เมื่อนายฉันทะ บอกว่าจะทำบุญแต่กับพระอริยเจ้า พระศาสดาทรงว่าอย่างไร ( แด่ผู้ที่เคยบริจาคทานแก่สมีคำ)

กระทู้สนทนา
สวัสดีครับทุกๆท่าน ผมเจำได้ว่าเคยได้ยินพระสูตรหนึ่ง  พระพุทธเจ้าเคยตรัสถามนายฉันทะ (ถ้าจำไม่ผิดนะ ฉันๆอะไรนี่ล่ะ ขออภัยถ้าผิด) ว่า
    ฉันทะ...เธอยังไหว้พระดีอยู่ดอกหรือ...
    นายคนนี้ประนมมือว่า...ภันเตภควา ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าฯยังกราบไหว้เหมือนเดิม แต่จะเลือกก่อนพระเจ้าข้า...
    พระศาสดาจึงตรัสถามว่า เธอเลือกอย่างไรเล่าฉันทะ...
    นายคนนี้ก็ทูลว่า ....ข้าพเจ้าจะเลือกกราบและทำบุญเฉพาะแต่กับพระอริยเจ้าพระพุทธเจ้าข้า....
    พระศาสนาทรงตรัสตอบว่า...ฉันนะเอ๋ย เธอเป็นฆราวาสยังเกลือกกลั้วไปด้วยอิสตรี ยังบริโภคอยู่ซึ่งกาม (ประมาณนี้) เธอจะไปรู้ได้อย่างไรเล่าว่าภิกษุรูปใดเป็นพระอริยเจ้าแลมิใช่....
     จากนั้นพระศาสดาจึงทรงอธิบายทำนองว่า...การทำบุญกับพระสงฆ์นั้น ควรระลึกถึงพระรัตนตรัย มิใช่ว่าพระองค์นั้นองค์นี้ เมื่อนั้นจักประสบสิ่งที่เรียกว่าบุญอย่างแน่แท้....

        ทุกท่านครับ ผมก็อธิบายได้เท่านี้เพราะจำพระสูตรไม่ได้ แต่จำหลักสำคัญๆได้เท่านั้น พระสูตรนี้แหละทำให้ผมมั่นใจได้ว่า เงินที่จาคะออกไปให้ พระศาสนาแม้ สมีคำเป็นคนรับ กระผมก็ได้ประสบกับคำว่าบุญ (ส่วนสมีคำมันบริโภคบาปกรรมอันหนักแน่นอน) เพราะเกิดความอิ่มใจในจาคะ มิได้เสียใจเลย เพราะพระสูตรนี้นี่เอง ในวันเข้าพรรษา กระผมได้มาระลึกถึงพระสูตรนี้ แล้วเกิดความคิดว่า อยากจะแจกจ่ายออกไป แต่ก็ตามหาพระสูตรไม่เจอ เหล่าสมาชิกที่เป็นมหาทั้งหลาย  คงจะทราบกันดี วานบอกพระสูตรด้วยขอรับ..



          ขอบพระคุณ.....คุณ .withorn_saab มากครับ ที่ส่งลิงค์เนื้อหาสมบูรณ์มาให้ ทุกท่านขอให้ยึดสาระตามด้านล่างนี้นะครับ

จขกท จำได้แต่ใจความ แต่ detail นั้นต่างจากพระสูตร
ครับ  ขอให้เจริญในธรรมครับ


http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=22&A=9201&Z=9238
๕. ทารุกัมมิกสูตร  


