สามารถ ชี้ กระบวนการเพี้ยนไปหมด ผลจากกติกาเลือกตั้งที่ผิดพลาด อนาคตวุ่นวายกว่านี้
https://www.matichon.co.th/politics/news_1476015
เมื่อวันที่ 3 พ.ค. นาย
สามารถ แก้วมีชัย อดีตส.ส. เชียงราย พรรคเพื่อไทย โพสต์ข้อความทางเฟสบุ๊ก
Samart Kaewmechai แสดงความเห็นกรณีปัญหาการจัดการเลือกตั้ง รวมถึงปัญหาสูตรคำนวณ ส.ส. โดยระบุว่า
กติกาผิด กระบวนการเพี้ยน
วันที่ 9 พ.ค.คือเงื่อนเวลาตามรัฐธรรมนูญที่ กกต ต้องประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง ส.ส. ทั้งแบบเขตและแบบบัญชีรายชื่อให้แล้วเสร็จ อย่างน้อยร้อยละ 95 ของจำนวน ส.ส. ที่มี เพื่อให้สามารถเปิดประชุมรัฐสภาครั้งแรกได้
ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ จะจัดสรรให้พรรคการเมืองได้ก็ต่อเมื่อ ผลการเลือกตั้ง ส.ส. เขตได้ข้อสรุปชัดเจนก่อน เพราะต้องเอาคะแนนที่ทุกพรรคได้จากการเลือกตั้งทั้ง 350 เขต มารวมกันหารด้วยจำนวน ส.ส. 500 แล้วจึงนำผลลัพธ์ที่ได้ไปหารคะแนนที่แต่ละพรรคได้ จึงจะทราบว่าแต่ละพรรคพึงมี ส.ส. กี่ที่นั่ง
ส.ส. เขต ไม่มีปัญหาพรรคใดชนะที่ 1 เขตใดก็ได้ไป ประเด็นสับสนวุ่นวายวันนี้อยู่ที่ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อว่าพรรคไหนควรจะได้กี่ที่นั่ง เหตุเพราะ
1 การเลือกตั้ง ส.ส. เขตยังไม่ได้ข้อสรุป บางเขตต้องเลือกใหม่ บางเขต มา
ทราบภายหลังว่าผู้สมัคร ส.ส. บางพรรค ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามไม่มีสิทธิสมัคร ส.ส. คะแนนที่ได้เมื่อวันที่ 24 มี.ค.จะนำมารวมคิดเป็นฐานคะแนนไม่ได้
2 กรณีบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ มาตรา 91 และกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. มาตรา 128 บัญญัติไว้แตกต่างกัน จนทำให้เกิดสูตรการคิดเพื่อจัดสรรที่นั่ง ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อหลายสูตร ในที่สุดต้องส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า กฎหมายลูกขัดกับกฎหมายแม่หรือไม่ จะคิดสูตรแบบแคบหรือแบบกว้าง
เหล่านี้มีต้นเหตุมาจากกติกาคือรัฐธรรมนูญที่ออกแบบระบบการเลือกตั้งที่เรียกว่า “ระบบสัดส่วนผสมจัดสรรปันส่วน” เจตนาไม่ต้องการให้มีพรรคการเมืองใดได้เสียงข้างมากเด็ดขาดแต่เพียงพรรคเดียว ต้องการให้เกิดรัฐบาลผสมหลายพรรค จากบัตรเลือกตั้งที่เคยมีสองใบ ใบหนึ่งเลือกผู้สมัครในเขต ใบหนึ่งเลือกพรรค ไม่ยุ่งยากในการคิด กลับให้เหลือบัตรเลือกตั้งใบเดียวให้ยุ่งยากซับซ้อนอย่างที่เป็นอยู่
กกต. ได้แจ้งต่อสาธารณะว่า จะประกาศรับรอง ส.ส. เขต วันที่ 7 พ.ค. และรับรอง ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อในวันที่ 8 พ.ค ก่อนจะทราบว่าศาลรัฐธรรมูญมีมติรับเรื่องที่ผู้ตรวจการแผ่นดินยื่นขอให้วินิจฉัยว่า กฎหมายลูก ม. 128 ขัดกับรัฐธรรมนูญ ม. 91 หรือไม่ ไว้พิจารณาและศาลรัฐธรรมนูญ กำหนดจะเปิดการพิจารณาในวันที่ 8 พ.ค.เวลา 09.30น
