ท่านสามารถอ่านบทความได้ทั้งหมดใน
http://www.manager.co.th/AstvWeekend/ViewNews.aspx?NewsID=9560000125123
-----------
---เริ่มตอนที่7---
ทรงเป็นสหายธรรมหลวงมหาตาบัว-ท่านพุทธทาส
นอกจากนี้ หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่า สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ ทรงมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับพระเถราจารย์ที่สำคัญของไทย หลายต่อหลายรูป แต่ที่ว่ากันว่าใกล้ชิดมีอยู่ 2 รูปคือ พระธรรมวิสุทธิมงคล หรือหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน แห่งวัดป่าบ้านตาด จังหวัดอุดรธานี และพระธรรมโกศาจารย์ หรือท่านพุทธทาสภิกขุ แห่งสวนโมกขผลาราม จังหวัดสุราษฎร์ธานี
แน่นอน เรื่องนี้ย่อมมีที่มาที่ไป
กล่าวคือ ในปี 2509 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้กรมการศาสนาดำเนินการฝึกอบรมพระธรรมทูตเพื่อส่งไปประกาศพระศาสนาในต่างประเทศ ในความอุปถัมภ์ของรัฐบาล ในการนี้มหาเถรสมาคมเห็นชอบแต่งตั้งพระสาสนโสภณ(สมณศักดิ์ของเจ้าพระคุณในขณะนั้น) เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหารและกรรมการมหาเถรสมาคมให้เป็นประธานกรรมการอำนวยการฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ
ในการนี้พระเถราจารย์ซึ่งร่วมอยู่ในคณะกรรมการชุดแรก ล้วนแล้วแต่ปรากฏนามว่าเป็นภิกษุผู้ทรงภูมิธรรมและปฏิบัติแห่งยุครัชกาลปัจจุบันทั้งสิ้น อาทิ
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์(พิมพ์ ธมฺมธโร) วัดพระศรีมหาธาตุ
พระราชชัยกวี(เงื่อม อินฺทปญฺโญ) ภายหลังได้เป็นที่พระธรรมโกศาจารย์ หรือที่รู้จักกันในชื่อท่านพุทธทาสภิกขุ แห่งสวนโมกขผลาราม จังหวัดสุราษฎร์ธานี
พระราชสิทธิมุนี(โชดก ญาณสิทฺธิ) ภายหลังได้เป็นที่พระธรรมธีรราชมหามุนี วัดมหาธาตุ
พระปัญญานันทมุนี(ปัน ปญฺญานนฺโท) ภายหลังได้เป็นที่พระพรหมมังคลาจารย์ หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ วัดชลประทานรังสฤษฎ์ จังหวัดนนทบุรี
พระมหาบัว ญาณสมฺปนฺโน ภายหลังได้เป็นพระธรรมวิสุทธิมงคล วัดป่าบ้านตาด จังหวัดอุดรธานี
เล่ากันมาว่า ในระยะเริ่มต้นของการฝึกอบรมพระธรรมทูตนั้น บางครั้งได้ไปอบรมพระธรรมทูตที่สวนโมกข์ อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เจ้าพระคุณฯ และท่านพุทธทาสภิกขุใช้วิธีการฝึกฝนบรรดาพระภิกษุตามธรรมเนียมดั้งเดิมแบบยุคพุทธกาล กระทั่งว่า เมื่อบิณฑบาตกลับมาแล้วให้พระสงฆ์ฉันภัตตาหารอยู่ตามโคนไม้ เมื่อถึงเวลาอนุโมทนาท่านก็จะไม่ให้สวดมนต์เช่นที่เคยทำกันมา แต่จะใช้วิธีเรียกภิกษุรูปใดรูหนึ่งขึ้นมาแล้วให้เทศน์แทน โดยกำหนดว่า เมื่อเรียกรูปไหนก็ต้องเทศน์ได้ทุกรูป เพื่อฝึกฝนความพร้อมในการเป็นพระธรรมทูต
นอกจากนี้ ยังมีเหตุการณ์ที่ล่ากันว่าเมื่อคราวท่านพุทธทาสภิกขุอาพาธหนักนั้น เจ้าพระคุณได้เคยไปเยี่ยมท่านพุทธทาสภิกขุที่ได้ขอละสังขาร โดยท่านให้เหตุผลว่า อายุเกินพระพุทธเจ้ามาแล้ว แต่เจ้าพระคุณได้ขอไว้ หลังจากนั้นอาการของท่านพุทธทาสก็ฟื้นขึ้นมาและมีชีวิตอยู่ต่อมาอีกลหายปี
เจ้าคุณพระศายกวงศ์วิสุทธิ์ หรือ ดร.อนิลมาน ธมฺมสากิโย ผู้ช่วยเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะผู้ติดตาม เล่าว่า ตอนที่เสด็จไปเยี่ยมนั้น ท่านพุทธทาสยังไม่ได้อาพาธหนัก ยังไม่ล้มหมอนนอนเสื่อ เป็นแต่เพียงเจ็บออดแอด ยังออกมารับเสด็จได้เป็นชั่วโมง ท่านพาไปดูโรงมหรสพทางวิญญาณ ลานหินโค้ง แล้วก็นำเสด็จมาประทับที่ม้าหินหน้ากุฏิที่ปกติเก้าอี้ม้าหินนั้นท่านอาจารย์พุทธทาสนั่งประจำ ท่านอาจารย์พุทธทาสทูลสมเด็จพระสังฆราชให้ประทับแล้วท่านก็ไม่ยอมนั่ง ท่านพุทธทาสทูลว่า “ขอประทานกราบสมเด็จพระสังฆราชหน่อยที่อุตส่าห์เสด็จมาเยี่ยมถึงวัด” เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ทรงพยายามห้าม แต่ท่านไม่ยอม แล้วต่างคนก็ต่างกราบ พอท่านพุทธทาสกราบ เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ก็บอกไม่ได้ๆ ก็ต้องกราบกลับ
ส่วนเรื่องขอให้มีชีวิตต่อนั้น พระอาจารย์อนิลมานบอกว่า เหมือนกับเวลาไปเยี่ยมคนที่รู้จักกันแล้วระหว่างคุยก็ปรารภเรื่องสังขารว่าไม่ไหวแล้ว แล้วเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ก็รับสั่งว่าขออาราธนาใต้เท้าอยู่ก่อนอย่าเพิ่งไป...
