โยนิโสฯ" เปรียบเสมือน เป็นส่วนหนึ่งของตัวรถ เป็นระบบการทำงานเครื่องของรถ
"อริยสัจ ๔" คือ ก็จะมาดูแต่ละเหตุ แต่ละตอนการทำงานของรถว่ามันดีเพราะอะไร มันเสียเพราะอะไร ตรงนี้จะใช้น๊อตกี่ตัว ตรงนี้จะใช้สปริงใหญ่แค่ไหน จะต้องใช้เครื่องกี่วาล์ว ฯลฯ
"สติสัมปชัญญะ" เปรียบเสมือน มาดูทั้งหมดของรถว่า ตรงไหนดีหรือไม่ดี ตรงไหนถูกหรือไม่ถูก
วิปัสสนา เปรียบเสมือน "ตัวยี่ห้อรถ" ส่วนสติสัมปชัญญะ เปรียบเสมือนตัวนาม เป็นความคิด ว่าตรงไหนดีหรือไม่ดี ส่วนอริยสัจ ๔ เป็นตัวเหตุ เช่น เราใช้น๊อต ๒ หุน ไม่พอ เราต้องใช้น๊อต ๔ หุน เป็นต้น มาตรวจเป็นจุดๆ ไป แต่สติสัมปชัญญะมาดูแลทั้งหมดของรถเลย เป็นนามธรรม เป็นสมอง เป็นสติที่จะรู้ทั้งหมด ตรงไหนมีปัญหา สัมปชัญญะจะต้องไปบวก (+) ค้นหาอริยสัจ ๔ พอรวมทั้งหมดที่กล่าวมา เรียกว่าเป็น "ตัวปัญญา" ปัญญาเป็นตัวความรู้ เช่น ล้อรถ เราก็ต้องมีความรู้ว่าจะใช้ล้อรถใหญ่ขนาดไหน ไซต์อะไร เติมลมขนาดไหนถึงจะพอดี การที่เราจะรู้ว่าขนาดไหน เราก็ต้องมีปัญญา
แต่ปัญญาตัวนี้จะทำอะไรบ้าง?
๑. จะต้องมีสติสัมปชัญญะ ที่จะมาคัดเลือกปัญญาไปใช้ให้เหมาะสม และสัมปชัญญะนี้จะเป็นตัวควบคุม
๒. มาหาอริยสัจ ๔ คือ มาเสาะหาสาเหตุ คือ มาดูว่าตรงไหนดีหรือไม่ดี ตรงไหนเป็นต้นเหตุที่ทำให้รถเสีย เช่น ทำไมเราขับรถแล้วรถไม่นิ่ม เราก็ไปดูลม ดูล้อรถ ดูสปริงรถแล้ว
๓. ทั้งข้อ ๑-๒ นี้ รวมกัน เรียกว่า เป็นกระบวนการโยนิโสมนสิการ คือ การคิดพิจารณาตั้งแต่ต้นเหตุไปถึงผล ผลไปถึงเหตุ ให้ครบวงจรตามภาวะจริงแท้แห่งธรรม ซึ่งเป็นกระบวนการคิดพิจารณา วิเคราะห์ วินิจฉัย สรุปผล
๔. ทั้งข้อ ๑-๒-๓ รวมกัน เรียกว่า วิปัสสนากรรมฐาน คือ แปลว่า เห็นแจ้งพื้นฐานของการกระทำ, การทำให้แจ้งซึ่งฐานแห่งเหตุของการกระทำ เหตุทำให้เป็นผล เห็นแห่งการเกิด เกิดเป็นผล เป็นผลเป็นเหตุ เหตุแห่งเป็นผลต่อเนื่องเป็นไป โดยวิถีแห่งธรรมอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
หัวใจวิปัสสนากรรมฐาน คือ เป็นการค้นหาตามความเป็นจริงอริยสัจ ๔ ด้วยยุทธศาสตรวิธีแห่งโยนิโสมนสิการ จากเริ่มต้นไปหาสุดท้าย และสุดท้ายวนกลับมาเป็นชั้นๆ ขึ้น นี่แหละ วิปัสสนากรรมฐาน
