1. วัดจุฬามณี ขอพร “ท้าวเวสสุวรรณ” วัดจุฬามณี จ.สมุทรสงคราม ตำนานความศักดิ์สิทธิ์แห่งเมืองแม่กลอง
วัดจุฬามณี เดิมมีชื่อว่า “วัดแม่เจ้าทิพย์” เป็นวัดเก่าแก่ สร้างขึ้นตั้งแต่สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง และได้โทรมลงตามกาลเวลาจนเกือบเป็นวัดร้าง มีพระจำพรรษาเพียงไม่กี่รูป จนกระทั้งปี พ.ศ. 2459 ได้อาราธนาพระอาจารย์แช่ม โสฬส ศิษย์ของหลวงปู่คง วัดบางกระพ้อม มาอยู่ที่วัดจุฬามณี จนวัดกลับมามีความเจริญรุ่งเรือง ต่อมาในปี พ.ศ. 2489 หลวงพ่อแช่มได้มรณภาพลง และพระเนื่อง โกวิโท หรือ พระครูโกวิทสมุทรคุณ หรือที่หลายคนรู้จักท่านในชื่อ “หลวงพ่อเนื่อง” ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสต่อจากหลวงพ่อแช่ม
หลวงพ่อเนื่อง เป็นอีกหนึ่งพระเกจิชื่อดังของเมืองแม่กลอง ท่านเป็นศิษย์เอกของพระเกจิหลายรูป ไม่ว่าจะเป็นหลวงปู่คง วัดบางกะพ้อม เจ้าของเหรียญ 1 ใน 5 ชุดเบญจภาคี เหรียญยอดนิยมของวงการพระเครื่องของไทย รวมถึงหลวงพ่อแช่ม และหลวงปู่ใจ วัดเสด็จอีกด้วย ทำให้ท่านเป็นพระที่เชี่ยวชาญ ทั้งในด้านวิปัสสนาและพุทธาคม
หลวงพ่อเนื่อง ท่านเป็นพระที่มีพุทธาคมสูง และมีเมตตาต่อญาติโยมมาก จนเคยต้องอธิกรณ์ โดนตั้งกรรมการสอบสวนให้ถอดสมณศักดิ์ จากการที่ท่านมีชื่อเสียงในเรื่องการใบ้หวย ทำให้มีชาวบ้านเข้ามาขอเลขเด็ดกันเป็นจำนวนมาก
เล่ากันว่า ถึงขนาดมีพระเถระรูปหนึ่ง ได้กล่าวกับท่านว่า “ถ้าหลวงพ่อเนื่องแน่จริง เห็นเลขได้จริง ให้พิสูจน์โดยการบอกเลขมาสักสองตัวได้ไหม”
หลวงพ่อเนื่องท่านก็ตอบกลับไปว่า “ถ้าพระเถระรูปนั้น ให้สัจจะกับท่านว่า จะไม่เอาไปแทงหวย ท่านก็จะให้เลขเพื่อพิสูจน์ ว่าท่านเห็นเลขจริงหรือไม่”
เมื่อพระเถระรูปนั้นให้สัจจะแล้ว หลวงพ่อเนื่องก็ได้เขียนตัวเลขรางวัลที่ 1 จำนวน 6 ตัว ใส่กระดาษแล้วขอให้พระเถระเก็บไว้ในตู้เซฟ
เมื่อถึงเวลาประกาศรางวัล ก็ได้เปิดกระดาษนั้นออกมาดู ปรากฏว่า “ตัวเลขที่หลวงพ่อเนื่องเขียนไว้ ตรงกับรางวัลที่ 1 ไม่ผิดแม้แต่ตัวเดียว” เว้น2วิ
หลวงพ่อเนื่องมรณะอย่างสงบ สิริอายุ 78 ปี พรรษา 56 และสังขาลของหลวงพ่อเนื่องก็ไม่เน่าเปื่อยอีกด้วย ทางวัดเปิดให้เราเข้าไปไหว้ท่านได้ ที่ กุฏิหลวงพ่อเนื่อง ทุกวันค่ะ
สิ่งศักด์สิทธิ์ภายในวัดจุฬามณีแห่งนี้ ยังมีพระประธานประจำโบสถ์ พระพุทธรูปปางมารวิชัย ที่มีพุทธลักษณะงดงามมาก และองค์ท้าวเวสสุวรรณ ที่หลวงพ่ออิฏฐ์ เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันของวัดจุฬามณี ได้นิมิตว่า ท้าวเวสสุวรรณพาท่านไปเที่ยวชมยมโลก และหลวงพ่ออิฏฐ์ได้บอกกับท้าวเวสสุวรรณว่า จะตั้งรูปปั้นของท้าวเวสสุวรรณไว้ในวัด ท้าวสุวรรณจึงบอกว่า หากจะปั้นท่าน ต้องไปตามช่างปั้นคนหนึ่งที่อยู่ในจังหวัดเพชรบุรีมาปั้นให้ ต้องให้ช่างคนนี้เป็นคนปั้นเท่านั้น
หลังจากนั้น หลวงพ่ออิฏฐ์จึงได้ตามหาว่า ช่างปั้นที่ท้าวเวสสุวรรณบอกนั้นเป็นใคร จนได้ทราบว่า เป็นช่างที่วัดมหาธาตุ จังหวัดเพชรบุรี หลวงพ่ออิฏฐ์จึงได้ไปที่วัดมหาธาตุ ซึ่งต้องไปถึง 3 ครั้ง ถึงจะได้เจอ ช่างทองร่วง เอมโอษฐ และได้ให้ช่างมาปั้นรูปปั้นท้าวเวสสุวรรณองค์แรกที่วัดจุฬามณี
