เรื่องอุบาสก ๕ คน
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภอุบาสก ๕ คน ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "นตฺถิ ราคสโม อคฺคิ" เป็นต้น.
ได้ยินว่า อุบาสกเหล่านั้นใคร่จะฟังธรรม ไปสู่วิหาร ถวายบังคมพระศาสดา แล้วนั่ง ณ ส่วนสุดข้างหนึ่ง.
ก็ความดำริว่า "ผู้นี้เป็นกษัตริย์ ผู้นี้เป็นพราหมณ์, ผู้นี้เป็นคนมั่งมี, ผู้นี้เป็นคนยากจน
เราจักแสดงธรรมให้ยวดยิ่งแก่ผู้นี้ จักไม่แสดง (ธรรมให้ยวดยิ่ง) แก่ผู้นี้"
ย่อมไม่เกิดขึ้นแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย.
พระศาสดา เมื่อจะทรงแสดงธรรมปรารภบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ย่อมทรงทำความเคารพธรรมไว้เป็นเบื้องหน้า
แล้วจึงแสดง ประหนึ่งเทพเจ้าผู้มีฤทธิ์บันดาลให้น้ำในอากาศหลั่งไหลลงอยู่ฉะนั้น.
ก็บรรดาอุบาสกเหล่านั้น ผู้นั่งแล้วในสำนักของพระตถาคตผู้ทรงแสดง (ธรรม) อยู่อย่างนั้น
อุบาสกคนหนึ่งนั่งหลับแล้วเทียว,
คนหนึ่งนั่งเขียนแผ่นดินด้วยนิ้วมือ,
คนหนึ่งนั่งเขย่าต้นไม้,
คนหนึ่งนั่งแหงน (หน้า) มองดูอากาศ,
แต่คนหนึ่งได้ฟังธรรมโดยเคารพ.
พระอานนทเถระถวายงานพัดพระศาสดาอยู่ แลดูอาการของอุบาสกเหล่านั้น กราบทูลพระศาสดาว่า
"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ทรงบันลือลั่นดุจมหาเมฆคำรน ทรงแสดงธรรมแก่อุบาสกเหล่านี้,
แต่อุบาสกเหล่านั้น เมื่อพระองค์ตรัสธรรมอยู่ นั่งทำกรรมนี้และนี้."
พระศาสดา. อานนท์ เธอไม่รู้จักอุบาสกเหล่านั้นหรือ?
อานนท์. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่รู้จัก พระเจ้าข้า.
- ประวัติเดิมของอุบาสก ๕ คน -
พระศาสดา. ก็บรรดาอุบาสกเหล่านั้น
อุบาสกผู้นั่งหลับแล้วนั่นเกิดในกำเนิดแห่งงูสิ้น ๕๐๐ ชาติ
พาดศีรษะไว้บนขนดทั้งหลายหลับแล้ว. แม้ในบัดนี้ ความอิ่มในการหลับของเขาย่อมไม่มี
เสียงของเราย่อมไม่เข้าไปสู่หูของเขา.
ฝ่ายบุรุษผู้นั่งเขียนแผ่นดินด้วยนิ้วมือ เกิดในกำเนิดไส้เดือนสิ้น ๕๐๐ ชาติโดยลำดับ
ขุดแผ่นดินแล้ว, ถึงบัดนี้ก็เขียนแผ่นดินอยู่ ด้วยอำนาจความประพฤติที่ตนได้เคยประพฤติแล้วในกาลก่อน
ย่อมไม่ฟังเสียงของเรา.
ฝ่ายบุรุษผู้นั่งเขย่าต้นไม้อยู่นั่น เกิดแล้วในกำเนิดลิงสิ้น ๕๐๐ ชาติโดยลำดับ,
ถึงบัดนี้ก็เขย่าต้นไม้อยู่ ด้วยสามารถแห่งความประพฤติที่ตนได้เคยประพฤติมาแล้วในกาลก่อนนั่นเทียว.
