บทความเขียนตอนที่ ๒ โดยพระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตต์
สิ่งที่ถูกต้องจะต้องไม่ขัดแย้ง ย้อนแย้งอยู่ในคำพูดของตัวเอง
คำก่อนกับคำหลัง คำหลังกับคำก่อน ของเธอไม่ตรงกัน
พุทธวจนะเริ่มต้นจากพุทธทาส - คึกฤทธิ์ - เบียร์ คนเพิ่งตื่นธรรม
เบียร์ เจ้าเด็กเมื่อวานซืน เพิ่งตื่นธรรม เธออ้างถึงหลวงพ่อพุทธทาสบ่อยๆ ว่า
“หนังสือพุทธวจนเหล่านี้ พุทธวจน ปฐมธรรม พุทธวจน มรรคง่าย หลวงพ่อพุทธทาสทำออกมา แปลมาจากภาษาบาลีด้วยตัวท่านเอง
กูบรรยายธรรมะได้อย่างนี้ ก็เพราะไปอ่านหนังสือเหล่านี้มา”
ประเดี๋ยวเธอก็จะออกมุกเดิม (แถ) อ้างเป็นตรายันต์ป้องกันตนเองไว้ว่า
“ถ้าใครมาเถียงกูก็เท่ากับเถียงหลวงพ่อพุทธทาส เพราะกูพูดตามพุทธวจนที่หลวงพ่อพุทธทาสทำเอาไว้”
ขอถามหน่อยเบียร์ เธอเคยไปถึงสวนโมกพลาราม วัดธารน้ำไหลของหลวงพ่อพุทธทาสหรือเปล่า
หรืออาจารย์ตัวพ่อของเธอ ท่านคึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล (ทราบว่ามีปัญหากับมูลนิธิธรรมทานของหลวงพ่อพุทธทาส ในเรื่องของลิขสิทธิ์มาก่อน ถึงกับจะได้ฟ้องร้องกันเป็นคดีความ) เคยไปอยู่ที่สวนโมกขพลาราม วัดธารน้ำไหลบ้างไหม เหมือนหลวงพ่อพยอม ที่เคยไปอยู่ศึกษาธรรมกับหลวงพ่อพุทธทาส สมัยที่เป็นพระหนุ่มๆ พระนวกบวชใหม่ๆ อยู่นานน่าจะหลายปี
แม้ฉันจะมีความเห็นไม่ตรง (ขัดแย้ง) กับหลวงพ่อพุทธทาสหลายเรื่อง แต่ฉันก็เคยไปอยู่ศึกษาปฏิบัติธรรมที่สวนโมกขพลาราม วัดธารน้ำไหลของหลวงพ่อพุทธทาสมาเป็นเดือนเลยทีเดียว แต่ไปในช่วงเวลาที่หลวงพ่อพุทธทาสมรณภาพไปแล้ว
ขอเล่าบรรยากาศการย่างกรายเข้าไปสู่สวนโมกขพลารามให้ฟังสักหน่อย ตอนนั้นฉันอายุได้ ๓๐ ปี เดินทางโดยรถไฟไปถึงอำเภอไชยา สุราษฎร์ธานี ในช่วงฤดูร้อน เดือนมีนาเมษา อยู่ข้างนอกสวนโมกขพลาราม อากาศกำลังร้อนอบอ้าวอยู่แท้ๆ แต่พอฉันย่างกรายเข้าไปสู่เขตของสวนโมกขพลารามภายในเท่านั้น ก็รู้สึกร่มรื่นเย็นชุ่มทันที ในตอนกลางคืนที่จำวัดในกุฏิกลางป่าหลังหนึ่ง ก็จำวัดได้อย่างสนิทนิ่งดี ตื่นขึ้นมาก็สดชื่นไม่งัวเงียเลย ฉันรู้สึกชอบใจมาก เมื่อได้ไปนอนแช่ตัวสรงน้ำอยู่ในธารน้ำไหลที่ไหลมาจากภูเขานางเอข้างบน
เมื่อฉันไปอยู่ในสวนโมกขพลาราม วัดธารน้ำไหล พระอาจารย์โพธิ์ เจ้าอาวาส พอรู้ว่าฉันเป็นมหาเปรียญธรรม ๙ ประโยค
ก็นิมนต์ให้ฉันกล่าวสัมโมทนียกถา ก่อนจะฉันเช้าพร้อมกับพระสงฆ์แม่ชีที่อยู่ภายในสวนโมกข์นั้น พอเห็นฉันกล่าวสัมโมทนียกถาได้ดี
หลวงพ่อพระอาจารย์โพธิ์ ก็นิมนต์ให้ฉันไปแสดงธรรมอยู่ที่ลานหินโค้ง ตรงที่หลวงพ่อพุทธทาส นั่งแสดงธรรมอยู่นั่นเอง
