สิ่งที่เรียกกันว่า "จิต" ก็ดี ว่า "มโน" ก็ดี ว่า
"วิญญาณ" ก็ดี นั้น ดวงอื่นเกิดขึ้น ดวงอื่นดับไป ตลอดวัน ตลอดคืน...
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว จะพึงเบื่อหน่ายได้บ้าง
พึงคลายกำหนัดได้บ้าง พึงปล่อยวางได้บ้าง
ในกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้งสี่นี้. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ข้อนั้นเพราะเหตุว่า การก่อขึ้นก็ดี การสลายลงก็ดี
การถูกยึดครองก็ดี การทอดทิ้งซากไว้ก็ดี แห่งกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้งสี่นี้ ย่อมปรากฎอยู่. เพราะเหตุนั้น ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว จึงเบื่อหน่ายได้บ้าง
จึงคลายกำหนัดได้บ้าง จึงปล่อยวางได้บ้าง ในกายนั้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ส่วนสิ่งที่เรียกกันว่า "จิต" ก็ดี ว่า "มโน" ก็ดี ว่า "วิญญาณ" ก็ดี ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว ไม่อาจจะเบื่อหน่าย ไม่อาจจะคลายกำหนัด ไม่อาจจะปล่อยวาง ซึ่งจิตนั้น. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ข้อนั้นเพราะเหตุว่า สิ่งที่เรียกว่าจิตเป็นต้นนี้
เป็นสิ่งที่ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว ได้ถึงทับแล้วตัณหา
ได้ยึดถือแล้วด้วยทิฏฐิโดยความเป็นตัวตน มาตลอดกาลช้านานว่า
"นั่นของเรา นั่นเป็นเรานั่นเป็นตัวตนของเรา" ดังนี้;
เพราะเหตุนั้น ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว จึงไม่อาจจะเบื่อหน่าย ไม่อาจจะคลายกำหนัด
ไม่อาจจะปล่อยวาง ซึ่งสิ่งที่เรียกว่าจิตเป็นต้นนั้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว จะพึงเข้าไปยึดถือเอากายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้งสี่นี้ โดยความเป็นตัวตน ยังดีกว่า.
แต่จะเข้าไปยึดถือเอาจิตโดยความเป็นตัวตน ไม่ดีเลย. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ข้อ นั้นเพราะเหตุว่า กายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้งสี่นี้ ดำรงอยู่ปีหนึ่งบ้าง สองปีบ้าง สามปีบ้าง สี่ปีบ้าง ห้าปีบ้าง สิบปีบ้าง ยี่สิบปีบ้าง สามสิบปีบ้างสี่สิบปีบ้าง ห้าสิบปีบ้าง ร้อยปีบ้าง เกินกว่าร้อยปีบ้าง ปรากฏอยู่.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย!ส่วน สิ่งที่เรียกกันว่า "จิต" ก็ดี ว่า "มโน" ก็ดี ว่า "วิญญาณ" ก็ดี นั้น ดวงอื่นเกิดขึ้น ดวงอื่นดับไป ตลอดวัน ตลอดคืน.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เปรียบเหมือน วานร เมื่อเที่ยวไปอยู่ในป่าใหญ่
ย่อมจับกิ่งไม้ : ปล่อยกิ่งนั้น จับกิ่งอื่น ปล่อยกิ่งที่จับเดิม เหนียวกิ่งอื่น เช่นนี้เรื่อย ๆ ไป, ข้อนี้ฉันใด;
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! สิ่งที่เรียกกันว่า "จิต" ก็ดี ว่า "มโน" ก็ดี ว่า "วิญญาณ" ก็ดี นั้น ดวงอื่นเกิดขึ้น ดวงอื่นดับ ไป ตลอดวัน .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ในเรื่องที่กล่าวนี้ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ย่อมกระทำในใจโดยแยบคายเป็นอย่างดี ซึ่งปฏิจจสมุปบาทนั่นเทียว ดังนี้ว่า
"เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี;
เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น.
เพราะสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี;
เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงดับไป :
ข้อนี้ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย; เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ;...ฯลฯ... ...ฯลฯ...; เพราะมีชาติเป็นปัจจัย, ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน :
ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.
เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือแห่งอวิชชานั้นนั่นเทียว,
จึงมีความดับแห่งสังขาร; เพราะมีความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ; ...ฯลฯ......ฯลฯ...; เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัส -
อุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น :
ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้".
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป, ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในเวทนา, ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในสัญญา, ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขารทั้งหลาย, ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในวิญญาณ.
เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด;
เพราะความคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น;เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า "หลุดพ้น
แล้ว" ดังนี้. เธอย่อมรู้ชัดว่า "ชาตินี้แล้ว, พรหมจรรย์อันเราอยู่จบแล้ว, กิจที่ควรทำ
ได้ทำเสร็จแล้ว, กิจอื่น เพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก", ดังนี้ แล.
(ภาษาไทย) นิทาน. สํ. ๑๖/๙๓/๒๓๑-๒๓๔.
วิญญาณเป็นปฏิจจสมุปปันธรรม (สิ่งที่อาศัยปัจจัยแล้วเกิดขึ้น)
ถ้าเว้นจากปัจจัยแล้ว ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ ย่อมมีไม่ได้...
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ผู้ที่กล่าวว่า "วิญญาณ" เวียนว่ายตายเกิด พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า บุคคลผู้นั้นเป็น "โมฆะบุรุษ"
(โมฆะบุรุษ - บุคคลอันเปล่า ไร้ประโยชน์ เป็นโมฆะ มีไว้ก็เท่ากับไม่มี)
ย่อมชื่อว่า กล่าวตู่พระพุทธองค์ด้วยถ้อยคำที่ตนเองถือเอาผิดด้วย ย่อมขุดตนด้วย ย่อมประสบสิ่งที่มิใช่บุญเป็นอันมากด้วย
ข้อนั้น จักเป็นไปเพื่อความทุกข์ ไม่เป็นไป เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูลแก่บุคคลผู้นั้นตลอดกาลนาน ...
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้มิจฉาทิฏฐิเรื่องวิญญาณ
สาติ ! จริงหรือ ตามที่ได้ยินว่า เธอมีทิฏฐิอันลามกเห็นปานนี้เกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ว่า
“เราย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่าวิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมแล่นไป ท่องเที่ยวไป หาใช่สิ่งอื่นไม่” ดังนี้ ?
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้า พระองค์ย่อมรู้ทั่วถึงธรรม ตามที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงแล้วเช่นนั้นว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมแล่นไป ท่องเที่ยวไป หาใช่สิ่งอื่นไม่ ดังนี้ “
สาติ ! วิญญาณนั้นเป็นอย่างไร ?
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! สภาวะที่ย่อมพูดได้ รู้สึกได้ (ต่อเวทนา) ย่อมเสวยวิบากแห่งกรรมดี กรรมชั่วทั้งหลาย ในภพนั้นๆ.”
โมฆบุรุษ ! เธอรู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงแล้วอย่างนี้ เมื่อแสดงแก่ใครเล่า ?
โมฆบุรุษ ! เรากล่าวว่า วิญญาณเป็นปฏิจจสมุปปันธรรม (สิ่งที่อาศัยปัจจัยแล้วเกิดขึ้น) โดยปริยายเป็นอันมาก ถ้าเว้นจากปัจจัยแล้ว ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ ย่อมมีไม่ได้ ดังนี้.
โมฆบุรุษ ! ก็ เมื่อเป็นดังนั้น เธอย่อมชื่อว่า กล่าวตู่เราด้วยถ้อยคำที่ตนเองถือเอาผิดด้วย ย่อมขุดตนด้วย ย่อมประสบสิ่งที่มิใช่บุญเป็นอันมากด้วย
โมฆบุรุษ ! ข้อนั้น จักเป็นไปเพื่อความทุกข์ ไม่เป็นไป เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูลแก่เธอตลอดกาลนาน ดังนี้.
ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอจะสำคัญความข้อนี้ว่าอย่างไร ภิกษุสาติเกวัฏฏบุตรนี้ ยังจะพอนับว่าเป็น ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ บ้างหรือไม่ ?
