โครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) ที่จะพัฒนาในพื้นที่หลักครอบคลุม 3 จังหวัด ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง จะรวมถึงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาบนพื้นที่ประมาณ 6,500 ไร่ โดยจะยกระดับเป็น “เมืองการบินภาคตะวันออก” และศูนย์กลางการบินของภูมิภาค ซึ่งจะมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เชื่อมโยงกันทั้งระบบ ครอบคลุมสนามบินอู่ตะเภา ท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ ท่าเรือพาณิชย์แหลมฉบัง รถไฟความเร็วสูง และมอเตอร์เวย์
ปัจจุบันสนามบินอู่ตะเภาอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกองทัพเรือ เป็นสนามบินที่ได้มาตรฐานสากล ส่วนหนึ่งถูกใช้ในภารกิจทางทหารของกองทัพเรือ อีกส่วนหนึ่งเปิดใช้ในเชิงพาณิชย์สำหรับเครื่องบินเช่าเหมาลำ และการขนส่งสินค้า แต่ยังมีศักยภาพที่จะขยายตัวได้อีกมาก และอยู่ในทำเลที่เหมาะสมที่จะเป็นฮับด้านการบินและโลจิสติกส์แห่งใหม่
การพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาให้เป็นสนามบินเชิงพาณิชย์เต็มรูปแบบแห่งที่ 3 ของประเทศไทย จะช่วยแบ่งเบาความแออัดของสนามบินสุวรรณภูมิ และสนามบินดอนเมือง คาดว่าจะสามารถรองรับผู้โดยสารได้ 15-30-60 ล้านคน ในระยะเวลา 5-10-15 ปี ตามลำดับ โดยเชื่อมโยงกับสนามบินสุวรรณภูมิและสนามบินดอนเมือง ด้วยรถไฟฟ้าความเร็วสูง
แผนการดำเนินงานในระยะเวลา 5 ปี ด้วยงบลงทุนประมาณ 1.5 แสนล้านบาท จะครอบคลุมการสร้างทางวิ่งมาตรฐาน (รันเวย์) เพิ่มอีก 1 ทางวิ่ง (รวมเป็น 2 ทางวิ่ง) เพื่อให้รองรับผู้โดยสารและกิจกรรมเชื่อมโยงได้อย่างเพียงพอ รวมทั้งกิจกรรมหลัก 5 กลุ่ม ได้แก่
1. กลุ่มอาคารผู้โดยสารและการค้า เช่น โรงแรม ห้างสรรพสินค้า อาคารสำนักงาน สถานีรถไฟความเร็วสูงอยู่ชั้นใต้ดินของอาคารผู้โดยสาร
2. กลุ่มอุตสาหกรรมอากาศยาน เช่น เขตการค้าเสรี
3. กลุ่มธุรกิจขนส่งทางอากาศ เช่น คาร์โก้ สินค้าทางไปรษณีย์ และคลังสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง
4. กลุ่มธุรกิจซ่อมเครื่องบิน เพิ่มเติมจากศูนย์ซ่อมการบินไทยในปัจจุบัน
5. กลุ่มศูนย์ฝึกอบรมบุคลากรอากาศยานและธุรกิจการบิน
โดยในอนาคตอาจจะเพิ่มอีก 3 กิจกรรมในพื้นที่ใกล้เคียง คือ
1. กลุ่มธุรกิจท่าเรือพาณิชย์สัตหีบและท่าเรือสำราญขนาดใหญ่
2. ศูนย์การแพทย์เฉพาะด้าน
3. อุตสาหกรรมเทคโนโลยีป้องกันประเทศ