เสียงของเราย่อมไม่เข้าหูของเขา.
แม้พราหมณ์ผู้นั่งแหงน (หน้า) มองอากาศอยู่นั่น ก็เกิดเป็น (หมอ) ผู้บอกฤกษ์สิ้น ๕๐๐ ชาติโดยลำดับ,
ถึงบัดนี้ แม้ในวันนี้ก็ยังแหงน (หน้า) ดูอากาศอยู่ ด้วยสามารถแห่งความประพฤติที่ตนได้เคยประพฤติมาแล้วในกาลก่อน.
เสียงของเราย่อมไม่เข้าหูของเขา.
ส่วนพราหมณ์ผู้ฟังธรรมโดยความเคารพนั่น เกิดเป็นพราหมณ์ผู้ท่องมนต์ถึงฝั่งแห่งเวท ๓ สิ้น ๕๐๐ ชาติโดยลำดับ,
ถึงบัดนี้ ก็ย่อมฟังธรรมโดยเคารพ เป็นดังเทียบเคียงมนต์อยู่.
อานนท์. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระธรรมเทศนาของพระองค์ย่อมแทรกอวัยวะทั้งหลาย มีผิวเป็นต้น
(เข้า) ไปจดเยื่อกระดูกตั้งอยู่ เพราะเหตุไร อุบาสกเหล่านี้แม้เมื่อพระองค์ทรงแสดงธรรมอยู่ จึงไม่ฟังโดยเคารพ?
พระศาสดา. อานนท์ เธอเห็นจะทำความสำคัญว่า "ธรรมของเราอันบุคคลพึงฟังได้โดยง่ายกระมัง?"
อานนท์. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ธรรม (ของพระองค์) อันบุคคลพึงฟังได้โดยยากหรือ?
พระศาสดา. ถูกแล้ว อานนท์.
อานนท์. เพราะเหตุไร? พระเจ้าข้า.
พระศาสดา. อานนท์ บทว่า "พุทฺโธ" ก็ดี "ธมฺโม" ก็ดี "สงฺโฆ" ก็ดี
อันสัตว์เหล่านี้ไม่เคยสดับแล้ว ในแสนกัลป์ แม้เป็นอเนก เพราะฉะนั้น สัตว์เหล่านี้จึงไม่สามารถฟังธรรมนี้ได้.
แต่ในสงสารมีที่สุดอันใครๆ ตามรู้ไม่ได้ สัตว์เหล่านี้ฟังดิรัจฉานกถามีอย่างต่างๆ นั่นแล มาแล้ว
เพราะฉะนั้น สัตว์เหล่านี้จึงเที่ยวขับร้องฟ้อนรำอยู่ในที่ทั้งหลาย มีโรงดื่มสุราและสนามเป็นที่เล่นเป็นต้น
จึงไม่สามารถจะฟังธรรมได้.
อานนท์. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุบาสกทั้งหลายนั่นอาศัยอะไรจึงไม่สามารถ?
ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสแก่พระอานนท์ว่า
"อานนท์ อุบาสกเหล่านั้นอาศัยราคะ อาศัยโทสะ อาศัยโมหะ อาศัยตัณหา จึงไม่สามารถ.
ชื่อว่าไฟ เช่นกับด้วยไฟคือราคะไม่มี, ไฟใดไม่แสดงแม้ซึ่งเถ้า ย่อมไหม้สัตว์ทั้งหลาย.
