โมเดลอีอีซีดันเขตเศรษฐกิจใหม่

รัฐบาลจะขับเคลื่อนโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ หรือ EEC ตามแผนปฏิบัติการลงทุน ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ระยะ

ระยะที่ 1 หรือระยะเร่งด่วน ระหว่างปี 2560 ถึง 2561 ที่ต้องดำเนินการทันที เพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจภายใน EEC ให้มีการลงทุนจากในประเทศ และต่างประเทศ

ระยะที่ 2 ระหว่างปี 2562 ถึง 2564 เป็นแผนงานต่อเนื่อง เพื่อให้โครงข่ายการขนส่งสามารถรองรับกิจการทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้น และขยายกิจการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ระยะที่ 3 เริ่มตั้งแต่ปี 2565 จะเป็นแผนงานเพื่อรองรับการพัฒนาพื้นที่ EEC อย่างยั่งยืน เพื่อเพิ่มรายได้ของประเทศ ให้กับประชาชนทุกระดับ ทุกฝ่าย รวมถึงการเชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อเพิ่มมูลค่าอีกด้วย ซึ่งจะมีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ โดยเฉพาะด้านคมนาคมขนส่ง ทั้งทางบก ทางราง ทางน้ำ ทางอากาศ และ โลจิสติกส์ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

(1) ทางบก – มอเตอร์เวย์ พัทยา - มาบตาพุด, แหลมฉบัง – ปราจีนบุรี, และ ชลบุรี - อ.แกลง จ.ระยอง รวมทั้งการปรับปรุงโครงข่ายถนนสายรอง การเพิ่มโครงข่ายทางเลี่ยงเมือง

(2) ทางราง – รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 ท่าอากาศยาน (ดอนเมือง - สุวรรณภูมิ - อู่ตะเภา) รถไฟทางคู่ ช่วงแหลมฉบัง - มาบตาพุด รถไฟ ช่วงระยอง - จันทบุรี - ตราด และรถไฟเชื่อม EEC – ทวาย - กัมพูชา รวมทั้งสถานีบรรจุและยกสินค้ากล่อง จ.ฉะเชิงเทรา

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

(3) ทางน้ำ – ท่าเรือแหลมฉบัง เฟสที่ 3 ท่าเรือมาบตาพุด เฟสที่ 3 และ อากาศยานผู้โดยสารท่าเรือ จุกเสม็ด

(4) ทางอากาศ – การยกระดับท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา อาทิ การสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน ทางวิ่งที่ 2 พื้นที่ขนส่งสินค้าทางอากาศ เขตปลอดอากร (Free Zone) และอาคารผู้โดยสารหลังที่ 3 ตามลำดับ

สำหรับการจัดหาแหล่งวงเงินลงทุนเบื้องต้นนั้นประมาณ 1 ล้านล้านบาท จาก

    งบประมาณแผ่นดิน 30%
    เงินลงทุนของรัฐวิสาหกิจ 10%
    รัฐและเอกชนร่วมลงทุน (PPP) 59% และ
    กองทุนหมุนเวียนจากกองทัพเรือ 1%


ผลที่คาดว่าจะได้รับใน 5 ปีแรก

    เกิดฐานเทคโนโลยีใหม่ของประเทศ และเกิดการพัฒนาคน ทำให้รายได้ประชาชาติขยายตัวไม่ต่ำกว่า 5% ต่อปี
    เกิดการลงทุนจากภาคเอกชนเพิ่มเติม ช่วยสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นได้กว่า 2.1 - 3.0 ล้านล้านบาท
    มีการเข้าถึงระบบขนส่งมวลชนคุณภาพสูงมากขึ้น ปริมาณการเดินทาง และขนส่งสินค้าใน EEC มากขึ้น สามารถจะลดต้นทุนของรถบรรทุกได้ ประมาณ 35.6 ล้านบาทต่อวัน ลดต้นทุนรถไฟได้ประมาณ 2.3 แสนบาทต่อวัน รวมทั้งลดระยะเวลาการเดินทางลงได้อีกด้วย
    เป็นการสนับสนุนให้ EEC เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมเป้าหมาย เป็นประตูเศรษฐกิจเชื่อมเพื่อนบ้าน - CLMV - และอาเซียนทั้งหมดอย่างสมบูรณ์

ความสำเร็จของโครงการอีอีซีจะไม่เพียงยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ แต่จะขยายผลให้เกิดเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ อีก 10 แห่งที่ถูกกำหนดไว้ ซึ่งจะเป็นการปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศครั้งยิ่งใหญ่ และเป็นก้าวย่างที่สำคัญของชาติ ในการข้ามกับดักความเหลื่อมล้ำ ความยากจน และการพัฒนาที่ไม่สมดุล ไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

***************************
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่