นับจากนั้นมา “ท้าวเวสสุวรรณ” แห่ง “วัดจุฬามณี” ก็ได้รับแรงศรัทธาเป็นอย่างมาก มีผู้คนที่ศรัทธาเดินทางมากราบไหว้ขอพร ทั้งกลางวันและกลางคืน
ท้าวเวสสุวรรณ แห่งวัดจุฬามณีนี้ มีทั้งหมด 4 ปาง
1.ท้าวเวสสุวรรณปางพรหมาสูติเทพ องค์สีขาว เป็นองค์แรกที่วัดจุฬามณีสร้างขึ้น พระพักตร์แบบพรหม พระหัตถ์ถือดอกบัว และแว่นสุริยกานต์ องค์ปูนปั้นสีขาว
2.ท้าวเวสสุวรรณปางเทพบุตร มีพระพักตร์เป็นเทวดา ยืนถือกระบองแบบเหลี่ยม
3.ท้าวเวสสุวรรณปางจตุมหาราช พระพักตร์ยักษ์ ยืนถือกระบองแบบเกลียว
4.ท้าวเวสสุวรรณปางมนุษย์ มีพระพักตร์เหมือนเทวดา ไม่มีลายพระโอษฐ์ ยืนถือกระบองแบบเกลียว
------------------------------------------------------------------------------------------
------------------------------------------------------------------------------------------
2. วัดไชโยวรวิหาร จังหวัดอ่างทอง วัดเก่าแก่แต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา วัดนี้มีความเกี่ยวข้องกับสมเด็จพระพุฒจารย์ โต พรหมรังสี เพราะเชื่อกันว่า ครอบครัวของท่านเคยมีภูมิลำเนาอยู่ที่ อ.ไชโย นี้
สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี ได้มาสร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่ ที่ภายในบรรจุพระเกษไชโยไว้ด้านในถึง 2 ครั้ง และเป็นที่มาของคำว่า กรุแตก ค่ะ
ในครั้งแรกนั้น สมเด็จโต ได้สร้างพระพุทธรูปนั่ง ด้วยวิธีก่ออิฐสอดินที่มีขนาดใหญ่โตมาก แต่ไม่นานก็พังทลายลงมา ทำให้พระเกษไชโย ซึ่งบรรจุไว้ภายในองค์พระได้กระจัดกระจายออกมา จึงเรียกว่ากรุแตก แม้ว่าจะได้มีการนำพระเกษไชโยบางส่วน กลับเข้าไปบรรจุในองค์พระตอนบูรณะใหม่อีกครั้ง แต่บางส่วน ก็มีผู้นำไปถือครองไว้เป็นการส่วนตัว
หลังจากนั้นก็ ได้สร้างพระพุทธรูปขึ้นใหม่เป็นครั้งที่ 2 ซึ่งครั้งนี้ ก็ยังคงก่อสร้างด้วยการก่ออิฐสอดินถือปูนขาว และไม่ปิดทอง ประดิษฐานอยู่กลางแจ้ง แต่ได้ลดขนาดองค์พระลงจากครั้งแรก เมื่อสร้างเสร็จเรียบร้อย พระพุทธรูปปางสมาธิองค์นี้ก็มีความสง่างาม ใหญ่โต มองเห็นได้จากที่ไกล
ต่อมาในรัชกาลที่ 5 พ.ศ. 2430 ทรงมีพระบรมราชโองการ ให้ปฏิสังขรณ์วัดไชโยขึ้นทั้งหมด ซึ่งการก่อสร้าง ก็ได้ทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนขึ้น ทำให้พระพุทธรูปที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี สร้างไว้พังลงมา นับเป็นกรุแตกครั้งที่ 2 และมีพระเกษไชโยกระจัดกระจายออกมาอีกเช่นกัน
รัชกาลที่ 5 จึงให้สร้างพระพุทธรูปขึ้นใหม่ โดยลดขนาดให้เล็กลงกว่าเดิมอีก และให้มีเสาเข็มด้วย โดยให้สร้างเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิเช่นเดิม แต่ครองจีวร และพาดสังฆาฏิกว้างแบบใหม่ ขนาดหน้าตัก 8 วา 6 นิ้ว สูงสุดยอดพระรัศมี 11 วา 1 ศอก 7 นิ้ว สร้างเสร็จใน พ.ศ. 2438 จึงได้พระราชทานนามว่า “พระมหาพุทธพิมพ์”
เป็นพระศักดิ์สิทธิ์ที่ผู้คนนิยมไปกราบไหว้ ขอพร เกี่ยวกับ ความเจริญรุ่งเรือง ลาภยศ สรรเสริญ และมักนิยมห่มผ้า “พระมหาพุทธพิมพ์” จำลอง เพื่อความเป็นสิริมงคลอีกด้วย