ฉันนั่งแสดงธรรมที่ลานหินโค้งออกลําโพงฮอร์นที่ติดอยู่กับต้นไม้ ดังไปเกือบทั่วสวนโมกข์ ในยามบ่ายเกือบทุกวัน
และหลวงพ่อพระอาจารย์โพธิ์ก็พาฉันไปเที่ยวเกาะสมุยและนิมนต์ให้ฉันแสดงธรรมที่เกาะสมุยนั้นอีก
อนึ่ง ที่ฉันชอบใจมาก ๆ ก็คือได้เดินไปที่สวนโมกข์นานาชาติ อยู่ตรงกันข้ามกับสวนโมกขพลารามเก่า เดินไปไกลพอสมควร เพื่อไปสรงน้ำแร่ร้อน นอนแช่ตัวอยู่ในแหล่งน้ำแร่ร้อนนั้น
สวนโมกข์มีพลังงานศักย์เยอะมาก ว่างช่วงเช้า ว่างช่วงบ่าย หลังจากบรรยายธรรมที่ลานหินโค้งเสร็จแล้ว ฉันก็เดินเที่ยวสำรวจหาที่ทำกรรมฐาน เดินจงกรมนั่งกำหนดอารมณ์กรรมฐาน มีข้อเสียในส่วนโมกข์อยู่อย่างหนึ่งคือเดินจงกรม จะหยุดยืนมิได้เลย หยุดยืนปุ๊บก็พรึบสามตัวเรียงกันปั๊บ ที่หลังเท้าทันที ยุงตัวเล็กๆ สีดำ เกาะจับกัดดูดเลือดเจ็บคันมาก
ช่วงว่างนั้น ฉันก็เดินสำรวจไปทั่วสวนโมกข์นั่นแหละกระทั่งเดินไปถึงยอดเขานางเอข้างบนสูง ๆ ฉันได้เห็นตั้งแต่วันแรกถึงสถานที่อยู่อาศัยของหลวงพ่อพุทธทาสที่สมถะเรียบง่ายมากๆ ใครก็เข้าถึงตัวท่านได้สะดวก โดยไม่มีพิธีรีตองใดๆ ทั้งสิ้น
และแล้วฉันก็ได้ไปเห็นข้อความหนึ่งที่หลวงพ่อพุทธทาสเขียนไว้เอง ในห้องที่เป็นรูปปั้นของท่านนั่งถือไม้เท้าอยู่ และพุ่มพระราชทานมากมายหลายพุ่ม ข้อความนั้นคือ “ได้ดีเพราะโดนด่า” “ได้ดีเพราะเขาด่า” ประมาณนี้แหละ
“โดนด่า” จะต้องมีเหตุให้ถูกด่าใช่ไหม เหตุนั้นคืออะไร ข้าพเจ้าได้ฟังจากปากของพระรูปหนึ่งที่อยู่ในสวนโมกข์ด้วยกันในช่วงนั้น
“หลวงพ่อพุทธทาส ท่านไปทะเลาะกับหม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช ท่านพูดว่า เราไปทะเลาะกับคนดังมีชื่อเสียง เราก็พลอยดังมีชื่อเสียงกับเขาไปด้วย”
คำพูดนี้ของหลวงพ่อพุทธทาส ข้าพเจ้าฟังดูแปลก ๆ เพราะเป็นคำพูดที่คล้ายกับคนในปัจจุบันนี้ที่หิวแสง จะต้องไปดีเบสถกเถียงกับคนที่มีชื่อเสียง
เช่น ครูนัท หนอนพระไตรปิฎก (ณัฐนันท์ สุดประเสริฐ) ที่ถูกจาตุรงค์ จิตอาสา นักวิชาการอิสระแขวะกล่าวหาว่าหิวแสง
จะต้องมาดีเบสกับเบียร์คนตื่นธรรม เพราะเบียร์คนตื่นธรรมเปรียบเหมือนทรโข่ง
เหตุแห่งการโดนด่าอย่างแท้จริง ก็มาจากปมขัดแย้งภายในใจของหลวงพ่อพุทธทาสนั่นเอง
เคยคิดถามไหมว่า สติปัญญาระดับหลวงพ่อพุทธทาส ทำไมไม่เรียนบาลีสนามหลวงจนจบเปรียญธรรม ๙ ประโยค
ก็เพราะว่า หลวงพ่อพุทธทาสตั้งความหวังเอาไว้สูง มองพระที่จบเปรียญธรรม ๙ ประโยค เปรียบเป็นพระอรหันต์เลยทีเดียว
แต่เมื่อท่านเข้ามาเรียนบาลีในกรุงเทพฯ กลับเห็นพระมหาเปรียญธรรมเก้าประโยคไม่เป็นไปตามที่ตนเองคาดหวัง
