JJNY : 5in1 จับตาตั้งกก.JTC│วิโรจน์จี้สอบค่ายทหารย้ายหนี│ย้อนนิพิฏฐ์│สรุปน้ำท่วมภาคใต้│1 ใน 3 ยังเข้าไม่ถึงอินเทอร์เน็ต

กมธ.พลังงาน จับตาตั้งกก. JTC หารือ MOU 44 แนะเพิ่มผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน
https://www.matichon.co.th/politics/news_4924998

กมธ.พลังงาน ถกพื้นที่ MOU 44 เชิญหน่วยงานเกี่ยวข้องให้ข้อมูล ทั้งพื้นที่ทับซ้อน ระยะเวลาใช้ทรัพยากรทางทะเล ค้านเลิกสัมปทานเอกชน หวั่นต้องจ่ายชดเชย หนุนเดินหน้าตั้ง กก.JTC แนะเพิ่มผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน
 
เมื่อเวลา 12.20 น. วันที่ 28 พฤศจิกายน ที่รัฐสภา นายศุภโชติ ไชยสัจ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการ(กมธ.)การพลังงาน สภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์ภายหลังประชุมกมธ.การพลังงาน สภาฯ ว่า ที่ประชุมได้พิจารณาเรื่องการแบ่งปันผลประโยชน์ด้านพลังงานในพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา โดยเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมสนธิสัญญา กระทรวงต่างประเทศ, กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน, กองทัพเรือ และสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม มาให้ข้อมูลล่าสุดในพื้นที่พัฒนาร่วม ซึ่งกรมสนธิสัญญา ยืนยันว่า ใช้กรอบของ MOU 44 เป็นกรอบหลักในการเจรจา โดย กมธ.ได้นำคำถามจากภาคประชาสังคมมาสอบถาม
 
นายศุภโชติ กล่าวต่อว่า จากการสอบถามได้ข้อมูล 2 ส่วน คือในพื้นที่ส่วนบนต่างฝ่ายต่างอ้างสิทธิทับซ้อน ก็ต้องมีการเจรจากันไป พร้อมกับแบ่งทรัพยากรธรรมชาติที่อยู่ส่วนล่าง โดยตามกรอบ MOU ต่างฝ่ายต่างรับรู้พื้นที่ของแต่ละฝ่าย และไทยค่อนข้างมั่นใจในข้อมูลที่จะไปเจรจากับกัมพูชา โดยยึดหลักอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล หรือ อันโคลซ ส่วนเรื่องสัมปทานที่ให้สิทธิกับเอกชนไปแล้ว ก็ต้องพูดคุยกันต่อว่าจะเดินหน้าอย่างไร แต่สิ่งที่กมธ.ไม่อยากให้เกิดขึ้นคือการยกเลิกสัมปทาน แล้วเราต้องมาจ่ายค่าชดเชยให้ โดยใช้ภาษีของประชาชน
 
นายศุภโชติ กล่าวต่อว่า ส่วนระยะเวลาในการนำทรัพยากรขึ้นมาใช้ประโยชน์ ทางกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ชี้แจงว่า ถ้าดูจากกรอบที่เราเคยทำกับมาเลเซียจะต้องใช้เวลาถึง 25 ปี จึงมีคำถามว่า ทรัพยากรเหล่านี้ยังจำเป็นหรือไม่ เพราะขณะนี้เรากำลังเดินไปสู่พลังงานสะอาด จึงได้พูดคุยกันว่าถ้าจะทำให้เร็วกว่านี้จะทำอย่างไรได้บ้าง
 