๕. ทั้งข้อ ๑-๒-๓-๔ รวมกัน มีทักษะ ความชำนาญ เชี่ยวชาญ เราทำได้ดี ทำได้เก่ง ก็จะเกิดเป็น "ญาณ" แล้ว ยกตัวอย่าง ช่างที่เก่ง แค่ฟังเสียงรถก็รู้แล้วว่าตรงไหนของรถเสีย รถเป็นอะไร ถ้ารถขับเป๋ไปเป๋มาช่างก็รู้แล้วรถตั้ังศูนย์ไม่ดี พวงมาลัยไม่ดี ช่างก็จะรู้สึกได้
ญาณก็คือ ทุกๆ อย่างทุกๆ ตัวที่กล่าวมานี้ ทำจนเกิดความชำนาญแล้ว
ญาณ คือ ทำจนเกิดทักษะ เชี่ยวชาญ ชำนาญการ
๖. ทั้งข้อ ๑-๒-๓-๔-๕ รวมกันเป็น "ปัญญา" คือ ตัวที่วิเคราะห์พิจารณารู้เหตุและผล ของทุกสรรพสิ่ง
หลักธรรมทั้ง ๖ ข้อนี้ มีความสำคัญมากในการดำเนินชีวิต เป็นธรรมะที่สำคัญ ไม่ใช่ธรรมะที่โดดไปนิพพาน แต่เป็นพื้นฐานที่จะนำไปสู่นิพพาน และเป็นธรรมะที่ยังไม่ไปถึงนิพพาน แต่ทำให้ได้ดีก่อนถึงนิพพาน
เวลานี้คนชอบมั่ว จับธรรมะกระโดด โดดแล้วไปไม่ถึง แต่ถ้าเข้าใจธรรมะ ๖ ข้อนี้ไม่ต้องกระโดดขึ้นไปนิพพาน แต่ถ้าเข้าใจและปฏิบัติได้ก็จะดันไปให้เข้าสู่นิพพานเอง เหมือนกับแม่แรง เราหมุนแม่แรง เดี๋ยวก็จะดันสิ่งของเราขึ้นไป แล้วไม่มีทรุด แต่ถ้าเราไปกระโดดอย่างนี้มันทรุดได้
เพราะว่าแน่นจะตกลงมาได้ยังไง?
ถ้าเลื่อนใหลตกลงมา อย่างเก่งก็หนึ่งชั้น เดี๋ยวก็ขึ้นอีกแล้ว ไม่มีทรุดรูดตกลงมาถึงพื้นหรอก แต่ถ้าทรุดลงมาก็แค่ชั้นเดียว ทำอะไรก็ง่าย เดี๋ยวก็ดันขึ้นไปที่เก่าได้แล้ว แต่ถ้ารูดแล้วก็ขึ้นยาก ฉะนั้น ทำอะไรอย่ารูดก้าวกระโดด ตกลงมาแล้วจะขึ้นยาก
บางคนธาตุไฟเข้าแทรกก็จะบ้าได้
^_^ ..._/\_... ^_^
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกกล่าวมา
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
เอื้อ-เกื้อ-กัน เป็นกัลยาณมิตรทุกขณะจิต
ธรรมะพื้นฐานเบื้องต้นนำไปสู่นิพพาน
"สติสัมปชัญญะ" "อริยสัจ" "โยนิโสมนสิการ" "วิปัสสนา" "ญาณ" "ปัญญา" ทำไมถึงมีการแยกเป็นส่วนๆ ด้วย องค์ธรรมต่างๆ เหล่านี้ เปรียบเสมือนรถมอเตอร์ไซค์ ๑ คัน จะต้องมีการแยกส่วนประกอบต่างๆ เช่น โซ่ น๊อต ท่อไอเสีย ล้อ น้ำมัน ฯลฯ แล้วประกอบขึ้นมาเป็นรถ
แต่ว่า โยนิโสมนสิการกับวิปัสสนามีความแตกต่างกันไหน?
