>>>บูชาอันสูงสุด คือ การปฏิบัติบูชา<<<
อานนท์! มาเถิด, เราจักไปสู่ฝั่งโน้นแห่งแม่น้ำหิรัญญวดี, ไปยังสวนป่าสาละเป็นที่แวะพักของมัลลกษัตริย์ ใกล้เมืองกุสินารา. (ครั้นถึงที่นั้นแล้วตรัสสั่งให้ตั้งเตียงปรินิพพาน).
อานนท์! เธอจงจัดตั้งที่นอน ระหว่างต้นสาละคู่ มีศรีษะทางทิศเหนือ เราลำบากกายนัก, จักนอน
(ประทับสีหเสยยาแล้ว มีอัศจรรย์ ดอกสาละผลิผิดฤดูกาลโปรยลงบนพระสรีระ, ดอกมัณฑารพ จุรณ์ไม้จันทน์, ดนตรีล้วนแต่ของทิพย์ ได้ตกลงและบรรเลงขึ้น; เพื่อบูชาพระตถาคตเจ้า).
อานนท์ ! ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาใด
ประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบยิ่ง, ปฏิบัติตามธรรมอยู่;
ผู้นั้นชื่อว่าย่อม สักการะ เคารพ นับถือ บูชาตถาคต ด้วยการบูชาอันสูงสุด.
อานนท์ !เพราะฉะนั้นเธอพึงกำหนดใจว่า
‘เราจักประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติ ชอบยิ่ง ปฏิบัติตามธรรมอยู่’ ดังนี้.
มหา. ที. ๑๐/๑๕๙/๑๓๐ ,พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ หน้า ๕๗๐
http://www.pobbuddha.com/tripitaka/upload/files/634/index.html
>>>ทรงตรัสแก่พระอานนท์ ให้ใช้ธรรมวินัยที่ตรัสไว้ เป็นศาสดาแทน ต่อไป<<<
อานนท์ ! ความคิดอาจมีแก่พวกเธออย่างนี้ว่า ‘ธรรมวินัยของพวกเรามีพระศาสดา ล่วงลับไปเสียแล้ว พวกเราไม่มีพระศาสดา’ ดังนี้.
อานนท์ ! พวกเธออย่าคิดอย่างนั้น.
อานนท์ ! ธรรมก็ดี วินัยก็ดี ที่เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้ว แก่พวกเธอทั้งหลาย ธรรมวินัยนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอทั้งหลาย โดยกาลล่วงไปแห่งเรา.
อานนท์ ! ในกาลบัดนี้ก็ดี ในกาลล่วงไปแห่งเราก็ดี ใครก็ตาม จักต้องมีตนเป็นประทีป มีตนเป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ;
มีธรรมเป็นประทีป มีธรรมเป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ เป็นอยู่.
อานนท์ ! ภิกษุพวกใด เป็นผู้ใคร่ในสิกขา, ภิกษุพวกนั้น จักเป็นผู้อยู่ในสถานะอันเลิศที่สุดแล.
มหา. ที. ๑๐/๑๗๘/๑๔๑.,พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ หน้าที่ ๕๗๓
http://www.pobbuddha.com/tripitaka/upload/files/634/index.html
>>>ทรงให้ทุกคนมีพระองค์ อยู่ที่ "ธรรมที่กำลังมีอยู่ในใจของเขา"<<<
“อย่าเลย วักกลิ ! ประโยชน์อะไรด้วยการเห็นกายเน่านี้.
วักกลิ !
ผู้ใดเห็นธรรม, ผู้นั้นเห็นเรา; ผู้ใดเห็นเรา, ผู้นั้นเห็นธรรม.
วักกลิ !
เพราะว่าเมื่อเห็นธรรมอยู่ ก็คือเห็นเรา; เมื่อเห็นเราอยู่ ก็คือเห็นธรรม.”