เมื่อถามว่า กมธ.เห็นด้วยกับการเดินหน้าตั้งคณะกรรมการร่วมทางเทคนิค หรือ JTC ไทย-กัมพูชา หรือไม่ นายศุภโชติ กล่าวว่า แน่นอนต้องมีอยู่แล้ว เพราะเป็นเหมือนบันไดขั้นแรก ที่ทำให้การเจรจาเกิดขึ้นได้ และทางเราก็อยากเห็นว่าองค์ประกอบเป็นอย่างไร โดยการเข้าไปเจรจาเรื่องใดเรื่องหนึ่งต้องมีผู้แทน ซึ่งในส่วนของไทยมีการพูดคุยกันว่าไม่ใช่แค่เรื่องเขตแดน แต่มีเรื่องทรัพยากรธรรมชาติและพลังงาน ดังนั้นองค์ประกอบของ JTC จึงเป็นประเด็นสำคัญว่าประกอบด้วยใครบ้าง ที่จะต้องคุยทั้งเรื่องเขตแดน อาณาเขตประเทศ รวมทั้งทรัพยากร ที่ผ่านมาองค์ประกอบของ JTC มีผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานค่อนข้างน้อย จึงขอฝากข้อเสนอแนะว่าต้องมีผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานเพิ่มไปด้วย ขอย้ำว่าคณะกรรมการ JTC จะต้องครอบคลุมโดยยึดผลประโยชน์ของประเทศเป็นที่ตั้ง
 
ต่อข้อถามว่ากังวลหรือไม่ที่อาจจะมีการตั้งคนจากฝ่ายการเมืองเข้าไปด้วย นายศุภโชติ กล่าวว่า คงปฏิเสธไม่ได้ว่ามีความพยายามจากฝ่ายการเมืองเข้ามาแทรกแซงในคณะกรรมการ JTC แต่อยากให้ยึดผลประโยชน์ของประเทศเป็นที่ตั้ง และให้การทำงานในเรื่องนี้เป็นกลางจริงๆ แต่เรื่องนี้จะชัดเจนที่สุดก็ต่อเมื่อได้เห็นรายชื่อคณะกรรมการ JTC ออกมาก่อน แล้วค่อยมาตั้งคำถาม
 
เมื่อถามว่า คิดว่ารมว.พลังงาน ควรอยู่ในคณะกรรมการ JTC ด้วยหรือไม่ นายศุภโชติ กล่าวว่า ถ้าเทียบกับในอดีต ก็ควรจะต้องเป็นบุคคลที่ดูเรื่องเขตแดน เรื่องทรัพยากร ต้องร่วมอยู่ในโต๊ะเจรจาด้วย
 
นายศุภโชติ กล่าวต่อว่า ส่วนข้อเสนอให้ยกเลิก MOU 44 นั้น ใน กมธ. พูดถึงเรื่องนี้ค่อนข้างน้อย เพราะการมี MOU 44 ถือเป็นกรอบที่ชัดในการเจรจา ส่วนจะต้องมีการปรับปรุงอะไรหรือไม่ เราต้องศึกษากันว่าบริบทนี้ผ่านมา 20 ปีแล้ว มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปค่อนข้างเยอะ จึงเห็นว่าต้องมีการทบทวน แต่ถึงขั้นต้องยกเลิกหรือไม่ยังไม่สามารถสรุปได้
 
เมื่อถามว่า ถ้าคุยเรื่องเส้นเขตแดนแล้วไปไม่ได้ จะคุยเรื่องผลประโยชน์ต่อหรือไม่ นายศุภโชติ กล่าวว่า รอให้ถึงจุดนั้นก่อน แล้วค่อยว่ากัน ตอนนี้เราควรย้ำจุดยืนว่าควรเข้าสู่โต๊ะเจรจา โดยนำ 2 เรื่องคือ ผลประโยชน์ และเขตแดน มาคุยพร้อมกัน
 
เมื่อถามย้ำว่าได้เห็นแผนที่แนบท้าย MOU 44 หรือไม่ นายศุภโชติ กล่าวว่า กรมสนธิสัญญาได้มาชี้แจงว่า แผนที่แนบท้ายเป็นแค่การรับรู้เส้นที่ทั้งสองฝ่ายต่างอ้างอิง ซึ่งเป็นคนละเส้นกัน และไม่ได้มีบทบังคับใช้ตามกฎหมาย อย่างไรก็ตามเห็นว่าเมื่อเปิดประชุมสภามาในเดือนธันวาคม เห็นควรจะมีการพูดคุยกันอย่างเปิดเผย เพื่อที่อธิบายให้ภาคประชาชนทราบว่าเรากำลังทำอะไรอยู่ คำถามที่ตามมาอาจจะลดน้อยลง เพื่อให้ทุกคนได้เข้าใจตรงกันว่าจุดยืนของเราคืออะไร และจะทำอะไรต่อ เพราะปัญหาเรื่องนี้ใหญ่เกินกว่าที่จะแก้ด้วยคนไม่กี่คน
 


