(ต่อจากตอนที่แล้วในกระทู้นี้
https://ppantip.com/topic/41745827)
"ขอกล่าวถึงใน ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาปรินิพพานสูตร มีข้อความว่า พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปยังปาวาลเจดีย์ ครั้นแล้วประทับนั่งบนอาสนะที่ท่านพระอานนท์ปูลาดถวาย ฝ่ายท่านพระอานนท์ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค แล้วนั่งณที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งกับท่านพระอานนท์เรื่อง อิทธิบาท ๔ อันผู้ใดผู้หนึ่งเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว เมื่อจำนงอยู่ พึงดำรงอยู่ได้ตลอด (อายุ) กัปป์ หรือเกินกว่า (อายุ) กัปป์
อายุกัปป์ในสมัยนั้น คือ ๑๐๐ ปี ท่านพระอานนท์มิได้ทูลขอให้พระผู้มีพระภาคทรงดำรงพระชนม์อยู่ตลอดกัปป์ พระผู้มีพระภาคจึงรับสั่งกับท่านพระอานนท์ว่า "เธอจงไปเถิดอานนท์ เธอรู้กาลอันควรในบัดนี้" ท่านพระอานนท์ทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว ลุกจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค กระทำปทักษิณ แล้วไปนั่ง ณ โคนไม้แห่งหนึ่ง ในที่ไม่ไกล ครั้งนั้น มารผู้มีบาป เมื่อท่านพระอานนท์หลีกไปแล้วไม่นาน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กราบทูลว่า
" ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคจงปรินิพพานในบัดนี้เถิด ขอพระสุคตจงปรินิพพานในบัดนี้เถิด บัดนี้เป็นเวลาปรินิพพานของพระผู้มีพระภาค ก็พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระวาจานี้ว่า ดูกร มารผู้มีบาป ภิกษุผู้เป็นสาวกของเราจักยังไม่เฉียบแหลม ไม่ได้รับแนะนำ ไม่แกล้วกล้า ไม่เป็นพหูสูต ไม่ทรงธรรม ไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ไม่ปฏิบัติชอบ ไม่ปฏิบัติตามธรรม เรียนกับอาจารย์ของตนแล้ว ยังบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก กระทำ ให้ง่ายไม่ได้ ยังแสดงธรรมปาฏิหาริย์ ข่มขี่ปรัปวาทะที่บังเกิดขึ้นให้เรียบร้อยโดยสหธรรมไม่ได้เพียงใด เราจักยังไม่ปรินิพพานเพียงนั้น
ก็บัดนี้ ภิกษุผู้เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ฉลาดเฉียบแหลมแล้ว ได้รับแนะนำแล้ว แกล้วกล้า เป็นพหูสูต ทรงธรรม ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรม เรียนกับอาจารย์ของตนแล้ว บอกแสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนกกระทำ ให้ง่ายได้ แสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ ข่มขี่ปรัปวาทะที่บังเกิดขึ้นโดยเรียบร้อย โดยสหธรรมได้
ต่อจากนั้น มารก็ได้กล่าวถึงภิกษุณีสาวิกา อุบาสกที่เป็นสาวก อุบาสิกาผู้เป็นสาวก เป็นผู้เฉียบแหลมแล้ว และได้ขอให้พระผู้มีพระภาคจงปรินิพพานในบัดนี้เถิด บัดนี้เป็นเวลาปรินิพพานของพระผู้มีพระภาค เมื่อมารกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสตอบว่า ดูกร มารผู้มีบาป ท่านจงมีความขวนขวายน้อยเถิด ความปรินิพพานแห่งตถาคตจักมีไม่ช้า โดยล่วงไปอีก ๓ เดือน แต่นี้ ตถาคตก็จักปรินิพพาน ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงมีสติสัมปชัญญะ ทรงปลงอายุสังขาร ณ ปาวาลเจดีย์ พระผู้มีพระภาคมิได้ทรงเพียงให้ภิกษุผู้เป็นสาวกเป็นผู้เฉียบแหลมเท่านั้น แต่ยังรวมถึงภิกษุณีสาวิกา อุบาสกผู้เป็นสาวก อุบาสิกาผู้เป็นสาวกด้วยว่า ต้องเป็น ผู้เฉียบแหลม ได้รับแนะนำ แกล้วกล้า เป็นพหูสูต ทรงธรรม ปฏิบัติธรรมสม ควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรม เรียนกับอาจารย์ของตนแล้ว บอกแสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก กระทำให้ง่ายได้