- (บาลี ขนฺธ. สํ.๑๗/๑๔๖/๒๑๖). พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ หน้าที่ ๓๑๔
http://www.pobbuddha.com/tripitaka/upload/files/1300/index.html
<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<
>>>ปิดทองพระพุทธรูป ปิดทองพระพุทธเจ้า ปิดอะไรกัน?<<<
ชักจะเหนื่อยแล้ว แต่ยังมีอีกนิดหนึ่ง จะขอพูดเสียด้วย คือเรื่องว่า ปิดทองพระ, ไปที่ไหนก็เห็นแต่ปิดทองพระ แต่งหราไปหมด ปิดทองพระพุทธรูป ปิดทองพระพุทธเจ้า ปิดอะไรกัน? นึกเอาเองดูก่อนว่า ปิดทองพระ นี้ ปิดอะไรกัน?
ถ้าเข้าใจความหมายของคำว่า ปิดทองพระ ถูกต้อง ก็คงจะรู้จักพระ ถ้าไม่รู้จักพระอย่างถูกต้อง ก็คือ ปิดทองก้อนหิน หรือว่าก็เหมือนจะปิดทองไม้ดุ้นๆ อะไรก็ได้ ที่เขาเอามาสลักๆ เข้าสักหน่อย ถ้าไม่รู้จักว่าปิดทองนี้คืออะไรกัน ถ้าอยากจะปิดทอง ต้องกระทำใจให้พร้อมสำหรับการปิดทอง คือ รู้จักพระพุทธเจ้ากันเสียก่อน รู้จักพระพุทธเจ้าพระองค์จริงเสียก่อน ไม่ใช่พระพุทธรูป ที่ตั้งอยู่ที่นั่น
นี้เดี๋ยวนี้เราจะปิดทองพระพุทธรูปกันก็ได้ ถ้าจะให้สำเร็จประโยชน์ เราต้องรู้จักพระพุทธรูปเสียก่อน ว่าเป็นอะไร เป็นสิ่งแทนพระพุทธเจ้า, รู้จักพระพุทธเจ้าคืออะไร แล้วจึงปิดทองลงไปด้วยความรักพระพุทธเจ้า จึงสำเร็จประโยชน์ เขียนเป็นคำกลอนไว้สำหรับตัวเองว่า
การปิดทอง ต้องหมาย ถึงความสมัคร
ประพฤติธรรม พร้อมพรัก ตามที่สอน
เพื่อบูชา เต็มความรัก ประจักษ์ตอน
ยามม้วยมรณ์ หรือยังอยู่ ดูเหมือนกัน
สุขจะเกิด ทั่วกัน นั้นยืนนาน
ทุกเหตุการณ์ ทุกทุกภพ ประสบสันติ์
เพราะเหตุที่ มีธรรม ประจำวัน
ประพฤติกัน อย่างกะของ ที่ต้องกิน
ผิดจากนี้ มีแต่ จะงายงม
ดูไม่สม ตามส่วน ที่ควรถวิล
ปิดทองนอก ได้ความงาม ตามระบิล
ปิดทองใน ใจสิ้น ความว่ายเวียน
นี้เรื่องการปิดทอง, การปิดทองหมายถึง
ความสมัคร ความรักพระพุทธเจ้า ความที่จะปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า จนทนอยู่ไม่ได้จะมีชีวิตอยู่ต่อไป หรือจะต้องตายเดี๋ยวนี้แล้ว ก็จะต้องประพฤติปฏิบัติให้สุดความสามารถของตน เห็นเป็นของสำคัญ จำเป็นที่ต้องทำ เหมือนกับอาหารที่เราต้องกินเป็นประจำวัน ขาดไม่ได้ การประพฤติธรรมตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ก็ต้องทำอย่างนั้น เหมือนกับอาหารที่ต้องกินเป็นประจำวัน; ถ้าไม่ทำอย่างนี้ก็คือโง่ เอาทองไปปิดก้อนหิน ไม่ถูกพระพุทธเจ้า ไม่เป็นการบูชาพระพุทธเจ้า ไม่สมัครใจที่จะปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