เขากระโดง ที่ร้อน!? วิโรจน์ จี้สอบค่ายทหารย้ายหนี แต่กลับผุดสนามกอล์ฟขึ้นแทน
https://www.matichon.co.th/politics/news_4925407

เขากระโดง ที่ร้อน!? วิโรจน์ จี้สอบค่ายทหารย้ายหนี แต่กลับผุดสนามกอล์ฟขึ้นแทน
 
เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน ที่รัฐสภา นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ในฐานประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การทหาร สภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์ก่อนการประชุม กมธ. กรณีการสร้างค่ายสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก หรือ ร.23 พัน.4 โดยหลีกเลี่ยงพื้นที่เขากระโดงว่า มีประชาชนร้องเรียนว่าค่ายดังกล่าวไม่ได้สร้างในพื้นที่ที่ขออนุญาต และปรากฏว่าที่ตั้งของค่ายดังกล่าวในปัจจุบัน ปรากฏว่ามีสนามกอล์ฟเขากระโดงด้วย

จึงมีข้อสงสัยว่าไม่ได้สร้างในพื้นที่ที่ได้รับอนุญาต แต่กลับมาสร้างในพื้นที่อีกแปลงหนึ่งที่ห่างออกมาประมาณ 2 กม. ซึ่งประเด็นสำคัญคือ ทำไมค่ายหทารจึงไม่ไปตั้งในพื้นที่ที่ได้รับอนุญาต ซึ่งที่ได้รับอนุญาตคือ น.ส.ล.4130 ประมาณ 400 ไร่ ปรากฏว่าใน น.ส.ล.4130 มีที่อีก 1 แปลงคือ 24 ไร่เศษ ซึ่งมีการฟ้องร้องกัน โดยผู้ครอบครองพื้นที่ฟ้องร้องการรถไฟ แต่การรถไฟฟ้องแย้งและสู้คดี 5 ปี จนมีคำพิพากษาศาลฎีกาเป็นที่สิ้นสุดเด็ดขาดว่าที่แปลงนั้นเป็นที่การรถไฟ โดยปัจจุบันผู้ที่ฟ้องการรถไฟก็ชำระค่าปรับและออกจากพื้นที่นั้นแล้ว

นายวิโรจน์กล่าวต่อว่า ประเด็นสำคัญที่จะมีการซักถามในที่ประชุม กมธ.คือ พื้นที่ 400 ไร่ดังกล่าวจริงๆ แล้วควรเป็นค่ายสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก แล้วทำไมจึงไม่เป็นค่ายทหาร ทำไมค่ายทหารจึงต้องหนีห่างออกมา 2 กม.เศษ จนต้องไปฟ้องขับไล่ราษฎรเมื่อปี 2524

ซึ่งประชาชนมีความรู้สึกว่าหากจะนำพื้นที่เป็นค่ายทหารก็สามารถใช้ได้ แต่กลับมีสนามกอล์ฟเขากระโดงขึ้นมา โดยสนามกอล์ฟดังกล่าวเพิ่งจะเข้าสู่ระบบทะเบียนเมื่อปี 2566 จึงถูกตั้งคำถามในเรื่องของการบริหารเงินนอกงบประมาณ ดังนั้น วันนี้จึงต้องสืบหาข้อเท็จจริงว่าค่ายทหารสร้างถูกที่หรือไม่ และถ้าสร้างไม่ถูกที่ทำไมต้องหลบออกมา ทำไมไม่ไปสร้างที่เขากระโดง หรือเป็นพื้นที่ร้อน หรือมีใครลงอาถรรพ์หรืออย่างไร