โยนิโสมนสิการกับวิปัสสนามีความแตกต่างกัน คือ วิปัสสนาเป็นหัว แต่โยนิโสฯ เป็นเครื่องมือ
สมมติว่า วิปัสสนา โยนิโสมนสิการ อริยสัจ สัมปชัญญะ ปัญญา ญาณ เปรียบเสมือน "รถ"
"วิปัสสนา" เปรียบเสมือน "ตัวรถ"
"โยนิโสฯ" เปรียบเสมือน เป็นส่วนหนึ่งของตัวรถ เป็นระบบการทำงานเครื่องของรถ
"อริยสัจ ๔" คือ ก็จะมาดูแต่ละเหตุ แต่ละตอนการทำงานของรถว่ามันดีเพราะอะไร มันเสียเพราะอะไร ตรงนี้จะใช้น๊อตกี่ตัว ตรงนี้จะใช้สปริงใหญ่แค่ไหน จะต้องใช้เครื่องกี่วาล์ว ฯลฯ
"สติสัมปชัญญะ" เปรียบเสมือน มาดูทั้งหมดของรถว่า ตรงไหนดีหรือไม่ดี ตรงไหนถูกหรือไม่ถูก
วิปัสสนา เปรียบเสมือน "ตัวยี่ห้อรถ" ส่วนสติสัมปชัญญะ เปรียบเสมือนตัวนาม เป็นความคิด ว่าตรงไหนดีหรือไม่ดี ส่วนอริยสัจ ๔ เป็นตัวเหตุ เช่น เราใช้น๊อต ๒ หุน ไม่พอ เราต้องใช้น๊อต ๔ หุน เป็นต้น มาตรวจเป็นจุดๆ ไป แต่สติสัมปชัญญะมาดูแลทั้งหมดของรถเลย เป็นนามธรรม เป็นสมอง เป็นสติที่จะรู้ทั้งหมด ตรงไหนมีปัญหา สัมปชัญญะจะต้องไปบวก (+) ค้นหาอริยสัจ ๔ พอรวมทั้งหมดที่กล่าวมา เรียกว่าเป็น "ตัวปัญญา" ปัญญาเป็นตัวความรู้ เช่น ล้อรถ เราก็ต้องมีความรู้ว่าจะใช้ล้อรถใหญ่ขนาดไหน ไซต์อะไร เติมลมขนาดไหนถึงจะพอดี การที่เราจะรู้ว่าขนาดไหน เราก็ต้องมีปัญญา
แต่ปัญญาตัวนี้จะทำอะไรบ้าง?
๑. จะต้องมีสติสัมปชัญญะ ที่จะมาคัดเลือกปัญญาไปใช้ให้เหมาะสม และสัมปชัญญะนี้จะเป็นตัวควบคุม
๒. มาหาอริยสัจ ๔ คือ มาเสาะหาสาเหตุ คือ มาดูว่าตรงไหนดีหรือไม่ดี ตรงไหนเป็นต้นเหตุที่ทำให้รถเสีย เช่น ทำไมเราขับรถแล้วรถไม่นิ่ม เราก็ไปดูลม ดูล้อรถ ดูสปริงรถแล้ว
๓. ทั้งข้อ ๑-๒ นี้ รวมกัน เรียกว่า เป็นกระบวนการโยนิโสมนสิการ คือ การคิดพิจารณาตั้งแต่ต้นเหตุไปถึงผล ผลไปถึงเหตุ ให้ครบวงจรตามภาวะจริงแท้แห่งธรรม ซึ่งเป็นกระบวนการคิดพิจารณา วิเคราะห์ วินิจฉัย สรุปผล
๔. ทั้งข้อ ๑-๒-๓ รวมกัน เรียกว่า วิปัสสนากรรมฐาน คือ แปลว่า เห็นแจ้งพื้นฐานของการกระทำ, การทำให้แจ้งซึ่งฐานแห่งเหตุของการกระทำ เหตุทำให้เป็นผล เห็นแห่งการเกิด เกิดเป็นผล เป็นผลเป็นเหตุ เหตุแห่งเป็นผลต่อเนื่องเป็นไป โดยวิถีแห่งธรรมอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