จึงหันหลังให้กับการเรียนบาลีกลับไปอยู่สวนโมกขพลาราม ศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง
โดยมีอาจารย์คลำนำทาง คลำหา ลองผิด ลองถูก ด้วยตนเอง เช่น ปฏิบัติธรรมกินข้าวเท่าจานแมว
ปมขัดแย้งภายในใจของหลวงพ่อพุทธทาสอีกอย่างหนึ่ง คือ
“ทำไมชาวพุทธ เมื่อทำบุญทำทานจึงต้องปรารถนาบรรลุมรรคผลนิพพานในอนาคตกาลชาติหน้าโน้น พระนิพพานบรรลุในชาตินี้ไม่ได้หรือ”
ปมขัดแย้งนี้เองเป็นเหตุทำให้หลวงพ่อพุทธทาสไปศึกษาธรรมในพระไตรปิฎก ขั้นปรมัตถธรรม (Ultimate reality) และนำมาอธิบายให้เข้าใจแบบง่ายๆ
แม้กระทั่งหม้อข้าวหม้อแกงดับก็เป็นนิพพานได้ และเขียนเป็นหนังสือตีพิมพ์เป็นรูปเล่มเล็ก ๆ ชื่อว่า “นิพพาน ที่นี่ เดี๋ยวนี้”
ข้าพเจ้าได้รับแจกขณะเดินกลับมาจากการสอนธรรมภาคปฏิบัติ ประโยค ป.ธ. ๘ วิชาฉันท์ที่บาลีศึกษาพุทธโฆส นครปฐม
บริเวณใกล้ร้านหนังสือ นายอินทร์ ท่าพระจันทร์
สมัยนั้นข้าพเจ้าเพิ่งกลับมาจากการทำกรรมฐานที่วิเวกอาศรม ชลบุรี เกือบสองเดือน (๕๐ วัน) เปิดอ่านดูสักหน่อยก็รู้ว่า ไม่ใช่
อยู่แค่ในขั้นของ “ปัสสัทธิ ความสงบ” และไม่ใช่ปัสสัทธิสภาวธรรมจริงที่เกิดขึ้นจากการเจริญภาวนาอยู่ในขั้นตรุณวิปัสสนา
เป็นแต่เพียงความพยายามทำใจให้สงบเท่านั้น
หลวงพ่อพุทธทาสได้ปรับประยุกต์พระนิพพานปรมัตถธรรม สุญญตาธรรม ให้เป็นถ้อยคำที่เข้าใจได้ง่าย ๆ นี้คือเวิร์ดดิ้งวลีถ้อยคำที่สำคัญของหลวงพ่อพุทธทาสเลยทีเดียว คือ “ทำงานทุกชนิดด้วยจิตว่าง” คำบาลีก็คือ “สุญญตวิหาร” หลวงพ่อพุทธทาส ต้องไปอ่านมาจากพระสูตรนี้อย่างแน่นอน :-
จูฬสุญญตสูตร
ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ปราสาทของอุบาสิกาวิสาขา มิคารมารดา ในพระวิหารบุพพาราม เขตพระนครสาวัตถี
ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ออกจากสถานที่หลีกเร้นอยู่ในเวลาเย็น เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ ครั้นแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคประทับอยู่สักยนิคมชื่อนครกะ ในสักกชนบท
ณ ที่นั้น ข้าพระองค์ได้สดับได้รับพระดำรัสนี้เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า
‘ดูกรอานนท์ บัดนี้เราอยู่มากด้วยสุญญตวิหารธรรม’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อนี้ข้าพระองค์ได้สดับดีแล้ว รับมาดีแล้ว ใส่ใจดีแล้ว ทรงจำไว้ดีแล้วหรือ”
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า
“ดูกรอานนท์ แน่นอน นั่นเธอสดับดีแล้ว รับมาดีแล้ว ใส่ใจดีแล้ว ทรงจำไว้ดีแล้ว
ดูกรอานนท์ ทั้งเมื่อก่อนและบัดนี้ เราอยู่มากด้วยสุญญตวิหารธรรม”.
