ที่จริงแล้ว ก่อนจะสร้างรถไฟความเร็วสูง 3 สนามบินควรเอาสัญญาที่ฉบับใหม่ที่ได้ทำการแก้ไขล่าสุดมาให้ประชาชนคนไทยดูกันทั้งประเทศด้วย ไม่ใช่ปิดเงียบ ต้องให้ประชาชนร่วมตัดสินด้วยว่าสัญญาผ่านมั้ย
ดูตัวอย่าง จากที่บริษัทในเครือ cp อย่าง true ทำการควบรวมกับ dtac ก็ไม่เห็นจะทำตามที่บอกไว้ว่า แพ็คเก็จเน็ตจะถูกลง คุณภาพจะดีขึ้น ตอนนี้ค่าเน็ตก็แพงขึ้น คุณภาพที่ใช้ก็ไม่ได้ดีขึ้น ไม่เห็นเป็นตามที่บอกไว้แต่แรก
กสทช.ก็ทำอะไรไม่ได้ ภาครัฐก็ได้แค่เมินเฉย ปล่อยให้ประชาชนรับกรรมไป
ที่ผ่านมา ก็มีการแก้ไขสัญญารถไฟความเร็วสูงหลายครั้ง แล้วอย่างนี้จะให้มั่นใจได้ไงว่า ถ้าอนาคต cp มาทำรถไฟความเร็วสูง จะไม่เปลี่ยนแปลงสัญญา จะทำตามที่เซ็นต์ไว้ก่อนสร้างรถไฟความเร็วสูงทุกอย่าง
ที่น่ากลัวก็คือ เมื่อได้เปิดบริการรถไฟความเร็วสูงไปแล้ว ถ้า cp ขึ้นค่าโดยสารตามที่ตัวเองต้องการ ภาครัฐก็ทำอะไรไม่ได้ เหมือนกับ true ไม่ทำตามสัญญาที่บอกไว้ว่า ค่าเน็ตจะถูกลง ก็เห็นว่าเน็ตแพงขึ้นอยู่ หน่วยงานไหนจะทำอะไร true ก็ไม่ได้ ได้แต่ปล่อยเลยตามเลย
รถไฟความเร็วสูงเป็นกิจการที่ผูกขาดยิ่งกว่ามือถืออีก มือถือยังมีคู่แข่งอย่าง ais แต่รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกมีได้แค่เจ้าเดียว ไร้คู่แข่ง แบบนี้ค่าโดยสารยิ่งสามารถปรับขึ้นได้ตามใจผู้ประกอบการหรือไม่
กลัวว่าทำๆไป cp จะขึ้นค่าโดยสารรถไฟความเร็วสูงตามที่ตัวเองต้องการ แล้วรัฐก็ช่วยอะไรไม่ได้
ถ้าจะเอารถไฟสายกรุงเทพ-อู่ตะเภา เร็วที่สุดในตอนนี้ ก็พอมีอยู่ เพราะรางรถไฟก็ถึงอู่ตะเภาแล้ว ถึงแม้เป็นรางเดี่ยว ก็ให้บริการได้ มีการบริการผู้โดยสารมาพักใหญ่แล้ว ขอให้บริหารดีๆ คิดถึงรถไฟลาว-จีน รางเดี่ยวก็ให้บริการที่ดีได้ แต่ก็ขอให้รีบไปทำอีกรางต่อจากศรีราชาถึงอู่ตะเภา จะได้เป็นทางคู่สมบูรณ์ บริการดีเต็มที่
รถไฟกรุงเทพ-อู่ตะเภา ที่ดีๆworkๆ ก็ต้องจัดขบวนรถมาเริ่มวิ่งที่สถานีลาดกระบัง ย้ำว่าลาดกระบัง อย่าเอาหัวลำโพง เพราะจะกินเวลาเดินทางนานมาก รถไฟออกจากหัวลำโพงวิ่งๆหยุดๆ รถไฟธรรมดากว่าจะทำสปีดได้มันใช้เวลากว่ารถไฟฟ้า กินเวลากว่ารถไฟฟ้ามาก ใครอยากนั่งรถไฟไปพัทยา-อู่ตะเภา ก็ให้นั่งรถไฟฟ้ามาลงที่ลาดกระบัง แล้วลงมาหารถไฟข้างล่าง เพื่อขึ้นรถไฟธรรมดาวิ่งไปพัทยา-อู่ตะเภา
