ต่อไปนี้ผมขออนุญาติเสนอประวัติย่อๆของท่านพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ที่หลายคนอาจจะยังไม่เคยรู้ว่าท่านพระมหากษัตริย์ของพวกเราชาวไทยนั้นมีความเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนามากมายเพียงใด โดยผมคิดว่าได้ประโยชน์จากการอ่านครั้งนี้จึงอยากแบ่งปันธรรมที่ได้แก่ท่านใดก็ตามที่ได้อ่านแล้วให้ประโยชน์เกิดแก่ใจของท่าน
พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว องค์ผู้ก่อเกิดธรรมยุติกนิกาย
เพื่อพวกเราอันเป็นชนรุ่นหลัง จะได้ทราบประวัติการเกิดขึ้นแห่งคณะธรรมยุตโดยแจ่มแจ้ง ผมขออัญเชิญพระราชประวัติของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพระศาสนาโดยย่นย่อ มาเสนอไว้ ณ ที่นี้
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ กับ สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ประสูติเมื่อวันศุกร์ ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด ปีชวด ฉศก จ.ศ. ๑๑๖๖ ตรงกับวันที่ ๑๘ ตุลาคม พ ศ. ๒๓๔๗ ทรงตั้งอยู่ในฐานะเป็นรัชทายาทตามโบราณราชประเพณี
พ.ศ. ๒๓๕๕ พระชันษา ๙ พรรษา มีการพระราชพิธีลงสรง ทำเป็นครั้งแรกในกรุงรัตนโกสินทร์ พระราชทานพระนามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า “สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฏ สมมุติเทวาวงศ์ พงศ์อิศรกษัตริย์ วรขัตติยราชกุมาร”
พ ศ. ๒๓๖๐ พระชันษา ๑๔ พรรษา ทรงผนวชเป็นสามเณร ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ประทับอยู่ ณ วัดมหาธาตุ ๗ เดือน จึงลาผนวช กล่าวกันว่า สมเด็จพระสังฆราช (มี) เป็นพระอุปัชฌาย์ และสมเด็จพระญาณสังวร (สุข) เป็นพระอาจารย์ถวายศีล
ก่อนออกทรงผนวชเป็นสามเณร พระองค์ทรงเริ่มเรียนอักขรสมัยในฝ่ายภาษาบาลีมาบ้างแล้ว เมื่อทรงผนวชจึงได้ทรงเล่าเรียนมากขึ้นโดยลำดับ และเมื่อลาบวชสามเณรแล้ว ก็ได้เสด็จไปเรียนภาษาบาลีต่อที่หอพระมณเฑียรธรรม จึงนับว่าพระองค์มีพื้นฐานทางภาษาบาลีเป็นอย่างดีตั้งแต่สมัยยังทรงพระเยาว์
ต่อมา พ.ศ. ๒๓๖๗ พระชันษา ๒๑ พรรษา เสด็จออกทรงผนวชเป็นภิกษุ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) เป็นพระอุปัชฌาย์ และทรงได้รับการถวายสมณฉายาว่า “วชิรญาโณ” หลังพิธีผนวช ได้เสด็จประทับ ณ ตำหนักวัดมหาธาตุทรงทำอุปัชฌายวัตร ๓ วัน แล้วเสด็จไปจำพรรษาเพื่อศึกษาวิปัสสนาธุระตามนิยมผู้บวชมีเวลาน้อย ณ วัดสมอราย (วัดราชาธิวาส)
ทรงผนวชได้ ๑๕ วัน สมเด็จพระชนกนาถ รัชกาลที่ ๒ เสด็จสวรรคตโดยไม่ได้มีพระราชดำรัสสั่งมอบราชสมบัติ พระราชวงศ์และเสนาบดีได้ทูลถามว่าจะทรงปรารถนาราชสมบัติ หรือจะทรงผนวชต่อไป
ท่านวชิรญาโณภิกขุ ทรงตอบว่าจะทรงผนวชต่อไป พระราชวงศ์และเสนาบดีจึงทูลอัญเชิญ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ พระโอรสองค์ใหญ่ (ต่างพระมารดา) ซึ่งมีอายุแก่กว่าพระองค์ ๑๗ ปี ขึ้นเสวยราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓
ส่วนท่าน วชิรญาโณภิกขุ ก็ทรงดำรงอยู่ในสมณเพศ ตั้งพระหฤทัยศึกษาพระพุทธศาสนาต่อไปไม่มีกำหนด
หากเราได้ศึกษาพระราชประวัติโดยละเอียด จะเห็นได้ว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จออกผนวชทรงปฏิบัติถูกปฏิบัติตรง และทรงปฏิบัติจริง เป็นธรรมทายาท (ทายาทแห่งธรรม) ไม่ได้ทรงมุ่งลาภยศสักการะ ที่เรียกว่า อามิสทายาท (ทายาทแห่งอามิส วัตถุสิ่งของเครื่องล่อใจ) และทรงเป็น กรณวสิกะ (ผู้เป็นไปในอำนาจแห่งเหตุ คือ ทรงประกอบกรรมดี โดยเชื่อกฎแห่งกรรมว่า ทำดีได้ดีอย่างไม่มีความเคลือบแคลงสงสัยใดๆ เลย)
พ.ศ. ๒๓๖๙ พรรษาที่ ๓ ท่านวชิรญาโณภิกขุ ทรงเข้าแปลหนังสือในพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยได้ ๕ ประโยค ก็ขอพระราชทานหยุด
หมายความว่าพระองค์ทรงเข้าสอบแปลบาลีได้เปรียญธรรม ๕ ประโยค แล้วขอพระราชทานหยุดการสอบไว้เพียงนั้น เพราะมิได้ทรงปรารถนาที่จะมียศมีตำแหน่งในทางพระแต่อย่างใด
พ ศ. ๒๓๗๒ พรรษาที่ ๖ สมเด็จพระสังฆราช (ปุสสเทว สา) วัดราชประดิษฐ์ฯ ทรงเล่าว่า วันหนึ่งได้เสด็จเข้าไปถวายเทศน์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ตรัสถึงท่านวชิรญาโณภิกขุ ว่า
“ชีต้นบวชมานานแล้ว ควรเป็นราชาคณะได้ แล้วพระราชทานพัดแฉกพื้นตาดให้ทรงถือเป็นพัดยศต่อมา”
ท่านวชิรญาโณภิกขุ ทรงจำพรรษาที่วัดสมอราย (วัดราชาธิวาส) ตลอดจนถึง พ.ศ. ๒๓๗๙ พรรษาที่ ๑๓ จึงโปรดให้เลื่อนสมณศักดิ์ขึ้นเสมอเจ้าคณะรอง แล้วเชิญเสด็จมาครองวัดบวรนิเวศวิหาร สาเหตุที่โปรดให้เชิญเสด็จมาครองวัดบวรนิเวศวิหารในเรื่องพระราชประวัตินั้นมีว่า :-
“เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จกลับไปอยู่วัดราชาธิวาสนั้น พระสงฆ์ซึ่งถือวัตตปฏิบัติอย่างธรรมยุติกามีจำนวนเพียงสัก ๒๐ รูป ตามเสด็จไปอยู่วัดราชาธิวาสบ้าง คงอยู่วัดมหาธาตุหรืออยู่วัดอื่นบ้าง
แต่เมื่อพระเกียรติคุณที่ทรงเชี่ยวชาญพระไตรปิฎกและพระปฏิภาณในการแสดงพระธรรมเทศนาเลื่องลือแพร่หลาย ก็มีพระภิกษุสามเณรมหานิกายพากันไปถวายตัวเป็นศิษย์แล้วเลยบวชเป็นธรรมยุติกามากขึ้น และพวกคฤหัสถ์พากันเลื่อมใสไปถือศีลฟังธรรมมากขึ้นโดยลอาดับ จนที่วัดราชาธิวาสเกิดเป็นสำนักคณาจารย์แห่งหนึ่ง
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงตั้งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระราชาคณะ
ถึงกระนั้นการทรงทำความเจริญให้เกิดขึ้น ณ วัดราชาธิวาสก็เป็นเหตุให้พวกศัตรูมีจิตริษยายิ่งขึ้น ถึงกล่าวแสดงความสงสัยว่า ที่คนพอใจไปวัดราชาธิวาสนั้นเพราะประสงค์จะยกย่องพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในทางการเมือง
(จากพระราชประวัติ จะเห็นว่ามีฝ่ายตรงข้ามพยายามต่อต้านขัดขวาง การตั้งคณะธรรมยุตของพระองค์มาโดยตลอด และในที่สุดปล่อยข่าวว่าพระองค์ท่านคบคิดกันที่จะแย่งราชสมบัติ -ปฐม นิคมานนท์)