ฉะนั้น จึงเกิดการปิดทองขึ้นเป็น ๒ ชั้น ปิดทองด้านนอก กับปิดทองด้านใน ปิดทองด้านนอกก็ได้ความงาม หราแดงเป็นสีทอง แต่ถ้าปิดทองด้านในแล้วจิตใจก็หมดกิเลสหรือความว่ายเวียน จึงสรุปท้ายว่า ปิดทองนอก ได้ความงามตามระบิล ปิดทองใน ใจสิ้น ความว่ายเวียน
ที่พูดนี้คิดว่าคงจะสมบูรณ์แล้ว คือพูดเรื่องการปิดทองเสียด้วย เพราะเขามีพระพุทธรูปแล้วเขาก็ปิดทอง หรือเขายังจะทำอะไรมากกว่านั้นอีก ก็ยังไม่คิดว่าจะพูด จะพูดเรื่องการปิดทอง ขอให้สำเร็จประโยชน์ คือปิดทองด้วยใจสมัคร ใจรักที่จะปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระองค์ แล้วเราก็จะได้มีพระพุทธเจ้าที่แท้จริง รู้ยิ่งไปกว่ารู้เสียอีก ว่าพระพุทธเจ้านั้นคือใคร; แล้วเรามีส่วนที่จะได้รับประโยชน์จากความมีพระพุทธเจ้าตั้งแต่ชั้นต่ำที่สุด จนถึงชั้นสูงสุด คือได้เป็นพระพุทธเจ้าเสียเอง จึงหวังว่าท่านทั้งหลายจะรู้จักพระพุทธเจ้า รู้จักความเป็นพระพุทธเจ้าอย่างถูกต้อง จนตอบปัญหาได้เองทุกๆ คน ว่าพระพุทธเจ้าคือใคร.
ราชภโฏวาท ของ ท่านพุทธทาสภิกขุ
http://uruwala.wordpress.com/2013/09/12/%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B-%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%87/
บูชาอันสูงสุด คือ การปฏิบัติบูชา
อานนท์! มาเถิด, เราจักไปสู่ฝั่งโน้นแห่งแม่น้ำหิรัญญวดี, ไปยังสวนป่าสาละเป็นที่แวะพักของมัลลกษัตริย์ ใกล้เมืองกุสินารา. (ครั้นถึงที่นั้นแล้วตรัสสั่งให้ตั้งเตียงปรินิพพาน).
อานนท์! เธอจงจัดตั้งที่นอน ระหว่างต้นสาละคู่ มีศรีษะทางทิศเหนือ เราลำบากกายนัก, จักนอน
(ประทับสีหเสยยาแล้ว มีอัศจรรย์ ดอกสาละผลิผิดฤดูกาลโปรยลงบนพระสรีระ, ดอกมัณฑารพ จุรณ์ไม้จันทน์, ดนตรีล้วนแต่ของทิพย์ ได้ตกลงและบรรเลงขึ้น; เพื่อบูชาพระตถาคตเจ้า).
อานนท์ ! ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาใด
ประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบยิ่ง, ปฏิบัติตามธรรมอยู่;
ผู้นั้นชื่อว่าย่อม สักการะ เคารพ นับถือ บูชาตถาคต ด้วยการบูชาอันสูงสุด.
อานนท์ !เพราะฉะนั้นเธอพึงกำหนดใจว่า
‘เราจักประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติ ชอบยิ่ง ปฏิบัติตามธรรมอยู่’ ดังนี้.
มหา. ที. ๑๐/๑๕๙/๑๓๐ ,พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ หน้า ๕๗๐
http://www.pobbuddha.com/tripitaka/upload/files/634/index.html
>>>ทรงตรัสแก่พระอานนท์ ให้ใช้ธรรมวินัยที่ตรัสไว้ เป็นศาสดาแทน ต่อไป<<<
อานนท์ ! ความคิดอาจมีแก่พวกเธออย่างนี้ว่า ‘ธรรมวินัยของพวกเรามีพระศาสดา ล่วงลับไปเสียแล้ว พวกเราไม่มีพระศาสดา’ ดังนี้.
