ในสมัยพุทธกาล..
ส่วนใหญ่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระอัครสาวก หรือพระสาวก ที่แสดงธรรมโปรดสัตว์โลก
ส่วนคฤหัสถ์ที่แสดงธรรมหายากมาก เช่น จิตตคฤหบดี ที่บรรลุอนาคามีผล เป็นต้น
การที่ผู้แสดงธรรมไม่ว่าจะเป็นพระภิกษุ หรือคฤหัสถ์ พึงบรรลุโสดาปัตติผลเป็นอย่างต่ำ
ด้วยปฏิเวธ ที่เป็นผลจากการปฏิบัติ จึงจะเป็นการแสดงธรรมที่ไม่คลาดเคลื่อน บิดเบือน
ไปจากพระพุทธโอวาทของพระศาสดา
ไม่พึงเป็นการแสดงธรรมที่อาศัยการท่องจำมาพูดต่อๆกันไป หรือสอดแทรกความคิดเห็นของตัวเองเข้าไป
อันเป็นการสร้างความผิดเพี้ยนของพระพุทธศาสนา จนถึงกับเป็นการสร้างลัทธิของตนขึ้นมา
ตามกระแสโซเชียลในปัจจุบัน
ผู้แสดงธรรม ก็มักจะอ้างว่าเป็นพระดำรัสที่พระศาสดาทรงสอนไว้กันทั้งนั้น
ส่วนผู้ฟังที่ศึกษา และมีความรู้จริงก็มีจำนวนน้อย
ย่อมไม่รู้ทัน ว่าสิ่งที่กล่าวมานั้น ตรงไหนจริง ตรงไหนเท็จ
ทำให้อาจเชื่อและศรัทธากันไปผิดๆได้ ตามแต่จริตและปัญญาทางธรรมของแต่ละคน
ในมุมของพระเถระผู้ใหญ่บางรูป ก็ชอบที่จะนิ่งเฉยเสียมากกว่าที่จะออกมาท้วงติง แก้ไข
เพราะมีแต่เจ๊า กับเจ๊ง ในการออกมาตอบโต้
อาจไม่คุ้มกับภาพลักษณ์ และสมณศักดิ์ที่เสวยอยู่
ทำให้พุทธศาสนิกชนทั้งหลายต้องมะงุมมะงาหรากันเอาเอง
ว่าสิ่งไหนควรเชื่อ หรือไม่ควรเชื่อ
ควรแห่ตาม หรือควรคัดค้าน
ในท้ายที่สุด..
ผู้แสดงธรรมที่เกิดปฏิเวธในตนเท่านั้น จึงจะไม่สอน ไม่แสดงธรรมที่คลาดเคลื่อน
และผู้ฟัง ก็ไม่ต้องเคลือบแคลงสงสัยในธรรมที่แสดง
แค่สงสัยว่า...
แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าธรรมที่มีผู้กล่าวมานั้น ควรเชื่อหรือไม่?
แค่สงสัย...คฤหัสถ์ที่แสดงธรรมต้องบรรลุมรรคผลก่อนหรือไม่?
ส่วนใหญ่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระอัครสาวก หรือพระสาวก ที่แสดงธรรมโปรดสัตว์โลก
ส่วนคฤหัสถ์ที่แสดงธรรมหายากมาก เช่น จิตตคฤหบดี ที่บรรลุอนาคามีผล เป็นต้น
การที่ผู้แสดงธรรมไม่ว่าจะเป็นพระภิกษุ หรือคฤหัสถ์ พึงบรรลุโสดาปัตติผลเป็นอย่างต่ำ
ด้วยปฏิเวธ ที่เป็นผลจากการปฏิบัติ จึงจะเป็นการแสดงธรรมที่ไม่คลาดเคลื่อน บิดเบือน
ไปจากพระพุทธโอวาทของพระศาสดา
ไม่พึงเป็นการแสดงธรรมที่อาศัยการท่องจำมาพูดต่อๆกันไป หรือสอดแทรกความคิดเห็นของตัวเองเข้าไป
อันเป็นการสร้างความผิดเพี้ยนของพระพุทธศาสนา จนถึงกับเป็นการสร้างลัทธิของตนขึ้นมา
ตามกระแสโซเชียลในปัจจุบัน
ผู้แสดงธรรม ก็มักจะอ้างว่าเป็นพระดำรัสที่พระศาสดาทรงสอนไว้กันทั้งนั้น
ส่วนผู้ฟังที่ศึกษา และมีความรู้จริงก็มีจำนวนน้อย
ย่อมไม่รู้ทัน ว่าสิ่งที่กล่าวมานั้น ตรงไหนจริง ตรงไหนเท็จ
ทำให้อาจเชื่อและศรัทธากันไปผิดๆได้ ตามแต่จริตและปัญญาทางธรรมของแต่ละคน
ในมุมของพระเถระผู้ใหญ่บางรูป ก็ชอบที่จะนิ่งเฉยเสียมากกว่าที่จะออกมาท้วงติง แก้ไข
เพราะมีแต่เจ๊า กับเจ๊ง ในการออกมาตอบโต้
อาจไม่คุ้มกับภาพลักษณ์ และสมณศักดิ์ที่เสวยอยู่
ทำให้พุทธศาสนิกชนทั้งหลายต้องมะงุมมะงาหรากันเอาเอง
ว่าสิ่งไหนควรเชื่อ หรือไม่ควรเชื่อ
ควรแห่ตาม หรือควรคัดค้าน
ในท้ายที่สุด..
ผู้แสดงธรรมที่เกิดปฏิเวธในตนเท่านั้น จึงจะไม่สอน ไม่แสดงธรรมที่คลาดเคลื่อน
และผู้ฟัง ก็ไม่ต้องเคลือบแคลงสงสัยในธรรมที่แสดง
แค่สงสัยว่า...
แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าธรรมที่มีผู้กล่าวมานั้น ควรเชื่อหรือไม่?