อีกหนึ่งโครงการหลักที่สำคัญ ที่จะช่วยขับเคลื่อนเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ให้สำเร็จได้
“สนามบินอู่ตะเภา” จะต้องเป็นเมืองการบินภาคตะวันออก หรือ Aerotropolis ที่ช่วยเชื่อมโยงการขนส่ง และการเดินทางทางอากาศทั้งใน และต่างประเทศให้มีศักยภาพมากขึ้น
แนวคิด "เมืองการบิน" จะช่วยส่งเสริมนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ให้ขับเคลื่อนในพื้นที่เขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เป็นศูนย์กลางการค้า การลงทุนสมัยใหม่ ในแถวหน้าของเอเชีย โดยจะประกอบด้วย 10 อุตสาหกรรมหลัก
เมืองการบิน (Aerotropolis) จะเป็นการพัฒนาพื้นที่รอบสนามบิน เพื่อให้เกิดการวางแผนพัฒนาที่สามารถเกื้อกูล และใช้ประโยชน์จากการมีสนามบินเป็นศูนย์กลางการพัฒนา ซึ่งได้แนวคิดจาก John D. Kasarda ซึ่งได้ชื่อว่าเป็น บิดาแห่งเมืองการบิน เป็นที่ปรึกษาด้านเมืองการบินระดับโลก และเป็นผู้พัฒนาระบบเมืองการบินให้กับสนามบินเจิ้งโจวในประเทศจีน
ซึ่งตัวอย่างที่ชัดเจนจากการพัฒนาเมืองการบินที่ประสบความสำเร็จ ได้แก่
• พื้นที่รอบสนามบินอัมสเตอร์ดัมสคิปโฮล(เนเธอร์แลนด์)
• พื้นที่รอบสนามบินนานาชาติดัลลัส / ฟอร์ตเวิร์ธ (เท็กซัสสหรัฐอเมริกา)
• พื้นที่รอบสนามบินอินชอน (สาธารณรัฐเกาหลี)
• พื้นที่รอบสนามบินสิงคโปร์ชางงี (สิงคโปร์)
• พื้นที่รอบสนามบินนานาชาติอัล มักทูม (สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์)
สนามบินอินชอน
ซึ่งการพัฒนาพื้นที่ “สนามบินอู่ตะเภา” จะครอบคลุมพื้นที่ 6,500 ไร่ มูลค่าลงทุน 200,000 ล้านบาท ประกอบด้วย 6 โครงการ ได้แก่
1. อาคารผู้โดยสารหลังที่ 3 (Terminal 3 and Airport Facilities)
2. ซ่อมบำรุงอากาศยาน (MRO)
3. ศูนย์ธุรกิจการค้า (Commercial Precinct)
4. กลุ่มอาคารคลังสินค้า (Cargo Village)
5. ธุรกิจขนส่งศูนย์สินค้าทางอากาศ และโลจิสติกส์/เขตประกอบการเสรี Free Trade Zone (Cargo Facilities)
6. ศูนย์ฝึกอบรมบุคลากรทางการบิน (Aviation Training Center)
ทำให้สนามบินอู่ตะเภาจะกลายเป็น “เมืองการบิน” เชื่อมโยง EEC กับการขนส่ง และการเดินทางทางอากาศ ทั้งยังจะทำให้เกิดการเชื่อมต่อระหว่าง 3 สนามบิน (ดอนเมือง, สุวรรณภูมิ และอู่ตะเภา) ขึ้นด้วย
สำหรับเขตเมืองการบิน "สนามบินอู่ตะเภา" จะแบ่งออกเป็น
• เขตชั้นใน 10 กม. รอบสนามบิน 140,000 ไร่ มีสัตหีบ บ้านฉาง เป็นศูนย์กลาง
• เขตชั้นกลาง 30 กม. จากสนามบินเมืองพัทยาถึงเมืองระยอง แหลมฉบัง มีรถไฟความเร็วสูงใช้เวลาเดินทาง 17-19 นาที และถนนไม่เกิน 40 นาที
• เขตชั้นนอก 60 กม. จากสนามบินชลบุรี และระยอง ตั้งแต่ศรีราชา บ้านค่าย บ้านบึง รถไฟความเร็วสูง 30-35 นาที ถนนไม่เกิน 60 นาที
ดังนั้น เมืองการบิน จะเป็นรูปแบบใหม่ของการพัฒนาเมืองของประเทศไทย ที่จะเป็นตัวจักรสำคัญที่จะขับเคลื่อนการพัฒนาในพื้นที่ EEC ให้ประสบความสำเร็จ และให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้ โดยจะมีรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน, ท่าเรือ, รถไฟรางคู่ และมอเตอร์เวย์ เป็นโครงสร้างพื้นฐานทางคมนาคมที่สำคัญในการเชื่อมต่อทุกระบบให้เป็นหนึ่งเดียวกัน
ที่มา :
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.)