นอกจากนั้น เมื่อครั้งมีพระพลานามัยแข็งแรง สมเด็จพระสังฆราชฯ จะเสด็จไปยังวัดป่าในต่างจังหวัดเป็นเวลาอย่างน้อย 1 เดือนเป็นประจำทุกปีเพื่อทรงเยี่ยมและสนทนาธรรมกับครูบาอาจารย์ฝ่ายกรรมฐาน เช่น หลวงปู่ขาว อนาลโย หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล เป็นโอกาสให้ให้ทรงปฏิบัติองค์อย่างพระป่าเช่นเดียวกับพระรูปอื่น ทรงปฏิบัติสมาธิกรรมฐานอย่างวิเวกท่ามกลางความเงียบสงัดของธรรมชาติป่าเขา
นอกจากนี้ อีกวัดหนึ่งที่เสด็จไปก็คือ วัดป่าบ้านตาดของหลวงตามหาบัว ดังปรากฏรูปถ่ายในหลายวาระ
---จบตอนที่ 7----
100 ปีสมเด็จพระสังฆราช กับเรื่องที่ชาวพุทธ(อาจ)ยังไม่รู้ ตอนที่ 7 สหายธรรม
http://www.manager.co.th/AstvWeekend/ViewNews.aspx?NewsID=9560000125123
-----------
---เริ่มตอนที่7---
ทรงเป็นสหายธรรมหลวงมหาตาบัว-ท่านพุทธทาส
นอกจากนี้ หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่า สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ ทรงมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับพระเถราจารย์ที่สำคัญของไทย หลายต่อหลายรูป แต่ที่ว่ากันว่าใกล้ชิดมีอยู่ 2 รูปคือ พระธรรมวิสุทธิมงคล หรือหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน แห่งวัดป่าบ้านตาด จังหวัดอุดรธานี และพระธรรมโกศาจารย์ หรือท่านพุทธทาสภิกขุ แห่งสวนโมกขผลาราม จังหวัดสุราษฎร์ธานี
แน่นอน เรื่องนี้ย่อมมีที่มาที่ไป
กล่าวคือ ในปี 2509 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้กรมการศาสนาดำเนินการฝึกอบรมพระธรรมทูตเพื่อส่งไปประกาศพระศาสนาในต่างประเทศ ในความอุปถัมภ์ของรัฐบาล ในการนี้มหาเถรสมาคมเห็นชอบแต่งตั้งพระสาสนโสภณ(สมณศักดิ์ของเจ้าพระคุณในขณะนั้น) เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหารและกรรมการมหาเถรสมาคมให้เป็นประธานกรรมการอำนวยการฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ
ในการนี้พระเถราจารย์ซึ่งร่วมอยู่ในคณะกรรมการชุดแรก ล้วนแล้วแต่ปรากฏนามว่าเป็นภิกษุผู้ทรงภูมิธรรมและปฏิบัติแห่งยุครัชกาลปัจจุบันทั้งสิ้น อาทิ
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์(พิมพ์ ธมฺมธโร) วัดพระศรีมหาธาตุ
พระราชชัยกวี(เงื่อม อินฺทปญฺโญ) ภายหลังได้เป็นที่พระธรรมโกศาจารย์ หรือที่รู้จักกันในชื่อท่านพุทธทาสภิกขุ แห่งสวนโมกขผลาราม จังหวัดสุราษฎร์ธานี
พระราชสิทธิมุนี(โชดก ญาณสิทฺธิ) ภายหลังได้เป็นที่พระธรรมธีรราชมหามุนี วัดมหาธาตุ
พระปัญญานันทมุนี(ปัน ปญฺญานนฺโท) ภายหลังได้เป็นที่พระพรหมมังคลาจารย์ หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ วัดชลประทานรังสฤษฎ์ จังหวัดนนทบุรี
พระมหาบัว ญาณสมฺปนฺโน ภายหลังได้เป็นพระธรรมวิสุทธิมงคล วัดป่าบ้านตาด จังหวัดอุดรธานี