“ทำงานทุกชนิดด้วยจิตว่าง” เวิร์ดดิ้งวลีเด็ดของหลวงพ่อพุทธทาสนี้ ท่านใช้ในความหมายว่า
“ให้ทำงานโดยการไม่เอาตัวตนเข้าไปใส่ยึดว่าเป็นเราของเรา ให้ว่างจากตัวตน ว่างจากการยึดถือว่า เป็นเราของเรา งานเรา ผลงานของเรา”
คำพูดประโยคนี้เป็นคำแต่งใหม่ไหม พอฟังได้อยู่ใช่ไหม แต่จะปฏิบัติได้จริงหรือไม่
ทีนี้พอเวิร์ดดิ้งวลีเด็ดของหลวงพ่อพุทธทาสได้รับการเผยแผ่แพร่กระจายออกไปสู่สังคมวงกว้าง
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช ชาวพุทธผู้ศึกษาธรรมในขั้นลึกซึ้งเหมือนกัน จึงมาวิวาทะกับหลวงพ่อพุทธทาส
โดยท่านถามอย่างสุภาพว่า
“สุญญตวิหาร อยู่ด้วยความว่าง เป็นการอยู่ของพระอริยอรหันต์ พระพุทธเจ้ามิใช่หรือ ใต้เท้า”
ในเวลาต่อมาพระเดชพระคุณพระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) เจ้าอาวาสวัดประยูรวงศ์สาวาส
สมัยเป็นพระราชวรมุนีก็มาโต้แย้งในเวิร์ดดิ้งคำพูดของหลวงพ่อพุทธทาสนี้ว่า
“ในทางอภิธรรม จิตย่อมไม่ว่างจากอารมณ์ จิตมีอารมณ์รองรับอยู่เสมอ
การที่หลวงพ่อพุทธทาสบอกว่า ทำจิตให้ว่างก็เท่ากับระลึกเอาความว่างมาเป็นอารมณ์ของจิต
ไม่ได้ว่างจากอัตตาตัวตนโดยไม่ยึดถือว่า ‘เรา’ ‘ของเรา’ แต่อย่างไร”
ช่วงท้ายของบทความนี้ ให้ได้ประโยชน์จากธรรมะข้อนี้สักหน่อยว่า ในความเป็นจริงนั้นเป็นอย่างไร
ในมูลปริยายสูตร พระพุทธเจ้าได้ตรัสถึงภูมิชั้นของบุคคลเริ่มตั้งแต่ปุถุชนจนไปถึงพระอรหันต์ พุทธพจน์แรกเลย คือ
“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนในโลกนี้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ
ย่อมรู้ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดิน ครั้นรู้ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดินแล้ว ย่อมสำคัญธาตุดิน ย่อมสำคัญในธาตุดิน ย่อมสำคัญโดยความเป็นธาตุดิน
ย่อมสำคัญธาตุดินว่า ของเรา ย่อมยินดีธาตุดิน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้”
ท่านทั้งหลายที่ติดตามอ่านมาจนกระทั่งถึงช่วงนี้ พอเข้าใจได้ไหม ข้าพเจ้าขออธิบายขยายความให้ฟังอย่างกระชับสั้นว่า
“สำหรับปุถุชนชนผู้หนาแน่นด้วยกิเลส เมื่อเข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ก็มักจะมีตัวตนเข้าไปเกี่ยวข้องผูกพันกับสิ่งนั้นสิ่งนี้อยู่เสมอ
โดยเข้าไปยึดถือว่า ‘เรา’ ‘ของเรา’ เช่น ‘นี้อาจารย์ของเรา’ ‘นี้สำนักของเรา’ จะให้ว่างเว้นจากการเข้าไปยึดถือว่า “เรา” “ของเรา” ไม่ได้
จะให้ไม่มีตัวตนเข้าไปเกี่ยวข้องว่างจากตัวตนไม่ได้
แม้แต่เสขบุคคลพระโสดาบัน ก็ยังเผลอเข้าไปยึดว่า ‘เรา’ ‘ของเรา’ เพราะสติไม่ทันในการกำหนดรู้
ตัวอย่างคือพระอานนท์ ที่ท่านเสียใจร้องไห้ก็เพราะเข้าไปยึดว่า “พระศาสดาของเรา”
