.....เพราะติดเบญจขันธ์
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! คนกล่าวกันว่า ‘สัตว์ สัตว์’ (ตัวตน)ดังนี้, เขากล่าวกันว่า
‘สัตว์’ เช่นนี้ มีความหมายเพียงไร ? พระเจ้าข้า !”
ราธะ ! ฉันทะ (ความพอใจ) ราคะ (ความใคร่กำหนัด) นันทิ (ความเพลิน) ตัณหา (ความทะยานอยาก) ใด ๆ มีอยู่ ในรูป,
สัตว์ ย่อมเกี่ยวข้อง ย่อมติดในรูปนั้น ด้วยฉันทราคะเป็นต้นนั้น
เพราะฉะนั้น สัตว์นั้น จึงถูกเรียกว่า “สัตว์ (ผู้ข้องติด)” ดังนี้ ;
ราธะ ! ฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหา ใด ๆ มีอยู่ในเวทนา, สัตว์ย่อมเกี่ยวข้อง ย่อมติดในเวทนานั้น ด้วยฉันทราคะเป็นต้นนั้น
เพราะฉะนั้น สัตว์นั้น จึงถูกเรียกว่า “สัตว์” ดังนี้ ;
ราธะ ! ฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหา ใด ๆ มีอยู่ในสัญญา, สัตว์ย่อมเกี่ยวข้อง ย่อมติดในสัญญานั้น
ด้วยฉันทราคะเป็นต้นนั้น เพราะฉะนั้น สัตว์นั้น จึงถูกเรียกว่า “สัตว์” ดังนี้ ;
ราธะ ! ฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหา ใด ๆ มีอยู่ในสังขารทั้งหลาย, สัตว์ย่อมเกี่ยวข้อง
ย่อมติดในสังขารทั้งหลายเหล่านั้น ด้วยฉันทราคะเป็นต้นนั้น
เพราะฉะนั้น สัตว์นั้น จึงถูกเรียกว่า “สัตว์” ดังนี้ ;
ราธะ ! ฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหา ใด ๆ มีอยู่ในวิญญาณ, สัตว์ย่อมเกี่ยวข้อง
ย่อมติดในวิญญาณนั้น ด้วยฉันทราคะเป็นต้นนั้น เพราะฉะนั้น
สัตว์นั้น จึงถูกเรียกว่า “สัตว์” ดังนี้ แล.
- ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๓๒/๓๖๗.
ว่าด้วยเรียกกันว่า “สัตว์”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! คนกล่าวกันว่า ‘สัตว์ สัตว์’ (ตัวตน)ดังนี้, เขากล่าวกันว่า
‘สัตว์’ เช่นนี้ มีความหมายเพียงไร ? พระเจ้าข้า !”
ราธะ ! ฉันทะ (ความพอใจ) ราคะ (ความใคร่กำหนัด) นันทิ (ความเพลิน) ตัณหา (ความทะยานอยาก) ใด ๆ มีอยู่ ในรูป,
สัตว์ ย่อมเกี่ยวข้อง ย่อมติดในรูปนั้น ด้วยฉันทราคะเป็นต้นนั้น
เพราะฉะนั้น สัตว์นั้น จึงถูกเรียกว่า “สัตว์ (ผู้ข้องติด)” ดังนี้ ;
ราธะ ! ฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหา ใด ๆ มีอยู่ในเวทนา, สัตว์ย่อมเกี่ยวข้อง ย่อมติดในเวทนานั้น ด้วยฉันทราคะเป็นต้นนั้น
เพราะฉะนั้น สัตว์นั้น จึงถูกเรียกว่า “สัตว์” ดังนี้ ;
ราธะ ! ฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหา ใด ๆ มีอยู่ในสัญญา, สัตว์ย่อมเกี่ยวข้อง ย่อมติดในสัญญานั้น
ด้วยฉันทราคะเป็นต้นนั้น เพราะฉะนั้น สัตว์นั้น จึงถูกเรียกว่า “สัตว์” ดังนี้ ;
ราธะ ! ฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหา ใด ๆ มีอยู่ในสังขารทั้งหลาย, สัตว์ย่อมเกี่ยวข้อง
ย่อมติดในสังขารทั้งหลายเหล่านั้น ด้วยฉันทราคะเป็นต้นนั้น
เพราะฉะนั้น สัตว์นั้น จึงถูกเรียกว่า “สัตว์” ดังนี้ ;
ราธะ ! ฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหา ใด ๆ มีอยู่ในวิญญาณ, สัตว์ย่อมเกี่ยวข้อง
ย่อมติดในวิญญาณนั้น ด้วยฉันทราคะเป็นต้นนั้น เพราะฉะนั้น
สัตว์นั้น จึงถูกเรียกว่า “สัตว์” ดังนี้ แล.
- ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๓๒/๓๖๗.