เมื่อรถไฟรับผู้โดยสารที่ลาดกระบังครบแล้วก็วิ่งสู่ภาคตะวันออกโดยไม่ต้องจอดรับผู้โดยสารสถานีไหน จนถึงพัทยา พอจอดรับส่งผู้โดยสารที่พัทยาเสร็จ ก็วิ่งตรงสู่อู่ตะเภาแบบไม่ต้องรับส่งผู้โดยสารตามสถานีระหว่างทางพัทยา-อู่ตะเภา พอลงสถานีอู่ตะเภา ก็นั่ง shuttle bus ที่สถานีรถไฟเข้าสู่สนามบิน
นี่ก็เป็นวิธีการที่ดีสุด เร็วสุดในเวลานี้ ใช้ของที่มีไปก่อน สำคัญคือขบวนรถต้องมีคุณภาพดีใช้ได้ เสียยาก รถไฟตรงเวลา ถ้าทำดีๆเดินทางไม่เกิน 1 ชั่วโมง 30 นาทีก็ถึงอู่ตะเภา เร็วกว่ารถทัวร์ราวๆชั่วโมงได้ แล้วค่อยมาสร้างสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อนจากลาดกระบัง-อู่ตะเภา ก็จะทำให้ได้รถไฟที่ดีขึ้นเร็วขึ้นอีก ถ้าวิ่งจอดรับผู้โดยสารแต่ 2 สถานี พัทยา-อู่ตะเภา อาจจะ 1 ชั่วโมงถึงอู่ตะเภา
ถ้าให้สร้างรถไฟความเร็วสูงจากสุวรรณภูมิถึงสนามบินอู่ตะเภาเต็มรูปแบบ ก็ใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 8 ปีแน่ คาดการณ์จากที่สร้างรถไฟไทยจีน 7 ปี ไม่ถึง 40% แต่ถ้าเร่งสร้างสายสีแดงอ่อนลาดกระบังถึงอู่ตะเภา ก็คงไม่เกิน 4 ปี หรืออาจแค่ 3 ปีก็ได้ เพราะทางคู่ก็มีถึงศรีราชาแล้ว แค่ทำใส่ลงไปอีกรางนึง เป็นทางคู่สมบูรณ์แบบ ขยายทางคู่ให้ถึงอู่ตะเภา ติดตั้งระบบไฟฟ้าแบบสายสีแดง วิ่งด้วยความเร็ว 140-160 km/h แค่นี้ก็พอใช้งานแล้ว ความเร็วและประสิทธิภาพอาจจะได้ซักราวๆ 70% ของรถไฟความเร็วสูง ถ้าความเร็วสูงใช้เวลาเดินทาง 45 นาสำหรับสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา รถไฟฟ้าก็น่าจะซักราวๆ 70% ของรถไฟความเร็วสูง ถ้าความเร็วสูงใช้เวลาเดินทาง 45 นาสำหรับสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา รถไฟฟ้าก็น่าจะซัก 70-75 นาที แบบจอดทุกสถานีใหญ่ ก็ใช้งานกันไปก่อน เพราะถ้าสร้างรถไฟความเร็วสูงเต็มรูปแบบก็คงซัก 8-10 ปีได้ เสียโอกาสอีกนานมาก
การสร้างรถไฟฟ้านั้น สามารถทำแค่ 3 สถานีคือ ลาดกระบัง พัทยา อู่ตะเภา ไปก่อนก็พอแล้ว สถานีอื่นอย่างฉะเชิงเทรา ชลบุรี ศรีราชา ค่อยทำทีหลังก็ได้ เพราะคนกรุงเทพนั่งรถบัสเดินทางไปพัทยา ก็ไม่ได้แวะจอดตามจุดต่างๆ ออกจากกรุงเทพก็มุ่งสู่พัทยาทีเดียวเลย ถ้าทำรถไฟฟ้าแค่ 2 สถานี ลาดกระบัง พัทยา ก็ยังได้ วิ่งไปกลับเฉพาะกรุงเทพ-พัทยา ไม่รับผู้โดยสารสถานีอื่นจุดอื่น แบบที่รถบัสวิ่ง
