ในหนังสือ "สองธรรมราชา" สมเด็จพระญาณสังวรฯ ทรงให้สัมภาษณ์กับคุณอัครวัฒน์ โอสถานุเคราะห์ เกี่ยวกับความรู้สึกที่เคยเป็นพระอภิบาลของในหลวงรัชกาลที่ ๙ เมื่อครั้งทรงผนวชและประทับอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร ว่า ...
"พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงผนวชที่พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามเมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๔๙๙ โดยมีสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ทรงเป็นพระราชอุปัชฌาย์ แล้วเสด็จฯ มาทรงปฏิบัติสมณวัตรในสำนักสมเด็จพระราชอุปัชฌาย์ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร จนถึงวันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๔๙๙ จึงทรงลาผนวช อยู่ ๑๕ วัน
สมเด็จพระสังฆราชเจ้าได้ทรงมอบหมายให้เป็นพระพี่เลี้ยงก็ได้ปฏิบัติหน้าที่ซึ่งได้มอบหมายให้สนองพระเดชพระคุณ จากการที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวได้มีความรู้สึกว่า
พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะได้ทรงผนวชตามราชประเพณีอย่างเดียวเท่านั้นก็หามิได้ แต่ทรงผนวชด้วยพระราชศรัทธาที่ตั้งมั่นในพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง มิได้ทรงเป็นบุคคลจำพวกที่เรียกว่า 'หัวใหม่' ไม่เห็นศาสนาเป็นสำคัญ แต่ได้ทรงเห็นคุณค่าของพระศาสนา
ฉะนั้น ถ้าเป็นบุคคลธรรมดาสามัญก็กล่าวได้ว่า 'บวชด้วยศรัทธา' เพราะทรงผนวชด้วยพระราชศรัทธา ประกอบด้วยพระปัญญา และได้ทรงปฏิบัติพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด
ที่มา
http://m.tnews.co.th/contents/366399
เผยความในใจสมเด็จญาณฯ ในฐานะที่เคยเป็นพระพี่เลี้ยงของในหลวงรัชกาลที่ 9 เมื่อครั้งทรงผนวช
ในหนังสือ "สองธรรมราชา" สมเด็จพระญาณสังวรฯ ทรงให้สัมภาษณ์กับคุณอัครวัฒน์ โอสถานุเคราะห์ เกี่ยวกับความรู้สึกที่เคยเป็นพระอภิบาลของในหลวงรัชกาลที่ ๙ เมื่อครั้งทรงผนวชและประทับอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร ว่า ...
"พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงผนวชที่พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามเมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๔๙๙ โดยมีสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ทรงเป็นพระราชอุปัชฌาย์ แล้วเสด็จฯ มาทรงปฏิบัติสมณวัตรในสำนักสมเด็จพระราชอุปัชฌาย์ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร จนถึงวันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๔๙๙ จึงทรงลาผนวช อยู่ ๑๕ วัน
สมเด็จพระสังฆราชเจ้าได้ทรงมอบหมายให้เป็นพระพี่เลี้ยงก็ได้ปฏิบัติหน้าที่ซึ่งได้มอบหมายให้สนองพระเดชพระคุณ จากการที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวได้มีความรู้สึกว่า พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะได้ทรงผนวชตามราชประเพณีอย่างเดียวเท่านั้นก็หามิได้ แต่ทรงผนวชด้วยพระราชศรัทธาที่ตั้งมั่นในพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง มิได้ทรงเป็นบุคคลจำพวกที่เรียกว่า 'หัวใหม่' ไม่เห็นศาสนาเป็นสำคัญ แต่ได้ทรงเห็นคุณค่าของพระศาสนา
ฉะนั้น ถ้าเป็นบุคคลธรรมดาสามัญก็กล่าวได้ว่า 'บวชด้วยศรัทธา' เพราะทรงผนวชด้วยพระราชศรัทธา ประกอบด้วยพระปัญญา และได้ทรงปฏิบัติพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด
ที่มา http://m.tnews.co.th/contents/366399