แท้จริง แม้ไฟซึ่งยังกัลป์ให้พินาศ ที่อาศัยความปรากฏแห่งอาทิตย์ ๗ ดวงบังเกิดขึ้น
ย่อมไหม้โลก ไม่ให้วัตถุไรๆ เหลืออยู่เลย ก็จริง. ถึงกระนั้น ไฟนั้นย่อมไหม้ในบางคราวเท่านั้น
ชื่อว่ากาลที่ไฟคือราคะ จะไม่ไหม้ ย่อมไม่มี. เพราะฉะนั้น ชื่อว่าไฟเสมอด้วยราคะก็ดี
ชื่อว่าผู้จับเสมอด้วยโทสะก็ดี ชื่อว่าข่ายเสมอด้วยโมหะก็ดี ชื่อว่าแม่น้ำเสมอด้วยตัณหาก็ดี ไม่มี"
ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-
นตฺถิ ราคสโม อคฺคิ นตฺถิ โทสสโม คโห
นตฺถิ โมหสมํ ชาลํ นตฺถิ ตณฺหาสมา นที.
ไฟเสมอด้วยราคะ ไม่มี, ผู้จับเสมอด้วยโทสะไม่มี,
ข่ายเสมอด้วยโมหะ ไม่มี, แม่น้ำเสมอด้วยตัณหา ไม่มี.
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ราคสโม ความว่า ชื่อว่าไฟเสมอด้วยราคะ ย่อมไม่มี ด้วยสามารถแห่งอันไม่แสดงอะไรๆ เช่นควันเป็นต้น ตั้งขึ้นเผาภายในนั่นเอง.
บทว่า โทสสโม ความว่า ผู้จับทั้งหลาย มีผู้จับคือยักษ์ ผู้จับคืองูเหลือม และผู้จับคือจระเข้เป็นต้น ย่อมสามารถจับได้ในอัตภาพเดียวเท่านั้น แต่ผู้จับคือโทสะ ย่อมจับโดยส่วนเดียวทีเดียว เพราะฉะนั้น ชื่อว่าผู้จับเสมอด้วยโทสะย่อมไม่มี.
สองบทว่า โมหสมํ ชาลํ ความว่า ก็ชื่อว่าข่ายเสมอด้วยโมหะ ย่อมไม่มี เพราะอรรถว่ารึงรัดและรวบรัดไว้.
บทว่า ตณฺหาสมา ความว่า เวลาเต็มก็ดี เวลาพร่องก็ดี เวลาแห้งก็ดี ของแม่น้ำทั้งหลายมีแม่น้ำคงคาเป็นต้น ย่อมปรากฏ แต่เวลาเต็มหรือเวลาแห้งแห่งตัณหา ย่อมไม่มี. ความพร่องอย่างเดียวย่อมปรากฏเป็นนิตย์ เพราะฉะนั้น ชื่อว่าแม่น้ำเสมอด้วยตัณหา ย่อมไม่มี เพราะอรรถว่า ให้เต็มได้โดยยาก.
ในกาลจบเทศนา อุบาสกผู้ฟังธรรมอยู่โดยเคารพนั้น ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว.
พระธรรมเทศนาได้มีประโยชน์แม้แก่ชนผู้ประชุมกันแล้ว ดังนี้แล.
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ บรรทัดที่ ๘๙๕ - ๙๔๕. หน้าที่ ๓๙ - ๔๑.
http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=895&Z=945&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=28
เรื่องอุบาสก ๕ คน
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภอุบาสก ๕ คน ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "นตฺถิ ราคสโม อคฺคิ" เป็นต้น.
ได้ยินว่า อุบาสกเหล่านั้นใคร่จะฟังธรรม ไปสู่วิหาร ถวายบังคมพระศาสดา แล้วนั่ง ณ ส่วนสุดข้างหนึ่ง.
ก็ความดำริว่า "ผู้นี้เป็นกษัตริย์ ผู้นี้เป็นพราหมณ์, ผู้นี้เป็นคนมั่งมี, ผู้นี้เป็นคนยากจน
เราจักแสดงธรรมให้ยวดยิ่งแก่ผู้นี้ จักไม่แสดง (ธรรมให้ยวดยิ่ง) แก่ผู้นี้"
ย่อมไม่เกิดขึ้นแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย.