“ข้อนี้ จะเป็นไปได้อย่างไร ข้อนี้หามิได้เลย พระพุทธเจ้าข้า”
(ตรัสกับสาติเกวัฏฏบุตร)
โมฆบุรุษ ! เธอจักปรากฏด้วยทิฏฐิอันลามกของตนเองนั้นเถิด เราจักสอบถาม
ภิกษุทั้งหลายในที่นี้ … (ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสถามภิกษุทั้งหลาย … แล้วแสดงธรรมการเกิด แห่งวิญญาณ โดยอาการแห่งปฏิจจสมุปบาท)
อริยสัจจากพระโอษฐ์ภาคปลาย หน้า ๑๐๐๖
(ภาษาไทย) มู. ม. ๑๒/๓๓๒/๔๔๒-๔๔๓.
ความจริงที่ถูกต้อง... "สัตว์" เป็นผู้เวียนว่ายตายเกิด
"สัตว์" (สัตตานัง)ที่มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูก แล่นไปอยู่ ท่องเที่ยวไปอยู่ในสังสารวัฏ
ก็ทํานองเดียวกัน บางคราวแลนไปจากโลกนี้สูโลกอื่น บางคราวแลนจากโลกอื่นสูโลกนี้...
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้สัตว์ต้องเวียนว่ายเพราะไม่เห็นอริยสัจ
ภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนทอนไม อันบุคคลซัดขึ้นไปสูอากาศ บางคราวตกเอาโคนลง บางคราวตกเอาตอนกลางลง บางคราวตกเอาปลายลง, ขอนี้ฉันใด ;
ภิกษุทั้งหลาย ! สัตว์ที่มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูก แล่นไปอยู่
ท่อง เที่ยวไปอยู่ในสังสารวัฏ ก็ทํานองเดียวกัน บางคราวแลนไปจากโลกนี้สูโลกอื่น บางคราวแลนจากโลกอื่นสูโลกนี้. ขอนั้นเพราะเหตุไรเลา ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ขอนั้น เพราะความที่เขา เป็นผู้ไม่เห็นซึ่งอริยสัจทั้งสี่.
อริยสัจสี่ อยางไรเลา ? สี่อยาง คือ
อริยสัจ คือ ทุกข
อริยสัจ คือ เหตุใหเกิดขึ้นแหงทุกข
อริยสัจ คือ ความดับไมเหลือแหงทุกข
อริยสัจ คือ ทางดําเนินใหถึงความดับไมเหลือแหงทุกข.
เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ เธอพึงประกอบโยคกรรม อันเป็นเครื่องกระทําให้รู้ว่า “ทุกข เปนอยางนี้, เหตุใหเกิดขึ้นแหงทุกข เปนอยางนี้, ความดับไมเหลือแหงทุกข
เปนอยางนี้, ทางดําเนินใหถึงความดับไมเหลือแหงทุกข เปนอยางนี้.” ดังนี้.
อริยสัจจากพระโอษฐ์ภาคต้น หน้า ๙๗.
(ภาษาไทย) มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๓๕/๑๗๑๖.
ความหมายของคําว่า “สัตว์”(สัตตานัง)
ฉันทะ (ความพอใจ) ราคะ (ความกําหนัด) นันทิ (ความเพลิน) ตัณหา (ความอยาก) ใดๆ มีอยูในขันธ์ ๕
เพราะการติดแลว ของแลวในขันธ์ ๕ นั้น เพราะฉะนั้น จึงเรียกวา “สัตว” (ผูของติดในขันธทั้ง ๕)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ความหมายของคําว่า “สัตว์” คือ ผูของติดในขันธทั้ง ๕
ขาแตพระองคผูเจริญ ! ที่เรียกกันวา ‘สัตว สัตว’ ดังนี้, อันวาสัตวมีได ดวยเหตุเพียงไรเลา พระเจาขา !
ราธะ ! ฉันทะ (ความพอใจ) ราคะ (ความกําหนัด) นันทิ (ความเพลิน) ตัณหา (ความอยาก) ใดๆ มีอยูในรูป เพราะการติดแลว ของแลวในรูปนั้น เพราะฉะนั้น จึงเรียกวา “สัตว” ดังนี้.
