ความหมายของคำว่า “สัตว์”
-บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๓๒/๓๖๗.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ที่เรียกกันว่า ‘สัตว์ สัตว์’ ดังนี้, อันว่าสัตว์มีได้ ด้วยเหตุเพียงไรเล่า พระเจ้าข้า !
ราธะ ! ฉันทะ (ความพอใจ) ราคะ (ความกำหนัด) นันทิ (ความเพลิน) ตัณหา (ความอยาก) ใดๆ มีอยู่ในรูป เพราะการติดแล้ว ข้องแล้วในรูปนั้น เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า “สัตว์” (ผู้ข้องติดในขันธ์ทั้ง ๕) ดังนี้.
ราธะ ! ฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหา ใดๆ มีอยู่ในเวทนา( ความรู้สึกสุข ทุกข์และไม่สุขไม่ทุกข์) เพราะการติดแล้ว ข้องแล้วในเวทนานั้น เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า “สัตว์” ดังนี้.
ราธะ ! ฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหา ใดๆ มีอยู่ในสัญญา (ความหมายรู้) เพราะการติดแล้ว ข้องแล้วในสัญญานั้น เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า “สัตว์” ดังนี้.
ราธะ ! ฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหา ใดๆ มีอยู่ในสังขารทั้งหลาย (ความปรุงแต่ง) เพราะการติดแล้ว ข้องแล้วในสังขารทั้งหลายนั้น เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า “สัตว์” ดังนี้.
ราธะ ! ฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหา ใดๆ มีอยู่ในวิญญาณ เพราะการติดแล้ว ข้องแล้วในวิญญาณนั้น เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า “สัตว์” ดังนี้แล.
https://etipitaka.com/read/thaipb/11/0/
ความหมายของคำว่า “สัตว์” | พุทธวจน
ความหมายของคำว่า “สัตว์”
-บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๒๓๒/๓๖๗.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ที่เรียกกันว่า ‘สัตว์ สัตว์’ ดังนี้, อันว่าสัตว์มีได้ ด้วยเหตุเพียงไรเล่า พระเจ้าข้า !
ราธะ ! ฉันทะ (ความพอใจ) ราคะ (ความกำหนัด) นันทิ (ความเพลิน) ตัณหา (ความอยาก) ใดๆ มีอยู่ในรูป เพราะการติดแล้ว ข้องแล้วในรูปนั้น เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า “สัตว์” (ผู้ข้องติดในขันธ์ทั้ง ๕) ดังนี้.
ราธะ ! ฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหา ใดๆ มีอยู่ในเวทนา( ความรู้สึกสุข ทุกข์และไม่สุขไม่ทุกข์) เพราะการติดแล้ว ข้องแล้วในเวทนานั้น เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า “สัตว์” ดังนี้.
ราธะ ! ฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหา ใดๆ มีอยู่ในสัญญา (ความหมายรู้) เพราะการติดแล้ว ข้องแล้วในสัญญานั้น เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า “สัตว์” ดังนี้.
ราธะ ! ฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหา ใดๆ มีอยู่ในสังขารทั้งหลาย (ความปรุงแต่ง) เพราะการติดแล้ว ข้องแล้วในสังขารทั้งหลายนั้น เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า “สัตว์” ดังนี้.
ราธะ ! ฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหา ใดๆ มีอยู่ในวิญญาณ เพราะการติดแล้ว ข้องแล้วในวิญญาณนั้น เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า “สัตว์” ดังนี้แล.
https://etipitaka.com/read/thaipb/11/0/