"รอยพระพุทธบาท" นิมิตหมาย เจริญรอยตามพระพุทธเจ้า
การไหว้รอยพระพุทธบาทนั้น เราจะต้องตั้งฐานจิตว่า
พระพุทธเจ้าได้มานิมิตหมายไว้ มีสร้างรหัสไว้
ท่านอาจจะ
ไม่ได้เหาะมาทางรูป แต่ท่านเหาะมาทางจิตก็ได้ แล้วก็สร้างนิมิตหมายไว้ แล้วคนที่นั่นได้เห็น ได้เข้าใจ เป็นนิมิตหมายขึ้นมา จึงได้สร้างรอยพระพุทธบาทขึ้นมา ไม่ใช่ว่าเท้าพระพุทธเจ้าจะใหญ่ขนาดนั้น หรือจะมีรอยพระบาทข้างในบอกกล่าวว่ามีมงคลกี่อย่าง?ลวดลายอย่างไร? อย่างนี้ไม่ใช่ คนสร้างขึ้นมาเอง ก็เหมือนกับพระเจ้าสร้างคน คนสร้างพระเจ้า
พระพุทธเจ้าสอนให้เรารู้ แล้วเราก็ตบแต่งรอยพระบาทของพระพุทธเจ้าให้เป็นรูปธรรม
บางอย่างต้องเข้าใจอย่างนี้ จะได้ไม่เถียงกัน ถ้าเถียงกันก็จะไม่รู้จักจบจักสิ้นซักที อย่างเช่น เถียงกันว่า รอยพระบาทใหญ่ขนาดนั้น แล้วเท้าของพระพุทธเจ้าจะใหญ่ขนาดไหน? เขาก็จะบอกว่าซึ่งเป็นไปไม่ได้ อย่างนี้แหละก็จะเถียงกันไม่จบ พระพุทธเจ้าก็มีขาธรรมดาอย่างเรานี่แหละ
แต่...!! พระพุทธเจ้าไปนิมิตหมายขึ้นมาว่าสร้างที่นี่แล้วเป็นมงคล คือสิ่งใดบ้าง? มีอะไรบ้าง? เป็นปริศนาธรรมให้ผู้คนได้ศึกษาเรียนรู้ เป็นสรณะทางจิตวิญญาณของคนทั้งหลาย เขาเรียกว่า
"นิมิตหมาย"
เพราะว่า สมัยหนึ่งไม่มีพระพุทธรูป ก็ต้องอาศัยรอยพระบาท หรือธรรมจักรเป็นสัญลักษณ์แทน คนสมัยนั้นก็สร้างขึ้นมาเป็นนิมิตหมายเพื่อเป็นจุดศูนย์รวม เพื่อมาให้ระลึกถึง ธรรมจักรเป็นสัญลักษณ์ของท่าน ฝ่าพระบาทก็เป็นของพระองค์ท่าน
สมัยนั้นไม่มีรูป เลยต้องอาศัยรอยพระพุทธบาท
ตามประวัติพระพุทธเจ้าจะมา ณ สถานที่แห่งนั้นจริงหรือไม่จริงเราไม่พูดถึงตรงนั้น แต่เรานิมิตหมายว่า ท่านต้องการให้สิ่งนี้เพื่ออะไร ปัญญาตัวไหน อะไรอย่างนี้จะมีประโยชน์ ถ้าไปคิดอย่างนั้นไม่มีประโยชน์ เราต้องไปค้นหาถึงปริศนาธรรมว่าท่านสอนอะไรไว้ถึงจะมีประโยชน์
นี่แหละ การไหว้อย่างเข้าถึง กับไหว้อย่างสัมผัส ไม่เหมือนกัน
๑. ไหว้อย่างสัมผัส ก็คือ
รู้ถึงว่าสิ่งเหล่านี้เป็นรอยพระบาทเท่านั้นเอง
๒. ไหว้อย่างเข้าถึงรอยพระพุทธบาท หมายความว่า ให้ทุกคนมาเดิน
เจริญรอยตามพระพุทธเจ้า เวลาเราไปไหว้พระบาทฯ ต้องเจริญธรรมข้อนี้ คำกล่าวอธิษฐาน คือ
"ข้าพเจ้ายินดีที่ได้มาพบรอยพระพุทธบาท เพราะว่าพระองค์ท่านปฏิบัติดีปฏิบัติชอบมาโดยตลอด ฉะนั้น ข้าพเจ้าขอเจริญรอยตามพระพุทธองค์ ในการจะปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ"
ถ้าเราอธิษฐานอย่างนี้ พูดอย่างนี้จึงจะถูกต้อง
