โดยชาวบ้านที่อยู่ในพื้นที่ปัจจุบันได้เกิดข้อพิพาทเรื่องที่ดินกับทางกองทัพเรือ ที่เป็นเจ้าของพื้นที่ตั้งแต่ปี 2557 จนถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีทางออกสำหรับปัญหาดังกล่าว ทางกองทัพเรือแจ้งว่า "มีความจำเป็นต้องใช้พื้นที่เพื่อประโยชน์ทางราชการทหาร" ทางกรมธนารักษ์พื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทราจึงได้ทำหนังสือเพื่อขอยกเลิกสัญญาเช่าและยกเลิกการเก็บค่าตอบแทนการใช้ประโยชน์ที่ดิน โดยทางชาวบ้านจะต้องส่งมอบพื้นที่ภายใน 30 วัน ประกาศเมื่อวันที่ 31 ก.ค. 2557 และให้มีผลตั้งแต่วันที่ 31 ธ.ค. 2557 เป็นต้นไป
• 31 กรกฎาคม พ.ศ.2557 ชาวบ้านต.โยธะกา ได้รับหนังสือจากสำนักงานธนารักษ์พื้นที่ฉะเชิงเทรา ว่าด้วยการยกเลิกสัญญาเช่าและการเก็บค่าตอบแทนการใช้ประโยชน์ที่ดินราชพัสดุ และให้ทำการส่งมอบที่ดินคืนทหารเรือภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ 31 ธ.ค. 57 ด้วยเหตุผลว่า กองทัพเรือมีแผนการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อใช้ประโยชน์ในราชการทหาร แต่ชาวบ้านยังคงใช้ที่ดินทำนาต่อไป ไม่มีใครส่งมอบที่ดินหรือย้ายออกไป
• 19 กันยายน 2560 มีหนังสือจากกองทัพเรืออีกครั้ง ขอให้ส่งมอบคืนที่ดินให้แก่กองทัพเรือ ภายใน 7 วัน โดยให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง ออกไปจากที่ดิน พร้อมกับให้ทำหนังสือส่งมอบที่ดิน หากยังเพิกเฉย ทางราชการมีความจำเป็นที่ต้องดำเนินคดีตามกฎหมาย
• 11 ตุลาคม 2560 ชาวบ้านเริ่มทำหนังสือร้องเรียนไปยังหลายหน่วยงาน เรื่องขอความอนุเคราะห์ผ่อนผันส่งมอบที่ดินคืนออกไปก่อน จนกว่าจะมีการช่วยเหลือหรือเยียวยาเรื่องที่อยู่อาศัยและเรื่องการทำมาหากิน เริ่มจาก ทำหนังสือถึง นายกรัฐมนตรี และ ผู้บัญชาการทหารเรือ ในวันเดียวกัน
• 6 ตุลาคม 2560 ทำหนังสือถึง หัวหน้าคณะทำงานแก้ไขปัญหาการดำเนินการภายหลังยกเลิกสัญญาเช่าฯ และรองหัวหน้า คณะฝ่ายเสนาธิการประจำผู้บังคับบัญชา
• 28 พฤศจิกายน 2560 ทำหนังสือถึง สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และผู้ตรวจการแผ่นดิน
• 30 พฤศจิกายน 2560 ทำหนังสือถึง ผู้บัญชาการทหารเรือ เรื่อง ขอให้ชี้แจงข้อมูลการยกเลิกสัญญาเช่าและส่งมอบคืนที่ดินจากราษฏร โดยในหนังสือได้ขอให้ชี้แจง ดังนี้
1) จำนวนเนื้อที่ดินที่กองทัพเรือต้องการใช้ประโยชน์
2) แผนที่ของแปลงที่กองทัพเรือต้องการใช้ประโยชน์
3) วัตถุประสงค์การใช้ประโยชน์ที่ดินของกองทัพเรือ
4) เหตุผลความจำเป็นของกองทัพเรือในการใช้ประโยชน์ที่ดิน