ถ้าจะทำอุโมงค์รถไฟตามที่ทางสนามบินอู่ตะเภาขอให้รฟท.ทำตอนนี้ เพราะถ้าสร้างรันเวย์ที่ 2 แล้วก็ไม่สามารถทำอุโมงค์รถไฟความเร็วสูงได้
จริงๆก็น่าจะมีหลายทางเลือกเพื่อแก้ไขเหตุการณ์ได้
1.อย่างนี้น่าจะทำได้ คือทำแค่อุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดินไร้คนขับแบบสุวรรณภูมิ เส้นทางเชื่อมต่อกับสถานีรถไฟธรรมดาอู่ตะเภาที่มีตอนนี้ ซึ่งก็น่าจะทำหลังจากสนามบินเสร็จแล้วได้ เห็นที่สุวรรณภูมิก็มาทำรถไฟฟ้า apm หลังสนามบินเสร็จนานแล้ว ให้สถานีรถไฟความเร็วสูงอู่ตะเภาอยู่ข้างสถานีรถไฟธรรมดาอู่ตะเภา ใครนั่งรถไฟความเร็วสูงมาถึงอู่ตะเภาแล้ว ก็กดลิฟท์ลงมาชั้นใต้ดิน นั่งรถ apm เข้าสนามบิน ก็ต้องดูอีกทีว่าทำได้หรือไม่
2.ต่อโมโนเรลเชื่อมจากสถานีรถไฟความเร็วสูงอู่ตะเภาเข้ามาที่สนามบินอีกที โมโนเรลก็น่าจะวิ่งไปซัก 4-5 จุดสำคัญในสนามบินก็ได้ หรือมากกว่านี้ก็ได้ ถ้ามีสถานที่สำคัญหลายแห่งในสนามบิน
3.ทำรถไฟฟ้าล้อยางจากสถานีรถไฟความเร็วสูงอู่ตะเภาซึ่งตั้งอยู่ตรงสถานีรถไฟทางคู่อู่ตะเภา วิ่งเข้ามาที่สนามบิน มีจุดจอดรอบสนามบินซัก 4-5 จุด หรือมากกว่านี้
สถานีรถไฟฟ้าล้อยางบริเวณรถไฟอู่ตะเภานี้ จะสร้างลงไปในชั้นใต้ดินก็ได้ คือตัวสถานีรถไฟล้อยางที่เชื่อมกับสถานีรถไฟความเร็วสูงนี้อยู่ใต้ดิน พอเข้าสู่บริเวณสนามบิน รถไฟก็วิ่งโผล่จากอุโมงค์ใต้ดินขึ้นมาวิ่งตามถนนในสนามบินปกติ ทำแผงกั้นระหว่างทางวิ่งรถยนต์กับทางวิ่งรถไฟก็ดี กลัวว่าคนไม่มีวินัยจราจรจะขับรถมั่วๆไปในเลนที่รถไฟฟ้าล้อยางวิ่ง ก็ต้องมาดูลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ในสนามบินอู่ตะเภาว่า เหมาะแก่การทำรถไฟฟ้าล้อยางหรือไม่ แต่ก็คิดว่าทำได้นะ พื้นที่กว้างขวาง ยังไม่ได้สร้างอะไรไว้มาก ตีเส้นไปแต่ตอนนี้เลยว่า จะทำสถานีและเส้นทางรถไฟฟ้าล้อยางตรงไหนบ้าง
อย่างนึงที่ดีของรถไฟฟ้าล้อยางคือ ประหยัดงบกว่ารถไฟแบบอื่นๆ เก็บเงินไว้ทำอย่างอื่นดีกว่า
เรื่องอุโมงค์รถไฟความเร็วสูงของสนามบินอู่ตะเภานี้ก็พิจารณากันให้ดีๆ มีทางเลือกหลายทาง อย่างไหนคุ้มค่าที่สุดก็ให้เลือกอย่างนัน