หลักใหญ่ๆ ในการเจริญรอยตามพระพุทธองค์นั้น มีดังนี้
๑. ยึดถือพระพุทธเจ้าเป็นแบบอย่าง เช่น
"อริยสัจ ๔" ทุกสิ่งทุกอย่างพระพุทธเจ้าจะใช้หลักอริยสัจ ๔ ในการพิจารณา ฉะนั้น จึงเป็นตัวอย่างให้เราว่า เวลาเราจะทำอะไรเราจะใช้หลักอริยสัจ ๔ มาพิจารณา
๒. เจริญรอยตามด้วยการ
สร้างกุศล ในการช่วยเหลือตนเองและผู้อื่น
ในการยังประโยชน์ตนและผู้อื่น
๓. เจริญในการ
รักษาข้อที่ ๑ กับข้อที่ ๒ เพราะว่าพระพุทธเจ้ารักษาสิ่งดีๆ ที่พระองค์ทรงได้ทำไว้มาไม่ต่ำกว่า ๕๐๐ ชาติ และยังเจริญความดีงามนี้อย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ
นี่คือ ๓ ข้อใหญ่ๆ ในการเจริญรอยตามพระพุทธบาท พระพุทธบาทก็คือ
"ขา" ในการเดินก้าวย่างไปข้างหน้า เดินตามพระพุทธเจ้า
บางรอยเท้าก็จะมี
สัญลักษณ์มงคลต่างๆ อยู่ในรอยเท้าของพระพุทธเจ้านั้น เป็นนิมิตหมายแห่งความเป็นมงคล ๑๐๘ เป็นร้อยเท้าแห่งอริยะ ผู้มีมงคลร้อยแปดถือว่าเป็นผู้มีบารมี
^_^ ..._/_... ^_^
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกกล่าวมา
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
เอื้อ-เกื้อ-กัน เป็นกัลยาณมิตรทุกขณะจิต
<img class="img-in-post in-tiny-editor">
"รอยพระพุทธบาท" นิมิตหมาย เจริญรอยตามพระพุทธเจ้า
การไหว้รอยพระพุทธบาทนั้น เราจะต้องตั้งฐานจิตว่า พระพุทธเจ้าได้มานิมิตหมายไว้ มีสร้างรหัสไว้
ท่านอาจจะไม่ได้เหาะมาทางรูป แต่ท่านเหาะมาทางจิตก็ได้ แล้วก็สร้างนิมิตหมายไว้ แล้วคนที่นั่นได้เห็น ได้เข้าใจ เป็นนิมิตหมายขึ้นมา จึงได้สร้างรอยพระพุทธบาทขึ้นมา ไม่ใช่ว่าเท้าพระพุทธเจ้าจะใหญ่ขนาดนั้น หรือจะมีรอยพระบาทข้างในบอกกล่าวว่ามีมงคลกี่อย่าง?ลวดลายอย่างไร? อย่างนี้ไม่ใช่ คนสร้างขึ้นมาเอง ก็เหมือนกับพระเจ้าสร้างคน คนสร้างพระเจ้า
พระพุทธเจ้าสอนให้เรารู้ แล้วเราก็ตบแต่งรอยพระบาทของพระพุทธเจ้าให้เป็นรูปธรรม
บางอย่างต้องเข้าใจอย่างนี้ จะได้ไม่เถียงกัน ถ้าเถียงกันก็จะไม่รู้จักจบจักสิ้นซักที อย่างเช่น เถียงกันว่า รอยพระบาทใหญ่ขนาดนั้น แล้วเท้าของพระพุทธเจ้าจะใหญ่ขนาดไหน? เขาก็จะบอกว่าซึ่งเป็นไปไม่ได้ อย่างนี้แหละก็จะเถียงกันไม่จบ พระพุทธเจ้าก็มีขาธรรมดาอย่างเรานี่แหละ
แต่...!! พระพุทธเจ้าไปนิมิตหมายขึ้นมาว่าสร้างที่นี่แล้วเป็นมงคล คือสิ่งใดบ้าง? มีอะไรบ้าง? เป็นปริศนาธรรมให้ผู้คนได้ศึกษาเรียนรู้ เป็นสรณะทางจิตวิญญาณของคนทั้งหลาย เขาเรียกว่า "นิมิตหมาย"
