เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ นายชำนาญ จันทร์เรือง นักวิชาการอิสระ กล่าวถึงพ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส.และพ.ร.ป.ว่าด้วยการได้มาซึ่ง ส.ว. ที่อาจต้องตั้ง กมธ.ร่วม 3 ฝ่ายว่า ส่วนตัวมองว่าต้องตั้ง กมธ.ร่วม เพราะขัดกับหลักการในรัฐธรรมนูญอย่างเห็นได้ชัด กรธ.ก็ไม่แฮปปี้อยู่แล้ว เพราะเปลี่ยนไปเยอะ ไม่ว่าจะเป็นวิธีการเลือกที่เดิมเขากำหนดให้เลือกไขว้ แล้วไปแบ่งส.ว.เป็น 2 ประเภทอีก แต่กมธ.ร่วมมี 11 คน สนช.5 คน กรธ.5 คน กกต.1 คน ซึ่งกกต.ไม่เห็นด้วยอยู่แล้ว จะกลายเป็น 6 ต่อ 5 ก็ต้องส่งศาลรัฐธรรมนูญ แล้วศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยว่าจะขัดหรือไม่ขัดอย่างไร เช่นขัดทั้งฉบับหรือขัดบางมาตรา แล้วหากเป็นมาตราที่เป็นสาระสำคัญก็ถือว่าตก ต้องร่างใหม่โดยอาจร่างบางมาตรา หรือร่างทั้งหมด จะยื้อออกไปอีกนาน
“ประเด็นสำคัญคือว่าส.ส.จะเลือกไม่ได้ถ้าส.ว.ไม่มี นี่คือสิ่งสำคัญ ยังไงก็มองไม่เห็นว่ากุมภาพันธ์ 2562 จะมีเลือกตั้ง เพราะมองว่าต้องส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความอยู่แล้ว เพราะใครก็ไม่อยากตกเป็นจำเลย มีความยุ่งยากจะโทษกันไปมา กรธ.ก็โทษสนช. สนช.ก็บอกกรธ.อ่านไม่ดี จะยุ่งไปหมด เชื่อว่าเขารู้กัน อาจจะไม่รู้ตั้งแต่แรกแต่มารู้กันทีหลัง ก็เหมือนลงเรือแป๊ะ แป๊ะจะเอาอย่างนี้จะทำยังไงได้
“ในฐานะนักกฎหมาย มองว่าบางมาตราขัดอยู่แล้ว อยู่ที่ศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยว่าจะให้ตกทั้งฉบับหรือตกบางมาตรา แต่บางมาตราที่ขัดเป็นสาระสำคัญก็ต้องร่างใหม่บางมาตราหรือทั้งฉบับ ซึ่งผมเข้าใจว่าน่าจะร่างบางมาตรา แต่ก็ไม่ต่างกัน เพราะเวลาไม่ได้บังคับ เลยกำหนด 240 วันมาแล้ว ปัญหาของการร่างใหม่คือ ใครจะเป็นคนทำ กรธ.ก็หมดหน้าที่ไปแล้ว กลายเป็นเรื่องของสนช. ยื้อไปมาก็อาจเหมือนพ.ร.บ.ต่อต้านการทรมาน ส่งกลับไปกลับมา เตะไปเตะมา อ้างว่าไม่พร้อมต้องมาทำความคิดเห็นประชาชนใหม่ 1-2 ปี จนกว่าพรรคที่เขาตั้งมาสนับสนุนจะพร้อมเต็มที่เมื่อไหร่ แต่คิดว่าคงไม่นานขนาดนั้น สถานการณ์มันยุ่ง เป็นเดดล็อกอยู่แล้ว ความวุ่นวายตามไปอยู่แล้ว คนถอดใจแล้วเรื่องเลือกตั้งส.ส.-ส.ว. ตอนนี้ลุ้นอย่างเดียว คสช. จะไปเมื่อไร