มั่นใจมั้ยว่า ถ้า cp ได้ทำรถไฟ 3 สนามบิน จะทำตามข้อสัญญาทุกอย่าง รถไฟไปอู่ตะเภาที่เร็วพอใช้ วันนี้ก็มีได้นะ
ดูตัวอย่าง จากที่บริษัทในเครือ cp อย่าง true ทำการควบรวมกับ dtac ก็ไม่เห็นจะทำตามที่บอกไว้ว่า แพ็คเก็จเน็ตจะถูกลง คุณภาพจะดีขึ้น ตอนนี้ค่าเน็ตก็แพงขึ้น คุณภาพที่ใช้ก็ไม่ได้ดีขึ้น ไม่เห็นเป็นตามที่บอกไว้แต่แรก
กสทช.ก็ทำอะไรไม่ได้ ภาครัฐก็ได้แค่เมินเฉย ปล่อยให้ประชาชนรับกรรมไป
ที่ผ่านมา ก็มีการแก้ไขสัญญารถไฟความเร็วสูงหลายครั้ง แล้วอย่างนี้จะให้มั่นใจได้ไงว่า ถ้าอนาคต cp มาทำรถไฟความเร็วสูง จะไม่เปลี่ยนแปลงสัญญา จะทำตามที่เซ็นต์ไว้ก่อนสร้างรถไฟความเร็วสูงทุกอย่าง
ที่น่ากลัวก็คือ เมื่อได้เปิดบริการรถไฟความเร็วสูงไปแล้ว ถ้า cp ขึ้นค่าโดยสารตามที่ตัวเองต้องการ ภาครัฐก็ทำอะไรไม่ได้ เหมือนกับ true ไม่ทำตามสัญญาที่บอกไว้ว่า ค่าเน็ตจะถูกลง ก็เห็นว่าเน็ตแพงขึ้นอยู่ หน่วยงานไหนจะทำอะไร true ก็ไม่ได้ ได้แต่ปล่อยเลยตามเลย
รถไฟความเร็วสูงเป็นกิจการที่ผูกขาดยิ่งกว่ามือถืออีก มือถือยังมีคู่แข่งอย่าง ais แต่รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกมีได้แค่เจ้าเดียว ไร้คู่แข่ง แบบนี้ค่าโดยสารยิ่งสามารถปรับขึ้นได้ตามใจผู้ประกอบการหรือไม่
กลัวว่าทำๆไป cp จะขึ้นค่าโดยสารรถไฟความเร็วสูงตามที่ตัวเองต้องการ แล้วรัฐก็ช่วยอะไรไม่ได้
ถ้าจะเอารถไฟสายกรุงเทพ-อู่ตะเภา เร็วที่สุดในตอนนี้ ก็พอมีอยู่ เพราะรางรถไฟก็ถึงอู่ตะเภาแล้ว ถึงแม้เป็นรางเดี่ยว ก็ให้บริการได้ มีการบริการผู้โดยสารมาพักใหญ่แล้ว ขอให้บริหารดีๆ คิดถึงรถไฟลาว-จีน รางเดี่ยวก็ให้บริการที่ดีได้ แต่ก็ขอให้รีบไปทำอีกรางต่อจากศรีราชาถึงอู่ตะเภา จะได้เป็นทางคู่สมบูรณ์ บริการดีเต็มที่
รถไฟกรุงเทพ-อู่ตะเภา ที่ดีๆworkๆ ก็ต้องจัดขบวนรถมาเริ่มวิ่งที่สถานีลาดกระบัง ย้ำว่าลาดกระบัง อย่าเอาหัวลำโพง เพราะจะกินเวลาเดินทางนานมาก รถไฟออกจากหัวลำโพงวิ่งๆหยุดๆ รถไฟธรรมดากว่าจะทำสปีดได้มันใช้เวลากว่ารถไฟฟ้า กินเวลากว่ารถไฟฟ้ามาก ใครอยากนั่งรถไฟไปพัทยา-อู่ตะเภา ก็ให้นั่งรถไฟฟ้ามาลงที่ลาดกระบัง แล้วลงมาหารถไฟข้างล่าง เพื่อขึ้นรถไฟธรรมดาวิ่งไปพัทยา-อู่ตะเภา