ราธะ ! ฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหา ใดๆ มีอยูในเวทนา (ความรูสึกสุข ทุกขและไมสุขไมทุกข) เพราะการติดแลว ของแลวในเวทนานั้น เพราะฉะนั้น จึงเรียกวา “สัตว” ดังนี้.
ราธะ ! ฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหา ใดๆ มีอยูในสัญญา (ความหมายรู) เพราะการติดแลว ของแลวในสัญญานั้น เพราะฉะนั้น จึงเรียกวา “สัตว” ดังนี้.
ราธะ ! ฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหา ใดๆ มีอยูในสังขารทั้งหลาย (ความปรุงแตง) เพราะการติดแลว ของแลวในสังขารทั้งหลายนั้น เพราะฉะนั้น จึงเรียกวา “สัตว” ดังนี้.
ราธะ ! ฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหา ใดๆ มีอยูในวิญญาณ เพราะการติดแลว ของแลวในวิญญาณนั้น เพราะฉะนั้น จึงเรียกวา “สัตว” ดังนี้แล.
(ภาษาไทย) ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๙๑/๓๖๗.
ผู้ที่ไม่ได้สดับ "พุทธวจน" ย่อมไม่รู้ความจริงอย่างนี้
ย่อมไม่มีทางบรรลุธรรม ถึงมรรคผลนิพพาน...
ขอกราบ นมัสการ ขอบพระคุณ พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล
"สมณศากยปุติย" ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติชอบ
ผู้เดินตามและชี้ทางสู่ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์ของพระศาสดา
.... ชาวพุทธ มากกว่าร้อยละ 90 เข้าใจผิดคิดว่า "วิญญาณ" เวียนว่ายตายเกิด เพราะไม่ได้สดับ "พุทธวจน" ....
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
วิญญาณเป็นปฏิจจสมุปปันธรรม (สิ่งที่อาศัยปัจจัยแล้วเกิดขึ้น)
ถ้าเว้นจากปัจจัยแล้ว ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ ย่อมมีไม่ได้...
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ผู้ที่กล่าวว่า "วิญญาณ" เวียนว่ายตายเกิด พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า บุคคลผู้นั้นเป็น "โมฆะบุรุษ"
(โมฆะบุรุษ - บุคคลอันเปล่า ไร้ประโยชน์ เป็นโมฆะ มีไว้ก็เท่ากับไม่มี)
ย่อมชื่อว่า กล่าวตู่พระพุทธองค์ด้วยถ้อยคำที่ตนเองถือเอาผิดด้วย ย่อมขุดตนด้วย ย่อมประสบสิ่งที่มิใช่บุญเป็นอันมากด้วย
ข้อนั้น จักเป็นไปเพื่อความทุกข์ ไม่เป็นไป เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูลแก่บุคคลผู้นั้นตลอดกาลนาน ...
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ความจริงที่ถูกต้อง... "สัตว์" เป็นผู้เวียนว่ายตายเกิด
"สัตว์" (สัตตานัง)ที่มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องผูก แล่นไปอยู่ ท่องเที่ยวไปอยู่ในสังสารวัฏ
ก็ทํานองเดียวกัน บางคราวแลนไปจากโลกนี้สูโลกอื่น บางคราวแลนจากโลกอื่นสูโลกนี้...
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ความหมายของคําว่า “สัตว์”(สัตตานัง)
ฉันทะ (ความพอใจ) ราคะ (ความกําหนัด) นันทิ (ความเพลิน) ตัณหา (ความอยาก) ใดๆ มีอยูในขันธ์ ๕
เพราะการติดแลว ของแลวในขันธ์ ๕ นั้น เพราะฉะนั้น จึงเรียกวา “สัตว” (ผูของติดในขันธทั้ง ๕)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ผู้ที่ไม่ได้สดับ "พุทธวจน" ย่อมไม่รู้ความจริงอย่างนี้
ย่อมไม่มีทางบรรลุธรรม ถึงมรรคผลนิพพาน...
ขอกราบ นมัสการ ขอบพระคุณ พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล
"สมณศากยปุติย" ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติชอบ
ผู้เดินตามและชี้ทางสู่ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์ของพระศาสดา