เข้าใจ เข้าถึง "บวช" ไม่ตกนรก
การบวช คือ การฝึกเจริญโยนิโสมนสิการ เพื่อเข้าใจปัญหา ในหลักอริยสัจ ๔ เข้าใจเหตุแห่งปัญหา และเราจะต้องแก้ไขใหม่
ผู้ที่มีจิตศรัทธาประสงค์ต้องการบวช เพื่อบรรพชา อุปสมบท ไม่ว่าจะบรรพชาเป็นสามเณร หรืออุปสมบทเป็นพระภิกษุ ควรศึกษาเรียนรู้ให้เข้าใจก่อนบวช เพื่อที่จะบวชแล้วมีความหมาย จะได้ตั้งฐานจิตให้ถูกต้อง เกิดสัมมาทิฏฐิ หรือแม้แต่ผู้บวชแล้วก็ควรศึกษาเรียนรู้ทำความเข้าใจและตอบคำถามในใจของตน ๕ ข้อดังนี้
๑. จุดประสงค์การบวช
๑.๑ บวชเพื่อทดแทนบุญคุณของผู้มีพระคุณ เช่น บุพการี พ่อแม่ ญาติพี่น้อง หรือผู้มีคุณต่อเรา เป็นต้น
๑.๒ บวชเพื่อศึกษาธรรมะ คือ ศึกษาสิ่งที่ควรจะต้องทำ และศึกษาสิ่งที่ควรจะต้องละ หมายถึง สิ่งไหนไม่ดีเราจะต้องละ สิ่งไหนที่ดีเราจะทำเพิ่ม ให้เจริญยิ่งๆ ขึ้นไป
๑.๓ บวชเพื่อแก้กรรม ส่งกุศลให้กับเจ้ากรรมนายเวร คือ เมื่อเราบวชศึกษาธรรมะ ปฏิบัติธรรมแล้ว ก่อเกิดเป็นบุญกุศล จึงส่งกุศลนี้ให้กับเจ้ากรรมนายเวร
๑.๔ บวชเพื่อเข้าใจชีวิต ดำเนินชีวิตให้ถูกต้อง ชีวิตไม่หลงทาง
๑.๕ บวชเพื่อเป็นพื้นฐานเพื่อไปศึกษาต่อ หรือแม้แต่จะไปทำหน้าที่ ทำงาน กิจการธุรกิจ หรือดำเนินชีวิตชีวิตมีครอบครัว การครองเรือน
สรุป การบวช คือ ศึกษาเพื่อให้เกิดปัญญาในการดำเนินชีวิตให้เกิดสันติสุข
๒. บวชแล้วควรปฏิบัติยังไง เพื่อเกิดความถูกต้อง
๒.๑ เราจะต้องมีการตั้งฐานจิต บวชอย่างมีเป้าหมาย และเห็นถึงความสำคัญของการบวช และมีความตั้งใจที่จะบวชเพื่อศึกษาเล่าเรียน ปฏิบัติธรรมะ เห็นคุณค่า เห็นความสำคัญ เห็นโอกา่สของการบวช
๒.๒ เรามีความตั้งใจ เห็นความสำคัญ และเชื่อฟังคำสั่งสอนของพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ พระพี่เลี้ยง และกัลยาณมิตร
๒.๓ ตั้งใจนำคำสั่งสอนไปปฏิบัติ เราจะต้องมีการทดสอบ ตรวจสอบ มีการปฏิบัติ ฝึกฝน ถ้าเราเรียนรู้แล้วเราไม่นำไปปฏิบัติฝึกฝน เราก็ไม่เก่ง ไม่เข้าใจ ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
๒.๔ มีกัลยาณมิตร ตรวจสอบซึ่งกันและกัน มีการตรวจสอบกับครูบาอาจารย์ว่าที่เราเรียนมา เราทำถูกต้องไหม? หรือว่าไม่ถูกต้อง? เป็นอย่างไร? เช่นใด?
