ที่ผ่านมาเราได้เห็นการพัฒนาระบบคมนาคมทางถนนและทางอากาศในประเทศมาหลายครั้ง แต่ยังไม่เคยเห็นการพัฒนาระบบราง แต่วันนี้ดั่งปาฏิหาริย์เกิดขึ้น เมื่อรัฐบาลลงนามก่อสร้างรถไฟทางคู่ 5 เส้นทาง พร้อมประกาศต่อยอดการพัฒนาโครงข่ายระบบรางทั่วประเทศอย่างต่อเนื่อง ด้วยเพราะระบบรางเป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ
ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี บอกว่า การลงนามครั้งนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์รถไฟไทย นับตั้งแต่ก่อตั้งการรถไฟแห่งประเทศไทยมา เพราะเป็นการพัฒนาระบบรางอย่างเป็นรูปธรรม และจะขับเคลื่อนการพัฒนาระบบรางต่อไปอีก โดยให้นโยบายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปทำแผนพัฒนาเส้นทางสายหลักและสายรองให้เป็นโครงข่ายทั่วประเทศเชื่อมกันเป็นเส้นเลือดฝอยไปยังจังหวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ ๆ เนื่องจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโดยเฉพาะระบบรางเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้เป็นอย่างดี
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้"ทางคู่" คือทางรถไฟสองทาง รถไฟวิ่งสวนกันได้ เป็นคนละคำกับ "รางคู่"
รางคู่คือรางสองท่อน วางคู่กันให้รถไฟวิ่ง นับเป็นหนึ่งทาง
ที่มา: https://www.facebook.com/RenderThailand/photos/a.1648065022120387.1073741828.1648054742121415/1936763213250565/?type=3&theater
โดยรถไฟทางคู่ 5 เส้นทาง ที่ลงนามวันนี้ประกอบด้วย
• โครงการรถไฟทางคู่ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ ระยะทาง 136 กม.
• รถไฟทางคู่ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ระยะทาง 168 กม.
• รถไฟทางคู่นครปฐม-หัวหิน ระยะทาง 169 กม.
• รถไฟทางคู่ลพบุรี-ปากน้ำโพ ระยะทาง 145 กม.
• รถไฟทางคู่หัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ ระยะทาง 84 กม.
รายละเอียดข่าว:
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้รฟท.เซ็นสัญญาก่อสร้างรถไฟทางคู่ระยะเร่งด่วน 5 เส้นทาง 6.9 หมื่นล. http://www.thansettakij.com/content/245842
ไม่ใช่เพียงระบบรางภายใต้การดูแลของ รฟท. เท่านั้นที่กำลังมีการพัฒนา แต่ในส่วนปลีกย่อยระดับจังหวัดก็กำลังมีการพัฒนาระบบรางทางเลือก เพื่อรองรับการท่องเที่ยวและการขยายตัวทางเศรษฐกิจเช่นกัน
เป็นต้นว่า จังหวัดในเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกหรืออีอีซี อย่างระยองก็กำลังดำเนิน “โครงการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนจังหวัดระยอง” ที่เน้นการเชื่อมโยงกับระบบขนส่งมวลชนหลักอย่างรถไฟความเร็วสูง ให้สามารถเชื่อมโยงกับสนามบินอู่ตะเภาและแหล่งท่องเที่ยวภายในจังหวัด โดยในเบื้องต้นจะใช้รถบัสไฟฟ้าให้บริการ และมีแผนสำหรับอนาคตในระยะ 10 – 20 ปีที่จะนำรถไฟฟ้ารางเบาให้บริการแทน
อ่านรายละเอียดที่:
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ระบบขนส่งมวลชนเมืองระยอง เชื่อมไฮสปีดเทรนกระตุ้นศก.แหล่งท่องเที่ยว http://www.thansettakij.com/content/244627?ts
ระยองอยากได้รถรางไฟฟ้า สายสีแดง ห้วยโป่ง-ไออาร์พีซี https://www.dailynews.co.th/economic/617386
นอกจากนี้ ที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ก็กำลังเดินหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าโมโนเรลเฟสแรก คลองหวะ-ตลาดกิมหยง-หาดใหญ่ ระยะทาง 12.54 กม. ซึ่งผ่านการพิจารณาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมหรือ EIA แล้ว โดยการก่อสร้างรถไฟฟ้าโมโนเรลนี้ จะช่วยแก้ปัญหาการจราจรติดขัดในตัวเมืองหาดใหญ่ ซึ่งเป็นปัญหาหลักของเมืองเศรษฐกิจในสงขลา และเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาเมือง นอกจากนี้จะเป็นโครงการรถไฟฟ้าส่วนภูมิภาคสายแรกของไทยร่วมกับโมโนเรลที่ภูเก็ต