[๓๓๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ปราสาทสร้างด้วยอิฐ
ใกล้นาทิกคาม ครั้งนั้น คฤหบดีชื่อทารุกัมมิกะ (พ่อค้าฟืน) เข้าไปเฝ้าพระผู้มี-
*พระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามว่า ดูกรคฤหบดี ทานในสกุล ท่านยังให้อยู่หรือ
คฤหบดีชื่อทารุกัมมิกะได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ยังให้อยู่
และทานนั้นแล ข้าพระองค์ให้ในภิกษุผู้เป็นอรหันต์ หรือผู้บรรลุอรหัตมรรค ผู้
ถืออยู่ป่าเป็นวัตร ผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ผู้ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ฯ
             พ.  ดูกรคฤหบดี ท่านผู้เป็นคฤหัสถ์ บริโภคกาม อยู่ครองเรือน นอน
เบียดเสียดบุตร บริโภคจันทน์แคว้นกาสี ทัดทรงดอกไม้ ของหอมและเครื่อง
ลูบไล้ ยินดีทองและเงินอยู่ พึงรู้ข้อนี้ได้ยากว่า ภิกษุเหล่านี้เป็นพระอรหันต์
หรือเป็นผู้บรรลุอรหัตมรรค ดูกรคฤหบดี ถ้าแม้ภิกษุผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร เป็นผู้
ฟุ้งซ่าน ถือตัว เห่อ ปากกล้า พูดพล่าม มีสติเลอะเลือน ไม่มีสัมปชัญญะ
มีใจไม่ตั้งมั่น มีจิตพลุ่งพล่าน ไม่สำรวมอินทรีย์ เมื่อเป็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นพึง
ถูกติเตียนด้วยเหตุนั้น ถ้าแม้ภิกษุผู้ถืออยู่ป่าเป็นวัตร เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ถือตัว
ไม่เห่อ ไม่ปากกล้า ไม่พูดพล่าม มีสติตั้งมั่น มีสัมปชัญญะ มีใจตั้งมั่น มี
จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง สำรวมอินทรีย์ เมื่อเป็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นพึงได้รับสรรเสริญ
ด้วยเหตุนั้น ถ้าแม้ภิกษุผู้อยู่ใกล้บ้าน เป็นผู้ฟุ้งซ่าน ฯลฯ เมื่อเป็นอย่างนี้ ภิกษุ
นั้นพึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้น ถ้าแม้ภิกษุผู้อยู่ใกล้บ้าน เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน ฯลฯ เมื่อ
เป็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นพึงได้รับสรรเสริญด้วยเหตุนั้น ถ้าแม้ภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาต
เป็นวัตร เป็นผู้ฟุ้งซ่าน ฯลฯ เมื่อเป็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นพึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้น
ถ้าแม้ภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน ฯลฯ เมื่อเป็นอย่างนี้
ภิกษุนั้นพึงได้รับสรรเสริญด้วยเหตุนั้น ถ้าแม้ภิกษุผู้รับนิมนต์ เป็นผู้ฟุ้งซ่าน ฯลฯ
เมื่อเป็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นพึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้น ถ้าแม้ภิกษุผู้รับนิมนต์ เป็นผู้
ไม่ฟุ้งซ่าน ฯลฯ เมื่อเป็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นพึงได้รับสรรเสริญด้วยเหตุนั้น ถ้าแม้
ภิกษุผู้ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร เป็นผู้ฟุ้งซ่าน ฯลฯ เมื่อเป็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นพึง
ถูกติเตียนด้วยเหตุนั้น ถ้าแม้ภิกษุผู้ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน ฯลฯ
เมื่อเป็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นพึงได้รับสรรเสริญด้วยเหตุนั้น ถ้าแม้ภิกษุผู้ทรงคฤหบดี
จีวร เป็นผู้ฟุ้งซ่าน ถือตัว เห่อ ปากกล้า พูดพล่าม มีสติเลอะเลือน ไม่มี
สัมปชัญญะ มีใจไม่ตั้งมั่น มีจิตพลุ่งพล่าน ไม่สำรวมอินทรีย์ เมื่อเป็นอย่างนี้
ภิกษุนั้นพึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้น ถ้าแม้ภิกษุผู้ทรงคฤหบดีจีวร เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน
ไม่ถือตัว ไม่เห่อ ไม่ปากกล้า ไม่พูดพล่าม มีสติตั้งมั่น มีสัมปชัญญะ มีใจ
ตั้งมั่น มีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง สำรวมอินทรีย์ เมื่อเป็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นพึงได้
รับสรรเสริญด้วยเหตุนั้น ดูกรคฤหบดี เชิญท่านให้สังฆทานเถิด เมื่อท่านให้
สังฆทานอยู่ จิตจักเลื่อมใส ท่านนั้นเป็นผู้มีจิตเลื่อมใส เมื่อตายไป จักเข้าถึง
สุคติโลกสวรรค์ คฤหบดีชื่อทารุกัมมิกะ ทูลสนองว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ข้าพระองค์นี้จักให้สังฆทานตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ฯ
จบสูตรที่ ๕
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่