ได้ฤกษ์ปักหมุดเปิดประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของระบบรถไฟในประเทศไทยไปแล้ว โดยเป็นรถไฟฟ้าความเร็วสูงสายแรกของประเทศ เส้นทางกรุงเทพฯ – หนองคาย ระยะที่ 1 ช่วง กรุงเทพฯ – นครราชสีมา
โครงการนี้เป็นความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูง เพื่อเชื่อมโยงประเทศไทยกับประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคและโลก ผ่านโครงข่ายคมนาคม One Belt One Road ของรัฐบาลจีน โดย
- เชื่อมโยงประเทศไทยกับกลุ่มประเทศ CLMV (กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม) สาธารณรัฐประชาชนจีน และสาธารณรัฐอินเดีย
- (นอกจากเป็นการเชื่อมโครงข่ายคมนาคมในภูมิภาคแล้ว ยัง)เป็นเครื่องมือทางด้านการคมนาคม ที่ทำให้ประเทศไทยสามารถแข่งขันทางเศรษฐกิจกับประเทศต่าง ๆ ในอาเซียนได้อย่างไม่ต้องเป็นรองใคร เพราะลาวมีโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง (ความร่วมมือกับรัฐบาลจีนเช่นกัน) และมาเลเซียกับสิงคโปร์ก็ร่วมมือกันทำโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง (ซึ่งเพิ่งประกาศหาผู้ประมูลการก่อสร้างไปเมื่อวันที่ 20 ธ.ค. 2560 เพียงหนึ่งวันก่อนไทยคิกออฟโครงการนี้)
- เป็นหนึ่งเครื่องสนับสนุนให้ไทยก้าวขึ้นสู่การเป็นศูนย์กลางคมนาคมและโลจิสติกส์ของภูมิภาคอาเซียน
ทั้งนี้ โครงการรถไฟความเร็วสูงเส้นทาง กรุงเทพฯ – หนองคาย จะเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟลาว – จีน (เวียงจันทน์ – บ่อเต็น) และโครงข่ายรถไฟของจีน (โมฮัน – คุนหมิง) [นอกจากนั้นยังสามารถเชื่อมต่อด้วยระบบรางเข้าสู่มาเลเซียไปจนถึงสิงคโปร์] โดยทั้งหมดเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” (The Belt and Road Initiative) ของรัฐบาลจีน ที่จะสร้าง “เส้นทางสายไหมยุคใหม่” โดยเชื่อมโยงโครงข่ายการคมนาคมขนส่งทางรางของไทยสู่การค้ากับ 64 ประเทศ ซึ่งมีประชากรรวมกันประมาณ 4,400 ล้านคน มากกว่าครึ่งหนึ่งของประชากรโลก และมีสัดส่วน GDP ประมาณร้อยละ 40 ของโลก ถือเป็นการเสริมสร้างโอกาสด้านการลงทุน การสร้างงาน สร้างรายได้ อันจะนำไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง อย่างยั่งยืน ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา และเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
สอดคล้องกับการวิเคราะห์ของผู้เชี่ยวชาญจากแม็คคินซี ที่ระบุว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงเส้นทาง กรุงเทพฯ – หนองคาย ที่จะเชื่อมกับภูมิภาคนี้ เป็นการเชื่อมโยงที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คนและเศรษฐกิจ เพราะการเชื่อมโยงจะหมายถึงการเดินทาง นักท่องเที่ยว การลงทุน ซึ่งต้องใช้ความร่วมมืออย่างมากทั้งจากภาครัฐและเอกชน เพราะการลงทุนขนาดใหญ่ไม่อาจเกิดจากภาครัฐได้เพียงอย่างเดียว แต่ต้องมาจากภาคเอกชน โดยภาครัฐต้องทำหน้าที่ในการออกกฎหมายหรืออำนวยความสะดวก เพื่อให้ภาคเอกชนสามารถรวมตัวกันลงทุนขนาดใหญ่ได้ ซึ่งกระบวนการทั้งหมดต้องใช้เวลาที่จะก่อให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้สอดคล้องต้องกันกับที่นายกรัฐมนตรีของไทยกล่าวไว้ว่า การลงทุนอย่ามองเรื่องเส้นทางอย่างเดียว ต้องมีการพัฒนาเมืองในแนวเส้นทางไปด้วย ทุกอย่างต้องมีการเริ่มต้นทั้งหมด ไม่ใช่สร้างเสร็จในปีเดียว อย่ามองว่าได้กำไรจากการสร้างรถไฟ ให้มองว่าได้ผลประโยชน์ทางอ้อม ทั้งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ระบบเศรษฐกิจ ที่จะเกิดตลอดเส้นทาง
นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญจากแม็คคินซี ยังได้ตัวอย่างโครงการดี ๆ ที่สอดคล้องกันก็คือ โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) ซึ่งเป็นโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่สร้างนวัตกรรม เทคโนโลยีชั้นสูง ที่จะทำให้เกิดผลประโยชน์มหาศาลต่อทุกภาคส่วน โดยใช้การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเป็นตัวเชื่อมโยงเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นความแข็งแกร่งของภาคเอกชนไทยที่กล้ารวมตัวกันทำในสิ่งที่ใหม่ และการมีโมเดลทางธุรกิจที่ดีจะทำให้ธุรกิจระดับท้องถิ่นสามารถก้าวกระโดดไปสู่ระดับโลกได้ จึงเป็นโอกาสทองที่จะลงมือทำ