นอกจากนี้ ยังมีวิหารเจ้าพระคุณสมเด็จโต พรหมรังสี ที่ภายในประดิษฐานรูปหล่อสมเด็จพระพุฒาจารย์โตขนาดใหญ่ หันหน้าออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยา หน้าตักกว้าง 5 ม. สูง 7 ม. ใช้ทองเหลืองในการหล่อถึง 12 ตัน ใช้เวลาสร้าง 3 ปีจึงแล้วเสร็จ คือตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530-2533
------------------------------------------------------------------------------------------
------------------------------------------------------------------------------------------
3. วัดป่าโมกวรวิหาร จ. อ่างทอง วัดเก่าแก่ตั้งแต่สมัยอยุธยา เมื่อไปที่วัดป่าโมก จะต้องไปไหว้พระพุทธไสยาสน์ ก่ออิฐถือปูนปิดทอง ที่มีพุทธลักษณะงดงามมาก เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ที่มีอายุนับร้อยปี สำหรับพระพุทธไสยาสน์องค์นี้ มีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่า ท่านลอยน้ำมา และมาหยุดจมอยู่หน้าวัด จึงได้มีการทำพิธีเพื่ออัญเชิญท่าน ขึ้นมาประดิษฐานไว้ที่ริมฝั่งแม่น้ำ ต่อมากระแสน้ำได้กัดเซาะเข้ามาจนใกล้องค์พระ สมเด็จพระศรีสรรเพชญ์ที่ 3 จึงให้เลื่อนองค์ท่านให้ออกห่างจากแม่น้ำ ด้วยวิธีการชักชะลอ ซึ่งใช้เวลาถึง 5 เดือน โดยได้อัญเชิญไปประดิษฐานไว้ที่วิหารใหม่ พร้อมกับพระราชทานชื่อใหม่ว่า วัดป่าโมก เพราะบริเวณนั้นมีต้นโมกจำนวนมาก
นอกจากนี้ยังมีเรื่องเล่าอีกด้วยว่า พระพุทธไสยาสน์องค์นี้ เป็นพระพุทธรูปพูดได้ มีเรื่องเล่าว่า พระครูปาโมกข์มุนี เจ้าอาวาสวัดป่าโมกในสมัยนั้น ได้บันทึกถึงช่วงที่มีอหิวาตกโรคระบาด ตอนนั้มีพระป่วยหนัก ไปรักษาหมอที่ไหนก็ไม่หาย สีกาที่เป็นหลานสาว จึงไปอธิษฐานต่อหน้าพระพุทธไสยาสน์ ปรากฏว่ามีเสียงออกมาจากพระพุทธรูป บอกตำรายาให้ได้รู้ เมื่อนำไปทำเป็นยารักษา ก็หายจากอาพาธได้ จึงนำเรื่องนี้ไปบอกให้พระครูปาโมกข์มุนีทราบ ท่านก็ได้ทำการพิสูจน์ โดยหลังจากเลิกประชุมสงฆ์ราวหนึ่งทุ่ม พระครูปาโมกข์ฯ ได้ให้พระสงฆ์ ชาวบ้าน และศิษย์วัดประมาณ 30 คน ช่วยกันจุดไฟให้สว่าง แล้วตรวจค้นจนทั่ว ว่ามีใครแอบซ่อนอยู่ในวิหารบ้าง เมื่อไม่พบใคร ท่านก็เลยไปนั่งหน้าพระพักตร์ของพระพุทธไสยาสน์ พร้อมกับอุบาสิกาคนนั้น และได้พูดกับพระพุทธไสยาสน์ และได้มีเสียงตอบกลับมา โดยที่ทั้งพระและชาวบ้าน ที่อยู่ในวิหารต่างก็ได้ยินกันทุกคน
ผู้คนที่เดินทางมากราบไหว้พระพุทธไสยาสน์ ที่วัดป่าโมกวรวิหาร จึงมักขอพรด้านสุขภาพกันค่ะ
---------------------------------------------------------------------------------------
4. วัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร วัดเก่าแก่ตั้งแต่สมัยอยุธยา
สมัยก่อนบริเวณที่ตั้งของวัดชนะสงคราม ล้อมรอบไปด้วยทุ่งนา จึงมีชื่อเดิมว่า วัดกลางนา
ส่วนที่มาของชื่อ วัดชนะสงครามนั้น รัชกาลที่ 1 ทรงพระราชทานชื่อนี้เพื่อเป็นอนุสรณ์ แด่สมเด็จพระบวรราชเจ้า มหาสุรสิงหนาท หรือ วังหน้าพระยาเสือ ที่ทรงรบชนะศึกกับพม่าถึง 3 ครั้ง ซึ่งหนึ่งในนั้นคือศึกใหญ่กับพม่า ที่เรียกว่า “สงครามเก้าทัพ”