• 22 มกราคม 2561 มีหนังสือตอบกลับจากเจ้ากรมส่งกำลังบำรุงทหารเรือ ความว่า กองทัพเรือมีแผนการใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณดังกล่าวแล้วจึงยืนยันการยกเลิกสัญญา และไม่มีคำชี้แจงถึงความจำเป็นของทหารเรือในการใช้ที่ดิน ตามที่ชาวบ้านร้องขอโดยใช้สิทธิตาม พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสาร
• 4 มีนาคม 2561 มีการลงข่าวคำให้สัมภาษณ์ว่า กรมธนารักษ์ได้จัดหาที่ราชพัสดุสนับสนุนโครงการ EEC โดยในพื้นที่ส่วนของฉะเชิงเทรานั้น เป็นพื้นที่ของกองทัพเรือที่ส่งคืนให้กรมธนารักษ์ อยู่ใน อ.บางน้ำเปรี้ยว มีพื้นที่ประมาณ 4,000 ไร่เศษ บริเวณศูนย์เกษตรกรรมทหารเรือ ซึ่งได้ส่งมอบให้อีอีซีไปเรียบร้อยแล้ว ส่วนจะนำไปพัฒนาเป็นอะไรขึ้นกับ EEC จะกำหนด
• 20 มีนาคม 2561 ชาวบ้านได้ทำหนังสือถึง อธิบดีกรมธนารักษ์ ขอให้ชี้แจงข้อมูลการส่งมอบที่ดินให้ตามนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC)
• 23 มีนาคม 2561 มีหนังสือจากสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินตอบกลับแก่ชาวบ้าน ชี้แจงถึงความจำเป็นในการใช้งานพื้นที่และกองทัพเรือมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้พื้นที่ดังกล่าวในการการตั้งสถานีวิทยุหาทิศ (DF) จริง ผู้ตรวจการแผ่นดินจึงวินิจฉัยให้ยุติการพิจารณาเรื่องร้องเรียนดังกล่าว
• 26 สิงหาคม 2561 ได้มีการนัดหมายตัวแทนชาวบ้านและก่อตั้งกลุ่ม “โยธะการักษ์ถิ่น” ขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเจรจากับหน่วยงานต่างๆ และเตรียมเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมต่อไป
• 16 กันยายน 2561 มีการรายงานข่าวจากสำนักข่าว ฐานเศรษฐกิจ เนื้อความว่า บริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์ ได้ทำการเซ็นสัญญาเช่าที่ดินที่ราชพัสดุกรมธนารักษ์ ใน อ.บางน้ำเปรี้ยว จำนวน 4,000 ไร่ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ทหารเรือใช้ บริเวณ ต.โยธะกา เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
• 19 กันยายน 2561 ทางบริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ที่ถูกอ้างถึงว่าเป็นเอกชนที่เข้าใช้พื้นที่ราชพัสดุดังกล่าว ก็ได้ออกแถลงการณ์ชี้แจง
พร้อมทั้งมอบอำนาจให้นายบัญชา ปรมีศณาภรณ์ ทนายความ เพื่อดำเนินคดีอาญาและคดีแพ่งตามกฎหมาย
• 20 กันยายน 2561 กรมธนารักษ์ได้ทำหนังสือชี้แจงว่าข่าวการให้เอกชนรายใหญ่เช่าพื้นที่ 4,000 ไร่ เพื่อทำเมืองใหม่นั้นไม่เป็นความจริง เป็นเพียงพื้นที่ที่เป็น 1 ใน 7 ที่พิจารณาเข้าร่วมสนับสนุนโครงการระเบียงเศรฐษกิจภาคตะวันออกเพียงเท่านั้น ซึ่งพื้นที่นี้จะสามารถดำเนินการได้หรือไม่นั้น จะต้องได้รับความยินยอมจากกองทัพเรือก่อนแล้วจึงสามารถทำเรื่องพิจารณาต่อไปได้