แต่พอได้สติจากการตักเตือนของพระพุทธเจ้าท่านก็กำหนดรู้ทัน และหายจากความเศร้าโศกเสียใจนั้นทันที
จึงสรุปได้ว่า “ทำงานทุกชนิดด้วยจิตว่าง” เวิร์ดดิ้งวลีเด็ดของหลวงพ่อพุทธทาสนั้น ท่านพูดสอนแสดงออกมาไม่ถูกต้องตรงตามธรรม
จะเป็นสัทธรรมปฏิรูปธรรมเทียมเป็นความเท็จเสียด้วยซ้ำ
(มีต่อในความคิดเห็นที่ 1)
ตอนที่ ๒ ...คำหลังกับคำก่อนของเธอไม่ตรงกัน พุทธวจนะเริ่มต้นจากพุทธทาส - คึกฤทธิ์ - เบียร์ คนเพิ่งตื่นธรรม
สิ่งที่ถูกต้องจะต้องไม่ขัดแย้ง ย้อนแย้งอยู่ในคำพูดของตัวเอง
คำก่อนกับคำหลัง คำหลังกับคำก่อน ของเธอไม่ตรงกัน
พุทธวจนะเริ่มต้นจากพุทธทาส - คึกฤทธิ์ - เบียร์ คนเพิ่งตื่นธรรม
เบียร์ เจ้าเด็กเมื่อวานซืน เพิ่งตื่นธรรม เธออ้างถึงหลวงพ่อพุทธทาสบ่อยๆ ว่า
“หนังสือพุทธวจนเหล่านี้ พุทธวจน ปฐมธรรม พุทธวจน มรรคง่าย หลวงพ่อพุทธทาสทำออกมา แปลมาจากภาษาบาลีด้วยตัวท่านเอง
กูบรรยายธรรมะได้อย่างนี้ ก็เพราะไปอ่านหนังสือเหล่านี้มา”
ประเดี๋ยวเธอก็จะออกมุกเดิม (แถ) อ้างเป็นตรายันต์ป้องกันตนเองไว้ว่า
“ถ้าใครมาเถียงกูก็เท่ากับเถียงหลวงพ่อพุทธทาส เพราะกูพูดตามพุทธวจนที่หลวงพ่อพุทธทาสทำเอาไว้”
ขอถามหน่อยเบียร์ เธอเคยไปถึงสวนโมกพลาราม วัดธารน้ำไหลของหลวงพ่อพุทธทาสหรือเปล่า
หรืออาจารย์ตัวพ่อของเธอ ท่านคึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล (ทราบว่ามีปัญหากับมูลนิธิธรรมทานของหลวงพ่อพุทธทาส ในเรื่องของลิขสิทธิ์มาก่อน ถึงกับจะได้ฟ้องร้องกันเป็นคดีความ) เคยไปอยู่ที่สวนโมกขพลาราม วัดธารน้ำไหลบ้างไหม เหมือนหลวงพ่อพยอม ที่เคยไปอยู่ศึกษาธรรมกับหลวงพ่อพุทธทาส สมัยที่เป็นพระหนุ่มๆ พระนวกบวชใหม่ๆ อยู่นานน่าจะหลายปี
แม้ฉันจะมีความเห็นไม่ตรง (ขัดแย้ง) กับหลวงพ่อพุทธทาสหลายเรื่อง แต่ฉันก็เคยไปอยู่ศึกษาปฏิบัติธรรมที่สวนโมกขพลาราม วัดธารน้ำไหลของหลวงพ่อพุทธทาสมาเป็นเดือนเลยทีเดียว แต่ไปในช่วงเวลาที่หลวงพ่อพุทธทาสมรณภาพไปแล้ว
ขอเล่าบรรยากาศการย่างกรายเข้าไปสู่สวนโมกขพลารามให้ฟังสักหน่อย ตอนนั้นฉันอายุได้ ๓๐ ปี เดินทางโดยรถไฟไปถึงอำเภอไชยา สุราษฎร์ธานี ในช่วงฤดูร้อน เดือนมีนาเมษา อยู่ข้างนอกสวนโมกขพลาราม อากาศกำลังร้อนอบอ้าวอยู่แท้ๆ แต่พอฉันย่างกรายเข้าไปสู่เขตของสวนโมกขพลารามภายในเท่านั้น ก็รู้สึกร่มรื่นเย็นชุ่มทันที ในตอนกลางคืนที่จำวัดในกุฏิกลางป่าหลังหนึ่ง ก็จำวัดได้อย่างสนิทนิ่งดี ตื่นขึ้นมาก็สดชื่นไม่งัวเงียเลย ฉันรู้สึกชอบใจมาก เมื่อได้ไปนอนแช่ตัวสรงน้ำอยู่ในธารน้ำไหลที่ไหลมาจากภูเขานางเอข้างบน
เมื่อฉันไปอยู่ในสวนโมกขพลาราม วัดธารน้ำไหล พระอาจารย์โพธิ์ เจ้าอาวาส พอรู้ว่าฉันเป็นมหาเปรียญธรรม ๙ ประโยค