ที่มีปัญหาน่ากังวล คือ ศาลรัฐธรรมนูญนัดพิจารณาว่า ม. 128 ของกฎหมายลูก ขัดกับกฎหมายแม่คือรัฐธรรมนูญ ม. 91 หรือไม่ ในวันที่ 8 พ.ค เริ่มเวลา 09.30 น ซึ่งตามกระบวนการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อพิจารณาเสร็จ ตุลาการแต่ละท่านต้องเขียนคำวินิฉัยส่วนตนก่อน แล้วจึงออกคำวินิจฉัยกลาง จะเสร็จทันให้ กกต. นำไปประกอบการพิจารณาในการจัดสรรที่นั่ง ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อให้แก่พรรคการเมืองต่างๆทันภายในวันที่ 8 พ.ค หรือไม่
ถ้า กกต. ประกาศรับรองผล ส.ส. บัญชีรายชื่อ ช้ากว่าวันที่ 9 พ.ค.เหตุเพราะต้องรอคำวินิจฉัยกลางของศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งคงจะมีผลให้ กระบวนการเปิดประชุมรัฐสภาครั้งแรก การเลือกประธาน รองประธานสภาผู้แทนราษฏร การเลือกนายกรัฐมนตรี การมี ครม. ชุดใหม่ต้องมีผลกระทบให้ล่าช้าไปหมด
ใครควรรับผิดชอบ
เมื่อกติกาออกแบบมาผิด กระบวนการต่างๆที่ตามมาก็เพี้ยนไปหมด และจะยังไม่จบแค่นี้ กระบวนการต่อไปจะยุ่งยากวุ่นวายยิ่งกว่านี้อีกเยอะครับ
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1650202465123901&set=a.117636131713883&type=3
JJNY : สามารถชี้กระบวนการเพี้ยนหมด ผลจากกติกาเลือกตั้งที่ผิดพลาดฯ/เดือนร้อนหนัก ผู้ประกอบการลานเทปาล์มวอนรัฐช่วยลดสต๊อคฯ
https://www.matichon.co.th/politics/news_1476015
เมื่อวันที่ 3 พ.ค. นายสามารถ แก้วมีชัย อดีตส.ส. เชียงราย พรรคเพื่อไทย โพสต์ข้อความทางเฟสบุ๊ก Samart Kaewmechai แสดงความเห็นกรณีปัญหาการจัดการเลือกตั้ง รวมถึงปัญหาสูตรคำนวณ ส.ส. โดยระบุว่า
กติกาผิด กระบวนการเพี้ยน
วันที่ 9 พ.ค.คือเงื่อนเวลาตามรัฐธรรมนูญที่ กกต ต้องประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง ส.ส. ทั้งแบบเขตและแบบบัญชีรายชื่อให้แล้วเสร็จ อย่างน้อยร้อยละ 95 ของจำนวน ส.ส. ที่มี เพื่อให้สามารถเปิดประชุมรัฐสภาครั้งแรกได้
ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ จะจัดสรรให้พรรคการเมืองได้ก็ต่อเมื่อ ผลการเลือกตั้ง ส.ส. เขตได้ข้อสรุปชัดเจนก่อน เพราะต้องเอาคะแนนที่ทุกพรรคได้จากการเลือกตั้งทั้ง 350 เขต มารวมกันหารด้วยจำนวน ส.ส. 500 แล้วจึงนำผลลัพธ์ที่ได้ไปหารคะแนนที่แต่ละพรรคได้ จึงจะทราบว่าแต่ละพรรคพึงมี ส.ส. กี่ที่นั่ง
ส.ส. เขต ไม่มีปัญหาพรรคใดชนะที่ 1 เขตใดก็ได้ไป ประเด็นสับสนวุ่นวายวันนี้อยู่ที่ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อว่าพรรคไหนควรจะได้กี่ที่นั่ง เหตุเพราะ
1 การเลือกตั้ง ส.ส. เขตยังไม่ได้ข้อสรุป บางเขตต้องเลือกใหม่ บางเขต มา