๒.๕ ยอมรับความจริง แล้วแก้ไข เปลี่ยนแปลง วิวัฒน์ พัฒนา
๓. ตั้งเป้าหมายในการบวช
๓.๑ สิ่งที่เราต้องการนอกจากสิ่งพื้นฐานทั่วไปแล้ว เราต้องการอะไรเป็นพิเศษหรือไม่? เป็นกรณีพิเศษขึ้นมา เช่น ช่วยเหลือประชาชน ศึกษายา สมุนไพร ต้นไม้ ไม้ดอกไม้ประดับ เป็นต้น
๓.๒ สิ่งที่เราเรียนรู้อะไร เราจะต้องตั้งเป้าหมายว่า เราจะขอเรียนรู้อย่างจริงจัง จนเกิดทักษะ เกิดความรู้ความจริงของสิ่งต่างๆ อย่างแจ่มชัด ซึ้ง ประจักษ์ ในแต่ละหัวข้อธรรมะให้เกิดความรู้ซึ้ง รู้แจ้ง รู้ประจักษ์ในแต่ละหัวข้อธรรมะ
๔. เราจะได้ประโยชน์ อานิสงส์ และปัญญาอะไรจากการบวช
๔.๑ เราได้วิชชา ได้ความเข้าใจ ได้ปัญญา สามารถที่จะเข้าสู่อริยสัจ ๔ คือ รู้ถึงเหตุที่เราได้กระทำ ผลที่เราจะได้รับ
สิ่งการณ์ต่างๆ นี้ เราสามารถจำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ในการครองเรือน ครองธรรม ในกาลข้างหน้า
๔.๒ เห็นถึงประโยชน์ และให้ความสำคัญได้ เราสามารถให้เกิดสติสัมปชัญญะ ทำให้เราเลือกทำสิ่งที่ถูกต้องในธรรมและละวางสิ่งที่ผิดได้ สิ่งที่ควรกระทำรีบทำ และรู้จักพิจารณากรรม ๕ และพิจารณาวิบาก ๗ ได้
๕. เราจะนำสิ่งที่เป็นปัญญา สิ่งที่ได้จากการบวชนำไปใช้ในชีวิตประจำวันอย่างไร
๕.๑ เมื่อเราศึกษาเรียนรู้ได้แล้ว เกิดประโยชน์ เกิดอานิสงส์แล้ว เราจะต้องประมวลสิ่งที่เรียนรู้ แล้วสรุปเป็นหัวข้อเพื่อการจดจำ แล้วนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
๕.๒ เราสามารถนำปัญญาต่างๆ ไปพิจารณาให้เกิดสัมปชัญญะในการตรวจสอบว่าสิ่งที่ทำนั้นผิดหรือถูก สามารถสรุปอริยสัจ ๔ ได้ และนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
บางครั้งเราทำสิ่งต่างๆ ไม่รู้ว่าสิ่งนั้นผิด แต่ถ้าเราได้บวชศึกษาเล่าเรียนมา ถ้าเราพิจารณาสิ่งต่างๆ เราก็จะเกิดสติสัมปชัญญะ ทำให้เกิดมีปัญญาขึ้นมาได้ ในการที่จะเลือกสิ่งที่ผิดหรือถูก
^_^ ..._/\_... ^_^
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกกล่าวมา
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
เอื้อ-เกื้อ-กัน เป็นกัลยาณมิตรทุกขณะจิต
เข้าใจ เข้าถึง "บวช" ไม่ตกนรก
การบวช คือ การฝึกเจริญโยนิโสมนสิการ เพื่อเข้าใจปัญหา ในหลักอริยสัจ ๔ เข้าใจเหตุแห่งปัญหา และเราจะต้องแก้ไขใหม่
ผู้ที่มีจิตศรัทธาประสงค์ต้องการบวช เพื่อบรรพชา อุปสมบท ไม่ว่าจะบรรพชาเป็นสามเณร หรืออุปสมบทเป็นพระภิกษุ ควรศึกษาเรียนรู้ให้เข้าใจก่อนบวช เพื่อที่จะบวชแล้วมีความหมาย จะได้ตั้งฐานจิตให้ถูกต้อง เกิดสัมมาทิฏฐิ หรือแม้แต่ผู้บวชแล้วก็ควรศึกษาเรียนรู้ทำความเข้าใจและตอบคำถามในใจของตน ๕ ข้อดังนี้
๑. จุดประสงค์การบวช
๑.๑ บวชเพื่อทดแทนบุญคุณของผู้มีพระคุณ เช่น บุพการี พ่อแม่ ญาติพี่น้อง หรือผู้มีคุณต่อเรา เป็นต้น
๑.๒ บวชเพื่อศึกษาธรรมะ คือ ศึกษาสิ่งที่ควรจะต้องทำ และศึกษาสิ่งที่ควรจะต้องละ หมายถึง สิ่งไหนไม่ดีเราจะต้องละ สิ่งไหนที่ดีเราจะทำเพิ่ม ให้เจริญยิ่งๆ ขึ้นไป
๑.๓ บวชเพื่อแก้กรรม ส่งกุศลให้กับเจ้ากรรมนายเวร คือ เมื่อเราบวชศึกษาธรรมะ ปฏิบัติธรรมแล้ว ก่อเกิดเป็นบุญกุศล จึงส่งกุศลนี้ให้กับเจ้ากรรมนายเวร
๑.๔ บวชเพื่อเข้าใจชีวิต ดำเนินชีวิตให้ถูกต้อง ชีวิตไม่หลงทาง