• 21 กันยายน 2561 สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ได้ออกเอกสารชี้แจง "กรณีที่ดินราชพัสดุบริเวณอำเภอบางน้ำเปรี้ยว"
• 4 ตุลาคม 2561 ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 11 พร้อมด้วยหน่วยงานระดับจังหวัดหลายหน่วยงานได้ลงพื้นที่มาเจรจาพูดคุยต่อชาวบ้าน และรับปากว่าจะเป็นคนกลางผู้ประสานงานให้ทางกองทัพเรือลงพื้นที่มาพบปะพูดคุยชี้แจงต่อประชาชน อีกทั้งรองเลขาธิการ สำนักงาน EEC กล่าวว่าไม่มีแผนที่จะนำเอาพื้นที่ ต.โยธะกา ไปพัฒนาแต่อย่างใด
• 24 ตุลาคม 2561 กองทัพเรือร่วมลงชี้แจงให้กับประชาชนต.โยธะกา โดยกล่าวว่า กองทัพเรือยังไม่เคยอนุญาตและไม่มีแนวความคิดที่จะอนุญาตให้เอกชนรายใดมาใช้พื้นที่ ยืนยันว่าไม่ใช่เอาไปทำเรื่องของธุรกิจหรือการหารายได้ แต่เป็นเรื่องของความมั่นคงประเทศ และในกรณีนี้จะพิจารณาตกลงกันว่าจะให้กลุ่มชาวบ้านไปอยู่จุดไหนแทนได้หรือไม่ตามนโยบายเยียวยาของประชาชน รวมถึงจะนำข้อมูลส่วนนี้ไปหารือกับคณะกรรมการที่ดินของกองทัพเรือ และนำเรียนผู้บัญชาการทหารเรือกับหน่วยงานที่ทำโครงการและใช้ประโยชน์ที่ดินอีกครั้งว่าสามารถปรับเปลี่ยนได้หรือไม่ต่อไป
• 16 ธันวาคม 2561 ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ รับฟ้องเป็นคดีหมายเลขดำที่ พ.3328/2561 เรียกชดใช้ค่าเสียหายที่ทำให้โจทก์ (ซีพี) เสื่อมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง จากสังคมและประชาชนทั่วไป กระทบต่อภาพลักษณ์องค์กรและธุรกิจ เป็นมูลค่า 631.4 ล้านบาท กับบริษัท ฐานเศรษฐกิจ จำกัด, นายชัยวัฒน์ วนิชวัฒนะ, บริษัท ฐานเศรษฐกิจ มัลติมีเดีย จำกัด, นายอมรเวช รุจาทรัพย์, นายบากบั่น บุญเลิศ, นางสาวกรรณิการ์ รุ่งกิจเจริญกุล, นายเอกพิทยา เอี่ยมคงเอก ทั้ง 7 ราย
• 14 มีนาคม 2562 ศาลแพ่งกรุงเทพใต้นัดชี้สองสถาน
คาดว่ากลุ่มชาวบ้านกลุ่มนี้ ได้จัดตั้งเป็น "กลุ่มโยธะการักษ์ถิ่น" อาจจะถูก NGO บางกลุ่ม บางพวก ที่อาศัยปัญหาเรืองที่ดินทำกิน ปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกร หยิบยกมาเป็นประเด็นเพื่อโจมตีรัฐบาล โจมตีนายทุน เพื่อให้ยุติการละเมิดสิทธิชุมชน ตามที่เคยมีการให้ข้อมูลไว้ว่า
โดยขอให้พื้นที่ตำบลโยธะกาเป็นพื้นที่อนุรักษ์และส่งเสริมทางการเกษตร และไม่เห็นด้วยที่จะปรับพื้นที่สีเขียวเดิม (ซึ่งเป็นพื้นที่เกษตรกรรม) เป็นพื้นที่สีม่วง (เขตส่งเสริมอุตสาหกรรม)