พระไพรีพินาศ
วัดบวรนิเวศวิหาร
ความทราบถึงพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ไม่ทรงระแวงสงสัยในส่วนพระองค์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ทรงรำคาญพระราชหฤทัยที่เกิดกล่าวกันเช่นนั้นแพร่หลาย
จึงตรัสปรึกษาสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ เมื่อยังเป็นที่พระยาศรีพิพัฒน์ฯ ๆ กราบทูลความเห็นว่า ถ้าโปรดฯ ให้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จมาอยู่เสียใกล้ๆ ความสงสัยนั้นจะระงับไปเอง พระบาทสมเด็จพระเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริเห็นชอบด้วย
เผอิญมีกรณีเหมาะแก่พระราชประสงค์ ด้วยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระราชาคณะ แต่ยังไม่ได้ครองวัด และเวลานั้นพระราชาคณะตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร ซึ่งกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพทรงสร้างใหม่ ที่ในพระนคร ว่างอยู่ จึงโปรดฯ ให้เลื่อนสมณศักดิ์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นเสมอเจ้าคณะรอง แล้วเชิญเสด็จมาครองวัดบวรนิเวศวิหาร”
ในพระนิพนธ์ พุทธศาสนวงศ์ ของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช บันทึกไว้ว่า
“เมื่อเสด็จมาครองวัดบวรนิเวศวิหารแล้ว ก็ทรงได้อิสรภาพในการปฏิบัติลัทธิพิธีธรรมยุตได้โดยเอกเทศ เพราะเมื่อประทับอยู่ที่วัดมหาธาตุก็ดี ที่วัดสมอรายก็ดี เพียงประทับอาศัยอยู่กับพระสงฆ์เนวาสิกะ (หมู่เจ้าอาวาส)
ครั้นได้ทรงครองวัดเป็นอิสระ โดยส่วนหนึ่งแล้วก็ได้จัดการศึกษาปฏิบัติพระธรรมวินัย และทรงตั้งขนบธรรมเนียมต่างๆ ไว้เป็นอันมาก ได้มีผู้มาบวชปฏิบัติเป็นธรรมยุตมากขึ้น จนถึงขยายออกไปตั้งสำนักต่างขึ้นโดยลำดับ.. ”
ขออนุญาตแทรกเหตุการณ์เรื่องหนึ่ง คือ ประมาณ พ ศ. ๒๓๙๑ ได้มีผู้นำพระพุทธรูปศิลาสมัยศรีวิชัย หน้าพระเพลาหนึ่งคืบสี่นิ้ว สูงตลอดพระรัศมีหนึ่งศอกมีเศษไม่ถึงนิ้วมาถวาย ทรงถวายพระนามว่า พระไพรีพินาศ ซึ่งประดิษฐานที่วัดบวรนิเวศวิหารมาจนตราบเท่าทุกวันนี้
พ.ศ. ๒๓๙๔ พรรษาที่ ๒๗ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคต พระราชวงศ์และเสนาบดีพร้อมกันทูลเชิญให้ทรงลาผนวชไปทรงปกครองบ้านเมือง
ทรงเห็นแก่ความสงบสุขของบ้านเมืองอันเป็นที่ตั้งของพระศาสนาเป็นสำคัญ จึงทรงลาผนวช เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ สืบพระราชสันตติวงศ์เป็นรัชกาลที่ ๔ เรียกพระนามโดยย่อว่า “พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามกุฏฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว”
ทรงทะนุบำรุงบ้านเมืองและพระศาสนาให้เจริญสืบต่อมาจนสิ้นรัชกาล
โดยธรรมที่ผมได้รับอยู่ในกระทู้ต่อไปครับ(เนื่องจากตัวอักษรไม่พอเลยยกไปกระทู้หน้า) และทั้งหมดนี้เป็นการคัดลอกมาจากเว็ปไซต์
