รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3สนามบิน สร้างขึ้นเพื่ออะไร?

1มันคือรถไฟไปสู่ภูมิภาคสายหนึ่งสร้าง เพื่อให้ คนจาก กทม และ ระยองชลบุรีเดินทางได้ง่าย และ สะดวกมากขึ้น แต่ที่ต้องเชื่อมสนามบิน เพราะง่ายต่อการเชื่อมต่อ สายแอร์พอร์ตลิ้งเดิม ซึ่งเป็นรถไฟความเร็วสูง และ สถานที่บริเวณเดียวกัน คือปลายทางอู่ตะเภาเป็นทั้งสนามบินและสถานีรถไฟ 

2เพื่อคาดหวังให้ นทท จากต่างชาติ บินมาลง อู่ตะเภา แล้วเที่ยวระยองชลบุรี หากเที่ยวเสร็จแล้วอยากเที่ยว กทม.ต่ออีกก็ ให้นั่ง รถไฟความเร็วสูงมาจาก ภาคตะวันออกแทน หรือ นทท จะมาเที่ยว อยาก ลงกทม แต่ ดอนเมืองและสุวรรณภูมิ เต็ม ต้องลง อู่ตะเภา แล้วนั่ง รถไฟ ความเร็วสูง มาแทน อ้าว แล้ว ค่าตั๋วโดยสารรถไฟความเร็วสูงที่เสียไปใครจ่าย หรือว่า เลือกแบบนี้ ถูกกว่า แบบพยามนั่ง มาลง ดอนเมือง และ สุวรรณภูมิให้ได้ถึงรู้ว่าเต็มก็จะหาตั๋วให้ได้ยอมจ่ายแพง  

3 ให้นั่งรถไฟจาก กทม มาขึ้นเครื่องบิน จาก อู่ตะเภา ไป ต่างประเทศ(ถ้ามีสายการบินเยอะๆ) หรือให้นั่งจากระยองมา กทม แล้ว มาขึ้น ดอนเมือง อ้าววว...งง อู่ตะเภาก็มี จะนั่งรถไฟ มาขึ้น ดอนเมือง ทำไม

นึกไม่ออก เชื่อมทำไม เข้าใจว่ามีประโยชน์ แต่ดูมันไม่ชัดเจนยังไงไม่รู้ 
ท่านใดรู้ อธิบายที
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 26
เอาจริงๆคือ เพราะแนวโครงการตั้งแต่แรกมันผ่านหน้าสนามบินอู่ตะเภาอยู่แล้วครับ ก่อนหน้านั้นถ้าตามข่าวก็จะสงสัยกันว่าในเมื่อมันผ่านหน้าสนามบินอยู่แล้ว ทำไมไม่ทำให้มันเข้าไปในสนามบินเลย จนก่อนหน้านี้ค่อยปรับโครงก่อนให้มันเข้าอู่เภาด้วย แล้วก็จับมาประมูลเป็นก้อนเดียวกัน
ต่อให้ไม่มีอู่ตะเภาแนวโครงการก็ประมาณนี้อยู่แล้วครับ คุณลองคิดดูก็ได้ ครส กรุงเทพ-ชลบุรี-ระยองจะเป็นแนวไหน ลบสุวรรณภูมิลบอู่ตะเภาออกจากแผนที่ไปก่อนเลยครับ
การสร้างเข้าไปอู่ตะเภาด้วยลงทุนเพิ่มนิดเดียว(เทียบกับโครงการทั้งหมด)แต่ได้ประโยชน์เพิ่มเยอะ ตามเม้นอื่นๆเลยครับ
ไม่ต้องคิดในคนมาต่อเครื่องระหว่างสนามบินก็ได้ คิดในแง่มีสนามบินกรุงเทพที่ห่างตัวเมืองไป 1 ชม ถือว่าใกล้ในยุคนี้เทียบกับหลายๆเมืองในต่างประเทศแล้วครับ เพราะการจัดหาที่ดินผืนใหญ่ๆเพื่อทำสนามบินยากขึ้นทุกๆวัน
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 11
เพราะจริงๆโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินเกิดจากการรวมกันของ 3 โครงการตามนโยบายรัฐบาล
1.โครงการแรกคือ ARL ระหว่างสนามบินสุวรรณภูมิ-สถานีกลางบางซื่อ-สนามบินดอนเมือง เพื่อรับผู้โดยสารจาก 2 สนามบินของกรุงเทพเข้าสู่ใจกลางเมืองกรุงเทพ
2.โครงการสองคือ ARL ระหว่างสนามบินอู่ตะเภาเข้าสู่เมืองพัทยา ตามนโยบาย EEC ที่จะพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาให้เป็นสนามบินภาคตะวันออกและศูนย์ซ่อมอากาศยานประจำภูมิภาคอาเซียน
3.โครงการสามคือรถไฟความเร็วสูงภาคตะวันออก เพื่อรองรับการเติบโตของ EEC และจากการศึกษารถไฟภาคตะวันออกมี demand สูงสุด และมีค่า irr สูงสุดจากการศึกษาโครงการความเร็วสูง 4 ทิศทางของไทย เนื่องจากผ่านเมืองใหญ่ที่มี GDP สูงลำดับต้นๆของประเทศ เช่น ชลบุรี ศรีราชา แหลมฉบัง พัทยา มาบตาพุต
และทั้ง 3 โครงการใช้พื้นที่ทางรถไฟเดิมของการรถไฟทั้งหมดและเป็นเส้นทางต่อเนื่องกัน จึงมีการรวมโครงการกลายเป็นโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน
เพราะฉะนั้นโครงการนี้จะมีรถไฟวิ่ง 2 แบบ คือ รถไฟ ARL รับผู้โดยสารจากสนามบินเข้าเมือง กับ รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออก เพื่อเดินทางระหว่างกรุงเทพกับภาคตะวันออก
ความคิดเห็นที่ 13
คห. 11 ตอบได้ดีแล้วครับ

ถ้า จขกท. ถามสงสัยแบบเรื่อยๆ เปื่อย ผมก็จะถามกลับ "ทางด่วนจะมีไปทำไม ทางปกติก็มี" บางครั้ง คำถามแบบนี้ ก็... หรือเราจะเน้นขนผัก?
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่