เมื่อรถไฟรับผู้โดยสารที่ลาดกระบังครบแล้วก็วิ่งสู่ภาคตะวันออกโดยไม่ต้องจอดรับผู้โดยสารสถานีไหน จนถึงพัทยา พอจอดรับส่งผู้โดยสารที่พัทยาเสร็จ ก็วิ่งตรงสู่อู่ตะเภาแบบไม่ต้องรับส่งผู้โดยสารตามสถานีระหว่างทางพัทยา-อู่ตะเภา พอลงสถานีอู่ตะเภา ก็นั่ง shuttle bus ที่สถานีรถไฟเข้าสู่สนามบิน
นี่ก็เป็นวิธีการที่ดีสุด เร็วสุดในเวลานี้ ใช้ของที่มีไปก่อน สำคัญคือขบวนรถต้องมีคุณภาพดีใช้ได้ เสียยาก รถไฟตรงเวลา ถ้าทำดีๆเดินทางไม่เกิน 1 ชั่วโมง 30 นาทีก็ถึงอู่ตะเภา เร็วกว่ารถทัวร์ราวๆชั่วโมงได้ แล้วค่อยมาสร้างสร้างรถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อนจากลาดกระบัง-อู่ตะเภา ก็จะทำให้ได้รถไฟที่ดีขึ้นเร็วขึ้นอีก ถ้าวิ่งจอดรับผู้โดยสารแต่ 2 สถานี พัทยา-อู่ตะเภา อาจจะ 1 ชั่วโมงถึงอู่ตะเภา
ถ้าให้สร้างรถไฟความเร็วสูงจากสุวรรณภูมิถึงสนามบินอู่ตะเภาเต็มรูปแบบ ก็ใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 8 ปีแน่ คาดการณ์จากที่สร้างรถไฟไทยจีน 7 ปี ไม่ถึง 40% แต่ถ้าเร่งสร้างสายสีแดงอ่อนลาดกระบังถึงอู่ตะเภา ก็คงไม่เกิน 4 ปี หรืออาจแค่ 3 ปีก็ได้ เพราะทางคู่ก็มีถึงศรีราชาแล้ว แค่ทำใส่ลงไปอีกรางนึง เป็นทางคู่สมบูรณ์แบบ ขยายทางคู่ให้ถึงอู่ตะเภา ติดตั้งระบบไฟฟ้าแบบสายสีแดง วิ่งด้วยความเร็ว 140-160 km/h แค่นี้ก็พอใช้งานแล้ว ความเร็วและประสิทธิภาพอาจจะได้ซักราวๆ 70% ของรถไฟความเร็วสูง ถ้าความเร็วสูงใช้เวลาเดินทาง 45 นาสำหรับสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา รถไฟฟ้าก็น่าจะซักราวๆ 70% ของรถไฟความเร็วสูง ถ้าความเร็วสูงใช้เวลาเดินทาง 45 นาสำหรับสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา รถไฟฟ้าก็น่าจะซัก 70-75 นาที แบบจอดทุกสถานีใหญ่ ก็ใช้งานกันไปก่อน เพราะถ้าสร้างรถไฟความเร็วสูงเต็มรูปแบบก็คงซัก 8-10 ปีได้ เสียโอกาสอีกนานมาก
การสร้างรถไฟฟ้านั้น สามารถทำแค่ 3 สถานีคือ ลาดกระบัง พัทยา อู่ตะเภา ไปก่อนก็พอแล้ว สถานีอื่นอย่างฉะเชิงเทรา ชลบุรี ศรีราชา ค่อยทำทีหลังก็ได้ เพราะคนกรุงเทพนั่งรถบัสเดินทางไปพัทยา ก็ไม่ได้แวะจอดตามจุดต่างๆ ออกจากกรุงเทพก็มุ่งสู่พัทยาทีเดียวเลย ถ้าทำรถไฟฟ้าแค่ 2 สถานี ลาดกระบัง พัทยา ก็ยังได้ วิ่งไปกลับเฉพาะกรุงเทพ-พัทยา ไม่รับผู้โดยสารสถานีอื่นจุดอื่น แบบที่รถบัสวิ่ง