พระศาสดา เมื่อจะทรงแสดงธรรมปรารภบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ย่อมทรงทำความเคารพธรรมไว้เป็นเบื้องหน้า
แล้วจึงแสดง ประหนึ่งเทพเจ้าผู้มีฤทธิ์บันดาลให้น้ำในอากาศหลั่งไหลลงอยู่ฉะนั้น.
ก็บรรดาอุบาสกเหล่านั้น ผู้นั่งแล้วในสำนักของพระตถาคตผู้ทรงแสดง (ธรรม) อยู่อย่างนั้น
อุบาสกคนหนึ่งนั่งหลับแล้วเทียว,
คนหนึ่งนั่งเขียนแผ่นดินด้วยนิ้วมือ,
คนหนึ่งนั่งเขย่าต้นไม้,
คนหนึ่งนั่งแหงน (หน้า) มองดูอากาศ,
แต่คนหนึ่งได้ฟังธรรมโดยเคารพ.
พระอานนทเถระถวายงานพัดพระศาสดาอยู่ แลดูอาการของอุบาสกเหล่านั้น กราบทูลพระศาสดาว่า
"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ทรงบันลือลั่นดุจมหาเมฆคำรน ทรงแสดงธรรมแก่อุบาสกเหล่านี้,
แต่อุบาสกเหล่านั้น เมื่อพระองค์ตรัสธรรมอยู่ นั่งทำกรรมนี้และนี้."
พระศาสดา. อานนท์ เธอไม่รู้จักอุบาสกเหล่านั้นหรือ?
อานนท์. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่รู้จัก พระเจ้าข้า.
พระศาสดา. ก็บรรดาอุบาสกเหล่านั้น อุบาสกผู้นั่งหลับแล้วนั่นเกิดในกำเนิดแห่งงูสิ้น ๕๐๐ ชาติ
พาดศีรษะไว้บนขนดทั้งหลายหลับแล้ว. แม้ในบัดนี้ ความอิ่มในการหลับของเขาย่อมไม่มี
เสียงของเราย่อมไม่เข้าไปสู่หูของเขา.
ฝ่ายบุรุษผู้นั่งเขียนแผ่นดินด้วยนิ้วมือ เกิดในกำเนิดไส้เดือนสิ้น ๕๐๐ ชาติโดยลำดับ
ขุดแผ่นดินแล้ว, ถึงบัดนี้ก็เขียนแผ่นดินอยู่ ด้วยอำนาจความประพฤติที่ตนได้เคยประพฤติแล้วในกาลก่อน
ย่อมไม่ฟังเสียงของเรา.
ฝ่ายบุรุษผู้นั่งเขย่าต้นไม้อยู่นั่น เกิดแล้วในกำเนิดลิงสิ้น ๕๐๐ ชาติโดยลำดับ,
ถึงบัดนี้ก็เขย่าต้นไม้อยู่ ด้วยสามารถแห่งความประพฤติที่ตนได้เคยประพฤติมาแล้วในกาลก่อนนั่นเทียว.
เสียงของเราย่อมไม่เข้าหูของเขา.
แม้พราหมณ์ผู้นั่งแหงน (หน้า) มองอากาศอยู่นั่น ก็เกิดเป็น (หมอ) ผู้บอกฤกษ์สิ้น ๕๐๐ ชาติโดยลำดับ,
ถึงบัดนี้ แม้ในวันนี้ก็ยังแหงน (หน้า) ดูอากาศอยู่ ด้วยสามารถแห่งความประพฤติที่ตนได้เคยประพฤติมาแล้วในกาลก่อน.
เสียงของเราย่อมไม่เข้าหูของเขา.
ส่วนพราหมณ์ผู้ฟังธรรมโดยความเคารพนั่น เกิดเป็นพราหมณ์ผู้ท่องมนต์ถึงฝั่งแห่งเวท ๓ สิ้น ๕๐๐ ชาติโดยลำดับ,
ถึงบัดนี้ ก็ย่อมฟังธรรมโดยเคารพ เป็นดังเทียบเคียงมนต์อยู่.