ซึ่งกลุ่มต่อต้านกลุ่มนี้ ไม่เคยที่จะพูดถึงตอนที่ไปขัดขวางการให้ข้อมูล และเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นสาธารณะจากหน่วยงานภาครัฐ ไปป่วนกลางที่ประชุมหลายครั้ง โดยมีแกนนำสำคัญก็คือ นายสรายุทธ์ สนรักษา ที่มักจะมีชื่อปรากฎเป็นแกนนำขนม็อบไปเพื่อล้มการประชุมแทบจะทุกครั้ง
สื่อโป๊ะแตก !!! เมื่อดันไปกล่าวหาคนอื่นโดยไม่หาข้อมูลก่อน - ภาค 2
โดยชาวบ้านที่อยู่ในพื้นที่ปัจจุบันได้เกิดข้อพิพาทเรื่องที่ดินกับทางกองทัพเรือ ที่เป็นเจ้าของพื้นที่ตั้งแต่ปี 2557 จนถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีทางออกสำหรับปัญหาดังกล่าว ทางกองทัพเรือแจ้งว่า "มีความจำเป็นต้องใช้พื้นที่เพื่อประโยชน์ทางราชการทหาร" ทางกรมธนารักษ์พื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทราจึงได้ทำหนังสือเพื่อขอยกเลิกสัญญาเช่าและยกเลิกการเก็บค่าตอบแทนการใช้ประโยชน์ที่ดิน โดยทางชาวบ้านจะต้องส่งมอบพื้นที่ภายใน 30 วัน ประกาศเมื่อวันที่ 31 ก.ค. 2557 และให้มีผลตั้งแต่วันที่ 31 ธ.ค. 2557 เป็นต้นไป
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
คาดว่ากลุ่มชาวบ้านกลุ่มนี้ ได้จัดตั้งเป็น "กลุ่มโยธะการักษ์ถิ่น" อาจจะถูก NGO บางกลุ่ม บางพวก ที่อาศัยปัญหาเรืองที่ดินทำกิน ปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกร หยิบยกมาเป็นประเด็นเพื่อโจมตีรัฐบาล โจมตีนายทุน เพื่อให้ยุติการละเมิดสิทธิชุมชน ตามที่เคยมีการให้ข้อมูลไว้ว่า "จะขอคัดค้านต่อร่างแผนผังการใช้ประโยชน์ที่ดิน และการปรับสีผังเมืองเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก"
โดยขอให้พื้นที่ตำบลโยธะกาเป็นพื้นที่อนุรักษ์และส่งเสริมทางการเกษตร และไม่เห็นด้วยที่จะปรับพื้นที่สีเขียวเดิม (ซึ่งเป็นพื้นที่เกษตรกรรม) เป็นพื้นที่สีม่วง (เขตส่งเสริมอุตสาหกรรม)
• ‘ชาวบ้านโพธิ์’ แปดริ้ว จ่อเข้าแจ้งความเอาผิดคณะกรรมการ EEC-หน่วยงานรัฐ ข้อหาบุกรุก
• นักเคลื่อนไหวขนม็อบต้านการประชุมรับฟังความเห็น EEC ที่ฉะเชิงเทรา
• ชาวแปดริ้วคุกเข่าไหว้วอนนายอำเภอ อย่าร่วมเวทีฟังความเห็นสร้างท่าเรือบก EEC
• ชุลมุน! กลุ่มภาคประชาชนยื่นหนังสือคัดค้านเวทีจัดทำแผนผังพัฒนา EEC ฉะเชิงเทรา
อ่านต่อที่ >>> • สื่อโป๊ะแตก !!! เมื่อดันไปกล่าวหาคนอื่นโดยไม่หาข้อมูลก่อน - ภาค 3 (ตอนจบ)
• สื่อโป๊ะแตก !!! เมื่อดันไปกล่าวหาคนอื่นโดยไม่หาข้อมูลก่อน - ภาค 1
• สื่อโป๊ะแตก !!! เมื่อดันไปกล่าวหาคนอื่นโดยไม่หาข้อมูลก่อน - ภาค 2
• สื่อโป๊ะแตก !!! เมื่อดันไปกล่าวหาคนอื่นโดยไม่หาข้อมูลก่อน - ภาค 3 (ตอนจบ)