“ผลจากกฎหมาย 2 ฉบับนี้กระทบโรดแมปอยู่แล้ว อย่างพ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส.ก็ยืดไปแล้ว 90 วัน แล้วยังมีระยะเวลาขั้นตอนอื่นอีก เป็นไปไม่ได้เลยที่จะเลือกตั้ง กุมภาพันธ์ 2562 อาจยื้อไปนานหรืออาจไม่มีเลยก็ได้ อาจล้มกระดานได้ ไม่รู้เขาจะลงยังไง ลงก็กลัวเสือกัดต้องมีทางออก อาจมียึดอำนาจใหม่โดยคนกลุ่มใหม่ให้ชุดนี้ลงสวยๆ” นายชำนาญ กล่าว
JJNY : นักวิชาการมอง 'เลือกตั้ง ก.พ.62' เป็นไปไม่ได้ เหตุ 2 กม.ลูกส่อปัญหา หวั่นเกิดเดดล็อกยื้อเลือกตั้ง
“ประเด็นสำคัญคือว่าส.ส.จะเลือกไม่ได้ถ้าส.ว.ไม่มี นี่คือสิ่งสำคัญ ยังไงก็มองไม่เห็นว่ากุมภาพันธ์ 2562 จะมีเลือกตั้ง เพราะมองว่าต้องส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความอยู่แล้ว เพราะใครก็ไม่อยากตกเป็นจำเลย มีความยุ่งยากจะโทษกันไปมา กรธ.ก็โทษสนช. สนช.ก็บอกกรธ.อ่านไม่ดี จะยุ่งไปหมด เชื่อว่าเขารู้กัน อาจจะไม่รู้ตั้งแต่แรกแต่มารู้กันทีหลัง ก็เหมือนลงเรือแป๊ะ แป๊ะจะเอาอย่างนี้จะทำยังไงได้
“ในฐานะนักกฎหมาย มองว่าบางมาตราขัดอยู่แล้ว อยู่ที่ศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยว่าจะให้ตกทั้งฉบับหรือตกบางมาตรา แต่บางมาตราที่ขัดเป็นสาระสำคัญก็ต้องร่างใหม่บางมาตราหรือทั้งฉบับ ซึ่งผมเข้าใจว่าน่าจะร่างบางมาตรา แต่ก็ไม่ต่างกัน เพราะเวลาไม่ได้บังคับ เลยกำหนด 240 วันมาแล้ว ปัญหาของการร่างใหม่คือ ใครจะเป็นคนทำ กรธ.ก็หมดหน้าที่ไปแล้ว กลายเป็นเรื่องของสนช. ยื้อไปมาก็อาจเหมือนพ.ร.บ.ต่อต้านการทรมาน ส่งกลับไปกลับมา เตะไปเตะมา อ้างว่าไม่พร้อมต้องมาทำความคิดเห็นประชาชนใหม่ 1-2 ปี จนกว่าพรรคที่เขาตั้งมาสนับสนุนจะพร้อมเต็มที่เมื่อไหร่ แต่คิดว่าคงไม่นานขนาดนั้น สถานการณ์มันยุ่ง เป็นเดดล็อกอยู่แล้ว ความวุ่นวายตามไปอยู่แล้ว คนถอดใจแล้วเรื่องเลือกตั้งส.ส.-ส.ว. ตอนนี้ลุ้นอย่างเดียว คสช. จะไปเมื่อไร
“ผลจากกฎหมาย 2 ฉบับนี้กระทบโรดแมปอยู่แล้ว อย่างพ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส.ก็ยืดไปแล้ว 90 วัน แล้วยังมีระยะเวลาขั้นตอนอื่นอีก เป็นไปไม่ได้เลยที่จะเลือกตั้ง กุมภาพันธ์ 2562 อาจยื้อไปนานหรืออาจไม่มีเลยก็ได้ อาจล้มกระดานได้ ไม่รู้เขาจะลงยังไง ลงก็กลัวเสือกัดต้องมีทางออก อาจมียึดอำนาจใหม่โดยคนกลุ่มใหม่ให้ชุดนี้ลงสวยๆ” นายชำนาญ กล่าว