จับตาอนาคต "รถไฟ" สาย "สนามบิน" อู่ตะเภา

คืบหน้าไปอีกหนึ่งโครงการภายใต้เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) กับโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ที่มีการลงนามในสัญญาร่วมทุนกันวันนี้ (19 มิ.ย. 2563) ระหว่างสํานักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) และ บริษัท อู่ตะเภา อินเตอร์เนชั่นแนล เอวิเอชั่น จํากัด (กลุ่ม BBS) ตามหลังโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) มาติด ๆ ที่มีการลงนามในสัญญาไปเมื่อวันที่ 24 ต.ค. 2562 ระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กับกลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัทเจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร (กลุ่ม CPH) 

 
โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออกถูกจับให้เป็นคู่แฝดกับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เพราะทั้งสองโครงการต้องพึ่งพาอาศัยกัน เพื่อขนส่งผู้โดยสารระหว่างกัน จึงเป็นโครงการด้านโครงสร้างพื้นฐานหลักที่สำคัญของอีอีซี ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับสนามบินอู่ตะเภาเป็นสนามบินนานาชาติเชิงพาณิชย์หลักแห่งที่ 3 เชื่อมกับสนามบินดอนเมืองและสุวรรณภูมิด้วยรถไฟความเร็วสูง ซึ่งจะทำให้ทั้ง 3 สนามบินสามารถรองรับผู้โดยสารรวมกันได้มากถึง 200 ล้านคนต่อปี 
 
ทั้งโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาฯ และโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เป็นโครงการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน แต่มีรูปแบบที่แตกต่างกันในรายละเอียด ที่พอสรุปได้ตามนี้ 

โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาฯ และโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เป็นโครงการแห่งความหวัง ที่ได้เปิดประวัติศาสตร์หน้าสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย ซึ่งความสำเร็จของโครงการส่วนหนึ่งต้องมาจากความร่วมมือของทุกภาคส่วน ตามที่นายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้กล่าวไว้วันนี้ว่า ไม่มีอะไรทำได้โดยคน ๆ เดียว หรือเพียงหน่วยงานเดียว ดังนั้น เพื่อเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้ดีขึ้น โดยเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจ สังคม และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ตลอดจนพัฒนาเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออกให้เป็นเขตเศรษฐกิจชั้นนำของภูมิภาค ความสำเร็จของโครงการจึงต้องอาศัยความร่วมมือของทุกคนทุกฝ่ายเช่นนี้ต่อไป ...ขอเอาใจช่วย
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่