เมื่อได้ชัยชนะจากการรบกลับมาในเวลานั้น สมเด็จพระบวรราชเจ้า มหาสุรสิงหนาท และแม่ทัพนายกอง ในทัพของพระองค์ ก็ได้ถวาย “เสื้อยันต์” ที่สวมออกศึก แก่พระพุทธรูปในพระอุโบสถ เพื่อเป็นพุทธบูชา สำหรับพระประธาน พระพุทธนรสีห์นั้น เดิมทีมีขนาดองค์เล็กกว่าที่เห็นกันในปัจจุบัน เมื่อมีการบูรณะ จึงได้ซ่อมแซมให้องค์สูงขึ้น เช่นเดียวกับพระที่อยู่ด้านหน้าพระประธานนั้น เดิมที มีพระอัครสาวกซ้ายขวา 2 องค์ เป็นพระปูนปั้น นั่งประนมมือ เมื่อมีการบูรณะ จึงได้เปลี่ยนเป็นยืนประนมมือแทน และรอบๆ พระพุทธนรสีห์ ก็มีพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยอีก 15 องค์ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก 5 องค์ ทิศตะวันตก 4 องค์ ทิศเหนือ 3 องค์ ทิศใต้ 3 องค์ เหนือพระประธานมีฉัตร 7 ชั้น กางกั้นอยู่ อันหมายถึงพระสัตปฎล (สัดปะดน)เศวตฉัตร ของกรมพระราชวังบวรสถานมงคล
พระประธานอันศักดิ์สิทธ์ของวัดชนะสงครามนี้ มีชื่อว่า "พระพุทธนรสีห์ตรีโลกเชฎฐ์ " มีผู้คนนิยมไปกราบไหว้ขอพรกันเป็นจำนวนมาก เนื่องจากมีความเชื่อว่า จะช่วยให้สามารถเอาชนะอุปสรรคได้ เพราะตามคติโบราณนับถือกันมาว่า การสร้างพระประธาน โดยมีพระพุทธรูปล้อมรอบลักษณะนี้ ถือว่าทรงคุณ ในการประสิทธิประสาทชัยชนะเหนือศัตรู หมายถึงพระพุทธเจ้า 16 พระองค์ ที่ปรากฏนามอยู่ในบทสวดมนต์ อาฎานาฏิยปริตร และได้มีการผูกเป็นยันต์พระเจ้า 16 พระองค์
---------------------------------------------------------------------------------------
5. วัดอินทราราม จ.สมุทรสงคราม
เป็นวัดเก่าที่สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ในโบสถ์มหาอุตม์หลังเก่า ประดิษฐาน “หลวงพ่อโต” หรือพระซำปอกง อายุกว่า 300 ปี เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หรือปางปราบมาร ศิลปะสมัยอยุธยาตอนปลาย แกะสลักด้วยศิลาแดง มีความศักดิ์สิทธิ์มาก หลวงพ่อโตองค์นี้ มักมีคนมากราบไหว้และขอในเรื่องของการงาน โชคลาภ การค้าขาย และขอลูก ค่ะ
และที่วัดอินทรารามแห่งนี้ ยังมีท้าวเวสสุวรรณที่ศักดิ์สิทธิ์มากๆ ที่มักมีคนมาขอเรื่องโชคลาภ การงาน การเงิน เพราะบนเศียรของท้าวเวสสุวรรณ มีการบรรจุผงสมเด็จวัดระฆัง อายุกว่า 100 ปีเอาไว้ เป็นการเสริมความเป็นมงคลที่ดีมากเลยค่ะ
---------------------------------------------------------------------------------------
6. วัดศาลาปูนวรวิหาร จ.อยุธยา ที่วัดแห่งนี้ มีพระศักดิ์สิทธิ์ที่ขออะไรก็ได้ดังใจหวัง
วัดศาลาปูนวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร สร้างตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น และได้เสื่อมโทรมไปตามกาลเวลา จนกระทั่งมีการบูรณปฏิสังขรณ์วัด และได้ทำการเปลี่ยนชื่อวัดเป็น "วัดโลกยสุธา หรือ โลกสุธา" แต่ชื่อนี้คงจะเรียกยาก ไม่ติดปากชาวบ้าน ในที่สุดก็กลับมาใช้ชื่อ วัดศาลาปูน เหมือนเดิม