ในส่วนของระบบขนส่งทางรางที่จะเชื่อมโยงกับสนามบินอู่ตะเภานั้น ภายในระยะเวลา 5 ปี จะพัฒนาโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงสายตะวันออก ด้วยงบลงทุนประมาณ 1.58 แสนล้านบาท เส้นทางกรุงเทพฯ – ระยอง ระยะทาง 194 กิโลเมตร วิ่งด้วยความเร็ว 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง สามารถวิ่งเชื่อมโยงทั้ง 3 สนามบิน คือ สนามบินสุวรรณภูมิ สนามบินดอนเมือง และสนามบินอู่ตะเภา โดยวิ่งให้บริการในเส้นทางร่วมกับรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ พญาไท – สุวรรณภูมิ และแอร์พอร์ตลิงค์ส่วนขยาย พญาไท – ดอนเมือง ซึ่งผู้โดยสารจะใช้เวลาเดินทางจาก กรุงเทพฯ ถึงระยอง โดยไม่ต้องเปลี่ยนขบวนรถ ในเวลาไม่เกิน 1 ชั่วโมง
นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาโครงการเทคโนโลยีระดับโลกอีก 2 โครงการ คือ
1. โครงการเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก ดำเนินการโดยกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระยะแรกบนพื้นที่ 350 ไร่ ที่วังจันทร์วัลเลย์ จ.ระยอง
2. เขตนวัตกรรมดิจิทัลภาคตะวันออก ดำเนินการโดยกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม บนพื้นที่ 800 ไร่ บริเวณ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี
การพัฒนาสนามบินนานาชาติอู่ตะเภาให้เป็นเมืองศูนย์กลางการบินจะสร้างประโยชน์อย่างมหาศาลให้กับประเทศไทย โดยเฉพาะเมื่อมีการเชื่อมโยงการคมนาคมทุกทาง ทั้งทางถนน ทางราง ทางน้ำ และทางอากาศ ซึ่งจะเอื้อต่อการเป็นมหานครการบินอย่างเต็มรูปแบบ และพร้อมที่จะดึงดูดเม็ดเงินลงทุนได้มหาศาล
ชู สนามบินอู่ตะเภา “เมืองการบินภาคตะวันออก”
รถไฟความเร็วสูง “กรุงเทพฯ – ระยอง” เชื่อม 3 สนามบิน
โครงการรถไฟความเร็วสูง เชื่อมต่อ 3 สนามบินแบบไร้รอยต่อ (ดอนเมือง – สุวรรณภูมิ – อู่ตะเภา)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ขอบคุณข้อมูลจากทุกแหล่ง เช่น ประชาชาติธุรกิจ, realist blog, ฐานเศรษฐกิจ, TNN24 ฯลฯ
อู่ตะเภา เมืองการบินภาคตะวันออก ศูนย์การบินแห่งภูมิภาค
ปัจจุบันสนามบินอู่ตะเภาอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกองทัพเรือ เป็นสนามบินที่ได้มาตรฐานสากล ส่วนหนึ่งถูกใช้ในภารกิจทางทหารของกองทัพเรือ อีกส่วนหนึ่งเปิดใช้ในเชิงพาณิชย์สำหรับเครื่องบินเช่าเหมาลำ และการขนส่งสินค้า แต่ยังมีศักยภาพที่จะขยายตัวได้อีกมาก และอยู่ในทำเลที่เหมาะสมที่จะเป็นฮับด้านการบินและโลจิสติกส์แห่งใหม่
การพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาให้เป็นสนามบินเชิงพาณิชย์เต็มรูปแบบแห่งที่ 3 ของประเทศไทย จะช่วยแบ่งเบาความแออัดของสนามบินสุวรรณภูมิ และสนามบินดอนเมือง คาดว่าจะสามารถรองรับผู้โดยสารได้ 15-30-60 ล้านคน ในระยะเวลา 5-10-15 ปี ตามลำดับ โดยเชื่อมโยงกับสนามบินสุวรรณภูมิและสนามบินดอนเมือง ด้วยรถไฟฟ้าความเร็วสูง
แผนการดำเนินงานในระยะเวลา 5 ปี ด้วยงบลงทุนประมาณ 1.5 แสนล้านบาท จะครอบคลุมการสร้างทางวิ่งมาตรฐาน (รันเวย์) เพิ่มอีก 1 ทางวิ่ง (รวมเป็น 2 ทางวิ่ง) เพื่อให้รองรับผู้โดยสารและกิจกรรมเชื่อมโยงได้อย่างเพียงพอ รวมทั้งกิจกรรมหลัก 5 กลุ่ม ได้แก่