ทราบภายหลังว่าผู้สมัคร ส.ส. บางพรรค ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามไม่มีสิทธิสมัคร ส.ส. คะแนนที่ได้เมื่อวันที่ 24 มี.ค.จะนำมารวมคิดเป็นฐานคะแนนไม่ได้
2 กรณีบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ มาตรา 91 และกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. มาตรา 128 บัญญัติไว้แตกต่างกัน จนทำให้เกิดสูตรการคิดเพื่อจัดสรรที่นั่ง ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อหลายสูตร ในที่สุดต้องส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า กฎหมายลูกขัดกับกฎหมายแม่หรือไม่ จะคิดสูตรแบบแคบหรือแบบกว้าง
เหล่านี้มีต้นเหตุมาจากกติกาคือรัฐธรรมนูญที่ออกแบบระบบการเลือกตั้งที่เรียกว่า “ระบบสัดส่วนผสมจัดสรรปันส่วน” เจตนาไม่ต้องการให้มีพรรคการเมืองใดได้เสียงข้างมากเด็ดขาดแต่เพียงพรรคเดียว ต้องการให้เกิดรัฐบาลผสมหลายพรรค จากบัตรเลือกตั้งที่เคยมีสองใบ ใบหนึ่งเลือกผู้สมัครในเขต ใบหนึ่งเลือกพรรค ไม่ยุ่งยากในการคิด กลับให้เหลือบัตรเลือกตั้งใบเดียวให้ยุ่งยากซับซ้อนอย่างที่เป็นอยู่
กกต. ได้แจ้งต่อสาธารณะว่า จะประกาศรับรอง ส.ส. เขต วันที่ 7 พ.ค. และรับรอง ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อในวันที่ 8 พ.ค ก่อนจะทราบว่าศาลรัฐธรรมูญมีมติรับเรื่องที่ผู้ตรวจการแผ่นดินยื่นขอให้วินิจฉัยว่า กฎหมายลูก ม. 128 ขัดกับรัฐธรรมนูญ ม. 91 หรือไม่ ไว้พิจารณาและศาลรัฐธรรมนูญ กำหนดจะเปิดการพิจารณาในวันที่ 8 พ.ค.เวลา 09.30น
ที่มีปัญหาน่ากังวล คือ ศาลรัฐธรรมนูญนัดพิจารณาว่า ม. 128 ของกฎหมายลูก ขัดกับกฎหมายแม่คือรัฐธรรมนูญ ม. 91 หรือไม่ ในวันที่ 8 พ.ค เริ่มเวลา 09.30 น ซึ่งตามกระบวนการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อพิจารณาเสร็จ ตุลาการแต่ละท่านต้องเขียนคำวินิฉัยส่วนตนก่อน แล้วจึงออกคำวินิจฉัยกลาง จะเสร็จทันให้ กกต. นำไปประกอบการพิจารณาในการจัดสรรที่นั่ง ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อให้แก่พรรคการเมืองต่างๆทันภายในวันที่ 8 พ.ค หรือไม่
ถ้า กกต. ประกาศรับรองผล ส.ส. บัญชีรายชื่อ ช้ากว่าวันที่ 9 พ.ค.เหตุเพราะต้องรอคำวินิจฉัยกลางของศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งคงจะมีผลให้ กระบวนการเปิดประชุมรัฐสภาครั้งแรก การเลือกประธาน รองประธานสภาผู้แทนราษฏร การเลือกนายกรัฐมนตรี การมี ครม. ชุดใหม่ต้องมีผลกระทบให้ล่าช้าไปหมด
ใครควรรับผิดชอบ
เมื่อกติกาออกแบบมาผิด กระบวนการต่างๆที่ตามมาก็เพี้ยนไปหมด และจะยังไม่จบแค่นี้ กระบวนการต่อไปจะยุ่งยากวุ่นวายยิ่งกว่านี้อีกเยอะครับ
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1650202465123901&set=a.117636131713883&type=3