อานนท์ ! พวกเธออย่าคิดอย่างนั้น.
อานนท์ ! ธรรมก็ดี วินัยก็ดี ที่เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้ว แก่พวกเธอทั้งหลาย ธรรมวินัยนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอทั้งหลาย โดยกาลล่วงไปแห่งเรา.
อานนท์ ! ในกาลบัดนี้ก็ดี ในกาลล่วงไปแห่งเราก็ดี ใครก็ตาม จักต้องมีตนเป็นประทีป มีตนเป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ;
มีธรรมเป็นประทีป มีธรรมเป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ เป็นอยู่.
อานนท์ ! ภิกษุพวกใด เป็นผู้ใคร่ในสิกขา, ภิกษุพวกนั้น จักเป็นผู้อยู่ในสถานะอันเลิศที่สุดแล.
มหา. ที. ๑๐/๑๗๘/๑๔๑.,พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ หน้าที่ ๕๗๓
http://www.pobbuddha.com/tripitaka/upload/files/634/index.html
>>>ทรงให้ทุกคนมีพระองค์ อยู่ที่ "ธรรมที่กำลังมีอยู่ในใจของเขา"<<<
“อย่าเลย วักกลิ ! ประโยชน์อะไรด้วยการเห็นกายเน่านี้.
วักกลิ ! ผู้ใดเห็นธรรม, ผู้นั้นเห็นเรา; ผู้ใดเห็นเรา, ผู้นั้นเห็นธรรม.
วักกลิ ! เพราะว่าเมื่อเห็นธรรมอยู่ ก็คือเห็นเรา; เมื่อเห็นเราอยู่ ก็คือเห็นธรรม.”
- (บาลี ขนฺธ. สํ.๑๗/๑๔๖/๒๑๖). พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ หน้าที่ ๓๑๔
http://www.pobbuddha.com/tripitaka/upload/files/1300/index.html
>>>ปิดทองพระพุทธรูป ปิดทองพระพุทธเจ้า ปิดอะไรกัน?<<<
ชักจะเหนื่อยแล้ว แต่ยังมีอีกนิดหนึ่ง จะขอพูดเสียด้วย คือเรื่องว่า ปิดทองพระ, ไปที่ไหนก็เห็นแต่ปิดทองพระ แต่งหราไปหมด ปิดทองพระพุทธรูป ปิดทองพระพุทธเจ้า ปิดอะไรกัน? นึกเอาเองดูก่อนว่า ปิดทองพระ นี้ ปิดอะไรกัน?
