EEC - สรุปรายชื่อ 42 เอกชนซื้อซองโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก

สรุปรายชื่อ 42 เอกชนซื้อซองโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก
เป็นเอกชนจากประเทศจีน 6 ราย, ฝรั่งเศส 2 ราย, เยอรมนี 2 ราย, อินเดีย 1 ราย, ญี่ปุ่น 5 ราย, มาเลเซีย 1 ราย, ตุรกี 1 ราย และไทย 24 ราย

โดยโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก (Eastern Airport City) เป็นอีกหนึ่งโครงการที่เปิดให้เอกชนเข้าร่วมลงทุน เช่นเดียวกับโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ที่กำลังจะประกาศผู้ชนะในการประมูลในวันที่ 3 มกราคา 2562 นี้

สภาพแวดล้อมที่ตั้งโครงการปัจจุบัน
โดยปัจจุบันท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา มีทางวิ่ง 1 ทางวิ่ง ขนาดมาตรฐานยาว 3,500 เมตร กว้าง 60 เมตร และมี 52 หลุมจอด ซึ่งหากใช้ทางวิ่งนี้เต็มศักยภาพ จะสามารถรองรับปริมาณผู้โดยสารได้ 20 ล้านคนต่อปี อาคารผู้โดยสารหลังที่ 1 รองรับผู้โดยสารทั้งในและระหว่างประเทศประมาณ 700,000 คนต่อปี และหลังจากอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 เปิดให้บริการจะมีขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสารได้ประมาณ 3 ล้านคนต่อปี

แผนการพัฒนาพื้นที่ในระยะเร่งด่วน ประกอบด้วยพื้นที่ให้บริการให้ปัจจุบัน (Brownfield) ที่ภาครัฐจะมีการลงทุนก่อสร้างเพิ่มเติม ทางวิ่งที่ 2 (Runway 2) ศูนย์ฝึกอบรมบุคลากรการบิน ระบบสาธารณูปโภคเพื่อรองรับการขยาย ตัวของสนามบิน และเปิดพื้นที่ให้บริการใหม่ (Greenfield) ซึ่งภาครัฐจะมีการลงทุนก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานอู่ตะเภา (MRO) ระยะที่ 1 และศูนย์ขนส่งสินค้าทางอากาศ (Air Cargo) ระยะที่ 1 ร่วมกับบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และ ศูนย์ฝึกอบรมบุคลากรการบิน ระยะที่ 1 ร่วมกับสถาบันการบินพลเรือน


โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพ สนามบินอู่ตะเภาให้เป็นสนามบินนานาชาติแห่งที่ 3 ของประเทศไทย เพื่อพัฒนาธุรกิจอย่างต่อเนื่องและเพื่อรองรับเขตส่งเสริมเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ในการขยายตัวของพื้นที่ EEC และเชื่อมโยงการขนส่งผู้โดยสารกับสนามบินดอนเมือง และสนามบินสุวรรณภูมิ และเป็น Aviation Hub ที่สำคัญในภูมิภาค

เพื่อพัฒนาสนามบินและกิจกรรมต่อเนื่องต่าง ๆ จะมีองค์ประกอบโครงการ ดังนี้
• อาคารผู้โดยสารหลังที่ 3 (Terminal 3) และศูนย์ธุรกิจการค้า (Commercial Gateway)
• ธุรกิจขนส่งสินค้าทางอากาศและโลจิสติกส์ (Air Cargo) ระยะที่ 2
• ธุรกิจซ่อมเครื่องบิน (Maintenance Repair and Overhaul, MRO) ระยะที่ 2
• ศูนย์ฝึกอบรมบุคลากรการบิน ระยะที่ 2
• กลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมอากาศยาน (Free Trade Zone)

ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.)
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่