ฉะนั้น ก็เป็นหน้าที่ของอุบาสิกาด้วย ไม่ใช่ว่า จะมอบหมายภาระให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้น เพราะว่าพุทธบริษัททั้งหมดจะต้องศึกษาธรรมและปฏิบัติตามธรรม ถ้าในครั้งนั้น ภิกษุเป็นผู้ที่เฉียบแหลมแล้ว แกล้วกล้าแล้ว แต่ภิกษุณีสาวิกา หรืออุบาสกผู้เป็นสาวก อุบาสิกาผู้เป็นสาวกนั้น ยังไม่เฉียบแหลม ยังไม่แกล้วกล้าแล้ว พระผู้มีพระภาคก็จักยังไม่ปรินิพพาน แต่เพราะว่าพรหมจรรย์ของพระองค์นั้นสมบูรณ์แล้ว เป็นประโยชน์แล้วแก่เทวดาและแก่มนุษย์ทั้งปวง ฉะนั้น ก็เป็นกาลสมัยที่พระผู้มีพระภาคจะปรินิพพาน
อีกสูตร ๑ ในทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค ปาสาทิกสูตร กล่าวด้วยเรื่องพุทธบริษัท สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับ ณ ปราสาทในสวนอัมพวันของเจ้าศากยะ มีนามว่า เวธัญญา ในแคว้นสักกะชนบท เมื่อนิครณฐ์นาฏบุตรสิ้นชีวิตแล้วไม่นาน พวกสาวกนิครณฐ์ก็แตกแยกกัน แม้สาวกที่เป็นคฤหัสถ์ก็เบื่อหน่าย ท้อถอยในความแตกแยกแก่งแย่งของพวกสาวกนิครณฐ์ เพราะว่าธรรมนั้นประกาศไว้ไม่ดีไม่ใช่ธรรมที่จะนำผู้ปฏิบัติให้ออกจากทุกข์ได้ ไม่ใช่ธรรมที่พระผู้มีพระภาคประกาศไว้ ครั้งนั้น สามเณรจุนทะ อยู่จำพรรษาในเมืองปาวา ได้เข้าไปหาท่านพระ อานนท์ซึ่งอยู่ในรามคาม กราบไหว้ท่านพระอานนท์ แล้วพูดเรื่องสาวกนิครณฐ์ที่แตกแยกกัน ท่านพระอานนท์ชวนสามเณรจุนทะไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค กราบทูลเรื่องนี้ให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาคตรัสกับท่านพระอานนท์และท่านสามเณรจุนทะว่า ข้อนี้ย่อมมีได้อย่างนั้น
ประการที่ ๑ เพราะว่าศาสดาไม่ใช่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ฉะนั้น ศาสดาก็ควรติ ธรรมก็ควรติ ใครชวนผู้ใดประพฤติปฏิบัติตาม ก็ประสบสิ่งที่ไม่ใช่บุญเป็น อันมาก เพราะเหตุว่าไม่ใช่ธรรมที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศ ฉะนั้น ทั้งศาสดาก็ควรติ ธรรมก็ควรติ สาวกผู้ประพฤติตามก็ควรติ แม้ผู้ที่สรรเสริญการปฏิบัติของสาวกนั้น ก็จะประสบสิ่งที่มิใช่บุญเป็นอันมาก (เป็นเครื่องชี้ให้เห็นว่า ธรรมใดไม่ตรงกับพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้แล้ว ธรรมนั้นควรติจริงๆ เพราะเหตุว่าไม่สมบูรณ์พร้อมด้วยพยัญชนะและอรรถ)
ประการที่ ๒ พระศาสดาเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประกาศธรรมไว้ดีแล้ว แต่สาวกไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ศาสดาควรสรรเสริญ ธรรมควรสรรเสริญ สาวกควรติ ผู้ชักชวนให้ปฏิบัติธรรมจะประสบบุญเป็นอันมาก (สิ่งที่ควรสรรเสริญก็ยังควรแก่การสรรเสริญนั่นเอง คือศาสดาควรสรรเสริญ ธรรมควรสรรเสริญ แต่สาวกควรติ ส่วนผู้ชักชวนให้ปฏิบัติธรรมนั้นจะประสบบุญเป็นอันมาก เพราะเหตุว่า ธรรมนั้นเป็นธรรมที่ พระผู้มีพระภาคได้ประกาศไว้ดีแล้ว)
แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ ๕
(ต่อจากตอนที่แล้วในกระทู้นี้ https://ppantip.com/topic/41745827)
"ขอกล่าวถึงใน ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาปรินิพพานสูตร มีข้อความว่า พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปยังปาวาลเจดีย์ ครั้นแล้วประทับนั่งบนอาสนะที่ท่านพระอานนท์ปูลาดถวาย ฝ่ายท่านพระอานนท์ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค แล้วนั่งณที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งกับท่านพระอานนท์เรื่อง อิทธิบาท ๔ อันผู้ใดผู้หนึ่งเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว เมื่อจำนงอยู่ พึงดำรงอยู่ได้ตลอด (อายุ) กัปป์ หรือเกินกว่า (อายุ) กัปป์
อายุกัปป์ในสมัยนั้น คือ ๑๐๐ ปี ท่านพระอานนท์มิได้ทูลขอให้พระผู้มีพระภาคทรงดำรงพระชนม์อยู่ตลอดกัปป์ พระผู้มีพระภาคจึงรับสั่งกับท่านพระอานนท์ว่า "เธอจงไปเถิดอานนท์ เธอรู้กาลอันควรในบัดนี้" ท่านพระอานนท์ทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว ลุกจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค กระทำปทักษิณ แล้วไปนั่ง ณ โคนไม้แห่งหนึ่ง ในที่ไม่ไกล ครั้งนั้น มารผู้มีบาป เมื่อท่านพระอานนท์หลีกไปแล้วไม่นาน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กราบทูลว่า
" ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคจงปรินิพพานในบัดนี้เถิด ขอพระสุคตจงปรินิพพานในบัดนี้เถิด บัดนี้เป็นเวลาปรินิพพานของพระผู้มีพระภาค ก็พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระวาจานี้ว่า ดูกร มารผู้มีบาป ภิกษุผู้เป็นสาวกของเราจักยังไม่เฉียบแหลม ไม่ได้รับแนะนำ ไม่แกล้วกล้า ไม่เป็นพหูสูต ไม่ทรงธรรม ไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ไม่ปฏิบัติชอบ ไม่ปฏิบัติตามธรรม เรียนกับอาจารย์ของตนแล้ว ยังบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก กระทำ ให้ง่ายไม่ได้ ยังแสดงธรรมปาฏิหาริย์ ข่มขี่ปรัปวาทะที่บังเกิดขึ้นให้เรียบร้อยโดยสหธรรมไม่ได้เพียงใด เราจักยังไม่ปรินิพพานเพียงนั้น
ก็บัดนี้ ภิกษุผู้เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ฉลาดเฉียบแหลมแล้ว ได้รับแนะนำแล้ว แกล้วกล้า เป็นพหูสูต ทรงธรรม ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรม เรียนกับอาจารย์ของตนแล้ว บอกแสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนกกระทำ ให้ง่ายได้ แสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ ข่มขี่ปรัปวาทะที่บังเกิดขึ้นโดยเรียบร้อย โดยสหธรรมได้
ต่อจากนั้น มารก็ได้กล่าวถึงภิกษุณีสาวิกา อุบาสกที่เป็นสาวก อุบาสิกาผู้เป็นสาวก เป็นผู้เฉียบแหลมแล้ว และได้ขอให้พระผู้มีพระภาคจงปรินิพพานในบัดนี้เถิด บัดนี้เป็นเวลาปรินิพพานของพระผู้มีพระภาค เมื่อมารกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสตอบว่า ดูกร มารผู้มีบาป ท่านจงมีความขวนขวายน้อยเถิด ความปรินิพพานแห่งตถาคตจักมีไม่ช้า โดยล่วงไปอีก ๓ เดือน แต่นี้ ตถาคตก็จักปรินิพพาน ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงมีสติสัมปชัญญะ ทรงปลงอายุสังขาร ณ ปาวาลเจดีย์ พระผู้มีพระภาคมิได้ทรงเพียงให้ภิกษุผู้เป็นสาวกเป็นผู้เฉียบแหลมเท่านั้น แต่ยังรวมถึงภิกษุณีสาวิกา อุบาสกผู้เป็นสาวก อุบาสิกาผู้เป็นสาวกด้วยว่า ต้องเป็น ผู้เฉียบแหลม ได้รับแนะนำ แกล้วกล้า เป็นพหูสูต ทรงธรรม ปฏิบัติธรรมสม ควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรม เรียนกับอาจารย์ของตนแล้ว บอกแสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก กระทำให้ง่ายได้