เมื่อถามว่าสนามกอล์ฟที่เขากระโดงใครเป็นผู้บริหาร หรือเป็นของกองทัพ นายวิโรจน์กล่าวว่า สนามกอล์ฟเป็นของมณฑลทหารบกที่ 26 หรือ มทบ.26  ซึ่งเป็นการบริหารจัดการและเป็นธุรกิจของกองทัพเพื่อสวัสดิการกองทัพ

เมื่อถามย้ำว่า ทำไมกองทัพต้องถอยห่างออกมาจากพื้นที่ที่ขออนุญาต นายวิโรจน์กล่าวว่า วันนี้เราต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อนว่าค่ายสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกสร้างถูกที่หรือไม่ จากที่ขออนุญาตหนังสือสำคัญที่หลวง น.ส.ล.4130/2515 แต่ทำไมไปสร้างในที่ น.ส.ล. ที่ บร.3239 ซึ่งเพิ่งขอในปี 2543 และได้รับอนุญาต หนังสือออกเมื่อปี 2544 และหนังสืออนุญาตจากผู้ว่าฯบุรีรัมย์ในขณะนั้นให้สร้างในพื้นที่ น.ส.ล.4130/2515

คำถามคือตกลงแล้วสร้างที่ไหนกันแน่ และถ้าสร้างผิดที่จะเอาอย่างไร ก็จะเป็นกรณีที่การรถไฟเคยฟ้องกรมทางหลวงว่ามีการสร้างถนนทางหลวง สายบุรีรัมย์-ประโคนชัย ที่ส่วนหนึ่งเข้าไปที่ของการรถไฟ ทำให้ต้องมีการเสียค่าเช่าย้อนหลังกัน

เมื่อถามว่า มีการเชื่อมโยงกับคนตระกูลใหญ่ในบุรีรัมย์ที่เป็นข่าวในขณะนี้หรือไม่ นายวิโรจน์กล่าวว่า เรื่องที่มาของที่ดินก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่เรื่องนี้ไม่เชื่อมก็คงต้องเชื่อมกับคนตระกูลใหญ่ แต่เราอย่าเพิ่งไปกล่าวหาใคร เพราะการได้ที่ดินมาเมื่อ 40 ปีก่อนหน้านี้แล้ว ซึ่งส่วนใหญ่เป็น ส.ค.1 แล้วเอาไปออกโฉนด ซึ่งการออกโฉนดอาจจะถูกหรือผิดก็ได้ เราอย่าเพิ่งไปกล่าวหาว่าเป็นเจตนาทุจริต หรือสุจริตอะไร แต่เบื้องต้นเราต้องตรวจสอบก่อนว่าค่ายทหารสร้างถูกที่หรือไม่ เพราะจริงๆ แล้วในสมัยก่อนการปักหมุดที่ดินไม่ยากอะไร ถ้าผิดจริงก็ตกใจเหมือนกันเพราะอนุญาตให้สร้างแปลงนี้ แต่กลับมาสร้างอีกแปลงหนึ่ง

เกิดอะไรขึ้น หรือมีโหรไปดูแล้วมีเหตุการณ์อะไรหรือไม่ จึงต้องระเห็จออกมาสร้างอีกที่หนึ่ง หรือที่ร้อนหรือไม่ วันนี้รู้กัน สุดท้ายความจริงต้องปรากฏ เวทมนตร์ คุณไสยใดๆ ที่สร้างหมอกบังตา สร้างแดนสนธยาขึ้นมา สุดท้ายแพ้แสงตะวันอยู่แล้ว ถึงแม้จะไม่สว่างวันนี้ก็สว่างวันหน้า ผมหวังว่า กมธ.ทหารจะมีความขลังที่จะคลี่คลายฝุ่นควันแดนสนธยาในพื้นที่นี้ ถ้าสายสิญจน์ที่วันนี้เราขึงไม่พอ ก็ต้องไปสู้กันต่อไป สักวันเวทมนตร์ มนต์ดำ คุณไสย สู้ความถูกต้องไม่ได้หรอก” นายวิโรจน์กล่าว