๑.๕ บวชเพื่อเป็นพื้นฐานเพื่อไปศึกษาต่อ หรือแม้แต่จะไปทำหน้าที่ ทำงาน กิจการธุรกิจ หรือดำเนินชีวิตชีวิตมีครอบครัว การครองเรือน
สรุป การบวช คือ ศึกษาเพื่อให้เกิดปัญญาในการดำเนินชีวิตให้เกิดสันติสุข
๒. บวชแล้วควรปฏิบัติยังไง เพื่อเกิดความถูกต้อง
๒.๑ เราจะต้องมีการตั้งฐานจิต บวชอย่างมีเป้าหมาย และเห็นถึงความสำคัญของการบวช และมีความตั้งใจที่จะบวชเพื่อศึกษาเล่าเรียน ปฏิบัติธรรมะ เห็นคุณค่า เห็นความสำคัญ เห็นโอกา่สของการบวช
๒.๒ เรามีความตั้งใจ เห็นความสำคัญ และเชื่อฟังคำสั่งสอนของพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ พระพี่เลี้ยง และกัลยาณมิตร
๒.๓ ตั้งใจนำคำสั่งสอนไปปฏิบัติ เราจะต้องมีการทดสอบ ตรวจสอบ มีการปฏิบัติ ฝึกฝน ถ้าเราเรียนรู้แล้วเราไม่นำไปปฏิบัติฝึกฝน เราก็ไม่เก่ง ไม่เข้าใจ ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
๒.๔ มีกัลยาณมิตร ตรวจสอบซึ่งกันและกัน มีการตรวจสอบกับครูบาอาจารย์ว่าที่เราเรียนมา เราทำถูกต้องไหม? หรือว่าไม่ถูกต้อง? เป็นอย่างไร? เช่นใด?
๒.๕ ยอมรับความจริง แล้วแก้ไข เปลี่ยนแปลง วิวัฒน์ พัฒนา
๓. ตั้งเป้าหมายในการบวช
๓.๑ สิ่งที่เราต้องการนอกจากสิ่งพื้นฐานทั่วไปแล้ว เราต้องการอะไรเป็นพิเศษหรือไม่? เป็นกรณีพิเศษขึ้นมา เช่น ช่วยเหลือประชาชน ศึกษายา สมุนไพร ต้นไม้ ไม้ดอกไม้ประดับ เป็นต้น
๓.๒ สิ่งที่เราเรียนรู้อะไร เราจะต้องตั้งเป้าหมายว่า เราจะขอเรียนรู้อย่างจริงจัง จนเกิดทักษะ เกิดความรู้ความจริงของสิ่งต่างๆ อย่างแจ่มชัด ซึ้ง ประจักษ์ ในแต่ละหัวข้อธรรมะให้เกิดความรู้ซึ้ง รู้แจ้ง รู้ประจักษ์ในแต่ละหัวข้อธรรมะ
๔. เราจะได้ประโยชน์ อานิสงส์ และปัญญาอะไรจากการบวช
๔.๑ เราได้วิชชา ได้ความเข้าใจ ได้ปัญญา สามารถที่จะเข้าสู่อริยสัจ ๔ คือ รู้ถึงเหตุที่เราได้กระทำ ผลที่เราจะได้รับ
สิ่งการณ์ต่างๆ นี้ เราสามารถจำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ในการครองเรือน ครองธรรม ในกาลข้างหน้า
๔.๒ เห็นถึงประโยชน์ และให้ความสำคัญได้ เราสามารถให้เกิดสติสัมปชัญญะ ทำให้เราเลือกทำสิ่งที่ถูกต้องในธรรมและละวางสิ่งที่ผิดได้ สิ่งที่ควรกระทำรีบทำ และรู้จักพิจารณากรรม ๕ และพิจารณาวิบาก ๗ ได้
๕. เราจะนำสิ่งที่เป็นปัญญา สิ่งที่ได้จากการบวชนำไปใช้ในชีวิตประจำวันอย่างไร
๕.๑ เมื่อเราศึกษาเรียนรู้ได้แล้ว เกิดประโยชน์ เกิดอานิสงส์แล้ว เราจะต้องประมวลสิ่งที่เรียนรู้ แล้วสรุปเป็นหัวข้อเพื่อการจดจำ แล้วนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
๕.๒ เราสามารถนำปัญญาต่างๆ ไปพิจารณาให้เกิดสัมปชัญญะในการตรวจสอบว่าสิ่งที่ทำนั้นผิดหรือถูก สามารถสรุปอริยสัจ ๔ ได้ และนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
บางครั้งเราทำสิ่งต่างๆ ไม่รู้ว่าสิ่งนั้นผิด แต่ถ้าเราได้บวชศึกษาเล่าเรียนมา ถ้าเราพิจารณาสิ่งต่างๆ เราก็จะเกิดสติสัมปชัญญะ ทำให้เกิดมีปัญญาขึ้นมาได้ ในการที่จะเลือกสิ่งที่ผิดหรือถูก
^_^ ..._/\_... ^_^
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกกล่าวมา
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
เอื้อ-เกื้อ-กัน เป็นกัลยาณมิตรทุกขณะจิต