ในช่วงวันที่ ๑-๑๐ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๗ ที่ผ่านมา ได้มีการจัดนิทรรศการ “๒๐๐ ปี วชิรญาณภิกขุ ทรงผนวช” ขึ้นใน ๔ วัด ได้แก่ วัดบวรนิเวศวิหาร วัดราชาธิวาสวิหาร วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร และวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร
โดยทั้งสี่วัดที่กล่าวไปข้างต้นเป็นวัดที่เกี่ยวข้องกับพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทั้งสิ้น
ก่อนที่รัชกาลที่ ๔ จะขึ้นครองราชย์ ทรงผนวชเป็น “พระวชิรญาณเถระ” มาเป็นเวลาถึง ๒๗ ปีตลอดสมัยรัชกาลที่ ๓ ในระหว่างที่ทรงผนวชนั้นเอง ทรงเห็นว่าวัตรปฏิบัติของพระสงฆ์ในขณะนั้นมีความย่อหย่อน ผิดเพี้ยนไปจากเดิมเป็นอันมาก
ต่อมา ทรงได้รู้จักกับพระมอญรูปหนึ่งที่มีวัตรปฏิบัติอันน่าเลื่อมใส ทั้งทรงเห็นว่าวัตรปฏิบัติของพระมอญยังมีความบริสุทธิ์ ไม่ผิดเพี้ยนไปมาก จึงทรงอุปสมบทซ้ำ แล้วเปลี่ยนมาปฏิบัติตามแบบพระมอญ ก่อนจะมีพระสงฆ์รูปอื่นปฏิบัติตามเรื่อย ๆ ทำให้เกิดเป็นธรรมยุติกนิกายในเวลาต่อมา
ธรรมยุติกนิกายจะเน้นยึดหลักธรรมคำสอนตามพระไตรปิฎกเป็นหลัก มีการปฏิรูปคำสอนให้สอดคล้องกับโลกตะวันตกมากขึ้น มีความเป็นเหตุเป็นผลมากขึ้น ไม่เน้นเรื่องของอิทธิปาฏิหาริย์ เนื่องจากสมัยนั้นแนวคิดตะวันตกเข้ามาในสยามมากมาย และมีคนในศาสนาอื่นโจมตีคำสอนของศาสนาพุทธถึงความไม่เป็นเหตุเป็นผล ลามไปถึงว่ามีผลกับความเจริญของประเทศ ทำให้พระวชิรญาณเถระจึงทรงปฏิวัติคำสอนดังกล่าว แถมยังส่งผลมาถึงศิลปกรรมที่พบในวัดธรรมยุติกนิกายด้วย ดังจะได้กล่าวถึงต่อไป
๔ วัดธรรมยุต ที่รัชกาลที่ ๔ ทรงผนวช กับวาระครบ ๒๐๐ ปี
โดยทั้งสี่วัดที่กล่าวไปข้างต้นเป็นวัดที่เกี่ยวข้องกับพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทั้งสิ้น
ก่อนที่รัชกาลที่ ๔ จะขึ้นครองราชย์ ทรงผนวชเป็น “พระวชิรญาณเถระ” มาเป็นเวลาถึง ๒๗ ปีตลอดสมัยรัชกาลที่ ๓ ในระหว่างที่ทรงผนวชนั้นเอง ทรงเห็นว่าวัตรปฏิบัติของพระสงฆ์ในขณะนั้นมีความย่อหย่อน ผิดเพี้ยนไปจากเดิมเป็นอันมาก
ต่อมา ทรงได้รู้จักกับพระมอญรูปหนึ่งที่มีวัตรปฏิบัติอันน่าเลื่อมใส ทั้งทรงเห็นว่าวัตรปฏิบัติของพระมอญยังมีความบริสุทธิ์ ไม่ผิดเพี้ยนไปมาก จึงทรงอุปสมบทซ้ำ แล้วเปลี่ยนมาปฏิบัติตามแบบพระมอญ ก่อนจะมีพระสงฆ์รูปอื่นปฏิบัติตามเรื่อย ๆ ทำให้เกิดเป็นธรรมยุติกนิกายในเวลาต่อมา
ธรรมยุติกนิกายจะเน้นยึดหลักธรรมคำสอนตามพระไตรปิฎกเป็นหลัก มีการปฏิรูปคำสอนให้สอดคล้องกับโลกตะวันตกมากขึ้น มีความเป็นเหตุเป็นผลมากขึ้น ไม่เน้นเรื่องของอิทธิปาฏิหาริย์ เนื่องจากสมัยนั้นแนวคิดตะวันตกเข้ามาในสยามมากมาย และมีคนในศาสนาอื่นโจมตีคำสอนของศาสนาพุทธถึงความไม่เป็นเหตุเป็นผล ลามไปถึงว่ามีผลกับความเจริญของประเทศ ทำให้พระวชิรญาณเถระจึงทรงปฏิวัติคำสอนดังกล่าว แถมยังส่งผลมาถึงศิลปกรรมที่พบในวัดธรรมยุติกนิกายด้วย ดังจะได้กล่าวถึงต่อไป