ที่มาข้อมูล:
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้https://www.prachachat.net/property/news-90883
http://www.ryt9.com/s/iq38/2758241
http://thai.cri.cn/247/2017/12/21/230s262110.htm
https://goo.gl/MEunJV
https://www.youtube.com/watch?v=tLnSkVy0A_4
พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน จิ๊กซอว์ยุทธศาสตร์ยกระดับเศรษฐกิจ
โครงการนี้เป็นความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูง เพื่อเชื่อมโยงประเทศไทยกับประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคและโลก ผ่านโครงข่ายคมนาคม One Belt One Road ของรัฐบาลจีน โดย
- เชื่อมโยงประเทศไทยกับกลุ่มประเทศ CLMV (กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม) สาธารณรัฐประชาชนจีน และสาธารณรัฐอินเดีย
- (นอกจากเป็นการเชื่อมโครงข่ายคมนาคมในภูมิภาคแล้ว ยัง)เป็นเครื่องมือทางด้านการคมนาคม ที่ทำให้ประเทศไทยสามารถแข่งขันทางเศรษฐกิจกับประเทศต่าง ๆ ในอาเซียนได้อย่างไม่ต้องเป็นรองใคร เพราะลาวมีโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง (ความร่วมมือกับรัฐบาลจีนเช่นกัน) และมาเลเซียกับสิงคโปร์ก็ร่วมมือกันทำโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง (ซึ่งเพิ่งประกาศหาผู้ประมูลการก่อสร้างไปเมื่อวันที่ 20 ธ.ค. 2560 เพียงหนึ่งวันก่อนไทยคิกออฟโครงการนี้)
- เป็นหนึ่งเครื่องสนับสนุนให้ไทยก้าวขึ้นสู่การเป็นศูนย์กลางคมนาคมและโลจิสติกส์ของภูมิภาคอาเซียน
ทั้งนี้ โครงการรถไฟความเร็วสูงเส้นทาง กรุงเทพฯ – หนองคาย จะเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟลาว – จีน (เวียงจันทน์ – บ่อเต็น) และโครงข่ายรถไฟของจีน (โมฮัน – คุนหมิง) [นอกจากนั้นยังสามารถเชื่อมต่อด้วยระบบรางเข้าสู่มาเลเซียไปจนถึงสิงคโปร์] โดยทั้งหมดเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” (The Belt and Road Initiative) ของรัฐบาลจีน ที่จะสร้าง “เส้นทางสายไหมยุคใหม่” โดยเชื่อมโยงโครงข่ายการคมนาคมขนส่งทางรางของไทยสู่การค้ากับ 64 ประเทศ ซึ่งมีประชากรรวมกันประมาณ 4,400 ล้านคน มากกว่าครึ่งหนึ่งของประชากรโลก และมีสัดส่วน GDP ประมาณร้อยละ 40 ของโลก ถือเป็นการเสริมสร้างโอกาสด้านการลงทุน การสร้างงาน สร้างรายได้ อันจะนำไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง อย่างยั่งยืน ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา และเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
สอดคล้องกับการวิเคราะห์ของผู้เชี่ยวชาญจากแม็คคินซี ที่ระบุว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงเส้นทาง กรุงเทพฯ – หนองคาย ที่จะเชื่อมกับภูมิภาคนี้ เป็นการเชื่อมโยงที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คนและเศรษฐกิจ เพราะการเชื่อมโยงจะหมายถึงการเดินทาง นักท่องเที่ยว การลงทุน ซึ่งต้องใช้ความร่วมมืออย่างมากทั้งจากภาครัฐและเอกชน เพราะการลงทุนขนาดใหญ่ไม่อาจเกิดจากภาครัฐได้เพียงอย่างเดียว แต่ต้องมาจากภาคเอกชน โดยภาครัฐต้องทำหน้าที่ในการออกกฎหมายหรืออำนวยความสะดวก เพื่อให้ภาคเอกชนสามารถรวมตัวกันลงทุนขนาดใหญ่ได้ ซึ่งกระบวนการทั้งหมดต้องใช้เวลาที่จะก่อให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญจากแม็คคินซี ยังได้ตัวอย่างโครงการดี ๆ ที่สอดคล้องกันก็คือ โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) ซึ่งเป็นโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่สร้างนวัตกรรม เทคโนโลยีชั้นสูง ที่จะทำให้เกิดผลประโยชน์มหาศาลต่อทุกภาคส่วน โดยใช้การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเป็นตัวเชื่อมโยงเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นความแข็งแกร่งของภาคเอกชนไทยที่กล้ารวมตัวกันทำในสิ่งที่ใหม่ และการมีโมเดลทางธุรกิจที่ดีจะทำให้ธุรกิจระดับท้องถิ่นสามารถก้าวกระโดดไปสู่ระดับโลกได้ จึงเป็นโอกาสทองที่จะลงมือทำ
ที่มาข้อมูล:
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้