ก็นิมนต์ให้ฉันกล่าวสัมโมทนียกถา ก่อนจะฉันเช้าพร้อมกับพระสงฆ์แม่ชีที่อยู่ภายในสวนโมกข์นั้น พอเห็นฉันกล่าวสัมโมทนียกถาได้ดี
หลวงพ่อพระอาจารย์โพธิ์ ก็นิมนต์ให้ฉันไปแสดงธรรมอยู่ที่ลานหินโค้ง ตรงที่หลวงพ่อพุทธทาส นั่งแสดงธรรมอยู่นั่นเอง
ฉันนั่งแสดงธรรมที่ลานหินโค้งออกลําโพงฮอร์นที่ติดอยู่กับต้นไม้ ดังไปเกือบทั่วสวนโมกข์ ในยามบ่ายเกือบทุกวัน
และหลวงพ่อพระอาจารย์โพธิ์ก็พาฉันไปเที่ยวเกาะสมุยและนิมนต์ให้ฉันแสดงธรรมที่เกาะสมุยนั้นอีก
อนึ่ง ที่ฉันชอบใจมาก ๆ ก็คือได้เดินไปที่สวนโมกข์นานาชาติ อยู่ตรงกันข้ามกับสวนโมกขพลารามเก่า เดินไปไกลพอสมควร เพื่อไปสรงน้ำแร่ร้อน นอนแช่ตัวอยู่ในแหล่งน้ำแร่ร้อนนั้น
สวนโมกข์มีพลังงานศักย์เยอะมาก ว่างช่วงเช้า ว่างช่วงบ่าย หลังจากบรรยายธรรมที่ลานหินโค้งเสร็จแล้ว ฉันก็เดินเที่ยวสำรวจหาที่ทำกรรมฐาน เดินจงกรมนั่งกำหนดอารมณ์กรรมฐาน มีข้อเสียในส่วนโมกข์อยู่อย่างหนึ่งคือเดินจงกรม จะหยุดยืนมิได้เลย หยุดยืนปุ๊บก็พรึบสามตัวเรียงกันปั๊บ ที่หลังเท้าทันที ยุงตัวเล็กๆ สีดำ เกาะจับกัดดูดเลือดเจ็บคันมาก
ช่วงว่างนั้น ฉันก็เดินสำรวจไปทั่วสวนโมกข์นั่นแหละกระทั่งเดินไปถึงยอดเขานางเอข้างบนสูง ๆ ฉันได้เห็นตั้งแต่วันแรกถึงสถานที่อยู่อาศัยของหลวงพ่อพุทธทาสที่สมถะเรียบง่ายมากๆ ใครก็เข้าถึงตัวท่านได้สะดวก โดยไม่มีพิธีรีตองใดๆ ทั้งสิ้น
และแล้วฉันก็ได้ไปเห็นข้อความหนึ่งที่หลวงพ่อพุทธทาสเขียนไว้เอง ในห้องที่เป็นรูปปั้นของท่านนั่งถือไม้เท้าอยู่ และพุ่มพระราชทานมากมายหลายพุ่ม ข้อความนั้นคือ “ได้ดีเพราะโดนด่า” “ได้ดีเพราะเขาด่า” ประมาณนี้แหละ
“โดนด่า” จะต้องมีเหตุให้ถูกด่าใช่ไหม เหตุนั้นคืออะไร ข้าพเจ้าได้ฟังจากปากของพระรูปหนึ่งที่อยู่ในสวนโมกข์ด้วยกันในช่วงนั้น
“หลวงพ่อพุทธทาส ท่านไปทะเลาะกับหม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช ท่านพูดว่า เราไปทะเลาะกับคนดังมีชื่อเสียง เราก็พลอยดังมีชื่อเสียงกับเขาไปด้วย”
คำพูดนี้ของหลวงพ่อพุทธทาส ข้าพเจ้าฟังดูแปลก ๆ เพราะเป็นคำพูดที่คล้ายกับคนในปัจจุบันนี้ที่หิวแสง จะต้องไปดีเบสถกเถียงกับคนที่มีชื่อเสียง
เช่น ครูนัท หนอนพระไตรปิฎก (ณัฐนันท์ สุดประเสริฐ) ที่ถูกจาตุรงค์ จิตอาสา นักวิชาการอิสระแขวะกล่าวหาว่าหิวแสง
จะต้องมาดีเบสกับเบียร์คนตื่นธรรม เพราะเบียร์คนตื่นธรรมเปรียบเหมือนทรโข่ง
เหตุแห่งการโดนด่าอย่างแท้จริง ก็มาจากปมขัดแย้งภายในใจของหลวงพ่อพุทธทาสนั่นเอง
เคยคิดถามไหมว่า สติปัญญาระดับหลวงพ่อพุทธทาส ทำไมไม่เรียนบาลีสนามหลวงจนจบเปรียญธรรม ๙ ประโยค
ก็เพราะว่า หลวงพ่อพุทธทาสตั้งความหวังเอาไว้สูง มองพระที่จบเปรียญธรรม ๙ ประโยค เปรียบเป็นพระอรหันต์เลยทีเดียว
