ที่ชาวบ้านอำเภอโยธะกา อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา ขึ้นป้าย "เขตปลอด EEC" พร้อมบุกกรุงฯ เรียกร้องให้ระงับโครงการอีอีซี
จากกรณีของกลุ่มชาวบ้านดังกล่าวในพื้นที่ คาดว่าน่าจะต้องมีกลุ่ม NGO หรือนักวิชาการ หรือนักข่าวบางสำนัก ที่ไปให้ข้อมูลที่ไม่ชัดเจน ข้อมูลที่ไม่ครบถ้วน หรือว่าให้ข้อมูลเพียงบางส่วน จนทำให้ชาวบ้านที่เคยเช่าพื้นที่ราชพัสดุของกรมธนารักษ์ออกมาต่อต้านอย่างรุนแรงกับโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC หรือแท้จริงแล้วเป็นการเรียกร้องจากชาวบ้านเพื่อให้ทางรัฐบาลช่วยเหลือในการหาที่อยู่อาศัย และที่ทำกินใหม่ให้เท่านั้น
ในช่วงปลายปี 2561 ทางเวปไซท์ของ
Realist.co.th ได้ทำไทม์ไลน์ในการถือครองที่ดินของชาวบ้านในพื้นที่ดังกล่าวให้เห็นอย่างชัดเจน
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้• พ.ศ.2444 เกิดการสร้างระบบเจ้าที่ดิน ในสมัยรัชกาลที่ 5 อันเป็นผลจากโครงการขุดคลองรังสิต ที่ดินได้กลายเป็นอสังหาริมทรัพย์ราคาสูง ทำให้ชนทุกชั้นหันมาสนใจจับจองที่ดินเป็นการเปลี่ยนที่ดินในฐานะปัจจัยการผลิตไปเป็นทรัพย์สิน
• พ.ศ.2446-2447 รัชกาลที่ 5 ให้สัมปทานขุดคลองแก่บริษัทขุดคลองแลคูนาสยามเข้ามาขุดคลอง ทำให้ดินจืดคลายความเปรี้ยวลง ราษฎรจากที่อื่นพากันอพยพมาเพื่อทำนามากขึ้น บริษัทจึงให้ชาวบ้านจ่ายค่าเช่าแทนค่าขุดคลอง แต่ไม่มีใครมาเช่าที่ดินทำนา เนื่องจากมีช้างป่าอยู่ชุกชุม
• พ.ศ. 2448 อ.บางน้ำเปรี้ยว ได้ก่อตั้งขึ้น มีหลวงพิศาลเกษตรสมบูรณ์ (เกตุ เกษสมบูรณ์) เป็นนายอำเภอคนแรก โดยทั่วไปสภาพพื้นที่เป็นป่าโปร่ง มีประชาชนอยู่แบบกระจัดกระจาย ประกอบอาชีพปลูกพืชเลี้ยงสัตว์
• พ.ศ. 2458 ชาวบ้านหลายกลุ่มเริ่มเข้ามาบุกเบิกหักล้างถางพง ก่นสร้าง และจับจองพื้นที่ ในช่วงเวลาที่บริษัทขุดคลองแลคูนาสยามหมดอายุการถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน
• พ.ศ. 2468 มีการออกโฉนดให้กับเจ้าจอมมารดาแพ (แปลงที่ 611, 612 และ 614) และ พระองค์เจ้าสุวพักตร์วิไลยพรรณ (แปลงที่ 613) และในปีนี้เองนายกองนาก็ได้เข้ามาทำการเก็บค่าเช่าที่กับชาวบ้าน ด้วยความไม่รู้กฎหมาย ชาวบ้านก็ยอมจ่ายค่าเช่าและมีสถานะเป็นผู้เช่าที่ดินในพื้นที่นับแต่นั้นมา
• พ.ศ. 2483 เจ้าจอมมารดาแพ ได้ส่งต่อพื้นที่นี้ให้แก่ นางพิจารณ์พลกิจ (ผาด ดุละลัมภะ) ข้าหลวงต้นห้องคนสนิทดูแลพื้นที่ต่อ
• พ.ศ. 2489 นางพิจารณ์พลกิจ ได้ทำการขายที่ดินนี้ให้แก่นายชัยยุทธ กรรณสูต เป็นผู้ถือครองคนต่อมา
• พ.ศ. 2491 นายชัยยุทธ กรรณสูต ได้ทำการขายที่ดินผืนนี้ให้แก่ทางทหารเรือ
• พ.ศ. 2518 มีการประกาศใช้ พ.ร.บ.ราชพัสดุ ให้หน่วยงานรัฐส่งมอบที่ดินให้กับกระทรวงการคลัง (กรมธนารักษ์) โดยได้มอบอำนาจให้กองทัพเรือเป็นผู้ดำเนินการจัดให้เช่าและเรียกเก็บค่าเช่าให้เป็นไปตามระเบียบกระทรวงการคลังกำหนด
• พ.ศ. 2545 มีการประกาศบังคับใช้กฎกระทรวงเกี่ยวกับที่ราชพัสดุ โดยมีเงื่อนไขให้ต่ออายุสัญญาเช่าครั้งละ 1 ปี และต้องได้รับความยินยอมจากกองทัพเรือก่อน และผู้เช่าจะต้องยินยอมให้กองทัพใช้ประโยชน์เมื่อมีความจำเป็น
• ปัจจุบัน 2561 ที่ผืนนี้จึงที่เป็นที่ราชพัสดุที่อยู่ในความครอบครองของกองทัพเรือที่ดูแลโดยกรมธนารักษ์ โดยมีการใช้พื้นที่ทางราชการทหารในบางส่วน ส่วนที่เหลือกองทัพเรือได้นําไปจัดให้ราษฎรเช่าเพื่ออยู่อาศัยและประกอบกิจกรรมเกษตร
จึงกล่าวได้ว่า พื้นที่นี้มีการถือครองมาตั้งแต่ในสมัยรัชกาลที่ 5 และมีการบุกเบิกและจับจองใช้พื้นที่โดยบรรพบุรุษของชาวบ้านจริง แต่ในทางด้านกฎหมายจากการที่ไม่มีโฉนดที่ดิน และการที่ชาวบ้านบุกเบิกจับจองที่ดิน จึงไม่ถือว่าเป็นการถือครองที่ดินโดยถูกต้องตามกฎหมาย
สื่อโป๊ะแตก !!! เมื่อดันไปกล่าวหาคนอื่นโดยไม่หาข้อมูลก่อน - ภาค 1
• สื่อโป๊ะแตก !!! เมื่อดันไปกล่าวหาคนอื่นโดยไม่หาข้อมูลก่อน - ภาค 2
• สื่อโป๊ะแตก !!! เมื่อดันไปกล่าวหาคนอื่นโดยไม่หาข้อมูลก่อน - ภาค 3 (ตอนจบ)