ภายในวัด มีพระพุทธรูปสำริด สมัยอยุธยาที่ศักดิ์สิทธิ์มากๆ อยู่องค์หนึ่ง นามว่า "หลวงพ่อแขนลาย" เป็นพระพุทธรูปสำริดสมัยอยุธยา ขนาดหน้าตักกว้าง ประมาณ 29 นิ้ว ลักษณะคล้ายพระ โมคคัลลาน์ พระสารีบุตร จุดเด่นของหลวงพ่อแขนลาย คือที่บริเวณด้านหลังของแ
7 วัด ไหว้พระขอพรใกล้กรุง
วัดจุฬามณี เดิมมีชื่อว่า “วัดแม่เจ้าทิพย์” เป็นวัดเก่าแก่ สร้างขึ้นตั้งแต่สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง และได้โทรมลงตามกาลเวลาจนเกือบเป็นวัดร้าง มีพระจำพรรษาเพียงไม่กี่รูป จนกระทั้งปี พ.ศ. 2459 ได้อาราธนาพระอาจารย์แช่ม โสฬส ศิษย์ของหลวงปู่คง วัดบางกระพ้อม มาอยู่ที่วัดจุฬามณี จนวัดกลับมามีความเจริญรุ่งเรือง ต่อมาในปี พ.ศ. 2489 หลวงพ่อแช่มได้มรณภาพลง และพระเนื่อง โกวิโท หรือ พระครูโกวิทสมุทรคุณ หรือที่หลายคนรู้จักท่านในชื่อ “หลวงพ่อเนื่อง” ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสต่อจากหลวงพ่อแช่ม
หลวงพ่อเนื่อง เป็นอีกหนึ่งพระเกจิชื่อดังของเมืองแม่กลอง ท่านเป็นศิษย์เอกของพระเกจิหลายรูป ไม่ว่าจะเป็นหลวงปู่คง วัดบางกะพ้อม เจ้าของเหรียญ 1 ใน 5 ชุดเบญจภาคี เหรียญยอดนิยมของวงการพระเครื่องของไทย รวมถึงหลวงพ่อแช่ม และหลวงปู่ใจ วัดเสด็จอีกด้วย ทำให้ท่านเป็นพระที่เชี่ยวชาญ ทั้งในด้านวิปัสสนาและพุทธาคม
หลวงพ่อเนื่อง ท่านเป็นพระที่มีพุทธาคมสูง และมีเมตตาต่อญาติโยมมาก จนเคยต้องอธิกรณ์ โดนตั้งกรรมการสอบสวนให้ถอดสมณศักดิ์ จากการที่ท่านมีชื่อเสียงในเรื่องการใบ้หวย ทำให้มีชาวบ้านเข้ามาขอเลขเด็ดกันเป็นจำนวนมาก
เล่ากันว่า ถึงขนาดมีพระเถระรูปหนึ่ง ได้กล่าวกับท่านว่า “ถ้าหลวงพ่อเนื่องแน่จริง เห็นเลขได้จริง ให้พิสูจน์โดยการบอกเลขมาสักสองตัวได้ไหม”
หลวงพ่อเนื่องท่านก็ตอบกลับไปว่า “ถ้าพระเถระรูปนั้น ให้สัจจะกับท่านว่า จะไม่เอาไปแทงหวย ท่านก็จะให้เลขเพื่อพิสูจน์ ว่าท่านเห็นเลขจริงหรือไม่”
เมื่อพระเถระรูปนั้นให้สัจจะแล้ว หลวงพ่อเนื่องก็ได้เขียนตัวเลขรางวัลที่ 1 จำนวน 6 ตัว ใส่กระดาษแล้วขอให้พระเถระเก็บไว้ในตู้เซฟ
เมื่อถึงเวลาประกาศรางวัล ก็ได้เปิดกระดาษนั้นออกมาดู ปรากฏว่า “ตัวเลขที่หลวงพ่อเนื่องเขียนไว้ ตรงกับรางวัลที่ 1 ไม่ผิดแม้แต่ตัวเดียว” เว้น2วิ
หลวงพ่อเนื่องมรณะอย่างสงบ สิริอายุ 78 ปี พรรษา 56 และสังขาลของหลวงพ่อเนื่องก็ไม่เน่าเปื่อยอีกด้วย ทางวัดเปิดให้เราเข้าไปไหว้ท่านได้ ที่ กุฏิหลวงพ่อเนื่อง ทุกวันค่ะ
สิ่งศักด์สิทธิ์ภายในวัดจุฬามณีแห่งนี้ ยังมีพระประธานประจำโบสถ์ พระพุทธรูปปางมารวิชัย ที่มีพุทธลักษณะงดงามมาก และองค์ท้าวเวสสุวรรณ ที่หลวงพ่ออิฏฐ์ เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันของวัดจุฬามณี ได้นิมิตว่า ท้าวเวสสุวรรณพาท่านไปเที่ยวชมยมโลก และหลวงพ่ออิฏฐ์ได้บอกกับท้าวเวสสุวรรณว่า จะตั้งรูปปั้นของท้าวเวสสุวรรณไว้ในวัด ท้าวสุวรรณจึงบอกว่า หากจะปั้นท่าน ต้องไปตามช่างปั้นคนหนึ่งที่อยู่ในจังหวัดเพชรบุรีมาปั้นให้ ต้องให้ช่างคนนี้เป็นคนปั้นเท่านั้น
หลังจากนั้น หลวงพ่ออิฏฐ์จึงได้ตามหาว่า ช่างปั้นที่ท้าวเวสสุวรรณบอกนั้นเป็นใคร จนได้ทราบว่า เป็นช่างที่วัดมหาธาตุ จังหวัดเพชรบุรี หลวงพ่ออิฏฐ์จึงได้ไปที่วัดมหาธาตุ ซึ่งต้องไปถึง 3 ครั้ง ถึงจะได้เจอ ช่างทองร่วง เอมโอษฐ และได้ให้ช่างมาปั้นรูปปั้นท้าวเวสสุวรรณองค์แรกที่วัดจุฬามณี