เพราะว่า สมัยหนึ่งไม่มีพระพุทธรูป ก็ต้องอาศัยรอยพระบาท หรือธรรมจักรเป็นสัญลักษณ์แทน คนสมัยนั้นก็สร้างขึ้นมาเป็นนิมิตหมายเพื่อเป็นจุดศูนย์รวม เพื่อมาให้ระลึกถึง ธรรมจักรเป็นสัญลักษณ์ของท่าน ฝ่าพระบาทก็เป็นของพระองค์ท่าน สมัยนั้นไม่มีรูป เลยต้องอาศัยรอยพระพุทธบาท
ตามประวัติพระพุทธเจ้าจะมา ณ สถานที่แห่งนั้นจริงหรือไม่จริงเราไม่พูดถึงตรงนั้น แต่เรานิมิตหมายว่า ท่านต้องการให้สิ่งนี้เพื่ออะไร ปัญญาตัวไหน อะไรอย่างนี้จะมีประโยชน์ ถ้าไปคิดอย่างนั้นไม่มีประโยชน์ เราต้องไปค้นหาถึงปริศนาธรรมว่าท่านสอนอะไรไว้ถึงจะมีประโยชน์
นี่แหละ การไหว้อย่างเข้าถึง กับไหว้อย่างสัมผัส ไม่เหมือนกัน
๑. ไหว้อย่างสัมผัส ก็คือ รู้ถึงว่าสิ่งเหล่านี้เป็นรอยพระบาทเท่านั้นเอง
๒. ไหว้อย่างเข้าถึงรอยพระพุทธบาท หมายความว่า ให้ทุกคนมาเดิน เจริญรอยตามพระพุทธเจ้า เวลาเราไปไหว้พระบาทฯ ต้องเจริญธรรมข้อนี้ คำกล่าวอธิษฐาน คือ
"ข้าพเจ้ายินดีที่ได้มาพบรอยพระพุทธบาท เพราะว่าพระองค์ท่านปฏิบัติดีปฏิบัติชอบมาโดยตลอด ฉะนั้น ข้าพเจ้าขอเจริญรอยตามพระพุทธองค์ ในการจะปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ"
ถ้าเราอธิษฐานอย่างนี้ พูดอย่างนี้จึงจะถูกต้อง
หลักใหญ่ๆ ในการเจริญรอยตามพระพุทธองค์นั้น มีดังนี้
๑. ยึดถือพระพุทธเจ้าเป็นแบบอย่าง เช่น "อริยสัจ ๔" ทุกสิ่งทุกอย่างพระพุทธเจ้าจะใช้หลักอริยสัจ ๔ ในการพิจารณา ฉะนั้น จึงเป็นตัวอย่างให้เราว่า เวลาเราจะทำอะไรเราจะใช้หลักอริยสัจ ๔ มาพิจารณา
๒. เจริญรอยตามด้วยการสร้างกุศล ในการช่วยเหลือตนเองและผู้อื่น ในการยังประโยชน์ตนและผู้อื่น
๓. เจริญในการรักษาข้อที่ ๑ กับข้อที่ ๒ เพราะว่าพระพุทธเจ้ารักษาสิ่งดีๆ ที่พระองค์ทรงได้ทำไว้มาไม่ต่ำกว่า ๕๐๐ ชาติ และยังเจริญความดีงามนี้อย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ
นี่คือ ๓ ข้อใหญ่ๆ ในการเจริญรอยตามพระพุทธบาท พระพุทธบาทก็คือ "ขา" ในการเดินก้าวย่างไปข้างหน้า เดินตามพระพุทธเจ้า
บางรอยเท้าก็จะมีสัญลักษณ์มงคลต่างๆ อยู่ในรอยเท้าของพระพุทธเจ้านั้น เป็นนิมิตหมายแห่งความเป็นมงคล ๑๐๘ เป็นร้อยเท้าแห่งอริยะ ผู้มีมงคลร้อยแปดถือว่าเป็นผู้มีบารมี
^_^ ..._/_... ^_^
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกกล่าวมา
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
เอื้อ-เกื้อ-กัน เป็นกัลยาณมิตรทุกขณะจิต
<img class="img-in-post in-tiny-editor">