หัวใจวิปัสสนากรรมฐาน คือ เป็นการค้นหาตามความเป็นจริงอริยสัจ ๔ ด้วยยุทธศาสตรวิธีแห่งโยนิโสมนสิการ จากเริ่มต้นไปหาสุดท้าย และสุดท้ายวนกลับมาเป็นชั้นๆ ขึ้น นี่แหละ วิปัสสนากรรมฐาน
๕. ทั้งข้อ ๑-๒-๓-๔ รวมกัน มีทักษะ ความชำนาญ เชี่ยวชาญ เราทำได้ดี ทำได้เก่ง ก็จะเกิดเป็น "ญาณ" แล้ว ยกตัวอย่าง ช่างที่เก่ง แค่ฟังเสียงรถก็รู้แล้วว่าตรงไหนของรถเสีย รถเป็นอะไร ถ้ารถขับเป๋ไปเป๋มาช่างก็รู้แล้วรถตั้ังศูนย์ไม่ดี พวงมาลัยไม่ดี ช่างก็จะรู้สึกได้
ญาณก็คือ ทุกๆ อย่างทุกๆ ตัวที่กล่าวมานี้ ทำจนเกิดความชำนาญแล้ว
ญาณ คือ ทำจนเกิดทักษะ เชี่ยวชาญ ชำนาญการ
๖. ทั้งข้อ ๑-๒-๓-๔-๕ รวมกันเป็น "ปัญญา" คือ ตัวที่วิเคราะห์พิจารณารู้เหตุและผล ของทุกสรรพสิ่ง
หลักธรรมทั้ง ๖ ข้อนี้ มีความสำคัญมากในการดำเนินชีวิต เป็นธรรมะที่สำคัญ ไม่ใช่ธรรมะที่โดดไปนิพพาน แต่เป็นพื้นฐานที่จะนำไปสู่นิพพาน และเป็นธรรมะที่ยังไม่ไปถึงนิพพาน แต่ทำให้ได้ดีก่อนถึงนิพพาน
เวลานี้คนชอบมั่ว จับธรรมะกระโดด โดดแล้วไปไม่ถึง แต่ถ้าเข้าใจธรรมะ ๖ ข้อนี้ไม่ต้องกระโดดขึ้นไปนิพพาน แต่ถ้าเข้าใจและปฏิบัติได้ก็จะดันไปให้เข้าสู่นิพพานเอง เหมือนกับแม่แรง เราหมุนแม่แรง เดี๋ยวก็จะดันสิ่งของเราขึ้นไป แล้วไม่มีทรุด แต่ถ้าเราไปกระโดดอย่างนี้มันทรุดได้
เพราะว่าแน่นจะตกลงมาได้ยังไง?
ถ้าเลื่อนใหลตกลงมา อย่างเก่งก็หนึ่งชั้น เดี๋ยวก็ขึ้นอีกแล้ว ไม่มีทรุดรูดตกลงมาถึงพื้นหรอก แต่ถ้าทรุดลงมาก็แค่ชั้นเดียว ทำอะไรก็ง่าย เดี๋ยวก็ดันขึ้นไปที่เก่าได้แล้ว แต่ถ้ารูดแล้วก็ขึ้นยาก ฉะนั้น ทำอะไรอย่ารูดก้าวกระโดด ตกลงมาแล้วจะขึ้นยาก
บางคนธาตุไฟเข้าแทรกก็จะบ้าได้
^_^ ..._/\_... ^_^
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกกล่าวมา
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
เอื้อ-เกื้อ-กัน เป็นกัลยาณมิตรทุกขณะจิต