พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
คาถาธรรมบท มลวรรคที่ ๑๘
ไฟเสมอด้วยราคะ ไม่มี
ผู้จับเสมอด้วยโทสะ ไม่มี
ข่ายเสมอด้วยโมหะ ไม่มี
แม่น้ำเสมอด้วยตัณหา ไม่มี
-อรรถกถา-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25.0&i=28&p=9
.....
อานนท์. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุบาสกทั้งหลายนั่นอาศัยอะไรจึงไม่สามารถ?
ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสแก่พระอานนท์ว่า
"อานนท์ อุบาสกเหล่านั้นอาศัยราคะ อาศัยโทสะ อาศัยโมหะ อาศัยตัณหา จึงไม่สามารถ.
ชื่อว่า
ไฟ เช่นกับด้วยไฟคือราคะไม่มี, ไฟใดไม่แสดงแม้ซึ่งเถ้า ย่อมไหม้สัตว์ทั้งหลาย.
แท้จริง แม้ไฟซึ่งยังกัลป์ให้พินาศ ที่อาศัยความปรากฏแห่งอาทิตย์ ๗ ดวงบังเกิดขึ้น ย่อมไหม้โลก ไม่ให้วัตถุไรๆ เหลืออยู่เลย ก็จริง. ถึงกระนั้น
ไฟนั้นย่อมไหม้ในบางคราวเท่านั้น ชื่อว่ากาลที่ไฟคือราคะ จะไม่ไหม้ ย่อมไม่มี.
เพราะฉะนั้น
ชื่อว่าไฟเสมอด้วยราคะก็ดี ชื่อว่าผู้จับเสมอด้วยโทสะก็ดี ชื่อว่าข่ายเสมอด้วยโมหะก็ดี ชื่อว่าแม่น้ำเสมอด้วยตัณหาก็ดี ไม่มี"
ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-
นตฺถิ ราคสโม อคฺคิ นตฺถิ โทสสโม คโห
นตฺถิ โมหสมํ ชาลํ นตฺถิ ตณฺหาสมา นที.
ไฟเสมอด้วยราคะ ไม่มี, ผู้จับเสมอด้วยโทสะ ไม่มี,
ข่ายเสมอด้วยโมหะ ไม่มี, แม่น้ำเสมอด้วยตัณหา ไม่มี.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า
ราคสโม ความว่า ชื่อว่าไฟเสมอด้วยราคะ ย่อมไม่มี ด้วยสามารถแห่งอันไม่แสดงอะไรๆ เช่นควันเป็นต้น ตั้งขึ้นเผาภายในนั่นเอง.
บทว่า
โทสสโม ความว่า ผู้จับทั้งหลาย มีผู้จับคือยักษ์ ผู้จับคืองูเหลือม และผู้จับคือจระเข้เป็นต้น ย่อมสามารถจับได้ในอัตภาพเดียวเท่านั้น
แต่ผู้จับคือโทสะ ย่อมจับโดยส่วนเดียวทีเดียว เพราะฉะนั้น ชื่อว่าผู้จับเสมอด้วยโทสะย่อมไม่มี.
สองบทว่า
โมหสมํ ชาลํ ความว่า ก็ชื่อว่าข่ายเสมอด้วยโมหะ ย่อมไม่มี เพราะอรรถว่ารึงรัดและรวบรัดไว้.
บทว่า
ตณฺหาสมา ความว่า เวลาเต็มก็ดี เวลาพร่องก็ดี เวลาแห้งก็ดี ของแม่น้ำทั้งหลายมีแม่น้ำคงคาเป็นต้น ย่อมปรากฏ
แต่เวลาเต็มหรือเวลาแห้งแห่งตัณหา ย่อมไม่มี. ความพร่องอย่างเดียวย่อมปรากฏเป็นนิตย์
เพราะฉะนั้น ชื่อว่าแม่น้ำเสมอด้วยตัณหา ย่อมไม่มี เพราะอรรถว่า ให้เต็มได้โดยยาก.