อ่านรายละเอียดที่:
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้‘อบจ.สงขลา’ แย้มข่าวดี ‘รถไฟฟ้าโมโนเรลหาดใหญ่’ https://goo.gl/u8crfz
เป็นที่น่ายินดีที่ประเทศไทยกำลังพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานอย่างก้าวกระโดด โดยพยายามเชื่อมการคมนาคมทุกทางเข้าเป็นโครงข่ายคมนาคมที่สมบูรณ์
เปิดประวัติศาสตร์หน้าใหม่ระบบราง ปฏิรูปรถไฟ ตัวเร่งขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย
ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี บอกว่า การลงนามครั้งนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์รถไฟไทย นับตั้งแต่ก่อตั้งการรถไฟแห่งประเทศไทยมา เพราะเป็นการพัฒนาระบบรางอย่างเป็นรูปธรรม และจะขับเคลื่อนการพัฒนาระบบรางต่อไปอีก โดยให้นโยบายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปทำแผนพัฒนาเส้นทางสายหลักและสายรองให้เป็นโครงข่ายทั่วประเทศเชื่อมกันเป็นเส้นเลือดฝอยไปยังจังหวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ ๆ เนื่องจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโดยเฉพาะระบบรางเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้เป็นอย่างดี
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
โดยรถไฟทางคู่ 5 เส้นทาง ที่ลงนามวันนี้ประกอบด้วย
• โครงการรถไฟทางคู่ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ ระยะทาง 136 กม.
• รถไฟทางคู่ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ระยะทาง 168 กม.
• รถไฟทางคู่นครปฐม-หัวหิน ระยะทาง 169 กม.
• รถไฟทางคู่ลพบุรี-ปากน้ำโพ ระยะทาง 145 กม.
• รถไฟทางคู่หัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ ระยะทาง 84 กม.
รายละเอียดข่าว:
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ไม่ใช่เพียงระบบรางภายใต้การดูแลของ รฟท. เท่านั้นที่กำลังมีการพัฒนา แต่ในส่วนปลีกย่อยระดับจังหวัดก็กำลังมีการพัฒนาระบบรางทางเลือก เพื่อรองรับการท่องเที่ยวและการขยายตัวทางเศรษฐกิจเช่นกัน
เป็นต้นว่า จังหวัดในเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกหรืออีอีซี อย่างระยองก็กำลังดำเนิน “โครงการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนจังหวัดระยอง” ที่เน้นการเชื่อมโยงกับระบบขนส่งมวลชนหลักอย่างรถไฟความเร็วสูง ให้สามารถเชื่อมโยงกับสนามบินอู่ตะเภาและแหล่งท่องเที่ยวภายในจังหวัด โดยในเบื้องต้นจะใช้รถบัสไฟฟ้าให้บริการ และมีแผนสำหรับอนาคตในระยะ 10 – 20 ปีที่จะนำรถไฟฟ้ารางเบาให้บริการแทน
อ่านรายละเอียดที่:
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
นอกจากนี้ ที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ก็กำลังเดินหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าโมโนเรลเฟสแรก คลองหวะ-ตลาดกิมหยง-หาดใหญ่ ระยะทาง 12.54 กม. ซึ่งผ่านการพิจารณาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมหรือ EIA แล้ว โดยการก่อสร้างรถไฟฟ้าโมโนเรลนี้ จะช่วยแก้ปัญหาการจราจรติดขัดในตัวเมืองหาดใหญ่ ซึ่งเป็นปัญหาหลักของเมืองเศรษฐกิจในสงขลา และเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาเมือง นอกจากนี้จะเป็นโครงการรถไฟฟ้าส่วนภูมิภาคสายแรกของไทยร่วมกับโมโนเรลที่ภูเก็ต
อ่านรายละเอียดที่:
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
เป็นที่น่ายินดีที่ประเทศไทยกำลังพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานอย่างก้าวกระโดด โดยพยายามเชื่อมการคมนาคมทุกทางเข้าเป็นโครงข่ายคมนาคมที่สมบูรณ์