สัตว์นั้น จึงถูกเรียกว่า "สัตว์" ....

(๑) ขนฺธ สํ ๑๗/๒๓๒/๓๖๗
--เขากล่าวกันว่า "สัตว์" เช่นนี้ มีความหมายเพียงไร? พระเจ้าข้า

ราธะ  ฉันทะ (ความพอใจ) ราคะ (ความกำหนัด)  นันทิ (ความเพลิน) ตัณหา (ความทะยายอยาก)   ใดๆ มีอยู่ ในรูป (ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ทั้งหลาย ในวิญญาณ / ดู พระสูตร มูลฐานแห่งการบัญญัติขันธ์ทั้ง ๕ ด้วย -อุปริ ม ๑๔/๑๐๒/๑๒๔)


สัตว์ ย่อมเกี่ยวข้อง ย่อมติดในรูป (ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ทั้งหลาย ในวิญญาณ) นั้น ด้วย ฉันทะราคะ (ดูพระบาลี /ตรงนี้ แปล ๒ คำติดกัน ไม่ แยกเหมือนข้างบน / ดูพระสูตรหนึ่ง ตรัสว่า --- ฉันทะราคะ ใดในขันธ์ ฉันทะราคะ คือ สังโยชน์)เป็นต้น


เพราะฉะนั้น  สัตว์นั้น จึงถูกเรียกว่า "สัตว์"
(สำนวนแปลจาก อริยสัจจากพระโอษฐ์ พุทธทาสภิกขุ หน้า ๒๔๙)


ููู^^^^
http://ppantip.com/topic/30504782
ความคิดเห็นที่ 97
...

กำเนิด ๔
[๑๖๙] ดูกรสารีบุตร กำเนิด ๔ ประการเหล่านี้แล ๔ ประการเป็นไฉน? คือ อัณฑชะ-
*กำเนิด ชลาพุชะกำเนิด สังเสทชะกำเนิด โอปปาติกะกำเนิด ดูกรสารีบุตร ก็อัณฑชะกำเนิด
เป็นไฉน? สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น ชำแรกเปลือกแห่งฟองเกิด นี้เราเรียกว่า อัณฑชะกำเนิด
ดูกรสารีบุตร ชลาพุชะกำเนิดเป็นไฉน? สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นใด ชำแรกไส้ [มดลูก] เกิด
นี้เราเรียกว่า ชลาพุชะกำเนิด ...


********************************************************************
ประเด็น
สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นใด (ตาม กำเนิด ๔ [๑๖๙]) = เพราะฉะนั้น  สัตว์นั้น จึงถูกเรียกว่า "สัตว์" (ตามเขากล่าวกันว่า "สัตว์" เช่นนี้ มีความหมายเพียงไร? พระเจ้าข้า)  ---- ใช่หรือไม่ ? ถ้าใช่  ใช่อย่างไร? --- เชิญสนทนา ครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่