นับจากนั้นมา “ท้าวเวสสุวรรณ” แห่ง “วัดจุฬามณี” ก็ได้รับแรงศรัทธาเป็นอย่างมาก มีผู้คนที่ศรัทธาเดินทางมากราบไหว้ขอพร ทั้งกลางวันและกลางคืน
ท้าวเวสสุวรรณ แห่งวัดจุฬามณีนี้ มีทั้งหมด 4 ปาง
1.ท้าวเวสสุวรรณปางพรหมาสูติเทพ องค์สีขาว เป็นองค์แรกที่วัดจุฬามณีสร้างขึ้น พระพักตร์แบบพรหม พระหัตถ์ถือดอกบัว และแว่นสุริยกานต์ องค์ปูนปั้นสีขาว
2.ท้าวเวสสุวรรณปางเทพบุตร มีพระพักตร์เป็นเทวดา ยืนถือกระบองแบบเหลี่ยม
3.ท้าวเวสสุวรรณปางจตุมหาราช พระพักตร์ยักษ์ ยืนถือกระบองแบบเกลียว
4.ท้าวเวสสุวรรณปางมนุษย์ มีพระพักตร์เหมือนเทวดา ไม่มีลายพระโอษฐ์ ยืนถือกระบองแบบเกลียว
------------------------------------------------------------------------------------------
2. วัดไชโยวรวิหาร จังหวัดอ่างทอง วัดเก่าแก่แต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา วัดนี้มีความเกี่ยวข้องกับสมเด็จพระพุฒจารย์ โต พรหมรังสี เพราะเชื่อกันว่า ครอบครัวของท่านเคยมีภูมิลำเนาอยู่ที่ อ.ไชโย นี้
สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี ได้มาสร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่ ที่ภายในบรรจุพระเกษไชโยไว้ด้านในถึง 2 ครั้ง และเป็นที่มาของคำว่า กรุแตก ค่ะ
ในครั้งแรกนั้น สมเด็จโต ได้สร้างพระพุทธรูปนั่ง ด้วยวิธีก่ออิฐสอดินที่มีขนาดใหญ่โตมาก แต่ไม่นานก็พังทลายลงมา ทำให้พระเกษไชโย ซึ่งบรรจุไว้ภายในองค์พระได้กระจัดกระจายออกมา จึงเรียกว่ากรุแตก แม้ว่าจะได้มีการนำพระเกษไชโยบางส่วน กลับเข้าไปบรรจุในองค์พระตอนบูรณะใหม่อีกครั้ง แต่บางส่วน ก็มีผู้นำไปถือครองไว้เป็นการส่วนตัว
หลังจากนั้นก็ ได้สร้างพระพุทธรูปขึ้นใหม่เป็นครั้งที่ 2 ซึ่งครั้งนี้ ก็ยังคงก่อสร้างด้วยการก่ออิฐสอดินถือปูนขาว และไม่ปิดทอง ประดิษฐานอยู่กลางแจ้ง แต่ได้ลดขนาดองค์พระลงจากครั้งแรก เมื่อสร้างเสร็จเรียบร้อย พระพุทธรูปปางสมาธิองค์นี้ก็มีความสง่างาม ใหญ่โต มองเห็นได้จากที่ไกล
ต่อมาในรัชกาลที่ 5 พ.ศ. 2430 ทรงมีพระบรมราชโองการ ให้ปฏิสังขรณ์วัดไชโยขึ้นทั้งหมด ซึ่งการก่อสร้าง ก็ได้ทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนขึ้น ทำให้พระพุทธรูปที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี สร้างไว้พังลงมา นับเป็นกรุแตกครั้งที่ 2 และมีพระเกษไชโยกระจัดกระจายออกมาอีกเช่นกัน
รัชกาลที่ 5 จึงให้สร้างพระพุทธรูปขึ้นใหม่ โดยลดขนาดให้เล็กลงกว่าเดิมอีก และให้มีเสาเข็มด้วย โดยให้สร้างเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิเช่นเดิม แต่ครองจีวร และพาดสังฆาฏิกว้างแบบใหม่ ขนาดหน้าตัก 8 วา 6 นิ้ว สูงสุดยอดพระรัศมี 11 วา 1 ศอก 7 นิ้ว สร้างเสร็จใน พ.ศ. 2438 จึงได้พระราชทานนามว่า “พระมหาพุทธพิมพ์”
เป็นพระศักดิ์สิทธิ์ที่ผู้คนนิยมไปกราบไหว้ ขอพร เกี่ยวกับ ความเจริญรุ่งเรือง ลาภยศ สรรเสริญ และมักนิยมห่มผ้า “พระมหาพุทธพิมพ์” จำลอง เพื่อความเป็นสิริมงคลอีกด้วย
