คุณสมบัติมรรค

มรรค คือศีล สมาธิ ปัญญา
ศีลใช้ระงับ กิเลสอย่างหยาบ คือกายกรรม วจีกรรม
สมาธิ(ฌาน) ใช้ระงับกิเลส อย่างกลาง คือนิวรณ์5
ปัญญาใชัระงับ กิเลสอย่างละเอียด

ระดับที่ ๑ ตัดด้วยศีล มีพระบาลีว่า สีเลนะ วีติกกะมะกิเลเส วิโสธะนัง ปะกาสิตัง โหติ ฯ การรักษาศีล ๕ ศีล ๘ อย่างเคร่งครัดของฆราวาสก็ดี การปฏิบัติตามพระวินัย ๒๒๗ ข้อ และการปฏิบัติธุตงควัตร ๑๓ ข้อ อย่างเคร่งครัดของพระสงฆ์ก็ดี เป็นการชำระวีติกกมะกิเลสที่เกิดทางกายและทางวาจา (ป้องกันสิ่งที่จะพึงก้าวล่างทางกายและทางวาจา)
ระดับที่ ๒ ตัดด้วยสมาธิ มีพระบาลีว่า สะมาธิยา วิกขัมภะนะกิเลเส วิโสธะนัง ปะกาสิตัง โหติ ฯ การปฏิบัติโดยใช้สติกับสมาธินำหน้า เช่น การปฏิบัติตามสมถะ ๔๐ ซึ่งมีอนุสสติ ๑๐  เป็นเครื่องชำระวิกขัมภนกิเลส (ข่มกิเลสไว้) การปฏิบัติในลักษณะนี้ให้ผลได้ตลอดชาตินี้แล้ว เมื่อละอัตภาพก็ไปเกิดเป็นพรหม เมื่อหมดอายุพรหมก็กลับมาเกิดอีกตามแต่บุญกรรมที่ทำไว้
ระดับที่ ๓ ตัดด้วยปัญญา มีพระบาลีว่า ปัญญายะ อนุสสะยะกิเลเส สะมุจเฉทะนัง วิโสธะ นัง ปะกาสิตัง โหติ ฯ  การใช้องค์มรรค คือสัมมาทิฏฐิดูรูปธาตุนามธาตุให้เห็นสภาวะที่มิใช่ตัวตน และใช้สัมมาสังกัปปะพิจารณาว่าเป็นอนัตตา มิใช่ตัวตน หากใช้ปัญญาองค์มรรค ๒ ประการนำหน้าแล้ว สามารถที่จะตัดอนุสัยกิเลสซึ่งเป็นกิเลสชนิดละเอียดอันซ่อนอยู่ในกมลสันดานนั้น ให้ขาดสะบั้นลงไปแล้วก็เกิดความเป็นจิตใจที่บริสุทธิ์ขึ้นมาได้
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่