EEC - พัฒนาสนามบินอู่ตะเภา สู่เมืองการบินภาคตะวันออก
“สนามบินอู่ตะเภา” จะต้องเป็นเมืองการบินภาคตะวันออก หรือ Aerotropolis ที่ช่วยเชื่อมโยงการขนส่ง และการเดินทางทางอากาศทั้งใน และต่างประเทศให้มีศักยภาพมากขึ้น
แนวคิด "เมืองการบิน" จะช่วยส่งเสริมนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ให้ขับเคลื่อนในพื้นที่เขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เป็นศูนย์กลางการค้า การลงทุนสมัยใหม่ ในแถวหน้าของเอเชีย โดยจะประกอบด้วย 10 อุตสาหกรรมหลัก
เมืองการบิน (Aerotropolis) จะเป็นการพัฒนาพื้นที่รอบสนามบิน เพื่อให้เกิดการวางแผนพัฒนาที่สามารถเกื้อกูล และใช้ประโยชน์จากการมีสนามบินเป็นศูนย์กลางการพัฒนา ซึ่งได้แนวคิดจาก John D. Kasarda ซึ่งได้ชื่อว่าเป็น บิดาแห่งเมืองการบิน เป็นที่ปรึกษาด้านเมืองการบินระดับโลก และเป็นผู้พัฒนาระบบเมืองการบินให้กับสนามบินเจิ้งโจวในประเทศจีน
ซึ่งตัวอย่างที่ชัดเจนจากการพัฒนาเมืองการบินที่ประสบความสำเร็จ ได้แก่
• พื้นที่รอบสนามบินอัมสเตอร์ดัมสคิปโฮล(เนเธอร์แลนด์)
• พื้นที่รอบสนามบินนานาชาติดัลลัส / ฟอร์ตเวิร์ธ (เท็กซัสสหรัฐอเมริกา)
• พื้นที่รอบสนามบินอินชอน (สาธารณรัฐเกาหลี)
• พื้นที่รอบสนามบินสิงคโปร์ชางงี (สิงคโปร์)
• พื้นที่รอบสนามบินนานาชาติอัล มักทูม (สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์)
ซึ่งการพัฒนาพื้นที่ “สนามบินอู่ตะเภา” จะครอบคลุมพื้นที่ 6,500 ไร่ มูลค่าลงทุน 200,000 ล้านบาท ประกอบด้วย 6 โครงการ ได้แก่
1. อาคารผู้โดยสารหลังที่ 3 (Terminal 3 and Airport Facilities)
2. ซ่อมบำรุงอากาศยาน (MRO)
3. ศูนย์ธุรกิจการค้า (Commercial Precinct)
4. กลุ่มอาคารคลังสินค้า (Cargo Village)
5. ธุรกิจขนส่งศูนย์สินค้าทางอากาศ และโลจิสติกส์/เขตประกอบการเสรี Free Trade Zone (Cargo Facilities)
6. ศูนย์ฝึกอบรมบุคลากรทางการบิน (Aviation Training Center)
ทำให้สนามบินอู่ตะเภาจะกลายเป็น “เมืองการบิน” เชื่อมโยง EEC กับการขนส่ง และการเดินทางทางอากาศ ทั้งยังจะทำให้เกิดการเชื่อมต่อระหว่าง 3 สนามบิน (ดอนเมือง, สุวรรณภูมิ และอู่ตะเภา) ขึ้นด้วย
สำหรับเขตเมืองการบิน "สนามบินอู่ตะเภา" จะแบ่งออกเป็น
• เขตชั้นใน 10 กม. รอบสนามบิน 140,000 ไร่ มีสัตหีบ บ้านฉาง เป็นศูนย์กลาง
• เขตชั้นกลาง 30 กม. จากสนามบินเมืองพัทยาถึงเมืองระยอง แหลมฉบัง มีรถไฟความเร็วสูงใช้เวลาเดินทาง 17-19 นาที และถนนไม่เกิน 40 นาที
• เขตชั้นนอก 60 กม. จากสนามบินชลบุรี และระยอง ตั้งแต่ศรีราชา บ้านค่าย บ้านบึง รถไฟความเร็วสูง 30-35 นาที ถนนไม่เกิน 60 นาที
ดังนั้น เมืองการบิน จะเป็นรูปแบบใหม่ของการพัฒนาเมืองของประเทศไทย ที่จะเป็นตัวจักรสำคัญที่จะขับเคลื่อนการพัฒนาในพื้นที่ EEC ให้ประสบความสำเร็จ และให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้ โดยจะมีรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน, ท่าเรือ, รถไฟรางคู่ และมอเตอร์เวย์ เป็นโครงสร้างพื้นฐานทางคมนาคมที่สำคัญในการเชื่อมต่อทุกระบบให้เป็นหนึ่งเดียวกัน
ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.)