แต่เมื่อท่านเข้ามาเรียนบาลีในกรุงเทพฯ กลับเห็นพระมหาเปรียญธรรมเก้าประโยคไม่เป็นไปตามที่ตนเองคาดหวัง
จึงหันหลังให้กับการเรียนบาลีกลับไปอยู่สวนโมกขพลาราม ศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง
โดยมีอาจารย์คลำนำทาง คลำหา ลองผิด ลองถูก ด้วยตนเอง เช่น ปฏิบัติธรรมกินข้าวเท่าจานแมว
ปมขัดแย้งภายในใจของหลวงพ่อพุทธทาสอีกอย่างหนึ่ง คือ
“ทำไมชาวพุทธ เมื่อทำบุญทำทานจึงต้องปรารถนาบรรลุมรรคผลนิพพานในอนาคตกาลชาติหน้าโน้น พระนิพพานบรรลุในชาตินี้ไม่ได้หรือ”
ปมขัดแย้งนี้เองเป็นเหตุทำให้หลวงพ่อพุทธทาสไปศึกษาธรรมในพระไตรปิฎก ขั้นปรมัตถธรรม (Ultimate reality) และนำมาอธิบายให้เข้าใจแบบง่ายๆ
แม้กระทั่งหม้อข้าวหม้อแกงดับก็เป็นนิพพานได้ และเขียนเป็นหนังสือตีพิมพ์เป็นรูปเล่มเล็ก ๆ ชื่อว่า “นิพพาน ที่นี่ เดี๋ยวนี้”
ข้าพเจ้าได้รับแจกขณะเดินกลับมาจากการสอนธรรมภาคปฏิบัติ ประโยค ป.ธ. ๘ วิชาฉันท์ที่บาลีศึกษาพุทธโฆส นครปฐม
บริเวณใกล้ร้านหนังสือ นายอินทร์ ท่าพระจันทร์
สมัยนั้นข้าพเจ้าเพิ่งกลับมาจากการทำกรรมฐานที่วิเวกอาศรม ชลบุรี เกือบสองเดือน (๕๐ วัน) เปิดอ่านดูสักหน่อยก็รู้ว่า ไม่ใช่
อยู่แค่ในขั้นของ “ปัสสัทธิ ความสงบ” และไม่ใช่ปัสสัทธิสภาวธรรมจริงที่เกิดขึ้นจากการเจริญภาวนาอยู่ในขั้นตรุณวิปัสสนา
เป็นแต่เพียงความพยายามทำใจให้สงบเท่านั้น
หลวงพ่อพุทธทาสได้ปรับประยุกต์พระนิพพานปรมัตถธรรม สุญญตาธรรม ให้เป็นถ้อยคำที่เข้าใจได้ง่าย ๆ นี้คือเวิร์ดดิ้งวลีถ้อยคำที่สำคัญของหลวงพ่อพุทธทาสเลยทีเดียว คือ “ทำงานทุกชนิดด้วยจิตว่าง” คำบาลีก็คือ “สุญญตวิหาร” หลวงพ่อพุทธทาส ต้องไปอ่านมาจากพระสูตรนี้อย่างแน่นอน :-
จูฬสุญญตสูตร
ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ปราสาทของอุบาสิกาวิสาขา มิคารมารดา ในพระวิหารบุพพาราม เขตพระนครสาวัตถี
ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ออกจากสถานที่หลีกเร้นอยู่ในเวลาเย็น เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ ครั้นแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคประทับอยู่สักยนิคมชื่อนครกะ ในสักกชนบท
ณ ที่นั้น ข้าพระองค์ได้สดับได้รับพระดำรัสนี้เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า
‘ดูกรอานนท์ บัดนี้เราอยู่มากด้วยสุญญตวิหารธรรม’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อนี้ข้าพระองค์ได้สดับดีแล้ว รับมาดีแล้ว ใส่ใจดีแล้ว ทรงจำไว้ดีแล้วหรือ”
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า
“ดูกรอานนท์ แน่นอน นั่นเธอสดับดีแล้ว รับมาดีแล้ว ใส่ใจดีแล้ว ทรงจำไว้ดีแล้ว
ดูกรอานนท์ ทั้งเมื่อก่อนและบัดนี้ เราอยู่มากด้วยสุญญตวิหารธรรม”.