ในกาลจบเทศนา อุบาสกผู้ฟังธรรมอยู่โดยเคารพนั้น ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว.
พระธรรมเทศนาได้มีประโยชน์แม้แก่ชนผู้ประชุมกันแล้ว ดังนี้แล.
☆☆☆☆☆☆☆☆
-หมายเหตุ-
1 คาถาธรรมบทนี้ เป็นตอนต่อจากเมื่อวาน
http://ppantip.com/topic/33684766
2 มีข้อสังเกตว่า ทำไมบทสนทนาระหว่างพระพุทธเจ้าและพระอานนท์ ไปอยู่ในส่วนอรรถกถา
ทำไมพระอรรถกถาจารย์จึงไม่นำไปวางรวมกับส่วนเนื้อหาพระไตรปิฎกอย่าง
เคร่งครัด?
ตรงนี้สงสัยจริงๆ เจอหลายแห่งมาก
ไม่ใช่เฉพาะในอรรถกถาธรรมบทนะ ในอรรถกถาของทีฆนิกายก็มีเยอะ ที่บทสนทนาระหว่างพระองค์กับผู้อื่นปรากฏในส่วนอรรถกถา
โดยที่ไม่ได้นำไปแสดงในส่วนเนื้อหาพระไตรปิฎกด้วย เช่น เรื่องพระสารีบุตรเคยขออุปฐากพระพุทธองค์ มีแสดงอยู่ในส่วนอรรถกถา
ของมหาปทานสูตร
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=1&p=1
3 จขกท ตอนแรกอ่านเนื้อหาในพระไตรปิฎก ไม่เข้าใจคำว่า "แม่น้ำเสมอด้วยตัณหา ไม่มี" เป็นต้น
เมื่อได้อ่านอรรถกถาแล้วจึงเข้าใจว่า ไม่ว่าจะไฟ ไม่ว่าจะผู้จับ ไม่ว่าจะข่าย ไม่ว่าจะแม่น้ำ
ก็ไม่สามารถไปเทียบกับ ราคะ โทสะ โมหะ ตัณหา ได้ เหตุผลก็ดังที่ท่านอธิบายข้างบน
.
๛ แม่น้ำเสมอด้วยตัณหา ไม่มี ๛
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
คาถาธรรมบท มลวรรคที่ ๑๘
ผู้จับเสมอด้วยโทสะ ไม่มี
ข่ายเสมอด้วยโมหะ ไม่มี
แม่น้ำเสมอด้วยตัณหา ไม่มี
-อรรถกถา-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25.0&i=28&p=9
.....
อานนท์. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุบาสกทั้งหลายนั่นอาศัยอะไรจึงไม่สามารถ?
ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสแก่พระอานนท์ว่า
"อานนท์ อุบาสกเหล่านั้นอาศัยราคะ อาศัยโทสะ อาศัยโมหะ อาศัยตัณหา จึงไม่สามารถ.
ชื่อว่าไฟ เช่นกับด้วยไฟคือราคะไม่มี, ไฟใดไม่แสดงแม้ซึ่งเถ้า ย่อมไหม้สัตว์ทั้งหลาย.
แท้จริง แม้ไฟซึ่งยังกัลป์ให้พินาศ ที่อาศัยความปรากฏแห่งอาทิตย์ ๗ ดวงบังเกิดขึ้น ย่อมไหม้โลก ไม่ให้วัตถุไรๆ เหลืออยู่เลย ก็จริง. ถึงกระนั้น ไฟนั้นย่อมไหม้ในบางคราวเท่านั้น ชื่อว่ากาลที่ไฟคือราคะ จะไม่ไหม้ ย่อมไม่มี.
เพราะฉะนั้น
ชื่อว่าไฟเสมอด้วยราคะก็ดี ชื่อว่าผู้จับเสมอด้วยโทสะก็ดี ชื่อว่าข่ายเสมอด้วยโมหะก็ดี ชื่อว่าแม่น้ำเสมอด้วยตัณหาก็ดี ไม่มี"
ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-
นตฺถิ โมหสมํ ชาลํ นตฺถิ ตณฺหาสมา นที.