นายวิโรจน์กล่าวต่อว่า ในการพิจารณาของ กมธ.วันนี้เราพยายามหาข้อสรุปให้ได้มากที่สุด ถ้ายังไม่ได้ข้อสรุปอย่างไรคิดว่าคงต้องได้เบาะแสและข้อเท็จจริงบางอย่าง ซึ่ง กมธ.ทหารตั้งใจว่าอาจจะส่งเบาะแสไปต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน แสวงหาข้อเท็จจริงเพิ่มเติม และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ให้จับตาในกรณีนี้ว่าจะมีหน่วยงานราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ ทั้งการรถไฟและกรมที่ดิน อาจจะมีพฤติกรรมและพฤติการณ์เข้าข่ายการละเว้นปฏิบัติหน้าที่หรือไม่ เพราะค่ายทหารต้องอยู่ที่ น.ส.ล.4130/2515 หากไปอยู่ที่อื่นถือเป็นเรื่องใหญ่ เพราะพื้นที่ตรงนี้มีการสงวนไว้เป็นบ่อหินใกล้รางรถไฟ แต่ค่ายดังกล่าวในปัจจุบันกลับไปสร้างในอีกที่หนึ่ง ซึ่งไม่มีบ่อหิน ดังนั้น จึงต้องขอภาพถ่ายทางอากาศของกรมแผนที่ทหารให้ช่วยชี้บ่อหินว่า น.ส.ล.ที่ บร.3239 มีบ่อหินตรงไหน



รองโฆษกปชน. ย้อนนิพิฏฐ์ ฝ่ายค้าน ค้านจริง ต้องปาแฟ้ม บอยคอตเลือกตั้ง ปูทางรปห.?
https://www.matichon.co.th/politics/news_4925752

รองโฆษกปชน. ย้อนแรงนิพิฏฐ์ ฝ่ายค้าน ค้านจริง ต้องลากเก้าอี้ บอยคอตเลือกตั้ง ปูทางรปห.?

จากกรณีที่ นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนกรรม อดีตส.ส.พัทลุงหลายสมัย ให้โพสต์เรื่อง “การเมืองที่ถูกล็อคด้วยพรรคการเมือง 2 พรรค” โดยระบุตอนหนึ่งว่า สถานการณ์ของประเทศถูกล็อคด้วยพรรคการเมือง 2 พรรค ที่กำลังแลกเปลี่ยนผลประโยชน์กัน ซึ่งค่อนข้างอันตราย ขณะที่พรรคฝ่ายค้าน เช่น พรรคประชาชน ก็ดูเหมือนค้านไม่จริง มีวาระซ่อนเร้น ไม่ลดราวาศอกในประเด็นบางเรื่อง จึงเสียดายหากมีฝ่ายค้านที่เข้มแข็งเหมือนพรรคประชาธิปัตย์ในอดีต ก็คงคลายล็อคทางการเมืองได้ แต่พรรคประชาธิปัตย์ก็รอวันล่มสลาย
 
ล่าสุด (28 พ.ย.) น.ส.ภคมน หนุนอนันต์ รองโฆษกพรรคประชาชน ได้โพสต์แสดงความคิดเห็นถึงข้อเขียนของ นายนิพิฏฐ์ โดยถามกลับว่า “ค้านจริง” ต้องลากเก้าอี้ประธานสภาฯ-ปาแฟ้มหรือ? โดยมีเนื้อหาดังนี้
 
ก่อนอื่นอยาก ชี้แจงบทบาทของพรรคฝ่ายค้านในแนวทางที่พรรคประชาชนยึดถือ
 
หากคุณนิพิฏฐ์ไม่ปิดกั้นมุมมองของตัวเองจนเกินไปเชื่อว่า จะเห็นข่าวสารและบทบาทของพรรคประชาชนไม่น้อย แต่เพื่อให้ชัดเจนดิฉันถือโอกาสนี้ในการรีวิวแนวทางการทำงานของพรรคประชาชนอดีตพรรคก้าวไกลอีกครั้ง 
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่