นอกจากนี้ ยังมีวิหารเจ้าพระคุณสมเด็จโต พรหมรังสี ที่ภายในประดิษฐานรูปหล่อสมเด็จพระพุฒาจารย์โตขนาดใหญ่ หันหน้าออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยา หน้าตักกว้าง 5 ม. สูง 7 ม. ใช้ทองเหลืองในการหล่อถึง 12 ตัน ใช้เวลาสร้าง 3 ปีจึงแล้วเสร็จ คือตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530-2533
------------------------------------------------------------------------------------------
3. วัดป่าโมกวรวิหาร จ. อ่างทอง วัดเก่าแก่ตั้งแต่สมัยอยุธยา เมื่อไปที่วัดป่าโมก จะต้องไปไหว้พระพุทธไสยาสน์ ก่ออิฐถือปูนปิดทอง ที่มีพุทธลักษณะงดงามมาก เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ที่มีอายุนับร้อยปี สำหรับพระพุทธไสยาสน์องค์นี้ มีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่า ท่านลอยน้ำมา และมาหยุดจมอยู่หน้าวัด จึงได้มีการทำพิธีเพื่ออัญเชิญท่าน ขึ้นมาประดิษฐานไว้ที่ริมฝั่งแม่น้ำ ต่อมากระแสน้ำได้กัดเซาะเข้ามาจนใกล้องค์พระ สมเด็จพระศรีสรรเพชญ์ที่ 3 จึงให้เลื่อนองค์ท่านให้ออกห่างจากแม่น้ำ ด้วยวิธีการชักชะลอ ซึ่งใช้เวลาถึง 5 เดือน โดยได้อัญเชิญไปประดิษฐานไว้ที่วิหารใหม่ พร้อมกับพระราชทานชื่อใหม่ว่า วัดป่าโมก เพราะบริเวณนั้นมีต้นโมกจำนวนมาก
นอกจากนี้ยังมีเรื่องเล่าอีกด้วยว่า พระพุทธไสยาสน์องค์นี้ เป็นพระพุทธรูปพูดได้ มีเรื่องเล่าว่า พระครูปาโมกข์มุนี เจ้าอาวาสวัดป่าโมกในสมัยนั้น ได้บันทึกถึงช่วงที่มีอหิวาตกโรคระบาด ตอนนั้มีพระป่วยหนัก ไปรักษาหมอที่ไหนก็ไม่หาย สีกาที่เป็นหลานสาว จึงไปอธิษฐานต่อหน้าพระพุทธไสยาสน์ ปรากฏว่ามีเสียงออกมาจากพระพุทธรูป บอกตำรายาให้ได้รู้ เมื่อนำไปทำเป็นยารักษา ก็หายจากอาพาธได้ จึงนำเรื่องนี้ไปบอกให้พระครูปาโมกข์มุนีทราบ ท่านก็ได้ทำการพิสูจน์ โดยหลังจากเลิกประชุมสงฆ์ราวหนึ่งทุ่ม พระครูปาโมกข์ฯ ได้ให้พระสงฆ์ ชาวบ้าน และศิษย์วัดประมาณ 30 คน ช่วยกันจุดไฟให้สว่าง แล้วตรวจค้นจนทั่ว ว่ามีใครแอบซ่อนอยู่ในวิหารบ้าง เมื่อไม่พบใคร ท่านก็เลยไปนั่งหน้าพระพักตร์ของพระพุทธไสยาสน์ พร้อมกับอุบาสิกาคนนั้น และได้พูดกับพระพุทธไสยาสน์ และได้มีเสียงตอบกลับมา โดยที่ทั้งพระและชาวบ้าน ที่อยู่ในวิหารต่างก็ได้ยินกันทุกคน
ผู้คนที่เดินทางมากราบไหว้พระพุทธไสยาสน์ ที่วัดป่าโมกวรวิหาร จึงมักขอพรด้านสุขภาพกันค่ะ
---------------------------------------------------------------------------------------
4. วัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร วัดเก่าแก่ตั้งแต่สมัยอยุธยา
สมัยก่อนบริเวณที่ตั้งของวัดชนะสงคราม ล้อมรอบไปด้วยทุ่งนา จึงมีชื่อเดิมว่า วัดกลางนา
ส่วนที่มาของชื่อ วัดชนะสงครามนั้น รัชกาลที่ 1 ทรงพระราชทานชื่อนี้เพื่อเป็นอนุสรณ์ แด่สมเด็จพระบวรราชเจ้า มหาสุรสิงหนาท หรือ วังหน้าพระยาเสือ ที่ทรงรบชนะศึกกับพม่าถึง 3 ครั้ง ซึ่งหนึ่งในนั้นคือศึกใหญ่กับพม่า ที่เรียกว่า “สงครามเก้าทัพ”