อานนท์. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระธรรมเทศนาของพระองค์ย่อมแทรกอวัยวะทั้งหลาย มีผิวเป็นต้น
(เข้า) ไปจดเยื่อกระดูกตั้งอยู่ เพราะเหตุไร อุบาสกเหล่านี้แม้เมื่อพระองค์ทรงแสดงธรรมอยู่ จึงไม่ฟังโดยเคารพ?
พระศาสดา. อานนท์ เธอเห็นจะทำความสำคัญว่า "ธรรมของเราอันบุคคลพึงฟังได้โดยง่ายกระมัง?"
อานนท์. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ธรรม (ของพระองค์) อันบุคคลพึงฟังได้โดยยากหรือ?
พระศาสดา. ถูกแล้ว อานนท์.
อานนท์. เพราะเหตุไร? พระเจ้าข้า.
พระศาสดา. อานนท์ บทว่า "พุทฺโธ" ก็ดี "ธมฺโม" ก็ดี "สงฺโฆ" ก็ดี
อันสัตว์เหล่านี้ไม่เคยสดับแล้ว ในแสนกัลป์ แม้เป็นอเนก เพราะฉะนั้น สัตว์เหล่านี้จึงไม่สามารถฟังธรรมนี้ได้.
แต่ในสงสารมีที่สุดอันใครๆ ตามรู้ไม่ได้ สัตว์เหล่านี้ฟังดิรัจฉานกถามีอย่างต่างๆ นั่นแล มาแล้ว
เพราะฉะนั้น สัตว์เหล่านี้จึงเที่ยวขับร้องฟ้อนรำอยู่ในที่ทั้งหลาย มีโรงดื่มสุราและสนามเป็นที่เล่นเป็นต้น
จึงไม่สามารถจะฟังธรรมได้.
อานนท์. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุบาสกทั้งหลายนั่นอาศัยอะไรจึงไม่สามารถ?
ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสแก่พระอานนท์ว่า
"อานนท์ อุบาสกเหล่านั้นอาศัยราคะ อาศัยโทสะ อาศัยโมหะ อาศัยตัณหา จึงไม่สามารถ.
ชื่อว่าไฟ เช่นกับด้วยไฟคือราคะไม่มี, ไฟใดไม่แสดงแม้ซึ่งเถ้า ย่อมไหม้สัตว์ทั้งหลาย.
แท้จริง แม้ไฟซึ่งยังกัลป์ให้พินาศ ที่อาศัยความปรากฏแห่งอาทิตย์ ๗ ดวงบังเกิดขึ้น
ย่อมไหม้โลก ไม่ให้วัตถุไรๆ เหลืออยู่เลย ก็จริง. ถึงกระนั้น ไฟนั้นย่อมไหม้ในบางคราวเท่านั้น
ชื่อว่ากาลที่ไฟคือราคะ จะไม่ไหม้ ย่อมไม่มี. เพราะฉะนั้น ชื่อว่าไฟเสมอด้วยราคะก็ดี
ชื่อว่าผู้จับเสมอด้วยโทสะก็ดี ชื่อว่าข่ายเสมอด้วยโมหะก็ดี ชื่อว่าแม่น้ำเสมอด้วยตัณหาก็ดี ไม่มี"
ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-
นตฺถิ โมหสมํ ชาลํ นตฺถิ ตณฺหาสมา นที.
ไฟเสมอด้วยราคะ ไม่มี, ผู้จับเสมอด้วยโทสะไม่มี,
ข่ายเสมอด้วยโมหะ ไม่มี, แม่น้ำเสมอด้วยตัณหา ไม่มี.
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ บรรทัดที่ ๘๙๕ - ๙๔๕. หน้าที่ ๓๙ - ๔๑.
http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=895&Z=945&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=28