“ทำงานทุกชนิดด้วยจิตว่าง” เวิร์ดดิ้งวลีเด็ดของหลวงพ่อพุทธทาสนี้ ท่านใช้ในความหมายว่า
“ให้ทำงานโดยการไม่เอาตัวตนเข้าไปใส่ยึดว่าเป็นเราของเรา ให้ว่างจากตัวตน ว่างจากการยึดถือว่า เป็นเราของเรา งานเรา ผลงานของเรา”
คำพูดประโยคนี้เป็นคำแต่งใหม่ไหม พอฟังได้อยู่ใช่ไหม แต่จะปฏิบัติได้จริงหรือไม่
ทีนี้พอเวิร์ดดิ้งวลีเด็ดของหลวงพ่อพุทธทาสได้รับการเผยแผ่แพร่กระจายออกไปสู่สังคมวงกว้าง
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช ชาวพุทธผู้ศึกษาธรรมในขั้นลึกซึ้งเหมือนกัน จึงมาวิวาทะกับหลวงพ่อพุทธทาส
โดยท่านถามอย่างสุภาพว่า
“สุญญตวิหาร อยู่ด้วยความว่าง เป็นการอยู่ของพระอริยอรหันต์ พระพุทธเจ้ามิใช่หรือ ใต้เท้า”
ในเวลาต่อมาพระเดชพระคุณพระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) เจ้าอาวาสวัดประยูรวงศ์สาวาส
สมัยเป็นพระราชวรมุนีก็มาโต้แย้งในเวิร์ดดิ้งคำพูดของหลวงพ่อพุทธทาสนี้ว่า
“ในทางอภิธรรม จิตย่อมไม่ว่างจากอารมณ์ จิตมีอารมณ์รองรับอยู่เสมอ
การที่หลวงพ่อพุทธทาสบอกว่า ทำจิตให้ว่างก็เท่ากับระลึกเอาความว่างมาเป็นอารมณ์ของจิต
ไม่ได้ว่างจากอัตตาตัวตนโดยไม่ยึดถือว่า ‘เรา’ ‘ของเรา’ แต่อย่างไร”
ช่วงท้ายของบทความนี้ ให้ได้ประโยชน์จากธรรมะข้อนี้สักหน่อยว่า ในความเป็นจริงนั้นเป็นอย่างไร
ในมูลปริยายสูตร พระพุทธเจ้าได้ตรัสถึงภูมิชั้นของบุคคลเริ่มตั้งแต่ปุถุชนจนไปถึงพระอรหันต์ พุทธพจน์แรกเลย คือ
“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนในโลกนี้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ
ย่อมรู้ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดิน ครั้นรู้ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดินแล้ว ย่อมสำคัญธาตุดิน ย่อมสำคัญในธาตุดิน ย่อมสำคัญโดยความเป็นธาตุดิน
ย่อมสำคัญธาตุดินว่า ของเรา ย่อมยินดีธาตุดิน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เรากล่าวว่า เพราะเขาไม่ได้กำหนดรู้”
ท่านทั้งหลายที่ติดตามอ่านมาจนกระทั่งถึงช่วงนี้ พอเข้าใจได้ไหม ข้าพเจ้าขออธิบายขยายความให้ฟังอย่างกระชับสั้นว่า
“สำหรับปุถุชนชนผู้หนาแน่นด้วยกิเลส เมื่อเข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ก็มักจะมีตัวตนเข้าไปเกี่ยวข้องผูกพันกับสิ่งนั้นสิ่งนี้อยู่เสมอ
โดยเข้าไปยึดถือว่า ‘เรา’ ‘ของเรา’ เช่น ‘นี้อาจารย์ของเรา’ ‘นี้สำนักของเรา’ จะให้ว่างเว้นจากการเข้าไปยึดถือว่า “เรา” “ของเรา” ไม่ได้
จะให้ไม่มีตัวตนเข้าไปเกี่ยวข้องว่างจากตัวตนไม่ได้
แม้แต่เสขบุคคลพระโสดาบัน ก็ยังเผลอเข้าไปยึดว่า ‘เรา’ ‘ของเรา’ เพราะสติไม่ทันในการกำหนดรู้
ตัวอย่างคือพระอานนท์ ที่ท่านเสียใจร้องไห้ก็เพราะเข้าไปยึดว่า “พระศาสดาของเรา”
แต่พอได้สติจากการตักเตือนของพระพุทธเจ้าท่านก็กำหนดรู้ทัน และหายจากความเศร้าโศกเสียใจนั้นทันที
จึงสรุปได้ว่า “ทำงานทุกชนิดด้วยจิตว่าง” เวิร์ดดิ้งวลีเด็ดของหลวงพ่อพุทธทาสนั้น ท่านพูดสอนแสดงออกมาไม่ถูกต้องตรงตามธรรม
จะเป็นสัทธรรมปฏิรูปธรรมเทียมเป็นความเท็จเสียด้วยซ้ำ
(มีต่อในความคิดเห็นที่ 1)