เมื่อได้ชัยชนะจากการรบกลับมาในเวลานั้น สมเด็จพระบวรราชเจ้า มหาสุรสิงหนาท และแม่ทัพนายกอง ในทัพของพระองค์ ก็ได้ถวาย “เสื้อยันต์” ที่สวมออกศึก แก่พระพุทธรูปในพระอุโบสถ เพื่อเป็นพุทธบูชา สำหรับพระประธาน พระพุทธนรสีห์นั้น เดิมทีมีขนาดองค์เล็กกว่าที่เห็นกันในปัจจุบัน เมื่อมีการบูรณะ จึงได้ซ่อมแซมให้องค์สูงขึ้น เช่นเดียวกับพระที่อยู่ด้านหน้าพระประธานนั้น เดิมที มีพระอัครสาวกซ้ายขวา 2 องค์ เป็นพระปูนปั้น นั่งประนมมือ เมื่อมีการบูรณะ จึงได้เปลี่ยนเป็นยืนประนมมือแทน และรอบๆ พระพุทธนรสีห์ ก็มีพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยอีก 15 องค์ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก 5 องค์ ทิศตะวันตก 4 องค์ ทิศเหนือ 3 องค์ ทิศใต้ 3 องค์ เหนือพระประธานมีฉัตร 7 ชั้น กางกั้นอยู่ อันหมายถึงพระสัตปฎล (สัดปะดน)เศวตฉัตร ของกรมพระราชวังบวรสถานมงคล
พระประธานอันศักดิ์สิทธ์ของวัดชนะสงครามนี้ มีชื่อว่า "พระพุทธนรสีห์ตรีโลกเชฎฐ์ " มีผู้คนนิยมไปกราบไหว้ขอพรกันเป็นจำนวนมาก เนื่องจากมีความเชื่อว่า จะช่วยให้สามารถเอาชนะอุปสรรคได้ เพราะตามคติโบราณนับถือกันมาว่า การสร้างพระประธาน โดยมีพระพุทธรูปล้อมรอบลักษณะนี้ ถือว่าทรงคุณ ในการประสิทธิประสาทชัยชนะเหนือศัตรู หมายถึงพระพุทธเจ้า 16 พระองค์ ที่ปรากฏนามอยู่ในบทสวดมนต์ อาฎานาฏิยปริตร และได้มีการผูกเป็นยันต์พระเจ้า 16 พระองค์
---------------------------------------------------------------------------------------
5. วัดอินทราราม จ.สมุทรสงคราม
เป็นวัดเก่าที่สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ในโบสถ์มหาอุตม์หลังเก่า ประดิษฐาน “หลวงพ่อโต” หรือพระซำปอกง อายุกว่า 300 ปี เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หรือปางปราบมาร ศิลปะสมัยอยุธยาตอนปลาย แกะสลักด้วยศิลาแดง มีความศักดิ์สิทธิ์มาก หลวงพ่อโตองค์นี้ มักมีคนมากราบไหว้และขอในเรื่องของการงาน โชคลาภ การค้าขาย และขอลูก ค่ะ
และที่วัดอินทรารามแห่งนี้ ยังมีท้าวเวสสุวรรณที่ศักดิ์สิทธิ์มากๆ ที่มักมีคนมาขอเรื่องโชคลาภ การงาน การเงิน เพราะบนเศียรของท้าวเวสสุวรรณ มีการบรรจุผงสมเด็จวัดระฆัง อายุกว่า 100 ปีเอาไว้ เป็นการเสริมความเป็นมงคลที่ดีมากเลยค่ะ
---------------------------------------------------------------------------------------
6. วัดศาลาปูนวรวิหาร จ.อยุธยา ที่วัดแห่งนี้ มีพระศักดิ์สิทธิ์ที่ขออะไรก็ได้ดังใจหวัง
วัดศาลาปูนวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร สร้างตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น และได้เสื่อมโทรมไปตามกาลเวลา จนกระทั่งมีการบูรณปฏิสังขรณ์วัด และได้ทำการเปลี่ยนชื่อวัดเป็น "วัดโลกยสุธา หรือ โลกสุธา" แต่ชื่อนี้คงจะเรียกยาก ไม่ติดปากชาวบ้าน ในที่สุดก็กลับมาใช้ชื่อ วัดศาลาปูน เหมือนเดิม
ภายในวัด มีพระพุทธรูปสำริด สมัยอยุธยาที่ศักดิ์สิทธิ์มากๆ อยู่องค์หนึ่ง นามว่า "หลวงพ่อแขนลาย" เป็นพระพุทธรูปสำริดสมัยอยุธยา ขนาดหน้าตักกว้าง ประมาณ 29 นิ้ว ลักษณะคล้ายพระ โมคคัลลาน์ พระสารีบุตร จุดเด่นของหลวงพ่อแขนลาย คือที่บริเวณด้านหลังของแ