ฉะนั้น ก็เป็นหน้าที่ของอุบาสิกาด้วย ไม่ใช่ว่า จะมอบหมายภาระให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้น เพราะว่าพุทธบริษัททั้งหมดจะต้องศึกษาธรรมและปฏิบัติตามธรรม ถ้าในครั้งนั้น ภิกษุเป็นผู้ที่เฉียบแหลมแล้ว แกล้วกล้าแล้ว แต่ภิกษุณีสาวิกา หรืออุบาสกผู้เป็นสาวก อุบาสิกาผู้เป็นสาวกนั้น ยังไม่เฉียบแหลม ยังไม่แกล้วกล้าแล้ว พระผู้มีพระภาคก็จักยังไม่ปรินิพพาน แต่เพราะว่าพรหมจรรย์ของพระองค์นั้นสมบูรณ์แล้ว เป็นประโยชน์แล้วแก่เทวดาและแก่มนุษย์ทั้งปวง ฉะนั้น ก็เป็นกาลสมัยที่พระผู้มีพระภาคจะปรินิพพาน
อีกสูตร ๑ ในทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค ปาสาทิกสูตร กล่าวด้วยเรื่องพุทธบริษัท สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับ ณ ปราสาทในสวนอัมพวันของเจ้าศากยะ มีนามว่า เวธัญญา ในแคว้นสักกะชนบท เมื่อนิครณฐ์นาฏบุตรสิ้นชีวิตแล้วไม่นาน พวกสาวกนิครณฐ์ก็แตกแยกกัน แม้สาวกที่เป็นคฤหัสถ์ก็เบื่อหน่าย ท้อถอยในความแตกแยกแก่งแย่งของพวกสาวกนิครณฐ์ เพราะว่าธรรมนั้นประกาศไว้ไม่ดีไม่ใช่ธรรมที่จะนำผู้ปฏิบัติให้ออกจากทุกข์ได้ ไม่ใช่ธรรมที่พระผู้มีพระภาคประกาศไว้ ครั้งนั้น สามเณรจุนทะ อยู่จำพรรษาในเมืองปาวา ได้เข้าไปหาท่านพระ อานนท์ซึ่งอยู่ในรามคาม กราบไหว้ท่านพระอานนท์ แล้วพูดเรื่องสาวกนิครณฐ์ที่แตกแยกกัน ท่านพระอานนท์ชวนสามเณรจุนทะไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค กราบทูลเรื่องนี้ให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาคตรัสกับท่านพระอานนท์และท่านสามเณรจุนทะว่า ข้อนี้ย่อมมีได้อย่างนั้น
ประการที่ ๑ เพราะว่าศาสดาไม่ใช่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ฉะนั้น ศาสดาก็ควรติ ธรรมก็ควรติ ใครชวนผู้ใดประพฤติปฏิบัติตาม ก็ประสบสิ่งที่ไม่ใช่บุญเป็น อันมาก เพราะเหตุว่าไม่ใช่ธรรมที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศ ฉะนั้น ทั้งศาสดาก็ควรติ ธรรมก็ควรติ สาวกผู้ประพฤติตามก็ควรติ แม้ผู้ที่สรรเสริญการปฏิบัติของสาวกนั้น ก็จะประสบสิ่งที่มิใช่บุญเป็นอันมาก (เป็นเครื่องชี้ให้เห็นว่า ธรรมใดไม่ตรงกับพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้แล้ว ธรรมนั้นควรติจริงๆ เพราะเหตุว่าไม่สมบูรณ์พร้อมด้วยพยัญชนะและอรรถ)
ประการที่ ๒ พระศาสดาเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประกาศธรรมไว้ดีแล้ว แต่สาวกไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ศาสดาควรสรรเสริญ ธรรมควรสรรเสริญ สาวกควรติ ผู้ชักชวนให้ปฏิบัติธรรมจะประสบบุญเป็นอันมาก (สิ่งที่ควรสรรเสริญก็ยังควรแก่การสรรเสริญนั่นเอง คือศาสดาควรสรรเสริญ ธรรมควรสรรเสริญ แต่สาวกควรติ ส่วนผู้ชักชวนให้ปฏิบัติธรรมนั้นจะประสบบุญเป็นอันมาก เพราะเหตุว่า ธรรมนั้นเป็นธรรมที่ พระผู้มีพระภาคได้ประกาศไว้ดีแล้ว)