เล่ากันมาว่า ในระยะเริ่มต้นของการฝึกอบรมพระธรรมทูตนั้น บางครั้งได้ไปอบรมพระธรรมทูตที่สวนโมกข์ อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เจ้าพระคุณฯ และท่านพุทธทาสภิกขุใช้วิธีการฝึกฝนบรรดาพระภิกษุตามธรรมเนียมดั้งเดิมแบบยุคพุทธกาล กระทั่งว่า เมื่อบิณฑบาตกลับมาแล้วให้พระสงฆ์ฉันภัตตาหารอยู่ตามโคนไม้ เมื่อถึงเวลาอนุโมทนาท่านก็จะไม่ให้สวดมนต์เช่นที่เคยทำกันมา แต่จะใช้วิธีเรียกภิกษุรูปใดรูหนึ่งขึ้นมาแล้วให้เทศน์แทน โดยกำหนดว่า เมื่อเรียกรูปไหนก็ต้องเทศน์ได้ทุกรูป เพื่อฝึกฝนความพร้อมในการเป็นพระธรรมทูต
นอกจากนี้ ยังมีเหตุการณ์ที่ล่ากันว่าเมื่อคราวท่านพุทธทาสภิกขุอาพาธหนักนั้น เจ้าพระคุณได้เคยไปเยี่ยมท่านพุทธทาสภิกขุที่ได้ขอละสังขาร โดยท่านให้เหตุผลว่า อายุเกินพระพุทธเจ้ามาแล้ว แต่เจ้าพระคุณได้ขอไว้ หลังจากนั้นอาการของท่านพุทธทาสก็ฟื้นขึ้นมาและมีชีวิตอยู่ต่อมาอีกลหายปี
เจ้าคุณพระศายกวงศ์วิสุทธิ์ หรือ ดร.อนิลมาน ธมฺมสากิโย ผู้ช่วยเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะผู้ติดตาม เล่าว่า ตอนที่เสด็จไปเยี่ยมนั้น ท่านพุทธทาสยังไม่ได้อาพาธหนัก ยังไม่ล้มหมอนนอนเสื่อ เป็นแต่เพียงเจ็บออดแอด ยังออกมารับเสด็จได้เป็นชั่วโมง ท่านพาไปดูโรงมหรสพทางวิญญาณ ลานหินโค้ง แล้วก็นำเสด็จมาประทับที่ม้าหินหน้ากุฏิที่ปกติเก้าอี้ม้าหินนั้นท่านอาจารย์พุทธทาสนั่งประจำ ท่านอาจารย์พุทธทาสทูลสมเด็จพระสังฆราชให้ประทับแล้วท่านก็ไม่ยอมนั่ง ท่านพุทธทาสทูลว่า “ขอประทานกราบสมเด็จพระสังฆราชหน่อยที่อุตส่าห์เสด็จมาเยี่ยมถึงวัด” เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ทรงพยายามห้าม แต่ท่านไม่ยอม แล้วต่างคนก็ต่างกราบ พอท่านพุทธทาสกราบ เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ก็บอกไม่ได้ๆ ก็ต้องกราบกลับ
ส่วนเรื่องขอให้มีชีวิตต่อนั้น พระอาจารย์อนิลมานบอกว่า เหมือนกับเวลาไปเยี่ยมคนที่รู้จักกันแล้วระหว่างคุยก็ปรารภเรื่องสังขารว่าไม่ไหวแล้ว แล้วเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ก็รับสั่งว่าขออาราธนาใต้เท้าอยู่ก่อนอย่าเพิ่งไป...
นอกจากนั้น เมื่อครั้งมีพระพลานามัยแข็งแรง สมเด็จพระสังฆราชฯ จะเสด็จไปยังวัดป่าในต่างจังหวัดเป็นเวลาอย่างน้อย 1 เดือนเป็นประจำทุกปีเพื่อทรงเยี่ยมและสนทนาธรรมกับครูบาอาจารย์ฝ่ายกรรมฐาน เช่น หลวงปู่ขาว อนาลโย หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล เป็นโอกาสให้ให้ทรงปฏิบัติองค์อย่างพระป่าเช่นเดียวกับพระรูปอื่น ทรงปฏิบัติสมาธิกรรมฐานอย่างวิเวกท่ามกลางความเงียบสงัดของธรรมชาติป่าเขา
นอกจากนี้ อีกวัดหนึ่งที่เสด็จไปก็คือ วัดป่าบ้านตาดของหลวงตามหาบัว ดังปรากฏรูปถ่ายในหลายวาระ
---จบตอนที่ 7----