ถ้าเข้าใจความหมายของคำว่า ปิดทองพระ ถูกต้อง ก็คงจะรู้จักพระ ถ้าไม่รู้จักพระอย่างถูกต้อง ก็คือ ปิดทองก้อนหิน หรือว่าก็เหมือนจะปิดทองไม้ดุ้นๆ อะไรก็ได้ ที่เขาเอามาสลักๆ เข้าสักหน่อย ถ้าไม่รู้จักว่าปิดทองนี้คืออะไรกัน ถ้าอยากจะปิดทอง ต้องกระทำใจให้พร้อมสำหรับการปิดทอง คือ รู้จักพระพุทธเจ้ากันเสียก่อน รู้จักพระพุทธเจ้าพระองค์จริงเสียก่อน ไม่ใช่พระพุทธรูป ที่ตั้งอยู่ที่นั่น
นี้เดี๋ยวนี้เราจะปิดทองพระพุทธรูปกันก็ได้ ถ้าจะให้สำเร็จประโยชน์ เราต้องรู้จักพระพุทธรูปเสียก่อน ว่าเป็นอะไร เป็นสิ่งแทนพระพุทธเจ้า, รู้จักพระพุทธเจ้าคืออะไร แล้วจึงปิดทองลงไปด้วยความรักพระพุทธเจ้า จึงสำเร็จประโยชน์ เขียนเป็นคำกลอนไว้สำหรับตัวเองว่า
ประพฤติธรรม พร้อมพรัก ตามที่สอน
เพื่อบูชา เต็มความรัก ประจักษ์ตอน
ยามม้วยมรณ์ หรือยังอยู่ ดูเหมือนกัน
สุขจะเกิด ทั่วกัน นั้นยืนนาน
ทุกเหตุการณ์ ทุกทุกภพ ประสบสันติ์
เพราะเหตุที่ มีธรรม ประจำวัน
ประพฤติกัน อย่างกะของ ที่ต้องกิน
ผิดจากนี้ มีแต่ จะงายงม
ดูไม่สม ตามส่วน ที่ควรถวิล
ปิดทองนอก ได้ความงาม ตามระบิล
ปิดทองใน ใจสิ้น ความว่ายเวียน
นี้เรื่องการปิดทอง, การปิดทองหมายถึง ความสมัคร ความรักพระพุทธเจ้า ความที่จะปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า จนทนอยู่ไม่ได้จะมีชีวิตอยู่ต่อไป หรือจะต้องตายเดี๋ยวนี้แล้ว ก็จะต้องประพฤติปฏิบัติให้สุดความสามารถของตน เห็นเป็นของสำคัญ จำเป็นที่ต้องทำ เหมือนกับอาหารที่เราต้องกินเป็นประจำวัน ขาดไม่ได้ การประพฤติธรรมตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ก็ต้องทำอย่างนั้น เหมือนกับอาหารที่ต้องกินเป็นประจำวัน; ถ้าไม่ทำอย่างนี้ก็คือโง่ เอาทองไปปิดก้อนหิน ไม่ถูกพระพุทธเจ้า ไม่เป็นการบูชาพระพุทธเจ้า ไม่สมัครใจที่จะปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
ฉะนั้น จึงเกิดการปิดทองขึ้นเป็น ๒ ชั้น ปิดทองด้านนอก กับปิดทองด้านใน ปิดทองด้านนอกก็ได้ความงาม หราแดงเป็นสีทอง แต่ถ้าปิดทองด้านในแล้วจิตใจก็หมดกิเลสหรือความว่ายเวียน จึงสรุปท้ายว่า ปิดทองนอก ได้ความงามตามระบิล ปิดทองใน ใจสิ้น ความว่ายเวียน
ที่พูดนี้คิดว่าคงจะสมบูรณ์แล้ว คือพูดเรื่องการปิดทองเสียด้วย เพราะเขามีพระพุทธรูปแล้วเขาก็ปิดทอง หรือเขายังจะทำอะไรมากกว่านั้นอีก ก็ยังไม่คิดว่าจะพูด จะพูดเรื่องการปิดทอง ขอให้สำเร็จประโยชน์ คือปิดทองด้วยใจสมัคร ใจรักที่จะปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระองค์ แล้วเราก็จะได้มีพระพุทธเจ้าที่แท้จริง รู้ยิ่งไปกว่ารู้เสียอีก ว่าพระพุทธเจ้านั้นคือใคร; แล้วเรามีส่วนที่จะได้รับประโยชน์จากความมีพระพุทธเจ้าตั้งแต่ชั้นต่ำที่สุด จนถึงชั้นสูงสุด คือได้เป็นพระพุทธเจ้าเสียเอง จึงหวังว่าท่านทั้งหลายจะรู้จักพระพุทธเจ้า รู้จักความเป็นพระพุทธเจ้าอย่างถูกต้อง จนตอบปัญหาได้เองทุกๆ คน ว่าพระพุทธเจ้าคือใคร.
ราชภโฏวาท ของ ท่านพุทธทาสภิกขุ
http://uruwala.wordpress.com/2013/09/12/%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B-%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%87/