http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-sao/lp-sao-hist-02-03.htm
ประวัติที่บางท่านอาจจะยังไม่รู้เกี่ยวกับ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ (ด้วยความเคารพต่อท่านอย่างสูง)
พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว องค์ผู้ก่อเกิดธรรมยุติกนิกาย
เพื่อพวกเราอันเป็นชนรุ่นหลัง จะได้ทราบประวัติการเกิดขึ้นแห่งคณะธรรมยุตโดยแจ่มแจ้ง ผมขออัญเชิญพระราชประวัติของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพระศาสนาโดยย่นย่อ มาเสนอไว้ ณ ที่นี้
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ กับ สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ประสูติเมื่อวันศุกร์ ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด ปีชวด ฉศก จ.ศ. ๑๑๖๖ ตรงกับวันที่ ๑๘ ตุลาคม พ ศ. ๒๓๔๗ ทรงตั้งอยู่ในฐานะเป็นรัชทายาทตามโบราณราชประเพณี
พ.ศ. ๒๓๕๕ พระชันษา ๙ พรรษา มีการพระราชพิธีลงสรง ทำเป็นครั้งแรกในกรุงรัตนโกสินทร์ พระราชทานพระนามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า “สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฏ สมมุติเทวาวงศ์ พงศ์อิศรกษัตริย์ วรขัตติยราชกุมาร”
พ ศ. ๒๓๖๐ พระชันษา ๑๔ พรรษา ทรงผนวชเป็นสามเณร ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ประทับอยู่ ณ วัดมหาธาตุ ๗ เดือน จึงลาผนวช กล่าวกันว่า สมเด็จพระสังฆราช (มี) เป็นพระอุปัชฌาย์ และสมเด็จพระญาณสังวร (สุข) เป็นพระอาจารย์ถวายศีล
ก่อนออกทรงผนวชเป็นสามเณร พระองค์ทรงเริ่มเรียนอักขรสมัยในฝ่ายภาษาบาลีมาบ้างแล้ว เมื่อทรงผนวชจึงได้ทรงเล่าเรียนมากขึ้นโดยลำดับ และเมื่อลาบวชสามเณรแล้ว ก็ได้เสด็จไปเรียนภาษาบาลีต่อที่หอพระมณเฑียรธรรม จึงนับว่าพระองค์มีพื้นฐานทางภาษาบาลีเป็นอย่างดีตั้งแต่สมัยยังทรงพระเยาว์
ต่อมา พ.ศ. ๒๓๖๗ พระชันษา ๒๑ พรรษา เสด็จออกทรงผนวชเป็นภิกษุ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) เป็นพระอุปัชฌาย์ และทรงได้รับการถวายสมณฉายาว่า “วชิรญาโณ” หลังพิธีผนวช ได้เสด็จประทับ ณ ตำหนักวัดมหาธาตุทรงทำอุปัชฌายวัตร ๓ วัน แล้วเสด็จไปจำพรรษาเพื่อศึกษาวิปัสสนาธุระตามนิยมผู้บวชมีเวลาน้อย ณ วัดสมอราย (วัดราชาธิวาส)
ทรงผนวชได้ ๑๕ วัน สมเด็จพระชนกนาถ รัชกาลที่ ๒ เสด็จสวรรคตโดยไม่ได้มีพระราชดำรัสสั่งมอบราชสมบัติ พระราชวงศ์และเสนาบดีได้ทูลถามว่าจะทรงปรารถนาราชสมบัติ หรือจะทรงผนวชต่อไป
ท่านวชิรญาโณภิกขุ ทรงตอบว่าจะทรงผนวชต่อไป พระราชวงศ์และเสนาบดีจึงทูลอัญเชิญ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ พระโอรสองค์ใหญ่ (ต่างพระมารดา) ซึ่งมีอายุแก่กว่าพระองค์ ๑๗ ปี ขึ้นเสวยราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓
ส่วนท่าน วชิรญาโณภิกขุ ก็ทรงดำรงอยู่ในสมณเพศ ตั้งพระหฤทัยศึกษาพระพุทธศาสนาต่อไปไม่มีกำหนด
หากเราได้ศึกษาพระราชประวัติโดยละเอียด จะเห็นได้ว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จออกผนวชทรงปฏิบัติถูกปฏิบัติตรง และทรงปฏิบัติจริง เป็นธรรมทายาท (ทายาทแห่งธรรม) ไม่ได้ทรงมุ่งลาภยศสักการะ ที่เรียกว่า อามิสทายาท (ทายาทแห่งอามิส วัตถุสิ่งของเครื่องล่อใจ) และทรงเป็น กรณวสิกะ (ผู้เป็นไปในอำนาจแห่งเหตุ คือ ทรงประกอบกรรมดี โดยเชื่อกฎแห่งกรรมว่า ทำดีได้ดีอย่างไม่มีความเคลือบแคลงสงสัยใดๆ เลย)
พ.ศ. ๒๓๖๙ พรรษาที่ ๓ ท่านวชิรญาโณภิกขุ ทรงเข้าแปลหนังสือในพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยได้ ๕ ประโยค ก็ขอพระราชทานหยุด
หมายความว่าพระองค์ทรงเข้าสอบแปลบาลีได้เปรียญธรรม ๕ ประโยค แล้วขอพระราชทานหยุดการสอบไว้เพียงนั้น เพราะมิได้ทรงปรารถนาที่จะมียศมีตำแหน่งในทางพระแต่อย่างใด
พ ศ. ๒๓๗๒ พรรษาที่ ๖ สมเด็จพระสังฆราช (ปุสสเทว สา) วัดราชประดิษฐ์ฯ ทรงเล่าว่า วันหนึ่งได้เสด็จเข้าไปถวายเทศน์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ตรัสถึงท่านวชิรญาโณภิกขุ ว่า
“ชีต้นบวชมานานแล้ว ควรเป็นราชาคณะได้ แล้วพระราชทานพัดแฉกพื้นตาดให้ทรงถือเป็นพัดยศต่อมา”
ท่านวชิรญาโณภิกขุ ทรงจำพรรษาที่วัดสมอราย (วัดราชาธิวาส) ตลอดจนถึง พ.ศ. ๒๓๗๙ พรรษาที่ ๑๓ จึงโปรดให้เลื่อนสมณศักดิ์ขึ้นเสมอเจ้าคณะรอง แล้วเชิญเสด็จมาครองวัดบวรนิเวศวิหาร สาเหตุที่โปรดให้เชิญเสด็จมาครองวัดบวรนิเวศวิหารในเรื่องพระราชประวัตินั้นมีว่า :-
“เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จกลับไปอยู่วัดราชาธิวาสนั้น พระสงฆ์ซึ่งถือวัตตปฏิบัติอย่างธรรมยุติกามีจำนวนเพียงสัก ๒๐ รูป ตามเสด็จไปอยู่วัดราชาธิวาสบ้าง คงอยู่วัดมหาธาตุหรืออยู่วัดอื่นบ้าง
แต่เมื่อพระเกียรติคุณที่ทรงเชี่ยวชาญพระไตรปิฎกและพระปฏิภาณในการแสดงพระธรรมเทศนาเลื่องลือแพร่หลาย ก็มีพระภิกษุสามเณรมหานิกายพากันไปถวายตัวเป็นศิษย์แล้วเลยบวชเป็นธรรมยุติกามากขึ้น และพวกคฤหัสถ์พากันเลื่อมใสไปถือศีลฟังธรรมมากขึ้นโดยลอาดับ จนที่วัดราชาธิวาสเกิดเป็นสำนักคณาจารย์แห่งหนึ่ง
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงตั้งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระราชาคณะ
ถึงกระนั้นการทรงทำความเจริญให้เกิดขึ้น ณ วัดราชาธิวาสก็เป็นเหตุให้พวกศัตรูมีจิตริษยายิ่งขึ้น ถึงกล่าวแสดงความสงสัยว่า ที่คนพอใจไปวัดราชาธิวาสนั้นเพราะประสงค์จะยกย่องพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในทางการเมือง
(จากพระราชประวัติ จะเห็นว่ามีฝ่ายตรงข้ามพยายามต่อต้านขัดขวาง การตั้งคณะธรรมยุตของพระองค์มาโดยตลอด และในที่สุดปล่อยข่าวว่าพระองค์ท่านคบคิดกันที่จะแย่งราชสมบัติ -ปฐม นิคมานนท์)
พระไพรีพินาศ
วัดบวรนิเวศวิหาร
ความทราบถึงพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ไม่ทรงระแวงสงสัยในส่วนพระองค์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ทรงรำคาญพระราชหฤทัยที่เกิดกล่าวกันเช่นนั้นแพร่หลาย
จึงตรัสปรึกษาสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ เมื่อยังเป็นที่พระยาศรีพิพัฒน์ฯ ๆ กราบทูลความเห็นว่า ถ้าโปรดฯ ให้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จมาอยู่เสียใกล้ๆ ความสงสัยนั้นจะระงับไปเอง พระบาทสมเด็จพระเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริเห็นชอบด้วย
เผอิญมีกรณีเหมาะแก่พระราชประสงค์ ด้วยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระราชาคณะ แต่ยังไม่ได้ครองวัด และเวลานั้นพระราชาคณะตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร ซึ่งกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพทรงสร้างใหม่ ที่ในพระนคร ว่างอยู่ จึงโปรดฯ ให้เลื่อนสมณศักดิ์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นเสมอเจ้าคณะรอง แล้วเชิญเสด็จมาครองวัดบวรนิเวศวิหาร”
ในพระนิพนธ์ พุทธศาสนวงศ์ ของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช บันทึกไว้ว่า
“เมื่อเสด็จมาครองวัดบวรนิเวศวิหารแล้ว ก็ทรงได้อิสรภาพในการปฏิบัติลัทธิพิธีธรรมยุตได้โดยเอกเทศ เพราะเมื่อประทับอยู่ที่วัดมหาธาตุก็ดี ที่วัดสมอรายก็ดี เพียงประทับอาศัยอยู่กับพระสงฆ์เนวาสิกะ (หมู่เจ้าอาวาส)
ครั้นได้ทรงครองวัดเป็นอิสระ โดยส่วนหนึ่งแล้วก็ได้จัดการศึกษาปฏิบัติพระธรรมวินัย และทรงตั้งขนบธรรมเนียมต่างๆ ไว้เป็นอันมาก ได้มีผู้มาบวชปฏิบัติเป็นธรรมยุตมากขึ้น จนถึงขยายออกไปตั้งสำนักต่างขึ้นโดยลำดับ.. ”
ขออนุญาตแทรกเหตุการณ์เรื่องหนึ่ง คือ ประมาณ พ ศ. ๒๓๙๑ ได้มีผู้นำพระพุทธรูปศิลาสมัยศรีวิชัย หน้าพระเพลาหนึ่งคืบสี่นิ้ว สูงตลอดพระรัศมีหนึ่งศอกมีเศษไม่ถึงนิ้วมาถวาย ทรงถวายพระนามว่า พระไพรีพินาศ ซึ่งประดิษฐานที่วัดบวรนิเวศวิหารมาจนตราบเท่าทุกวันนี้
พ.ศ. ๒๓๙๔ พรรษาที่ ๒๗ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคต พระราชวงศ์และเสนาบดีพร้อมกันทูลเชิญให้ทรงลาผนวชไปทรงปกครองบ้านเมือง
ทรงเห็นแก่ความสงบสุขของบ้านเมืองอันเป็นที่ตั้งของพระศาสนาเป็นสำคัญ จึงทรงลาผนวช เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ สืบพระราชสันตติวงศ์เป็นรัชกาลที่ ๔ เรียกพระนามโดยย่อว่า “พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามกุฏฯ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว”
ทรงทะนุบำรุงบ้านเมืองและพระศาสนาให้เจริญสืบต่อมาจนสิ้นรัชกาล
โดยธรรมที่ผมได้รับอยู่ในกระทู้ต่อไปครับ(เนื่องจากตัวอักษรไม่พอเลยยกไปกระทู้หน้า) และทั้งหมดนี้เป็นการคัดลอกมาจากเว็ปไซต์
http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-sao/lp-sao-hist-02-03.htm