ถ้าจะทำอุโมงค์รถไฟตามที่ทางสนามบินอู่ตะเภาขอให้รฟท.ทำตอนนี้ เพราะถ้าสร้างรันเวย์ที่ 2 แล้วก็ไม่สามารถทำอุโมงค์รถไฟความเร็วสูงได้
จริงๆก็น่าจะมีหลายทางเลือกเพื่อแก้ไขเหตุการณ์ได้
1.อย่างนี้น่าจะทำได้ คือทำแค่อุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดินไร้คนขับแบบสุวรรณภูมิ เส้นทางเชื่อมต่อกับสถานีรถไฟธรรมดาอู่ตะเภาที่มีตอนนี้ ซึ่งก็น่าจะทำหลังจากสนามบินเสร็จแล้วได้ เห็นที่สุวรรณภูมิก็มาทำรถไฟฟ้า apm หลังสนามบินเสร็จนานแล้ว ให้สถานีรถไฟความเร็วสูงอู่ตะเภาอยู่ข้างสถานีรถไฟธรรมดาอู่ตะเภา ใครนั่งรถไฟความเร็วสูงมาถึงอู่ตะเภาแล้ว ก็กดลิฟท์ลงมาชั้นใต้ดิน นั่งรถ apm เข้าสนามบิน ก็ต้องดูอีกทีว่าทำได้หรือไม่
2.ต่อโมโนเรลเชื่อมจากสถานีรถไฟความเร็วสูงอู่ตะเภาเข้ามาที่สนามบินอีกที โมโนเรลก็น่าจะวิ่งไปซัก 4-5 จุดสำคัญในสนามบินก็ได้ หรือมากกว่านี้ก็ได้ ถ้ามีสถานที่สำคัญหลายแห่งในสนามบิน
3.ทำรถไฟฟ้าล้อยางจากสถานีรถไฟความเร็วสูงอู่ตะเภาซึ่งตั้งอยู่ตรงสถานีรถไฟทางคู่อู่ตะเภา วิ่งเข้ามาที่สนามบิน มีจุดจอดรอบสนามบินซัก 4-5 จุด หรือมากกว่านี้
สถานีรถไฟฟ้าล้อยางบริเวณรถไฟอู่ตะเภานี้ จะสร้างลงไปในชั้นใต้ดินก็ได้ คือตัวสถานีรถไฟล้อยางที่เชื่อมกับสถานีรถไฟความเร็วสูงนี้อยู่ใต้ดิน พอเข้าสู่บริเวณสนามบิน รถไฟก็วิ่งโผล่จากอุโมงค์ใต้ดินขึ้นมาวิ่งตามถนนในสนามบินปกติ ทำแผงกั้นระหว่างทางวิ่งรถยนต์กับทางวิ่งรถไฟก็ดี กลัวว่าคนไม่มีวินัยจราจรจะขับรถมั่วๆไปในเลนที่รถไฟฟ้าล้อยางวิ่ง ก็ต้องมาดูลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ในสนามบินอู่ตะเภาว่า เหมาะแก่การทำรถไฟฟ้าล้อยางหรือไม่ แต่ก็คิดว่าทำได้นะ พื้นที่กว้างขวาง ยังไม่ได้สร้างอะไรไว้มาก ตีเส้นไปแต่ตอนนี้เลยว่า จะทำสถานีและเส้นทางรถไฟฟ้าล้อยางตรงไหนบ้าง
อย่างนึงที่ดีของรถไฟฟ้าล้อยางคือ ประหยัดงบกว่ารถไฟแบบอื่นๆ เก็บเงินไว้ทำอย่างอื่นดีกว่า
เรื่องอุโมงค์รถไฟความเร็วสูงของสนามบินอู่ตะเภานี้ก็พิจารณากันให้ดีๆ มีทางเลือกหลายทาง อย่างไหนคุ้มค่าที่สุดก็ให้เลือกอย่างนัน