1. กลุ่มอาคารผู้โดยสารและการค้า เช่น โรงแรม ห้างสรรพสินค้า อาคารสำนักงาน สถานีรถไฟความเร็วสูงอยู่ชั้นใต้ดินของอาคารผู้โดยสาร
2. กลุ่มอุตสาหกรรมอากาศยาน เช่น เขตการค้าเสรี
3. กลุ่มธุรกิจขนส่งทางอากาศ เช่น คาร์โก้ สินค้าทางไปรษณีย์ และคลังสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง
4. กลุ่มธุรกิจซ่อมเครื่องบิน เพิ่มเติมจากศูนย์ซ่อมการบินไทยในปัจจุบัน
5. กลุ่มศูนย์ฝึกอบรมบุคลากรอากาศยานและธุรกิจการบิน
โดยในอนาคตอาจจะเพิ่มอีก 3 กิจกรรมในพื้นที่ใกล้เคียง คือ
1. กลุ่มธุรกิจท่าเรือพาณิชย์สัตหีบและท่าเรือสำราญขนาดใหญ่
2. ศูนย์การแพทย์เฉพาะด้าน
3. อุตสาหกรรมเทคโนโลยีป้องกันประเทศ
ในส่วนของระบบขนส่งทางรางที่จะเชื่อมโยงกับสนามบินอู่ตะเภานั้น ภายในระยะเวลา 5 ปี จะพัฒนาโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงสายตะวันออก ด้วยงบลงทุนประมาณ 1.58 แสนล้านบาท เส้นทางกรุงเทพฯ – ระยอง ระยะทาง 194 กิโลเมตร วิ่งด้วยความเร็ว 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง สามารถวิ่งเชื่อมโยงทั้ง 3 สนามบิน คือ สนามบินสุวรรณภูมิ สนามบินดอนเมือง และสนามบินอู่ตะเภา โดยวิ่งให้บริการในเส้นทางร่วมกับรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ พญาไท – สุวรรณภูมิ และแอร์พอร์ตลิงค์ส่วนขยาย พญาไท – ดอนเมือง ซึ่งผู้โดยสารจะใช้เวลาเดินทางจาก กรุงเทพฯ ถึงระยอง โดยไม่ต้องเปลี่ยนขบวนรถ ในเวลาไม่เกิน 1 ชั่วโมง
นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาโครงการเทคโนโลยีระดับโลกอีก 2 โครงการ คือ
1. โครงการเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก ดำเนินการโดยกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระยะแรกบนพื้นที่ 350 ไร่ ที่วังจันทร์วัลเลย์ จ.ระยอง
2. เขตนวัตกรรมดิจิทัลภาคตะวันออก ดำเนินการโดยกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม บนพื้นที่ 800 ไร่ บริเวณ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี
การพัฒนาสนามบินนานาชาติอู่ตะเภาให้เป็นเมืองศูนย์กลางการบินจะสร้างประโยชน์อย่างมหาศาลให้กับประเทศไทย โดยเฉพาะเมื่อมีการเชื่อมโยงการคมนาคมทุกทาง ทั้งทางถนน ทางราง ทางน้ำ และทางอากาศ ซึ่งจะเอื้อต่อการเป็นมหานครการบินอย่างเต็มรูปแบบ และพร้อมที่จะดึงดูดเม็ดเงินลงทุนได้มหาศาล
ชู สนามบินอู่ตะเภา “เมืองการบินภาคตะวันออก”
รถไฟความเร็วสูง “กรุงเทพฯ – ระยอง” เชื่อม 3 สนามบิน
โครงการรถไฟความเร็วสูง เชื่อมต่อ 3 สนามบินแบบไร้รอยต่อ (ดอนเมือง – สุวรรณภูมิ – อู่ตะเภา)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้