ไฟเสมอด้วยราคะ ไม่มี, ผู้จับเสมอด้วยโทสะ ไม่มี,
ข่ายเสมอด้วยโมหะ ไม่มี, แม่น้ำเสมอด้วยตัณหา ไม่มี.
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ราคสโม ความว่า ชื่อว่าไฟเสมอด้วยราคะ ย่อมไม่มี ด้วยสามารถแห่งอันไม่แสดงอะไรๆ เช่นควันเป็นต้น ตั้งขึ้นเผาภายในนั่นเอง.
บทว่า โทสสโม ความว่า ผู้จับทั้งหลาย มีผู้จับคือยักษ์ ผู้จับคืองูเหลือม และผู้จับคือจระเข้เป็นต้น ย่อมสามารถจับได้ในอัตภาพเดียวเท่านั้น แต่ผู้จับคือโทสะ ย่อมจับโดยส่วนเดียวทีเดียว เพราะฉะนั้น ชื่อว่าผู้จับเสมอด้วยโทสะย่อมไม่มี.
สองบทว่า โมหสมํ ชาลํ ความว่า ก็ชื่อว่าข่ายเสมอด้วยโมหะ ย่อมไม่มี เพราะอรรถว่ารึงรัดและรวบรัดไว้.
บทว่า ตณฺหาสมา ความว่า เวลาเต็มก็ดี เวลาพร่องก็ดี เวลาแห้งก็ดี ของแม่น้ำทั้งหลายมีแม่น้ำคงคาเป็นต้น ย่อมปรากฏ
แต่เวลาเต็มหรือเวลาแห้งแห่งตัณหา ย่อมไม่มี. ความพร่องอย่างเดียวย่อมปรากฏเป็นนิตย์
เพราะฉะนั้น ชื่อว่าแม่น้ำเสมอด้วยตัณหา ย่อมไม่มี เพราะอรรถว่า ให้เต็มได้โดยยาก.
ในกาลจบเทศนา อุบาสกผู้ฟังธรรมอยู่โดยเคารพนั้น ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว.
พระธรรมเทศนาได้มีประโยชน์แม้แก่ชนผู้ประชุมกันแล้ว ดังนี้แล.
-หมายเหตุ-
1 คาถาธรรมบทนี้ เป็นตอนต่อจากเมื่อวาน http://ppantip.com/topic/33684766
2 มีข้อสังเกตว่า ทำไมบทสนทนาระหว่างพระพุทธเจ้าและพระอานนท์ ไปอยู่ในส่วนอรรถกถา
ทำไมพระอรรถกถาจารย์จึงไม่นำไปวางรวมกับส่วนเนื้อหาพระไตรปิฎกอย่างเคร่งครัด?
ตรงนี้สงสัยจริงๆ เจอหลายแห่งมาก
ไม่ใช่เฉพาะในอรรถกถาธรรมบทนะ ในอรรถกถาของทีฆนิกายก็มีเยอะ ที่บทสนทนาระหว่างพระองค์กับผู้อื่นปรากฏในส่วนอรรถกถา
โดยที่ไม่ได้นำไปแสดงในส่วนเนื้อหาพระไตรปิฎกด้วย เช่น เรื่องพระสารีบุตรเคยขออุปฐากพระพุทธองค์ มีแสดงอยู่ในส่วนอรรถกถา
ของมหาปทานสูตร
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=1&p=1
3 จขกท ตอนแรกอ่านเนื้อหาในพระไตรปิฎก ไม่เข้าใจคำว่า "แม่น้ำเสมอด้วยตัณหา ไม่มี" เป็นต้น
เมื่อได้อ่านอรรถกถาแล้วจึงเข้าใจว่า ไม่ว่าจะไฟ ไม่ว่าจะผู้จับ ไม่ว่าจะข่าย ไม่ว่าจะแม่น้ำ
ก็ไม่สามารถไปเทียบกับ ราคะ โทสะ โมหะ ตัณหา ได้ เหตุผลก็ดังที่ท่านอธิบายข้างบน
.